X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิธีสอนให้ลูกน้อยเลิกขว้างสิ่งของ

บทความ 3 นาที
วิธีสอนให้ลูกน้อยเลิกขว้างสิ่งของ

ลูกคุณชอบขว้างสิ่งของตลอดเวลาหรือไม่? ทำไมลูกถึงทำเช่นนั้น? เราจะหยุดเขายังไงดี? ลองดูวิธีที่จะช่วยคุณสอนลูกไม่ให้ขว้างสิ่งของในบทความนี้สิ...

สอน ลูก ขว้าง สิ่งของ โยน ลูกชอบขว้างของ

วิธีสอนให้ลูกน้อยเลิกขว้างสิ่งของ

พ่อแม่ต่างก็ตื่นเต้นกับอะไรที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกกันทั้งนั้นแหละ ไม่ว่าจะเป็น ฟันซี่แรก คำแรกที่ลูกพูดได้ ก้าวแรกที่ลูกก้าว และเหตุการณ์สำคัญ ๆ ครั้งแรกในชีวิตลูก ดังนั้น คุณอาจคิดว่าครั้งแรกที่ลูกค้นพบแรงโน้มถ่วงและการเคลื่อนที่เป็นครั้งแรก คุณก็คงตื่นเต้นด้วยเช่นกัน ใช่มั้ยล่ะ? เมื่อเราใช้คำเหล่านั้นพูดถึงลูกคุณ มันทำให้รู้สึกเหมือนเรากำลังพูดถึงนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่อย่างไอน์สไตน์เลยทีเดียว ดังนั้น คุณก็ย่อมตื่นเต้นกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับลูกน้อยเป็นธรรมดา

แต่เมื่อความตื่นเต้นนั้นไม่ได้เป็นอย่างที่คุณรู้สึกว่ามันควรจะเป็น แต่กลับเป็นว่าคุณต้องลูบหัวของคุณเพราะสิ่งของถูกโยนมาที่หัวของคุณหรือพุ่งมาที่ตาคุณและไปตกที่ประตู ก็นั่นไง การเคลื่อนที่และแรงโน้มถ่วง ก็คือการขว้างสิ่งของออกไปและดูมันตกลงบนพื้นนั่นเอง แล้วคุณไม่คิดหรือว่าลูกน้อยของคุณจะชอบทำอย่างนั้น?

ทำไมเด็กเล็กถึงชอบขว้างสิ่งของ?

เด็กอายุราว 6-8 เดือนจะเริ่มมีความสามารถปล่อยสิ่งของลงบนพื้น หรือแม้กระทั่งโยนสิ่งของด้วย ในสายตาของลูก สิ่งของอย่างจุกนมปลอม ของเล่นชิ้นเล็ก ๆ หรือแม้กระทั่งขวดนมหรืออาหาร ก็สามารถเป็นสิ่งของที่เขาจะทดลองขว้างแบบโปรเจคไตล์ได้ แล้วทำไมลูกทำเช่นนั้นล่ะ?

Advertisement

เราตอบคำถามว่า “ทำไม” ลูกถึงทำเช่นนั้นได้ง่าย ๆ นั่นคือ ก็เพราะร่างกายลูกทำเช่นนั้นได้แล้วนั่นเอง ในช่วงเริ่มต้น เด็กเล็กที่ขว้าง จุกนมปลอม ของเล่น รองเท้า อาหาร หรือของอื่น ๆ ที่สามารถหยิบจับได้ นั่นเป็นเพราะเขากำลังทดลองทักษะการเคลื่อนไหวของร่างกายเขาอยู่ แล้วลูกน้อยรู้ได้อย่างไรว่าเขามีทักษะในการเคลื่อนไหวร่างกายแล้ว? ลูกไม่รู้หรอก มันแค่เกิดขึ้นกับร่างกายน้อย ๆ ของเขาและเป็นส่วนหนึ่งของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กนั่นเอง

พวกเขาชอบดูสิ่งของที่อยู่ในมือถูกขว้างออกไปและตกลงบนพื้น เด้งขึ้นมา กระเด็นกระดอน หรือลงจอดด้วยเสียงดังตุ้บ นั่นเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นและสนุกสนานมากสำหรับลูก

แต่ต่อมาไม่นานลูกน้อยก็จะรู้ว่าการกระทำของเขาได้จุดประกายปฏิกิริยาตอบสนองของคุณ คุณจะก้มลงไปเก็บของเล่น คุณอาจหัวเราะเมื่อลูกโยนถูกเป้าหมาย หรือกระทั่งทำให้คุณอดที่จะโยนของหรืออาหารนั้นกลับไปที่ลูกไม่ได้ ด้วยเหตุผลที่ว่าการขว้างสิ่งของนั้นเป็นการเรียกร้องความสนใจ นั่นจึงทำให้ลูกน้อยชอบขว้างสิ่งของ และเราก็ก้มหรือหลบหลีกเพื่อไม่ให้สิ่งของโดนหัวของเรา ลูกมีสาเหตุในการขว้างสิ่งของมากขึ้นเมื่อเขาโตขึ้นจนถึงวัยหัดเดิน

การขว้างหรือโยนสิ่งของเพื่อเรียกร้องความสนใจนั้นยังเป็นเหตุผลหลักอยู่ แต่การขว้างเพื่อแสดงอาการก้าวร้าวหรือเพื่อปลดปล่อยความโกรธและความไม่พอใจจะเริ่มเกิดขึ้นเมื่อเขาอายุได้ 18 เดือน และนี่เป็นช่วงเวลาที่คุณจะต้องช่วยลูกจัดการกับปัญหาของลูก

อ่านวิธีจัดการลูกชอบขว้างของ หน้าถัดไป >>>


ขว้างมาหาแม่สิ

ความจริงที่ว่าลูกน้อยของคุณขว้างปาสิ่งของนั้นไม่ใช่ปัญหา แต่สิ่งที่เป็นประเด็นก็คือ เขาขว้าง “อะไร” และเนื่องจากคุณเป็นพ่อหรือแม่ และคุณรู้ว่าอะไรที่ลูกขว้างได้และอะไรที่เขาไม่ควรขว้าง มันขึ้นอยู่กับคุณว่าจะบอกเขาว่าอย่างไรและบอกเขาว่าอะไรที่ขว้างได้ อะไรที่ขว้างไม่ได้ วิธีที่ดีที่สุดคือคุณควรส่งเสริมให้ลูกขว้างลูกบอล ถุงถั่ว หรือฟองน้ำจะดีกว่า เล่นโยนลูกบอลกับเขาด้วย เพราะการเล่นโยนลูกบอลกลับไปกลับมาเป็นวิธีที่ดีเยี่ยมในการพัฒนาสายตาสัมพันธ์กับมือไปพร้อม ๆ กัน นอกจากนี้ มันยังเป็นเวลาที่ดีที่คุณและลูกได้ใช้ทำกิจกรรมสนุก ๆ ร่วมกันด้วย หรือจะจัดให้มีตาข่ายบาสเก็ตบอลเล็ก ๆ ก็จะช่วยให้ลูกเพลิดเพลินกับการโยนสิ่งของด้วย

เล่นเกมส์โยนถุงถั่ว (คุณอาจใช้ถังขยะหรือกล่องเป็นเป้า) หรือให้ลูกโยนฟองน้ำที่มีน้ำอยู่ไปที่กระดานที่สวนหลังบ้าน เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นกิจกรรมที่สนุกสนานสำหรับเด็กในวัยนี้ การให้ลูกได้ขว้างสิ่งของที่เหมาะกับการขว้างไปยังที่ที่เหมาะสมจะช่วยให้คุณสามารถอธิบายลูกให้เข้าใจได้ว่าทำไมลูกถึงไม่ควรขว้างรองเท้า อาหาร หรือของเล่น ยกตัวอย่างเช่น ลูกน้อยขว้างหนังสือออกไปนอกห้องเมื่อคุณบอกว่าคุณอ่านนิทานพอแล้วสำหรับวันนี้และลูกควรนอนกลางวันได้แล้ว แทนที่คุณจะอารมณ์เสียหรือทำเมินกับพฤติกรรมของลูก คุณควรใจเย็นและจูงมือลูกน้อยเดินไปที่หนังสือและบอกให้ลูกหยิบหนังสือขึ้นมา จากนั้น นั่งลง มองนัยตาของลูกและบอกกับลูกว่า ” หนังสือมีไว้อ่านนะลูก ไม่ได้มีไว้ให้ขว้างปา สิ่งที่เราขว้างหรือโยนได้คือลูกบอล” (หรือสิ่งอื่นที่ขว้างได้) จากนั้น ก็ให้ลูกเอาหนังสือไปเก็บในที่ที่หนังสือควรอยู่ คุณอาจต้องใช้วิธีนี้สอนลูกอีกครั้ง เพราะลูกคงไม่เรียนรู้ได้เร็วหลังจากที่บอกเพียงครั้งสองครั้งหรอก

คุณสามารถลดสิ่งล่อใจในการขว้างสิ่งของได้โดยการ:

  • ใช้ถ้วยหรือจานที่ติดอยู่กับโต๊ะหรือถาดของเก้าอี้ตัวสูง วิธีนี้จะช่วยลดการหกเลอะเทอะได้ด้วย
  • คุณอาจหลีกเลี่ยงการต่อสู้กันโดยใช้อาหารเป็นอาวุธ โดยการตักอาหารใส่จานให้ลูกในปริมาณที่น้อย และให้เพิ่มในภายหลัง
  • ป้องกันไม่ให้ลูกโยนของออกจากรถเข็นเด็ก จากในรถ หรือรถเข็นช็อปปิ้งโดยการมัดถุงช็อปปิ้งให้เรียบร้อย
  • ของบางอย่างเช่น จุกนมปลอม ให้หนีบไว้กับเสื้อของเขา การทำเช่นนี้ไม่เพียงแต่ป้องกันไม่ให้ลูกขว้างจุกนมปลอมเล่น แต่ยังช่วยปกป้องเขาจากเชื้อโรคได้อีกด้วย
ลูกชอบขว้างของ สอน ลูก โยน ขว้าง

สอนลูกให้รู้ว่าอะไรขว้างได้ขว้างไม่ได้

โอ๊ย! เจ็บนะ – คุณต้องพูดแบบนี้บ้าง

การขว้างปาสิ่งของอาจเป็นพฤติกรรมที่มากเกินไป เพราะลูกน้อยอาจขว้างสิ่งของใส่เพื่อนเล่นหรือคุณได้หากเขาโกรธ คุณไม่ควรให้สิ่งนี้เกิดขึ้น ในขณะที่คุณสอนลูกว่าการขว้างรถของเล่นหรือตุ๊กตาใส่คนอื่นเป็นสิ่งไม่ควรทำ คุณควรบอกเหตุผลให้ลูกรู้ด้วยว่าทำไมคุณถึงไม่อนุญาตให้ลูกทำเช่นนั้นเมื่อเขาโกรธ

ปฏิกิริยาที่รวดเร็วและเหมาะสม

สิ่งแรกที่คุณควรทำคือรับรู้ว่าพฤติกรรมที่ลูกทำนั้นผิดและไม่เป็นที่ยอมรับ เตือนให้เขาทราบว่าลูกสามารถขว้างได้แค่ลูกบอลหรือสิ่งอื่นที่แม่อนุญาตให้ขว้างเล่นเท่านั้น คุณควรสอนลูกเช่นนี้ด้วยคำพูดที่สุภาพและไม่ตะโกนใส่ลูก และคุณควรสอนให้เขาเข้าใจด้วยว่าสิ่งที่เขาทำได้ทำให้คนอื่นเจ็บและทำให้บ้านรกเลอะเทอะ ทำให้สิ่งของเสียหาย และเป็นพฤติกรรมที่ไม่สุภาพด้วย

บทความใกล้เคียง: ลูกชอบเอาของใส่ปาก

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • วิธีสอนให้ลูกน้อยเลิกขว้างสิ่งของ
แชร์ :
  • MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

    MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

  • ห่วงเกินไป ใช่ว่าดี! วิจัยเผย ลูกที่ถูกเลี้ยงแบบตีกรอบ เสี่ยงซึมเศร้า และภาวะวิตกกังวล

    ห่วงเกินไป ใช่ว่าดี! วิจัยเผย ลูกที่ถูกเลี้ยงแบบตีกรอบ เสี่ยงซึมเศร้า และภาวะวิตกกังวล

  • ลูกถูกแกล้งที่โรงเรียน พ่อแม่จะรับมือ และปกป้องลูกได้อย่างไร

    ลูกถูกแกล้งที่โรงเรียน พ่อแม่จะรับมือ และปกป้องลูกได้อย่างไร

  • MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

    MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

  • ห่วงเกินไป ใช่ว่าดี! วิจัยเผย ลูกที่ถูกเลี้ยงแบบตีกรอบ เสี่ยงซึมเศร้า และภาวะวิตกกังวล

    ห่วงเกินไป ใช่ว่าดี! วิจัยเผย ลูกที่ถูกเลี้ยงแบบตีกรอบ เสี่ยงซึมเศร้า และภาวะวิตกกังวล

  • ลูกถูกแกล้งที่โรงเรียน พ่อแม่จะรับมือ และปกป้องลูกได้อย่างไร

    ลูกถูกแกล้งที่โรงเรียน พ่อแม่จะรับมือ และปกป้องลูกได้อย่างไร

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว