X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ลูกไม่ยอมพูดสักที อยากให้ลูกพูดเร็วๆ ต้องทำยังไง

บทความ 3 นาที
วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ลูกไม่ยอมพูดสักที อยากให้ลูกพูดเร็วๆ ต้องทำยังไง

วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด อยากให้ลูกน้อยพูดต้องทำอย่างไร ตอนนี้ลูกไม่ยอมพูดเลย ลูกพ฿ดไม่เป็นประโยค พูดไม่เป็นคำ พูดไม่รู้เรื่อง พ่อแม่ควรทำอย่างไร

วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด

วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด เทคนิคช่วยให้ลูกพูดเร็ว ๆ สำหรับพ่อแม่ที่เป็นห่วงว่าลูกน้อยไม่ยอมพูดเลย หรือพูดแล้วไม่เป็นประโยค พูดไม่รู้เรื่อง พ่อแม่ต้องสอนลูกอย่างไรดี แล้วลูกจะเริ่มพูดรู้เรื่องเมื่ออายุเท่าไหร่ พ่อแม่ควรสอนลูกอย่างไรให้พูดเป็นเร็วๆ กันนะ มาดูกันค่ะ

พัฒนาการการพูดของเด็ก

การพูดคุยครั้งแรกของทารกมักจะเกิดขึ้นไม่นานหลังจากคลอด แต่จะเป็นการพูดคุยแบบอวัจนภาษา คือ การใช้เสียงกรีดร้องหรือการร้องไห้ออกมานั่นเองค่ะ ทารกมักจะร้องไห้เพื่อบอกว่าตัวเองต้องการอะไร รู้สึกอย่างไร เช่น กลัว หิว ไม่พอใจ และเรียกร้องความสนใจ หลังจากนั้นทารกก็จะมีพัฒนาการทางการพูดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยมีพัฒนาการดังต่อไปนี้ คือ

  • เด็กวัย 3 เดือน: ลูกน้อยจะชอบมองใบหน้าพ่อแม่ขณะที่คุณคุยกับเขา และทารกมักจะชอบหันไปหาเสียงไม่ว่าจะเสียงคนคุยกัน เสียงเพลง หรือเสียงอื่น ๆ รอบข้าง โดยเฉพาะเพลงที่เคยได้ฟังตั้งแต่อยู่ในท้อง ในวัยนี้ทารกจะชอบเสียงผู้หญิงมากกว่าเสียงผู้ชายค่ะ และเริ่มที่จะอ้อแอ้บ้าง
  • เด็กวัย 6 เดือน: ลูกน้อยจะเริ่มพูดด้วยเสียงที่แตกต่างกัน และจะตอบสนองต่อชื่อเรียกของตัวเอง มีการใช้น้ำเสียงที่บอกว่ามีความสุขหรืออารมณ์เสียได้ บางคนเริ่มเรียกพ่อหรือแม่ได้แล้ว
  • เด็กวัย 9 เดือน: ลูกน้อยจะเริ่มเข้าใจความหมายของคำบางคำ เช่น ไม่ ลาก่อน เริ่มรู้จักการใช้โทนเสียงอื่นๆ และการออกเสียงพยัญชนะอื่นๆ
  • เด็กวัย 12 เดือน: ลูกจะเริ่มพูดคำง่ายๆ และเริ่มตอบสนองในสิ่งที่พ่อแม่หรือคนรอบข้างบอก ทั้งยังเข้าใจคำบางคำสั้นๆ
  • เด็กวัย 18 เดือน: ลูกน้อยเข้าใจความหมายของคำมากขึ้น สามารถระบุคน วัตถุ หรือส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ ทั้งยังเลียนแบบคำพูดจากการที่ได้ยินคุณพูด แต่จะเป็นเพียงคำสุดท้ายของประโยค โดยจะพูดซ้ำๆ
  • เด็กวัย 2 ขวบ: ลูกน้อยจะเริ่มพูดเป็นวลีสั้นๆ เพียง 2-3 คำ เข้าใจคำศัพท์เกี่ยวกับวัตถุ และธรรมชาติมากขึ้น รวมถึงสามารถทำตามคำแนะนำหรือคำขอร้องของพ่อแม่ได้
  • เด็กวัย 3 ขวบ: ลูกน้อยจะเริ่มเข้าใจคำศัพท์มากขึ้น เข้าใจสัญลักษณ์ เข้าใจความรู้สึก สามารถพูดได้ยาวมากขึ้น สามารถตอบคำถามที่ซับซ้อนขึ้นได้
วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ลูกไม่ยอมพูดสักที

วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด

Advertisement

ลูกไม่พูดควรทำอย่างไร

สำหรับวิธีกระตุ้นให้ลูกพูดนั้น พ่อแม่อาจจะช่วยให้ลูกได้เรียนรู้เกี่ยวกับการพูดให้มากขึ้น โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้

  • การดู: พ่อแม่ควรคอยดูปฎิกิริยาของลูกน้อยว่าลูกมีท่าทีอย่างไร เพราะในช่วงแรกๆ ท่าทารกจะใช้ภาษากายในการสื่อสาร เช่น การยื่นของเล่นมาให้คุณ เพื่อบอกว่าเขาอยากเล่นกับคุณ ช่วงนี้พ่อแม่ควรสบตาและทำการตอบสนองลูกตอบค่ะ
  • การฟัง: พออายุลูกโตขึ้นอีกหน่อย เมื่อเขาพูดอ้อแอ้คุณควรพยายามตั้งใจฟังในสิ่งที่เขากำลังพูดให้มากที่สุด เพราะลูกน้อยกำลังที่จะฝึกพูดและพยายามเลียนเสียงตามพ่อแม่ค่ะ

  • การชมเชย: เวลาที่ลูกพยายามคุยด้วย พ่อแม่อาจยิ้มและปรบมือให้เพื่อเป็นการชมเชยถึงความพยายามของเด็ก เมื่อลูกเห็นลูกจะได้มีแรงผลักดันในการที่จะพูดให้มากขึ้น
  • การเลียนแบบ: ทารกมักจะชอบเลียนแบบผู้ใหญ่อยู่แล้ว ดังนั้น พ่อแม่ควรพูดกับลูกบ่อย ๆ โดยพูดช้า ๆ ชัด ๆ คำสั้น ๆ และคำง่ายๆ ก่อน และเว้นจังหวะให้ลูกพูดตามค่ะ
  • การอธิบาย: เวลาพูดคุยกับลูก พ่อแม่อาจจะชี้ไปยังวัตถุรอบตัว แล้วอธิบายให้ลูกเข้าใจมากขึ้น เช่น “นั่นสุนัขดูมันวิ่งซิลูก” หรือ ชี้มาที่ชามแล้วบอกว่า “เอาข้าวเพิ่มไหมลูก”
  • การเล่าเรื่อง: ระหว่างที่พ่อแม่อยู่กับลูก พ่อแม่อาจจะเล่าเรื่องรอบตัว หรือบอกว่าตัวเองจะทำอะไรให้ลูกฟัง เช่น “แม่กำลังตัดเล็บให้ลูกนะ” หรือ “วันนี้ใส่เสื้อสีน้ำเงินไหม มีหมีตัวโตด้วย” การพูดคุยแบบนี้จะเป็นการฝึกความเชื่อมโยงกับให้กับเด็กค่ะ
  • การเล่น: การส่งเสริมให้ลูกเล่นโดยใช้จินตนาการ เป็นเหมือนการช่วยให้ลูกได้ฝึกพูดเหมือนกัน เพราะเด็กมักจะจำลองเหตุการณ์ต่างๆ ออกมา พร้อมกับสร้างบทสนทนาขึ้นมาเองค่ะ
  • การออกเสียง: ฝึกให้ลูกออกเสียง
  • ปล่อยให้ลูกพูด: ทุกครั้งที่พ่อแม่พูดกับลูกต้องพยายามปล่อยให้ลูกพูดบ้าง ไม่ใช่ว่าพูดใส่ลูกอย่างเดียวจนลูกไม่มีจังหวะพูดออกมา และในช่วงแรกอาจชวนลูกพูดในเรื่องที่สนใจ ให้เขาเล่าออกมา

ที่มา: webmd

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

ฝึกลูกพูด 2 ภาษา อย่างไรให้ได้ดี วิธีสอนลูกพูดภาษาอังกฤษ สไตล์หมอเด็ก

ลูกไม่พูด ตอนนี้ 3 ขวบแล้ว ทำไงดี?

ลูกพูดไม่เป็นภาษา พูดไม่รู้เรื่อง เกิดจากอะไร ต้องแก้ไขยังไง

บทความจากพันธมิตร
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ลูกไม่ยอมพูดสักที อยากให้ลูกพูดเร็วๆ ต้องทำยังไง
แชร์ :
  • ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู?  รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

    ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู? รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

  • ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

    ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

  • ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู?  รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

    ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู? รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

  • ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

    ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว