คุณเเม่ส่วนใหญ่สามารถคลอดลูกได้อย่างปลอดภัย แต่บางส่วนก็พบกับ ภาวะทารกเครียดระหว่างคลอด หรือ fetal distress คุณพ่อคุณแม่ควรมีวิธีรับมืออย่างไร ติดตามได้จากบทความนี้
ภาวะทารกเครียด คืออะไร
Fetal Distress หรือ ภาวะทารกเครียด เป็นการบ่งบอกว่า ทารกในครรภ์อยู่ในภาวะที่อันตราย เกิดจากการที่ทารกในครรภ์ได้รับออกซิเจนจากเลือดของมารดาไม่เพียงพอ โดยภาวะเครียดของทารกในครรภ์นั้น ถือเป็นภาวะที่อันตราย หากให้การช่วยเหลือให้ทารกคลอดไม่ทันท่วงที ก็อาจทำให้ทารกในครรภ์เกิดความพิการทางสมอง หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตจากการขาดออกซิเจนได้
ความเครียดของทารกในครรภ์ มีกี่ประเภท
สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1.ความเครียดเฉียบพลัน
คือ การเกิดปัญหาอย่างกะทันหัน ส่วนมากเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุของคุณแม่ เช่นการลื่นล้ม หรือเกิดการกระแทกรุนแรงบริเวณครรภ์ ซึ่งแรงกระทบกระเทือนเหล่านี้จะส่งผลให้รกเกิดการลอกตัว ทำให้ทารกในครรภ์ขาดอากาศ ในรายที่เกิดการกระแทกรุนแรง อาจส่งผลทำให้ทารกจะขาดอากาศและเสียชีวิตได้
2.ความเครียดเรื้อรัง
สาเหตุมักเกิดจากสุขภาพร่างกายของคุณแม่เป็นหลัก เช่น คุณแม่ตั้งครรภ์ป่วยด้วยโรคที่ทำให้ร่างกายไม่สมบูรณ์ อาทิเช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคโลหิตจาง เป็นต้น อาการเหล่านี้ก็ทำให้สารส่งสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงทารกในครรภ์ทำได้ไม่เต็มที่ ทำให้เกิดความเครียดเรื้อรัง ส่งผลให้ทารกในครรภ์มีพัฒนาการช้า ไม่แข็งแรง และอาจสูญเสียการตั้งครรภ์ได้
ภาวะทารกเครียดระหว่างคลอด คุณพ่อคุณแม่ควรมีวิธีรับมืออย่างไร
สาเหตุของภาวะทารกเครียดระหว่างคลอด
-
- ครรภ์เป็นพิษ ซึ่งเป็นภาวะเกี่ยวเนื่องกับความดันโลหิตสูงของหญิงตั้งครรภ์
- ภาวะเบาหวานตอนตั้งครรภ์
- แม่ท้องที่มีภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
- แม่ท้องที่มีภาวะน้ำคร่ำน้อย หรือถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์คลอด ทำให้สายสะดือถูกกดทับกับส่วนต่าง ๆ ของทารก ส่งผลให้เส้นเลือดถูกอุดกั้น เลือดจึงไปเลี้ยงลูกในครรภ์ได้น้อยลง
- ปัญหาเรื่องเลือดไปหล่อเลี้ยงเด็กในครรภ์ เช่น รกในครรถ์ทำงานไม่เป็นปกติหรือมีปัญหากับสายสะดือ
- การตั้งครรภ์ที่เจ็บท้องคลอดที่นานกว่าปกติร่วมกับอาการรัดตัวของมดลูกอย่างรวดเร็ว
- เมื่ออายุครรภ์เกินกำหนดหรือแม่มีอายุเกิน 35 ปี
- เด็กติดอยู่ที่ช่องคลอดนานเกินไป มีการตั้งครรภ์เกินกำหนด ส่งผลให้รกเสื่อมและประสิทธิภาพในการส่งเลือดไปเลี้ยงทารกไม่ดี
- แม่ท้องที่ได้รับยากระตุ้นการบีบตัวของมดลูกมากเกินไป ทำให้เส้นเลือดมดลูกหดตัว ส่งผลให้ขาดเลือดไปเลี้ยงรกและทารกในครรภ์เป็นเวลานาน
- ฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ใช้ระหว่างคลอด เช่น ออกซิโตซิน ฮอร์โมนเหล่านี้ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงภาวะการเต้นของหัวใจของเด็กในครรภ์
จะทราบได้อย่างไรว่าทารกเครียดระหว่างคลอด
ในระหว่างการคลอด คุณหมอจะดูอัตราการเต้นของหัวใจของทารกในครรภ์เพื่อสังเกตความเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติอย่างจังหวะการเต้นของหัวใจหรือความถี่ ถ้าคุณหมอเกรงว่าจะมีความผิดปกติ คุณหมอจะใช้ใส่เครื่องมือตรวจความผิดปกติภายในแบบอิเลคทรอนิคเพื่อเฝ้าดูอัตราการเต้นของหัวใจของทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิดมากขึ้น เครื่องมือนี้จะสอดเข้าไปทางช่องคลอดเมื่อน้ำคล่ำแตก
การตรวจอื่น ๆ เพื่อตรวจหาภาวะทารกเครียดระหว่างคลอด
- ขี้เทาในน้ำคล่ำที่สามารถขัดขวางระบบการหายใจของทารกในครรภ์และทำให้เกิดปัญหาการหายใจหลังการคลอด
- คุณหมออาจต้องการเก็บเลือดของทารกในครรภ์โดยใช้หลอดสอดไปทางช่องคลอด คุณหมอจะตรวจหาระดับอ๊อกซิเจนในเลือดเพื่อสร้างความมั่นใจว่าทุกอย่างเรียบร้อยดี
การตรวจอัลตร้าซาวน์สามารถบอกได้ว่าทารกในครรภ์มีสายสะดือพันคอหรือไม่ สาเหตุนี้ช่วยเรื่องปัญหาเลือดไปหล่อเลี้ยงเด็กในครรภ์อีกด้วย
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ : เที่ยวนอกบ้าน “ทารกเครียด” ได้นะ เดินทางกับทารกยังไง ให้ไร้ความเครียด
ภาวะทารกเครียดระหว่างคลอด คุณพ่อคุณแม่ควรมีวิธีรับมืออย่างไร
การดูแลรักษาภาวะทารกเครียดระหว่างคลอด
- การแก้ไขเบื้องต้น
-
- ปรับท่ามารดา เช่น นอนตะแคง
- ให้ออกซิเจน
- ให้ IV fluid (หากมีภาวะความดันโลหิตต่ำจาก regional anesthesia ให้แก้ไข)
- หยุดให้ oxytocin
- ตรวจภายในเพื่อประเมินปากมดลูก และภาวะสายสะดือโผล่ย้อย (cord prolapse)
- ให้ terbutaline ½ ampule subcutaneous หรือ intravenous ในกรณี FHR ที่ผิดปกติสัมพันธ์กับการหดรัดตัวของมดลูก
- การแก้ไขจำเพาะ
- Repetitive late deceleration และ sinusoidal pattern
- ให้คลอดทางช่องคลอดหากปากมดลูกเปิดใกล้หมดแล้ว
- ผ่าตัดคลอดหากปากมดลูกยังเปิดไม่หมด
- Repetitive severe variable deceleration, prolonged deceleration และ bradycardia
- ผ่าตัดคลอดฉุกเฉินหากพบภาวะสายสะดือโผล่ย้อย
- ให้คลอดทางช่องคลอดหากปากมดลูกเปิดใกล้หมดแล้ว
- Saline infusion หากปากมดลูกยังเปิดไม่หมด (เติม normal saline 500 มล. เข้าไปในโพรงมดลูก และหยดต่อเนื่องในอัตราเร็ว 3 มล.ต่อนาที)
- หากไม่สามารถแก้ไขได้ด้วย saline infusion ให้ผ่าตัดคลอด (ในกรณี bradycardia อาจพิจารณาผ่าตัดคลอดได้เลยหากปากมดลูกยังเปิดไม่หมด โดยไม่ต้องรอให้ saline infusion ก่อน)
ภาวะทารกเครียดในครรภ์อันตรายขนาดไหน?
หากแม่ท้องเกิดภาวะทารกเครียดในครรภ์ โดยส่วนใหญ่แพทย์จะรีบทำการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องทันที อันตรายที่เกิดกับทารกจึงขึ้นอยู่กับว่าขณะลูกอยู่ในครรภ์มีการขาดออกซิเจนมากน้อยเพียงใด หากขาดออกซิเจนไม่นานและได้รับการช่วยเหลือทันท่วงที ก็จะไม่มีความพิการต่อสมองทารก แต่ถ้าขาดออกซิเจนนานจะทำให้สมองทารกพิการได้ เมื่อคลอดออกมาหรือหากรุนแรงมากก็อาจทำให้ทารกเสียชีวิตได้
ดังนั้นเพื่อป้องกันการเกิดภาวะทารกเครียดในครรภ์ สิ่งที่คุณแม่พอทำได้คือการสังเกตว่าลูกดิ้นหรือไม่ดิ้น หากพบว่าลูกไม่ดิ้นหรือมีอาการที่ปกติกับคุณแม่ ต้องรีบไปพบแพทย์โดยทันที
ที่มา : haamor
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
https://w1.med.cmu.ac.th
ตั้งครรภ์เมื่ออายุมาก
ตรวจครรรภ์ก่อนคลอดสำคัญไฉน
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!