X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกติดยูทูป ลูกติดมือถือแก้ยังไง เปิดใจคุณแม่เจ้าของไวรัล ลูกไม่กล้าจับมือถือ

9 Jan, 2018
ลูกติดยูทูป ลูกติดมือถือแก้ยังไง เปิดใจคุณแม่เจ้าของไวรัล ลูกไม่กล้าจับมือถือ

เพียงไม่นาน ที่คุณแม่ต้องโพสต์คลิป "น้องจิกลัวหมูแดง" ก็ทำให้ชาวเน็ตแชร์กันทั่วโลกออนไลน์

ลูกติดยูทูป ลูกติดมือถือแก้ยังไง

ลูกติดยูทูป ลูกติดมือถือแก้ยังไง เปิดใจคุณแม่ต้อง เจ้าของไวรัล ลูกไม่กล้าจับมือถือ ซึ่งคุณแม่ต้องได้โพสต์คลิปพร้อมข้อความว่า สาเหตุที่น้องฟูจิ..ไม่จับมือถือ ไม่ดูยูทูปแล้ว เพราะแม่กับป๊าทำแบบนี้ แต่ก่อนติดมากต้องขอดูตลอด อาจไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด แต่ก็ได้ผล

ขอบคุณแม่ ๆ ที่ชื่นชอบนะคะ หวังว่าคงได้ไอเดียกัน และเป็นประโยชน์ต่อบ้านที่ลูกน้อยติดมือถือ
.
วิธีที่นำเสนออาจไม่ได้เป็นวิธีที่ถูกต้อง หรือแนะนำกับทุกบ้านนะคะ โปรดใช้วิจารณญาณก่อน เพราะบางบ้านใช้รูปที่น่ากลัว หลอกลูก อาจทำให้เค้าฝังใจและกลัวไปตลอดเลย ไม่กล้าจับมือถืออีกเลยก็ได้ค่ะ
.
สิ่งที่ต้องทำคือ พอแม่ต้องให้ลูกเลิกดู เลิกสนใจมือถือแล้ว ต้องก็เลิกบอกเค้าหรือไม่สร้างความกลัวให้เค้าอีก
.
อยากให้ใช้ความละเอียดอ่อนนะคะ ไม่อยากให้สร้างพฤติกรรมผิด ๆ

 

www.facebook.com/pimpawan.molee/videos/10215260344364698/

 

คำถาม : ทำไมคุณแม่ต้องถึงคิดวิธีนี้ขึ้นมาได้

ลูกไปห้าง เจอหมูแดงตัวนี้ทีไร บอกว่ากลัว ๆ ให้อุ้มทุกทีค่ะ

ช่วงนี้น้องฟูจิ 2 ขวบ เริ่มพูดได้ บอกอยากได้อะไร ไม่อยากได้อะไร เรื่องมือถือจะชอบมาขอดู YouTube (เพลงเด็กทั่วไป) ตอนแม่นั่งทำงานที่บ้านเปิดทำคอมพ์ทั้งวัน บางทีเค้าร้องกวน ขอดู YouTube ก็ให้ดูค่ะ

เพราะคิดว่ามันก็ไม่ได้มีข้อเสียทั้งหมด เลือกให้ดูบางเพลง เช่น A B C

แต่เด็กก็คงเหมือนเรา ติดมือถือง่ายมาก ว่าง ๆ แป๊บ ๆ ก็มาขอดู YouTube ของเล่นเต็มบ้านก็เล่นแป๊บ ๆ บางทีแม่เผลอไม่มีเวลา พอได้ดูก็ดูยาวค่ะ (1 ชั่วโมง)

ก็เลยนึกถึงหมูแดงตัวนี้ที่เค้ากลัวขึ้นมา พอลูกบอกว่า tube หน่อย ๆ ก็แกล้งเปิดรูปหมูแดงขึ้นมา เค้าตกใจ ร้องเลย และไม่กล้ามาดู แม่ก็บอกว่า มีหมูแดงอยู่ในนั้นค่ะ

Advertisement

ตอนนี้เค้าไม่ได้จับมือถือมาสามวันละ แม้ว่าเห็นคุณแม่เล่น เค้าบอกว่ามีหมูแดง

แต่เค้าแยกแยะได้นะคะ คุณยายโทรมาก็รับโทรศัพท์ปกติ ไม่ได้กลัว แต่พอมาจะเปิด YouTube เค้าก็บอกเองว่า มีหมูแดง ไม่ดูค่ะ สุดท้ายป๊าก็ตั้งเป็นภาพหน้าจอไปเลย

ตอนนี้คลิปแชร์เยอะเลย ถ้ามีผลเสียยังไงก็แชร์กันได้นะคะ มีแม่ ๆ มาขอรูปหมูแดงกันเยอะมาก ก็ส่งให้ไปค่ะ บางท่านก็บอกได้ผล บางคนก็ไม่ได้ผล

 

คำถาม : อยากให้คุณแม่บอกถึงข้อเสียของลูกติดจอหน่อยค่ะ

จริง ๆ ไม่ถึงกับซีเรียสมากค่ะ เพราะผู้ใหญ่เองยังติดเลย ทุกวันนี้อยู่กับคอมพ์ กับมือถือ ทั้งใช้ทำงานและส่วนตัว เด็กสมัยนี้เลยซึมซับไว จับมือถือปุ๊บ กด สไลด์ เป็นเลย ข้อเสียจากประสบการณ์นะคะ

  1. สมาธิสั้น สังเกตจากบางทีลูกดูไม่จบ กดเปลี่ยนไปเรื่อย เหมือนคงไม่รู้ความหมาย
  2. สายตาเสีย
  3. ขาดการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งรอบข้าง ไม่สนใจคนรอบ ๆ พอได้ดู
  4. สร้างเงื่อนไขบางอย่างที่ไม่ดี เช่น กินข้าวแล้วจะได้ดูมือถือ
  5. เด็กจะไม่ทำอะไรเลย ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ

 

ต้องขอขอบคุณคุณแม่ต้องมาก ๆ เลยนะคะ ที่มาแบ่งปันประสบการณ์กับเรา มาดูข้อมูลเพิ่มเติมลูกติดยูทูป ลูกติดมือถือแก้ยังไง ต่อในหน้าถัดไป

6 ผลกระทบ จากการใช้สมาร์ทโฟนมากเกินไป

  1. ทำให้นอนหลับไม่เพียงพอ
  2. ผลการเรียนย่ำแย่ลง
  3. สมรรถภาพทางกายลดลง
  4. สายตาแย่ลง
  5. พัฒนาการทางสมองช้าลง
  6. ความสามารถในการสื่อสารลดลง

ผลกระทบต่อการต้องมองจอโทรศัพท์ทำให้สายตาเสีย, นอนหลับไม่เพียงพอ และขาดการออกกำลังกายจนสุขภาพถดถอยลงนั้นเป็นเรื่องที่ทราบกันดี แต่ผลกระทบต่อสมองและการเรียนก็ได้รับการพิสูจน์โดยผลการสำรวจแล้ว

อ่านเพิ่มเติม แพทย์ญี่ปุ่นเตือน ให้ลูกเล่นมือถือ ส่งผลเสียทุกด้าน

 

ลูกติดโทรศัพท์ส่งผลสมาธิสั้น

สาเหตุที่ทำให้ลูกสมาธิสั้น เพราะลูกเล่นมือถือ ติดหน้าจอนานเกินวันละหลายชั่วโมง เมื่อได้จดจ่อกับเรื่องราวที่ผ่านตาเร็วเกินไป การเคลื่อนไหวในสื่อบนหน้าจอมือถือหรือแท็ปเล็ตที่เปลี่ยนแปลงและมีความรวดเร็ว จะทำให้เกิดปัญหาการใช้สมองในส่วนความทรงจำลดลง หากปล่อยให้ลูกเล่นเช่นนี้เป็นประจำทุกวันจะสะสมให้เด็กเกิดอาการสมาธิสั้น

 

วิธีลดความเสี่ยงพฤติกรรมลูกติดโทรศัพท์

เพื่อไม่ให้ลูกสมาธิสั้น ต้องกำหนดเวลาในการเล่นแท็ปเล็ต สมาร์ทโฟนหรือมือถือ ไม่เกินวันละ 1-2 ชั่วโมง

พาลูกออกไปเที่ยวบอกบ้านหรือหากิจกรรมอื่น ๆ ทำร่วมกับลูกให้มากขึ้น เพื่อให้ลูกใส่ใจคนรอบข้าง สนอกสนใจกับสิ่งรอบตัวเสียบ้าง

พ่อแม่ต้องเอาใจใส่ คอยดูแล สอดส่องพฤติกรรมของลูก แนะนำให้ดูพวกสื่อที่มีคุณภาพ

พ่อแม่ต้องคอยนั่งดูกับเขาด้วย อย่าปล่อยให้ดูเพียงคนเดียว และไม่ควรนำมาให้ลูกเล่นเพียงเพราะว่าอยากให้เขาอยู่นิ่ง ๆ ไม่ร้องไห้งองแง หรือทำให้เขาสงบลง

 

ที่มา : board.postjung.com, voathai และ ผู้จัดการ mainichi

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

แก้ปัญหาลดภาวะเสี่ยง “เด็กติดจอ” อย่างไรดี

สอนลูกอ่านหนังสือ วิธีฝึกให้ลูกรักการอ่าน ตั้งแต่ยังเป็นทารก

6 วีธีฝึกนิสัย สร้างวินัยการออมให้ลูก

 

บทความจากพันธมิตร
ก้าวไปอีกขั้น! PalFish Thailand จัดงานอลัง “ฉลองรับการขยายออฟฟิศใหม่”
ก้าวไปอีกขั้น! PalFish Thailand จัดงานอลัง “ฉลองรับการขยายออฟฟิศใหม่”
แพ็ลฟิชฯ จัดอลัง!! ประชันแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ “PalFish English Speech Contest” - ดัน “UN” ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs 17)
แพ็ลฟิชฯ จัดอลัง!! ประชันแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ “PalFish English Speech Contest” - ดัน “UN” ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs 17)
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • ข่าว
  • /
  • ลูกติดยูทูป ลูกติดมือถือแก้ยังไง เปิดใจคุณแม่เจ้าของไวรัล ลูกไม่กล้าจับมือถือ
แชร์ :
  • เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

    เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

  • นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

    นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

  • เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

    เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

  • เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

    เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

  • นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

    นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

  • เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

    เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว