เมื่อสถานการณ์ไข้เลือดออกระบาดหนักขึ้นในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยในปี 2558 ที่ผ่านมานั้น พบผู้ป่วยมีมากถึง 28,177 ราย และมีผู้เสียชีวิตถึง 5 ราย
กลุ่มอายุที่พบว่าป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกมากที่สุดได้แก่ อายุ 20-24 ปี รองลงมาอายุ 15-19 ปี และ 10-14 ปี และถ้าหากนับรวมสถิติจากทั่วประเทศพบว่า มีผู้ป่วยรวมทั้งสิ้น 149,925 ราย เสียชีวิตแล้ว 14 ราย ซึ่งกรุงเทพจัดเป็นลำดับที่ 5 จากทั่วทั้งประเทศ โดยคาดการณ์ว่าในปี 2559 แนวโน้มในการระบาดของโรคไข้เลือดออกจะมีมากขึ้น โดยพื้นที่ ๆ มีความเสี่ยงสูงมากนั้นได้แก่
1. ลาดพร้าว
2. จตุจักร
3. ดินแดง
4. วังทองหลาง
5. บางกะปิ
6. สวนหลวง
7. ประเวศ
8. วัฒนา
9. บางพลัด
10. ธนบุรี
และนอกจากนี้พื้นที่ระดับความเสี่ยงสูง 12 เขตได้แก่ บางแค บางบอน จอมทอง บางกอกน้อย พญาไท ราชเทวี ห้วยขวาง บางซื่อ บางเขน สะพานสูง บีงกุ่ม และพระโขนง
อย่างไรก็ตาม พญ.วันทนีย์ วัฒนะ รองปลัดกทม. กล่าวว่า “ทุกพื้นที่และทุกคนมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อไข้เลือดออกหมด โดยผู้ได้รับเชื้อ 100 คนจะมีเพียง 10 คนเท่านั้นที่แสดงอาการ ส่วนอีก 90 คนจะไม่แสดงอาการและสามารถหายได้เอง”
ดังนั้น พญ. วันทนีย์ ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ การป้องกันโรคไข้เลือดออกแก่ประชาชนทั่วพื้นที่ ทั้งนี้วิธีป้องกันที่ดีที่สุดก็คือ การทำหลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ตามอาคารบ้านเรือนและพื้นที่สาธารณะต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ
ที่มา: Bangkok Biz News
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
5 โรคติดต่อควรเฝ้าระวังในปี 2559
ยาต้องระวัง! อย่าให้ลูกกินตอนเป็นไข้เลือดออก
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!