1.เป็นแบบอย่างที่ดี
เริ่มต้นที่ตัวคุณเอง เป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นการซื้อของเท่าที่จำเป็นจริงๆ ไม่ใช้จ่ายเงินสุรุ่ยสุร่าย ฟุ้งเฟ้อไปกับสิ่งที่ไม่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เครื่องสำอาง ไปจนถึงของเล่นลูกเพราะเด็กมักจะมองสิ่งที่พ่อแม่ทำและลอกเลียนแบบ หากเราเป็นแบบอย่างที่ดี ใช้ของอย่างรู้คุณค่า ไม่ใช่ซื้อมาเก็บไว้แล้วห้ามไม่ให้ใครใช้เลย นั่นไม่ได้เรียกว่ารู้คุณค่าแต่เป็นเรียกว่าใช้เงินไม่เป็นมากกว่าเพราะซื้อมาเก็บไม่ได้ซื้อมาใช้ หากเสื้อผ้าหรือสิ่งของอันไหนเสียหายแต่ยังอยู่ในสภาพดีก็ควรซ่อมแซมให้กลับมาใช้ได้ใหม่เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายและใช้สิ่งของให้คุ้มค่าเป็นต้น
2.กระปุกออมสินคือสิ่งจำเป็น
อุปกรณ์สำคัญในการออมคือกระปุกออมสิน คุณแม่คุณแม่อาจชักจุงให้ลูกสนใจการออมด้วยการให้ลูกเลือกกระปุกออมสินในแบบที่เขาอยากได้และชักชวนให้หยอดกระปุกทุกวันเช่นหากคุณมีเศษเหรียญที่เหลือจาการซื้อของก็อาจให้ลูกแล้วชักชวนให้ไปหยอดประปุกหรือหากได้เงินจากญาติผู้ใหญ่ก็ให้ลูกนำส่วนหนึ่งมาหยอดกระปุกเพื่อให้รู้จักการเก็บออมและควรฝึกให้เป็นนิสัยลูกรู้ว่าการออมเป็นเรื่องสำคัญเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำทุกวันที่ห้ามละเลยจะกลายเป็นสิ่งที่ติดตัวลูกไปจนโต
3.อยากได้ต้องรู้จักเก็บออม
เมื่อลูกมีกระปุกออมสินแล้วสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำต่อมาคือ ชี้ให้เห็นประโยชน์ของการออม เช่นหากลูกอยากได้ของเล่นที่มีราคาแพงๆ คุณพ่อคุณแม่อาจเสนอความคิดว่า ถ้าอยากได้ก็ต้องเก็บเงินซื้อเอง โดยคุณพ่อคุณแม่อาจเริ่มต้นด้วยการช่วยลูกจ่ายครึ่งหนึ่ง รอให้เขาเก็บเงินให้ได้จนครบตามจำนวนแล้วค่อยมาซื้อ จะทำให้ลูกรู้ว่าการออมมีประโยชน์อย่างไร และเมื่อกว่าจะได้ของเล่นมายากลำบากขนาดไหน ลูกจะรู้จักคุณค่าและรักษาของมากขึ้น
4.ให้ลูกบริหารเงินเอง
หากลูกอยู่ในวัยอนุบาลคุณพ่อคุณแม่อาจให้เงินเป็นรายวัน และต้องให้ลูกมีเงินเหลือกลับบ้านมาหยอดกระปุกทุกวัน หากวันไหนลูกไม่มีเงินเหลือกลับมาหยอดกระปุก คุณพ่อคุณแม่ต้องสอบถามอย่างมีเหตุผลว่าเขาใช้จ่ายเงินอย่างไรที่โรงเรียน และช่วยชี้แนะให้ลูกเห็นว่าหากเราซื้อของโดยไม่คิดถึงความจำเป็นผลที่ได้คือเราจะไม่มีเงินเหลือกลับมาหยอดกระปุกที่บ้าน ค่อยปรับวิธีใช้เงินของลูกให้ถูกทาง เพื่อฝึกนิสัยการบริหารเงินให้ลูกรู้จักใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นมากกว่าความพอใจ เมื่อลูกโตขึ้นค่อยเปลี่ยนมาให้ค่าเงินค่าขนมเป็นรายสัปดาห์หรือรายเดือนตามอายุที่โตขึ้น ที่สำคัญไม่ว่าจะใช้เงินอย่างไรต้องมีเงินเหลือมาหยอดกระปุกทุกวันลูกจะได้เห็นความสำคัญของการออมและรู้จักบริหารจัดการเงินของตัวเองได้อย่างเป็นระบบตั้งแต่เล็ก
5.กระปุกเต็มแล้วทำอย่างไรต่อ
เมื่อลูกออมเงินจนเต็มกระปุก คุณแม่ควรให้ลูกได้วางแผนเองว่าอยากใช้จ่ายเงินส่วนนี้อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นซื้อของเล่นที่อยากได้ เอาไปจ่ายค่าเรียนเสริม ซื้ออุปกรณ์งานอดิเรกที่อยากทำ แล้วต้องเหลือส่วนหนึ่งคุณแม่เพื่อพาลูกไปเปิดบัญชีเงินฝากที่ธนาคาร ให้ได้สมุดเงินฝากมีชื่อของเขาเองลูกจะได้รู้สึกภูมิใจ เห็นความสำคัญของการออม และมีวินัยการออมที่ต่อเนื่อง
6.รู้จักเก็บก็ต้องรู้จักให้
หลังลูกเริ่มใช้จ่ายเงินอย่างมีแบบแผนและรู้จักการออกเงินแล้วคุณพ่อคุณแม่ควรชักจุงให้ลูกรู้จักแบ่งปันคืนสู่สังคมเช่น หากใกล้ช่วงเดือนเกิดลูกก็สอนให้ลูกออมเงินเพิ่มหรือนำเงินออมของลูกบ้างส่วนแบ่งมาทำบุญซื้อของบริจาคให้บ้านเด็กกำพร้า บ้านพักคนชรา หรือซื้ออาหารบริจาคให้บ้านพักผิงสัตว์เพื่อเป็นการตอบแทนสังคม หรือทำขนมไปแจกเพื่อนๆและคุณครูที่โรงเรียน หรือชวนกันวางแผนเก็บเงินเพื่อซื้อของขวัญวันเกิดให้เพื่อนลูก คุณครู หรือญาติผู้ใหญ่เพื่อให้ลูกรู้จักการให้และการแบ่งปันคืนสู่สังคมด้วย
สิ่งสำคัญในการออมคือความต่อเนื่องเมื่อคุณพ่อคุณแม่เป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้เงินและปลูกฝังวินัยในการออมให้ลูกอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เล็กๆ ลูกเราจะมีภูมิคุ้มกันในการใช้เงินและออมเงิน ไม่ประมาทในการใช้ชีวิตนำไปสู่การมีอนาคตที่มั่นคงต่อไปค่ะ
แหล่งข้อมูล
สอนลูกให้รู้จักใช้เงิน เทคนิคการใช้เงินอย่างประหยัด
https://k-expert.askkbank.com/KnowledgeResources/Articles/Pages/Kid_A021.aspx
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!