X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

มนุษย์เงินเดือนอาจมีเฮ! หากปรับลดหย่อนภาษีแบบนี้จริง!

บทความ 5 นาที
มนุษย์เงินเดือนอาจมีเฮ! หากปรับลดหย่อนภาษีแบบนี้จริง!

ภาวนาขอให้นโยบายที่ว่านี้ผ่านจริง มนุษย์เงินเดือนอย่างเรา ๆ คงจะดีใจ

ไม่ว่าจะคุณจะดำรองอาชีพไหน จะเป็นมนุษย์เงินเดือนหรือไม่ หากเข้าเกณฑ์ตามที่กรมสรรพากรกำหนด ต่างก็ต้องจ่ายเงินค่าภาษีด้วยกันทั้งนั้น

มนุษย์เงินเดือน

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มนุษย์เงินเดือนอย่างเรา ๆ ที่กรมสรรพากรให้เงินได้กำหนดเงินได้เป็นเงินได้ ตามมาตรา 40(1) คือ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่นายจ้างชำระหนี้ใดๆ ซึ่งลูกจ้าง มีหน้าที่ต้องชำระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ซึ่งหักค่าใช้จ่ายได้ 40% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 60,000 บาท และเพราะภาษีที่กรมสรรพากรเรียกเก็บจากผู้มีเงินได้เป็นอัตราภาษีก้าว หน้า คือ ยิ่งเงินได้สุทธิสูง ยิ่งเสียภาษีแพง

วิธีการคำนวณเงินได้ ก็ได้มาจาก เงินได้พึงประเมิณ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน มื่อเทียบเงินได้พึงประเมินเท่ากัน พวกมนุษย์เงินเดือนจะเสียภาษีมากกว่า เพราะหักค่าใช้จ่ายได้น้อยกว่า คือสูงสุดแค่ 60,000 บาทตัวอย่างเช่น หากเทียบมนุษย์เงินเดือนกับพวกหมอ พวกหมอจะหักค่าใช้จ่ายได้ 60% ของเงินได้ ตัวอย่างเช่น หากหมอมีเงินได้ 1 ล้านบาท ก็จะหักค่าใช้จ่ายได้ 6 แสนบาท หากหมอมีเงินได้ 10 ล้านบาท ก็จะหักค่าใช้จ่ายได้ 6 ล้านบาท แต่หากมนุษย์เงินเดือนมีเงินได้ 1 ล้านบาท ก็จะหักค่าใช้จ่ายได้ 6 หมื่นบาท หรือหากมีเงินได้ 10 ล้านบาท ก็จะหักค่าใช้จ่ายได้แค่ 6 หมื่นบาทเท่าเดิม และหากลองคำนวณหาเป็นค่าใช้จ่ายต่อเดือนว่า 60,000 บาทที่กรมสรรพากรให้เป็นค่าใช้จ่ายนั้น พอใช้จ่ายไหมในแต่ละเดือน จะคำนวณได้เท่ากับเดือนละ 5,000 บาทเท่านั้น ไม่พอใช้จ่ายแน่ ๆ และยิ่งของแพงขึ้นทุก ๆ ปี ขณะที่เงินเดือนก็ไม่ได้ขึ้นตามเงินเฟ้อได้ทัน ก็ทำให้มนุษย์เงินเดือนมีปัญหาด้านการเงินอย่างที่หลายคนทราบ ๆ กัน อยู่

ที่ผ่านมาก็เคยได้ข่าวกรมสรรพากรจะปรับความไม่ยุติธรรมเหล่านี้ โดยปรับเรื่องค่าใช้จ่ายของมนุษย์เงินเดือน แต่ก็เหลวมาตลอด มาครั้งนี้ก็ดีใจที่ได้ยินคุณประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร ออกมาบอกว่าภายในเดือนกุมภาพันธ์จะเสนอข้อสรุปในเรื่องการปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไปยัง นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยหลักการในการปรับปรุงภาษีจะทำให้คนรายได้น้อยสบายมากขึ้น คนจนยิ้มได้ เพราะภาษีที่ปรับปรุงใหม่นั้น จะเป็นประโยชน์กับผู้เสียภาษีทุกราย ซึ่งการปรับภาษีเงินได้บุคคลดังกล่าว ทำให้กรมสูญเสียรายได้หลายหมื่นล้านบาท โดยการปรับโครงสร้างภาษีนี้ จะประกาศใช้ในปี 2560 คือ เริ่มได้ตั้งแต่การยื่นภาษีปี 2561 โดยมีรายละเอียดดังนี้

Advertisement

1. เบื้องต้นมีการเพิ่มการหักค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลจาก 6 หมื่นบาท เป็น 1-1.2 แสนบาท ถ้าสมมติเป็น 1.2 แสนบาท ก็จะทำให้คนที่มีเงินเดือนต่ำกว่า 25,000 บาทไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งก็น่าจะดี เพราะ 25,000 บาท คิดเป็นรายได้ต่อวันแค่ 833 บาทเท่านั้น อาจจะพอใช้จ่ายแต่ไม่พอให้มีเงินออมสำหรับอนาคตเลย

2. จะมีการปรับปรุงขั้นการเสียภาษีใหม่จาก 7 ขั้น และปรับปรุงรายได้ในแต่ละขั้นใหม่ รวมถึงกำลังสรุปเรื่องว่าควรจะปรับอัตราสูงสุดที่กำหนดไว้ 35% หรือไม่ ซึ่งก็ควรจะปรับลดลงให้ยุติธรรมกับผู้ที่เป็นเจ้าของธุรกิจครับ เพราะอัตราภาษีที่แท้จริงของเจ้าของธุรกิจขณะนี้อยู่ที่ 28% ขณะที่คนทำงานอัตราภาษีที่แท้จริงอยู่ที่ 35% ทำให้เกิดความไม่ยุติธรรมขึ้น และจะจูงใจให้หลายคนวางแผนภาษีโดยการจัดตั้งบริษัทหรือนิติบุคคลขึ้นมาแทน เพราะนอกจากเสียภาษีต่ำกว่าแล้ว ยังสามารถหักค่าใช้จ่ายได้โดยไม่มีเพดานกั้น สุดท้ายแล้วหากมีคนจัดตั้งบริษัทมากๆเพื่อวางแผนภาษี กรมสรรพากรแทนที่จะเก็บภาษีได้มากขึ้น ก็จะเก็บภาษีได้น้อยลง

3. ค่าลดหย่อนอื่น ๆ ที่เคยมีข่าวว่าจะปรับลด ก็จะไม่ลดค่าลดหย่อน ส่วนเรื่องค่าลดหย่อนภาษีจากการท่องเที่ยว 1.5 หมื่นบาทที่หมดอายุไปเมื่อ 31 ธันวาคม 2558 นั้น กรมสรรพากรก็จะเสนอไปยังกระทรวงการคลังให้ต่ออายุอีก 2 ปี เป็นหมดอายุ 31 ธันวาคม 2560 ในวงเงินลดหย่อนเท่าเดิมปีละ 1.5 หมื่นบาท

หากข้อมูลเหล่านี้เป็นจริง ก็ภาวนาอย่าเลิกหรือสะดุดกลางคันอีก และขอขอบคุณท่านอธิบดีกรมสรรพากรปัจจุบันที่มองทุกอย่างในสิ่งที่ควรจะเป็น ไม่ใช่มุ่งแต่จะเก็บภาษีมาก ๆ และมองมนุษย์เงินเดือนเป็นของตายที่เก็บภาษีได้มากอยู่แล้วไม่ต้อง ปรับอะไร ทำนองรีดเลือดจากปู จนมนุษย์เงินเดือนจะไม่มีเงินเหลือแล้ว

ที่มา: Post Today

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

เตรียมรับมือกับความไม่แน่นอน เพื่อใช้ชีวิตอย่างมั่นคง

เด็กออทิสคิกเรียนร่วมกับเด็กปกติได้หรือไม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • มนุษย์เงินเดือนอาจมีเฮ! หากปรับลดหย่อนภาษีแบบนี้จริง!
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว