ลูกติดยูทูป ลูกติดมือถือแก้ยังไง
ลูกติดยูทูป ลูกติดมือถือแก้ยังไง เปิดใจคุณแม่ต้อง เจ้าของไวรัล ลูกไม่กล้าจับมือถือ ซึ่งคุณแม่ต้องได้โพสต์คลิปพร้อมข้อความว่า สาเหตุที่น้องฟูจิ..ไม่จับมือถือ ไม่ดูยูทูปแล้ว เพราะแม่กับป๊าทำแบบนี้ แต่ก่อนติดมากต้องขอดูตลอด อาจไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด แต่ก็ได้ผล
ขอบคุณแม่ ๆ ที่ชื่นชอบนะคะ หวังว่าคงได้ไอเดียกัน และเป็นประโยชน์ต่อบ้านที่ลูกน้อยติดมือถือ
.
วิธีที่นำเสนออาจไม่ได้เป็นวิธีที่ถูกต้อง หรือแนะนำกับทุกบ้านนะคะ โปรดใช้วิจารณญาณก่อน เพราะบางบ้านใช้รูปที่น่ากลัว หลอกลูก อาจทำให้เค้าฝังใจและกลัวไปตลอดเลย ไม่กล้าจับมือถืออีกเลยก็ได้ค่ะ
.
สิ่งที่ต้องทำคือ พอแม่ต้องให้ลูกเลิกดู เลิกสนใจมือถือแล้ว ต้องก็เลิกบอกเค้าหรือไม่สร้างความกลัวให้เค้าอีก
.
อยากให้ใช้ความละเอียดอ่อนนะคะ ไม่อยากให้สร้างพฤติกรรมผิด ๆ
www.facebook.com/pimpawan.molee/videos/10215260344364698/
คำถาม : ทำไมคุณแม่ต้องถึงคิดวิธีนี้ขึ้นมาได้
ลูกไปห้าง เจอหมูแดงตัวนี้ทีไร บอกว่ากลัว ๆ ให้อุ้มทุกทีค่ะ
ช่วงนี้น้องฟูจิ 2 ขวบ เริ่มพูดได้ บอกอยากได้อะไร ไม่อยากได้อะไร เรื่องมือถือจะชอบมาขอดู YouTube (เพลงเด็กทั่วไป) ตอนแม่นั่งทำงานที่บ้านเปิดทำคอมพ์ทั้งวัน บางทีเค้าร้องกวน ขอดู YouTube ก็ให้ดูค่ะ
เพราะคิดว่ามันก็ไม่ได้มีข้อเสียทั้งหมด เลือกให้ดูบางเพลง เช่น A B C
แต่เด็กก็คงเหมือนเรา ติดมือถือง่ายมาก ว่าง ๆ แป๊บ ๆ ก็มาขอดู YouTube ของเล่นเต็มบ้านก็เล่นแป๊บ ๆ บางทีแม่เผลอไม่มีเวลา พอได้ดูก็ดูยาวค่ะ (1 ชั่วโมง)
ก็เลยนึกถึงหมูแดงตัวนี้ที่เค้ากลัวขึ้นมา พอลูกบอกว่า tube หน่อย ๆ ก็แกล้งเปิดรูปหมูแดงขึ้นมา เค้าตกใจ ร้องเลย และไม่กล้ามาดู แม่ก็บอกว่า มีหมูแดงอยู่ในนั้นค่ะ
ตอนนี้เค้าไม่ได้จับมือถือมาสามวันละ แม้ว่าเห็นคุณแม่เล่น เค้าบอกว่ามีหมูแดง
แต่เค้าแยกแยะได้นะคะ คุณยายโทรมาก็รับโทรศัพท์ปกติ ไม่ได้กลัว แต่พอมาจะเปิด YouTube เค้าก็บอกเองว่า มีหมูแดง ไม่ดูค่ะ สุดท้ายป๊าก็ตั้งเป็นภาพหน้าจอไปเลย
ตอนนี้คลิปแชร์เยอะเลย ถ้ามีผลเสียยังไงก็แชร์กันได้นะคะ มีแม่ ๆ มาขอรูปหมูแดงกันเยอะมาก ก็ส่งให้ไปค่ะ บางท่านก็บอกได้ผล บางคนก็ไม่ได้ผล
คำถาม : อยากให้คุณแม่บอกถึงข้อเสียของลูกติดจอหน่อยค่ะ
จริง ๆ ไม่ถึงกับซีเรียสมากค่ะ เพราะผู้ใหญ่เองยังติดเลย ทุกวันนี้อยู่กับคอมพ์ กับมือถือ ทั้งใช้ทำงานและส่วนตัว เด็กสมัยนี้เลยซึมซับไว จับมือถือปุ๊บ กด สไลด์ เป็นเลย ข้อเสียจากประสบการณ์นะคะ
- สมาธิสั้น สังเกตจากบางทีลูกดูไม่จบ กดเปลี่ยนไปเรื่อย เหมือนคงไม่รู้ความหมาย
- สายตาเสีย
- ขาดการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งรอบข้าง ไม่สนใจคนรอบ ๆ พอได้ดู
- สร้างเงื่อนไขบางอย่างที่ไม่ดี เช่น กินข้าวแล้วจะได้ดูมือถือ
- เด็กจะไม่ทำอะไรเลย ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ
ต้องขอขอบคุณคุณแม่ต้องมาก ๆ เลยนะคะ ที่มาแบ่งปันประสบการณ์กับเรา มาดูข้อมูลเพิ่มเติมลูกติดยูทูป ลูกติดมือถือแก้ยังไง ต่อในหน้าถัดไป
6 ผลกระทบ จากการใช้สมาร์ทโฟนมากเกินไป
- ทำให้นอนหลับไม่เพียงพอ
- ผลการเรียนย่ำแย่ลง
- สมรรถภาพทางกายลดลง
- สายตาแย่ลง
- พัฒนาการทางสมองช้าลง
- ความสามารถในการสื่อสารลดลง
ผลกระทบต่อการต้องมองจอโทรศัพท์ทำให้สายตาเสีย, นอนหลับไม่เพียงพอ และขาดการออกกำลังกายจนสุขภาพถดถอยลงนั้นเป็นเรื่องที่ทราบกันดี แต่ผลกระทบต่อสมองและการเรียนก็ได้รับการพิสูจน์โดยผลการสำรวจแล้ว
อ่านเพิ่มเติม แพทย์ญี่ปุ่นเตือน ให้ลูกเล่นมือถือ ส่งผลเสียทุกด้าน
ลูกติดโทรศัพท์ส่งผลสมาธิสั้น
สาเหตุที่ทำให้ลูกสมาธิสั้น เพราะลูกเล่นมือถือ ติดหน้าจอนานเกินวันละหลายชั่วโมง เมื่อได้จดจ่อกับเรื่องราวที่ผ่านตาเร็วเกินไป การเคลื่อนไหวในสื่อบนหน้าจอมือถือหรือแท็ปเล็ตที่เปลี่ยนแปลงและมีความรวดเร็ว จะทำให้เกิดปัญหาการใช้สมองในส่วนความทรงจำลดลง หากปล่อยให้ลูกเล่นเช่นนี้เป็นประจำทุกวันจะสะสมให้เด็กเกิดอาการสมาธิสั้น
วิธีลดความเสี่ยงพฤติกรรมลูกติดโทรศัพท์
เพื่อไม่ให้ลูกสมาธิสั้น ต้องกำหนดเวลาในการเล่นแท็ปเล็ต สมาร์ทโฟนหรือมือถือ ไม่เกินวันละ 1-2 ชั่วโมง
พาลูกออกไปเที่ยวบอกบ้านหรือหากิจกรรมอื่น ๆ ทำร่วมกับลูกให้มากขึ้น เพื่อให้ลูกใส่ใจคนรอบข้าง สนอกสนใจกับสิ่งรอบตัวเสียบ้าง
พ่อแม่ต้องเอาใจใส่ คอยดูแล สอดส่องพฤติกรรมของลูก แนะนำให้ดูพวกสื่อที่มีคุณภาพ
พ่อแม่ต้องคอยนั่งดูกับเขาด้วย อย่าปล่อยให้ดูเพียงคนเดียว และไม่ควรนำมาให้ลูกเล่นเพียงเพราะว่าอยากให้เขาอยู่นิ่ง ๆ ไม่ร้องไห้งองแง หรือทำให้เขาสงบลง
ที่มา : board.postjung.com, voathai และ ผู้จัดการ mainichi
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
แก้ปัญหาลดภาวะเสี่ยง “เด็กติดจอ” อย่างไรดี
สอนลูกอ่านหนังสือ วิธีฝึกให้ลูกรักการอ่าน ตั้งแต่ยังเป็นทารก
6 วีธีฝึกนิสัย สร้างวินัยการออมให้ลูก
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!