X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกอายุเข้าสู่วัยรุ่น ควรฉีดวัคซีนอะไรบ้าง?

บทความ 5 นาที
ลูกอายุเข้าสู่วัยรุ่น ควรฉีดวัคซีนอะไรบ้าง?

คุณแม่น้องไทม์ อายุ 12 ครึ่ง สอบถามหมอว่ามีวัคซีนอะไรอีกหรือไม่ที่เด็กชายอายุย่างเข้าวัยรุ่นแบบน้องไทม์ควรจะฉีด นอกจากวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมาฉีดเป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว หมอจึงได้ให้ข้อมูล ตามที่คุณแม่สงสัย ดังนี้ค่ะ

วัคซีนที่เด็กวัยรุ่นควรฉีด มีอะไรบ้าง?

วัคซีนที่วัยรุ่นแบบน้องไทม์ควรฉีด มีอยู่ 2 ตัวค่ะ ก็คือวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์ (Tdap) และวัคซีนมะเร็งปากมดลูก (HPV)

คำถามสำหรับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์

1. เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก โรคคอตีบ และ โรคไอกรน มาหลายเข็มแล้ว ต้องฉีดตอนเข้าวัยรุ่นด้วยหรือ?

เนื่องจากวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน เป็นวัคซีนที่เด็กๆ จะได้รับตั้งแต่อายุ 2 เดือนจนถึง 6 ปี มาแล้ว 5 เข็ม แต่เมื่อเด็กๆ มีอายุเพิ่มขึ้น ภูมิคุ้มกันที่เกิดจากวัคซีนลดลง จึงต้องมีการกระตุ้นซ้ำเมื่อ อายุ 11-12 ปี โดยใช้วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์ชนิดสูตรสำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่ หลังจากนั้นควรจะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก (ไม่มีไอกรน) ต่อเนื่องทุก 10 ปีค่ะ

2. มีข้อห้ามอะไรบ้างในการฉีดวัคซีนป้องกันโรค คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์สำหรับเด็กโต?

ข้อห้ามการฉีดวัคซีนนี้ คือ เด็กที่เคยมีประวัติแพ้อย่างรุนแรงภายหลังได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนชนิดใด หรือมีปฏิกิริยาแพ้อย่างรุนแรงต่อส่วนประกอบของวัคซีนนี้ เด็กที่มีประวัติเคยพบอาการทางสมองอย่างรุนแรงภายใน 7 วัน ภายหลังได้รับวัคซีนที่มีส่วนประกอบของวัคซีคไอกรน หรือมีความผิดปกติของสมองหรือลมชักซึ่งยังควบคุมไม่ได้ค่ะ

3. วัคซีนป้องกันโรค คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์สำหรับเด็กโตมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง?

ผลข้างเคียงที่พบบ่อย อาจจะเกิดขึ้นหลังรับวัคซีนชนิดนี้ก็คือ ปวด บวมบริเวณที่ฉีด ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียนและมีไข้ได้ค่ะ

บทความแนะนำ ลูกแขนบวมมากหลังฉีดวัคซีนควรทำอย่างไร?

คำถามสำหรับวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

1. เด็กผู้ชายก็ควรฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกด้วยหรือ?

ถ้าสามารถฉีดได้ ก็จะมีประโยชน์ค่ะ เพราะวัคซีนนี้ เป็นวัคซีนที่ใช้การติดเชื้อฮิวแมนแพปพิลโลมาไวรัส (Human Papillomavirus-HPV) ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิง โดยเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก มากกว่า 70% นอกจากนั้นเชื้อ HPV สายพันธุ์ 6 และ 11 ยังเป็นสาเหตุของหูดที่อวัยวะเพศ และมะเร็งทวารหนักในผู้ชายได้ ในวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกชนิด 4 สายพันธุ์ จึงไม่ได้มีประโยชน์ในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิงเท่านั้น แต่ช่วยป้องกันหูดที่อวัยวะเพศ และมะเร็งของอวัยวะสืบพันธุ์ในผู้ชายได้ค่ะ

2. วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทยมีกี่ชนิด และแต่ละชนิดมีกี่สายพันธุ์?

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ปัจจุบันมีอยู่ 3 ชนิด คือ ชนิดที่ป้องกันการติดเชื้อได้ 2, 4, และ 9 สายพันธุ์ ค่ะ

  • ชนิด 2 สายพันธุ์ (ป้องกัน HPV สายพันธุ์ที่ 16 และ 18) มีชื่อการค้าว่า “Cervarix”
  • ชนิด 4 สายพันธุ์ (ป้องกัน HPV สายพันธุ์ที่ 6, 11, 16 และ 18) มีชื่อการค้าว่า “Gardasil” ป้องกันมะเร็งปากมดลูก หูดที่อวัยวะเพศและมะเร็งทวารหนักในผู้ชาย
  • ชนิด 9 สายพันธุ์ (สายพันธุ์ที่ 6, 11, 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58) มีชื่อการค้าว่า “Gardasil 9” สามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูก หูด และมะเร็งทวารหนักได้มากขึ้น แต่ยังไม่มีจำหน่ายในประเทศไทยนะคะ

3. วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกต้องฉีดกี่เข็ม?

Advertisement

ปัจจุบัน แนะนำว่า ต้องฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกทั้งหมด 3 เข็มภายในระยะเวลา 6 เดือน คือ

เข็มที่ 1 เริ่ม ฉีดตามอายุที่เหมาะสม คือ 9-26 ปี โดยเน้นที่อายุ 11-12 ปี

เข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 1-2 เดือน

เข็มที่ 3 ห่างจากเข็มแรกประมาณ 6 เดือน

ปัจจุบันมีการศึกษาที่แนะนำว่าให้ฉีดวัคซีนชนิดนี้ 2 เข็มแทน 3 เข็มได้ ในเด็กวัยรุ่นที่แข็งแรงดี หากฉีดเข็มแรกก่อนอายุ 15 ปี จะสามารถฉีดเพียง 2 เข็มได้ โดยมีประสิทธิภาพสูง โดยฉีดเข็มที่ 1 และ 2 ห่างกัน 6 เดือน ส่วนเด็กที่อายุมากกว่า 14 ปี ควรต้องฉีด 3 เข็มตามปกติจึงจะมีภูมิต้านทานจากวัคซีนขึ้นดีค่ะ

4. มีข้อห้ามอะไรบ้างในการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก?

ข้อห้ามการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ก็คือ เด็กที่เคยมีประวัติแพ้อย่างรุนแรงภายหลังได้รับวัคซีนนี้ หรือเด็กที่แพ้ส่วนประกอบในวัคซีน เช่น ยีสต์

5. วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง?

วัคซีนมะเร็งปากมดลูกมีผลข้างเคียงที่พบบ่อย คล้าย ๆ กับการฉีดวัคซีนชนิดอื่น ๆ เช่น รู้สึกปวดบวมแดงบริเวณที่ฉีดยา ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ เป็นไข้ คลื่นไส้ โดยอาการมักจะไม่รุนแรง และจะหายไปได้เองเมื่อผ่านไป 2-3 วัน

เนื่องจากวัคซีนสำหรับวัยรุ่น ทั้ง 2 ชนิดนี้ เป็นวัคซีนเสริม ซึ่งมีราคาสูงและมีรายละเอียดต่าง ๆ ค่อยข้างมาก คุณพ่อคุณแม่สามารถปรึกษาคุณหมอเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการตัดสินใจฉีดได้ค่ะ

 

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

เรื่องจริง!! เนื้องอกรังไข่ เด็กและวัยรุ่นก็เป็นได้

ประสบการณ์ตรง : บทเรียนจากคุณแม่วัยใส เตือนใจวัยรุ่นท้องก่อนวัยอันควร

theAsianparent Community

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ลูกอายุเข้าสู่วัยรุ่น ควรฉีดวัคซีนอะไรบ้าง?
แชร์ :
  • อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

    อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

  • วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

    วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

  • แม่แชร์อุทาหรณ์ ลูกแพ้กุ้ง ตาบวมฉึ่ง ทั้งที่ปกติกินกุ้งประจำ

    แม่แชร์อุทาหรณ์ ลูกแพ้กุ้ง ตาบวมฉึ่ง ทั้งที่ปกติกินกุ้งประจำ

  • อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

    อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

  • วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

    วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

  • แม่แชร์อุทาหรณ์ ลูกแพ้กุ้ง ตาบวมฉึ่ง ทั้งที่ปกติกินกุ้งประจำ

    แม่แชร์อุทาหรณ์ ลูกแพ้กุ้ง ตาบวมฉึ่ง ทั้งที่ปกติกินกุ้งประจำ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว