X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกฉี่บ่อย ฉี่บ่อยกลางคืน จนรู้สึกผิดปกติ แบบนี้อันตรายไหม ?

บทความ 3 นาที
ลูกฉี่บ่อย ฉี่บ่อยกลางคืน จนรู้สึกผิดปกติ แบบนี้อันตรายไหม ?

หากคุณแม่รู้สึกว่าเจ้าตัวน้อยฉี่บ่อยผิดปกติ เข้าห้องน้ำวันละนับสิบครั้ง ทั้งที่ไม่ได้ดื่มน้ำเยอะกว่าปกติเลย เป็นเพราะอะไร และจะเป็นอันตรายหรือไม่ พบคำตอบที่นี่

การปวดปัสสาวะบ่อยในเด็ก ฉี่บ่อยกลางคืน ฉี่บ่อยเกิดจากอะไร โดยที่ในแต่ละครั้งลูกก็ปัสสาวะออกมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อาการเช่นนี้อาจแบ่งสาเหตุออกได้เป็น สาเหตุทางกาย และสาเหตุทางจิตใจ

 

แค่ไหนถึงเรียกว่า ปัสสาวะบ่อย

  • เด็กอายุ 3-5 ขวบ ปัสสาวะ 8-14 ครั้ง/วัน
  • เด็กอายุ 5-8 ขวบ ปัสสาวะ 6-12 ครั้ง/วัน
  • เด็กอายุ 8-14 ขวบ ปัสสาวะ 6-8 ครั้ง/วัน

 

สาเหตุ ลูกฉี่บ่อย ปัจจัยทางร่างกาย

  1. ความผิดปกติในระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น การติดเชื้อกระเพาะปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ท่อปัสสาวะอักเสบ นิ่วในทางเดินปัสสาวะ รวมถึง ความผิดปกติของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ หรือการรับรู้สัญญาณการกระตุ้นในการขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติไป
  2. การได้รับยาบางชนิดที่กระตุ้นให้ปัสสาวะบ่อย เช่น กลุ่มยาขับปัสสาวะ ยาขยายหลอดลมหรือยาแก้ภูมิแพ้บางกลุ่ม และยาจิตเวชบางชนิด
  3. การดื่มน้ำหรืออาหารที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น ชา น้ำอัดลม โกโก้ และช็อคโกแลต รวมถึงน้ำที่มีความเป็นกรดหรือมีส่วนประกอบของออกซาเลต เช่น ชาดำ ชาเย็น น้ำส้ม น้ำแอปเปิ้ล น้ำองุ่น น้ำส้มเกรปฟรุต หรือน้ำมะเขือเทศ ก็สามารถทำให้ปัสสาวะบ่อยในเด็กบางกลุ่มได้
  4. ภาวะท้องผูก เกิดจากก้อนอุจจาระกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ความจุของกระเพาะปัสสาวะลดลง

หากคุณหมอตรวจพบว่าเกิดจากสาเหตุทางร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่งข้างต้น คุณหมอก็จะทำการรักษาตามสาเหตุนั้นๆ แต่หากคุณหมอตรวจไม่พบความผิดปกติทางกาย จะต้องทำการซักประวัติเพื่อหาสาเหตุที่อาจเกิดจากสภาวะทางจิตใจ ซึ่งนับเป็นสาเหตุที่พบบ่อยของอาการปัสสาวะบ่อยในเด็ก

 

สาเหตุ ลูกฉี่บ่อย ฉี่บ่อยกลางคืน ปัจจัยทางจิตใจ ฉี่บ่อยเกิดจากอะไร

ลูกอาจมีความวิตกกังวล หรือมีเหตุการณ์บางอย่างกระทบจิตใจของเด็กอย่างรุนแรงในช่วงเวลาก่อนเกิดอาการ เช่น การมีน้องใหม่ การย้ายโรงเรียน การฝึกเข้าห้องน้ำ เป็นต้น

ยกตัวอย่างกรณีการฝึกลูกเลิกผ้าอ้อม การที่ลูกบอกฉี่ได้ นับเป็นความภูมิใจของลูก แต่อาจยังทำได้ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ เมื่อลูกฉี่รดกางเกงกลับถูกดู ถูกตี ทำให้เด็กกลัวที่จะฉี่ราดอีก ความกังวลในจิตใจของเด็กนี้เองที่ทำให้เด็กแสดงออกมาด้วยอาการปัสสาวะบ่อย เมื่อลูกฉี่บ่อย ยิ่งทำให้คุณแม่กังวล ลูกก็ยิ่งเกิดความเครียด จิตใจของลูกจึงไปรวมศูนย์อยู่ที่การปัสสาวะ ก็ยิ่งฉี่บ่อย ซึ่งหากสังเกตดีๆ จะพบว่าอาการฉี่บ่อยจะเกิดเฉพาะตอนกลางวัน ส่วนตอนกลางคืนนั้นจะไม่เกิดอาการ เนื่องจากลูกไม่นึกถึงการขับถ่าย ลูกกี่จะไม่ฉี่

Advertisement

 

วิธีแก้ปัญหา ลูกฉี่บ่อย

ในกรณีที่การปัสสาวะบ่อย เกิดจากสาเหตุทางจิตใจ ควรได้รับการแก้ไขดังนี้

  1. คุณพ่อคุณแม่และตัวเด็กเองต้องทำความเข้าใจถึงปัญหาของโรคนี้
  2. คุณพ่อคุณแม่เบี่ยงเบนความสนใจของเด็กไปจากการปัสสาวะ เช่น หาของเล่นใหม่ๆ มาให้ลูกเล่นสนุก เล่านิทาน หรือชวนเพื่อนมาเล่นด้วย
  3. หากลูกฉี่ราดกางเกง คุณแม่ต้องไม่โกรธหรือลงโทษ ลดความกังวล อย่าเพ่งเล็งที่อาการของลูก
  4. ทำเช่นนี้สักพัก อาการปัสสาวะบ่อยก็จะหายไปเอง

การรักษาอาการของเด็กที่เกิดจากสภาวะทางจิตใจเช่นนี้ ความเข้าใจ การให้ความร่วมมือ และเป็นกำลังใจ คือสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้ลูกมีความมั่นใจและกลับมาเป็นปกติโดยเร็วที่สุดค่ะ

 

ที่มา www.healthcarethai.com, www.doctor.or.th, เฟซบุ๊คโรงพยาบาลเด็กสมิติเวช

 

บทความจากพันธมิตร
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

7 สเต็ป ฝึกลูกนั่งกระโถนให้สำเร็จ

สีปัสสาวะคนท้อง ปัสสาวะคนท้องสีอะไร สีไหนผิดปกติ ทําไมคนท้องปัสสาวะบ่อย

ท่อปัสสาวะอักเสบ มีหนอง เพราะแม่ทำความสะอาด จุ๊ดจู๋ จิมิ ของหนูไม่ดี

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ลูกฉี่บ่อย ฉี่บ่อยกลางคืน จนรู้สึกผิดปกติ แบบนี้อันตรายไหม ?
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว