วิธีออมเงินให้ลูก พร้อมรับมือทางการเงินให้กับลูก เพื่อให้ลูกได้มีเงินในการศึกษาในอนาคต พ่อแม่ควรเลือก วิธีออมเงินให้ลูก แบบไหนดี เราไปดูกันเลยค่ะ
วิธีออมเงินเพื่อส่งลูกเรียน
วิธีออมเงินให้ลูก
วางแผนและตั้งเป้าหมายก่อนออมเงินให้ลูก
การออมโดยฝากออมทรัพย์
เป็นการออมเพื่อรักษาสภาพคล่องไว้ใช้จ่ายจิปาถะต่าง ๆ เช่น ค่าขนม ค่าอุปกรณ์การเรียน ค่าเรียนพิเศษ เป็นต้น ถ้าเราไม่อยากให้รายจ่ายตรงนี้เป็นภาระมากเกินไป ควรสร้างวินัยให้ลูกรู้จักการประหยัดเงินเริ่มตั้งแต่ลูกเข้าโรงเรียนประถม รู้คุณค่าของเงินและจัดสรรเงินเองได้ ถ้าจะขอเพิ่มมากกว่านี้ก็ต้องมีเหตุผลที่เพียงพอ จากปกติที่ให้ค่าขนมรายวัน เปลี่ยนมาให้รายสัปดาห์ หรือ จากปกติที่ให้ค่าขนมรายสัปดาห์ เปลี่ยนมาให้รายเดือน
ถ้าใช้เงินหมดก่อนครบกำหนด 1 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน ก็ต้องมาคุยกันว่าใช้ไปกับอะไร ทำไมเงินถึงไม่พอใช้ แล้วตรวจสอบจากบัญชีที่จดว่าจ่ายไปกับอะไรบ้าง
การที่ใจแข็งจะทำให้ลูกมีระเบียบวินัยในการออมมากขึ้น ฝึกให้รู้จักเผชิญกับความผิดหวัง เพราะขอเงินแล้วไม่ได้ จะได้รู้วิธีแก้ปัญหาในอนาคต
- อย่าบ่นหรือต่อว่า ว่าลูกใช้เงินไม่เป็น
อย่าบ่นหรือต่อว่า เพราะผู้ปกครองต้องเป็นตัวอย่างให้แก่ลูกเอง หัดให้เขาเจอกับปัญหาในขณะที่เราช่วยบอกวิธีที่ถูกต้องให้น่าจะดีกว่า
- เมื่อลูกโตขึ้น ลองหัดให้ทำงานหาเงินเอง
เพราะจะทำให้เด็กรู้จักการใช้เงินมากขึ้น รู้ว่ากว่าที่พ่อแม่จะได้เงินมาแต่ละบาทนั้นแลกมาด้วยความยากลำบาก
เมื่อให้ลูกรู้จักจัดการค่าใช้จ่ายด้วยตัวเองแล้ว ค่าใช้จ่ายของลูกจะนับเป็นค่าใช้จ่ายประจำและชัดเจนของพ่อแม่ พ่อแม่เองจึงสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายรายเดือนและสามารถแบ่งไปเพื่อเก็บออมได้อย่างสม่ำเสมอ
การออมโดยฝากประจำ
วิธีออมเงินให้ลูก
เงินฝากประจำเป็นทางเลือกที่พ่อแม่มือใหม่หลายคนเลือกที่จะออมเงินให้ลูก เพราะเป็นวิธีที่ง่ายและมีความเสี่ยงต่ำ แถมยังช่วยบังคับให้เรามีวินัย เนื่องจากต้องฝากเงินในจำนวนที่เท่ากันเป็นประจำทุกเดือน แนะนำให้ฝากเงินประจำแบบปลอดภาษีดีกว่า เพราะนอกจากจะปลอดภาษีดอกเบี้ยแล้ว ยังให้ดอกเบี้ยที่สูงกว่าฝากประจำอีกด้วย
3 ข้อควรรู้ก่อนฝากประจำแบบปลอดภาษี
- เราสามารถมีบัญชีฝากประจำแบบปลอดภาษีได้แค่คนละ 1 บัญชีต่อทุกธนาคาร
หมายความว่า ถ้าเราเปิดบัญชีฝากประจำ 24 เดือน กับธนาคาร A แล้ว จะไม่สามารถเปิดกับธนาคาร B ได้ จนกว่าจะครบกำหนดฝาก หรือทำการปิดบัญชีนั้นก่อนครบกำหนด
- ควรเลือกสาขาหรือวิธีฝากเงินที่สะดวกต่อเรา อย่าเลือกเพียงแค่ดอกเบี้ยสูง
เพราะหลายธนาคารมีข้อกำหนดว่าต้องไปฝากเงินที่สาขาเท่านั้น หรือบางแห่งก็สามารถโอนได้ ข้อนี้ต้องศึกษาให้ดี ๆ ก่อน ถ้าเลือกเพียงเพราะดอกเบี้ยสูงแต่เราไม่สะดวกเดินทาง อยู่ไกลจากบ้านมาก ทั้งค่ารถ ค่าเสียเวลา ก็อาจจะได้ไม่คุ้ม
- ฝากประจำแบบปลอดภาษีเป็นการฝากระยะยาว แนะนำต้องเป็นเงินเย็น
เราอยากให้มั่นใจว่าเงินที่ฝากเข้าบัญชีนี้เป็นเงินเย็นที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ตลอดจนกว่าจะครบกำหนดระยะเวลาฝาก เพราะถ้าถอนเงินออกมาก่อน เราเองนี่แหละที่จะไม่ได้รับดอกผลตามที่กำหนดไว้
การออมเงินโดยใช้ LTF
วิธีออมเงินให้ลูก
เราใช้ประโยชน์จากข้อกำหนดของ LTF ที่ขายได้เมื่อครบ 5 ปี ทำให้สร้างวินัยการออมเพื่อเป้าหมายระยะปานกลางได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างภาพข้างล่างนี้จะเป็นการจัดระบบการออมเงินเพื่อเป้าหมายทุนการศึกษาของลูก แต่อย่าซื้อเกินสิทธิ์ประโยชน์ทางภาษี คือ 15% ของรายได้พึ่งประเมินแต่ไม่เกิน 500,000 บาท
- วิธีนี้เราจะได้รับประโยชน์จากกการออม 2 ต่อ คือ
- ต่อที่ 1 ได้ลดหย่อนภาษี ตามฐานภาษีของเรา
- ต่อที่ 2 มีเงินเพื่อการศึกษาลูก ในปีที่ครบกำหนดขาย
ขณะที่ลูกอายุ 1 ขวบ เมื่อครบ 5 ปีจึงขายกองทุนเพื่อเป็นทุนการศึกษาขณะที่ลูกอายุ 5 ขวบ
ขณะที่ลูกอายุ 2 ขวบ เมื่อครบ 5 ปีจึงขายกองทุนเพื่อเป็นทุนการศึกษาขณะที่ลูกอายุ 6 ขวบ
- ซื้อและขาย LTF ลักษณะแบบนี้ไปเรื่อย ๆ
การออมโดยใช้ประกันชีวิตสะสมทรัพย์
วิธีออมเงินให้ลูก
การใช้วิธีสะสมเงินโดยใช้ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ที่เป็นการออมภาคบังคับเข้ามาช่วยน่าจะเป็นประโยชน์อย่างมาก โดยระหว่างการทำประกันถ้าเราจำเป็นต้องการใช้เงินจริง ๆ ก็สามารถกู้ประกันชีวิตของตนเองได้
- วิธีนี้เราจะได้รับประโยชน์จากการออม 3 ต่อ คือ
- ได้ลดหย่อนภาษี ซึ่งลดหย่อนได้ต่อปีไม่เกิน 100,00 บาท
- มีเงินเพื่อการศึกษาลูก ถ้าจ่ายครบตามที่กำหนด
- ได้รับการคุ้มครองชีวิต ถ้าเกิดเหตุไม่คาดฝัน (อาจจะเสียชีวิตก่อนวันอันควร) จะมีเงินสดส่วนนี้เพื่อเป็นทุนการศึกษาให้ลูกใช้เป็นค่าเล่าเรียนจนจบการศึกษา
- ตัวอย่าง การออมเงินโดยใช้ประกันชีวิตสะสมทรัพย์
สมมติตอนนี้เด็กหญิงอภินิหารเงินออมอายุ 3 ขวบซึ่งพ่อกับแม่ต้องการเก็บเงินเพื่อเป็นทุนการศึกษาในระดับมัธยมและอุดมศึกษาให้ลูก โดยมีเป้าหมายการออม ดังนี้
-
- เงินออมเพื่อเป็นทุนการศึกษาให้ลูก
- จำนวนเงินทุนการศึกษา 1 ล้านบาท
- ต้องการใช้ระยะเวลาเก็บเงิน 10 ปี
จากเป้าหมายข้างต้นทำให้เลือกประกันชีวิตสะสมทรัพย์ที่มีระยะเวลาการเก็บเงิน 10 ปี ซึ่งทำเฉพาะสัญญาหลัก (เน้นที่เป้าหมายเพื่อการศึกษาแต่ไม่เน้นผลตอบแทน) โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- บริษัทฯจ่ายเงินปันผล 9 ครั้ง (แล้วแต่บริษัทจะอนุมัติ)
- เป้าหมายในการเก็บเงิน 1 ล้านบาท (ตามศัพท์ประกันจะเรียกว่า “ทุนประกัน”)
- เก็บสะสมเงินปีละ 98,630 บาท (ตามศัพท์ประกันจะเรียกว่า “จ่ายเบี้ยประกัน” การคำนวณจะใช้อายุของผู้ปกครองที่จ่ายเงินประกันเข้าโปรแกรมคำนวณเบี้ยประกันจะได้ตัวเลขตามนี้ ถ้าผู้ปกครองอายุมากขึ้นก็จะจ่ายเบี้ยประกันมากขึ้นเช่นกัน)
- ได้รับการคุ้มครองชีวิตในกรณีที่จากไปก่อนครบกำหนด (โดยได้รับเงินตามทุนประกันที่ทำไว้)
หมายเหตุ การทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์มีให้เลือกมากมาย ควรเลือกให้ตรงกับระยะเวลาที่ต้องการใช้เงินและความสามารถในการออมของเราให้มากที่สุด ซึ่งหัวข้อนี้เป็นเพียงตัวอย่างจริงเพื่อประกอบบทความเท่านั้น
ที่มา : (aommoney),(cottonbaby)
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :
เลือกโรงเรียนประถมให้ลูก หลักสูตรแบบไหนดี?
วิธีเก็บเงินแบบแม่ญี่ปุ่น เก็บเงินอย่างไรให้เหลือเยอะๆ เคล็ดลับแม่บ้านญี่ปุ่น
ซื้อประกันให้ลูก ที่ไหนดี? ตัวอย่างแผนประกันสุขภาพเด็กปี 2562
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!