X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ยาน้ำเชื่อม ให้ลูกกินแก้ไข้ดีไหม ใช้อย่างไรไม่ให้เป็นอันตรายกับลูก

บทความ 3 นาที
ยาน้ำเชื่อม ให้ลูกกินแก้ไข้ดีไหม ใช้อย่างไรไม่ให้เป็นอันตรายกับลูก

อากาศร้อนแทบเป็นลม แต่อีกวันฝนกลับเทลงมาเฉยเลย! นี่ล่ะค่ะอากาศเมืองไทย แปรปรวนจนเด็กๆ ป่วยงอมแงม คุณแม่ต้องเฝ้าระวังให้ดี หากพบว่าลูกมีไข้ต่ำๆ ควรรีบเช็ดตัวเพื่อระบายความร้อนก่อน แต่ถ้ายังไม่ดีขึ้นต้องรีบงัดแผนสองมาช่วย นั่นคือทาน ยาลดไข้ โดยสามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยาใกล้ๆบ้าน แต่! อย่าเผลอใช้ยาผิดประเภท หรือเกินขนาดนะคะ ไม่อย่างนั้น อาการป่วยเล็กน้อยอาจบานปลายเป็นเรื่องใหญ่ได้

ยาน้ำเชื่อม ตัวช่วยลดไข้ที่คุณแม่ควรมีติดบ้าน

ยาน้ำเชื่อม ตัวช่วยลดไข้ที่คุณแม่ควรมีติดบ้าน : อุณหภูมิของร่างกายเป็นสิ่งที่ช่วยบ่งบอกระดับอาการไข้ได้ หากคุณแม่ใช้ปรอทวัดไข้แล้วพบว่าลูกตัวร้อน มีไข้ต่ำๆ 37.5 – 38.4 องศาเซลเซียส ควรเช็ดตัวควบคู่กับทานยาบรรเทาปวดลดไข้ ยาลดไข้สำหรับเด็กที่ใช้แพร่หลายในปัจจุบันเป็นยากลุ่มพาราเซตามอลที่มีความปลอดภัยสูงกว่ายากลุ่มแอสไพริน หรือไอบูโพรเฟน เนื่องจากยาทั้ง 2 กลุ่มนั้นมีข้อควรระวังในการใช้ยาค่อนข้างมาก  ดังนั้น ถ้ากรณีเด็กมีไข้ไม่สูงมาก  คุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกยาในกลุ่ม พาราเซตามอลสำหรับเด็ก เพื่อบรรเทาอาการปวด และลดไข้ ที่เกิดขึ้นจากสาเหตุต่างๆได้ทันที เช่น ไข้หวัด  มือเท้าปาก  ส่าไข้ เป็นต้น

 ยาน้ำเชื่อม

ยาน้ำเชื่อมเด็ก

ยาลดไข้ แบบไหนลูกไม่ร้องยี้!

ยาพาราเซตามอลชนิดน้ำ ไม่ชวนติดคอเหมือนยาเม็ด มีรสชาติหวาน รับประทานง่าย  ไม่ขมเหมือนยาผงในแคปซูล แถมยังมีกลิ่นผลไม้ เช่น สตรอเบอรี่ หรือ ส้ม ดึงดูดความสนใจเด็กๆ ได้ แต่คุณแม่จะให้ทานพร่ำเพรื่อไม่ได้เชียวนะคะ หากทานยามากเกินขนาดอาจเป็นอันตรายต่อตับและไตได้ ลูกจำเป็นต้องได้รับยาในปริมาณที่เหมาะสมโดยเทียบจากอายุ และน้ำหนัก ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดปริมาณการใช้ยาได้จากฉลากข้างกล่อง หรือขอคำแนะนำจากเภสัชกรดีที่สุด

เคล็ดลับการเลือกยาพาราเซตามอลชนิดน้ำที่ปลอดภัยต่อลูกน้อย

ในท้องตลาดมียาน้ำหลากหลายแบบ บางชนิดจำเป็นต้องเขย่าขวดให้ตัวยาละลายเป็นเนื้อเดียวกันก่อนรับประทาน ซึ่งสัญชาตญานความเป็นแม่นั้นเมื่อเห็นลูกเจ็บป่วยมักกังวลร้อนใจ รีบเขย่าขวดและป้อนยา โดยที่ตัวยาอาจยังไม่ผสมเป็นเนื้อเดียวกันนัก ยาที่เทออกมาในตอนแรกจะมีลักษณะใสเพราะมีปริมาณยาน้อยเกินไป ทำให้ตัวยาที่ทานในครั้งหลัง จะมีปริมาณยามากเกินไปได้ อาจส่งผลถึงประสิทธิภาพในการรักษา

ยาน้ำเชื่อม

ยาน้ำเชื่อมเด็ก

ดังนั้น คุณแม่หลายคนจึงตัดปัญหาด้วยการเลือกใช้ ยาพาราเซตามอลชนิดน้ำเชื่อม  เพราะตัวยาละลายเป็นเนื้อเดียวกันแล้ว ทุกหยดจึงให้ปริมาณยาครบถ้วน ถูกต้องแม่นยำ สามารถออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องกลัวบ้วนทิ้ง ทั้งนี้คุณแม่ควรเลือกยาพาราเซตามอลชนิดน้ำเชื่อมที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์  บรรจุภัณฑ์ต้องได้มาตรฐาน สะอาด มีฝา child lock เพื่อเพิ่มความมั่นใจว่าเจ้าตัวเล็กจะไม่แอบหยิบยาไปเปิดเล่น หรือทานเองได้ และอย่ามองข้ามอุปกรณ์ตวงยานะคะ หากเป็นยาน้ำเด็กทารกต้องใช้คู่กับหลอดดูดยาที่ผลิตมาเฉพาะ และควรเช็คความสะอาดของอุปกรณ์ก่อนตวงทุกครั้ง

 

คุณแม่ควรจำไว้เสมอ ว่าการใช้ยาในเด็กควรใช้ต่อเมื่อมีอาการเท่านั้น ไม่ใช่ทานเพื่อป้องกันล่วงหน้า หลังจากทานแล้วระหว่างรอยาออกฤทธิ์ควรเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น ดื่มน้ำสะอาดลดอาการอ่อนเพลีย ให้ลูกสวมเสื้อผ้าโปร่งๆ เพื่อระบายความร้อนออกจากร่างกายได้ดียิ่งขึ้น และนอนพักผ่อนในห้องที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกด้วยนะคะ


บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

วิธีเช็ดตัวลดไข้ที่ถูกต้อง อยากให้ลูกหายไข้ไว ต้องเช็ดตัวลดไข้ตามวิธีดังนี้

ใบพลูอังไฟ ช่วยกำจัดเสมหะเด็กได้จริงหรือ

ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ยาน้ำเชื่อม ให้ลูกกินแก้ไข้ดีไหม ใช้อย่างไรไม่ให้เป็นอันตรายกับลูก
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว