X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

กว่าจะได้ลูกแฝดไม่ใช่เรื่องง่าย ภาวะแทรกซ้อนที่แม่ท้องแฝดต้องระวัง !!

บทความ 3 นาที
กว่าจะได้ลูกแฝดไม่ใช่เรื่องง่าย ภาวะแทรกซ้อนที่แม่ท้องแฝดต้องระวัง !!

ใคร ๆ มักพูดกันว่าแม่ที่มีลูกแฝดนั้นเหนื่อยทีเดียว ถึงแม้จะหนักเอาการตอนตั้งครรภ์และตอนเลี้ยงดู แต่คู่แฝดก็เป็นเรื่องที่ทำให้คุณแม่หลาย ๆ คนตื่นเต้นและดูเป็นที่น่าสนใจของสังคมกับความน่ารักของเด็ก 2 คนที่มีหน้าตาเหมือนกัน แต่คุณแม่อย่าลืมว่าการตั้งครรรภ์แฝดนั้นมีภาวะความเสี่ยงสูงที่จำเป็นต้องดูแลมากกว่าปกติกันนะคะ

คุณพ่อคุณแม่หลายคนอยากได้ลูกแฝดเพื่อจะได้คลอดทีเดียว เลี้ยงดูเหนื่อยไปเลยทีเดียว จนหลายคู่ต้องไปขอคำปรึกษาคุณหมอว่าทําอย่างไรถึงจะได้ลูกแฝดกันเลยทีเดียว ซึ่งจริง ๆ แล้วการมีลูกแฝดนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ แถมยังอาจเกิด ภาวะแทรกซ้อนที่แม่ท้องแฝดต้องระวัง กันด้วยนะคะ

การตั้งครรภ์แฝดจัดเป็น ภาวะแทรกซ้อนที่แม่ท้องแฝดต้องระวัง !!

ภาวะแทรกซ้อนที่แม่ท้องแฝดต้องระวัง

ทางการแพทย์ถือว่าการตั้งครรภ์แฝด หรือการตั้งครรภ์ที่มีทารกในครรภ์ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเป็นภาวะแทรกซ้อนอย่างหนึ่งของการตั้งครรภ์ และอาจมีอัตราการเสียชีวิตของทารกในครรภ์แฝดสองสูงกว่าในครรภ์เดี่ยว 5 เท่า ซึ่งในสมัยก่อนการตั้งครรภ์แฝดเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติที่สัมพันธ์กับกรรมพันธุ์เช่น ครอบครัวทางฝ่ายแม่หรือพ่อเป็นแฝด แต่ในปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์มีวิธีทำลูกแฝด เช่น การฉีดกระตุ้นให้ตกไข่หรือการทำเด็กหลอดแก้ว ทำให้มีอัตราของการตั้งครรภ์แฝดเพิ่มขึ้นมาก

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้มากกว่าปกติระหว่างตั้งครรภ์แฝด  เช่น

Advertisement
  • ภาวะโลหิตจาง เนื่องจากจำนวนทารกในครรภ์เพิ่มขึ้น ความต้องการสารอาหารจากแม่เพิ่มขึ้นมากกว่าการตั้งครรภ์เดี่ยว เมื่อท้องของแม่มีขนาดโตมากและต้องรองรับน้ำหนักมากขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย โดยเฉพาะโครงสร้างกระดูกโค้งงอหรือลำตัวแอ่นมากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อสันหลังต้องเกร็งตัวเพื่อรองรับน้ำหนักแทนกระดูกสันหลังมาก ส่งผลทำให้คุณแม่ปวดหลังมากขึ้น และการต้องมีปริมาณเลือดเพิ่มมากขึ้นในระบบการไหลเวียนโลหิต สำหรับทารกมากกว่าหนึ่งคนในท้องแม่ อาจทำให้มีภาวะแทรกซ้อนนี้ขึ้นได้
  • ความดันโลหิตสูงระหว่างการตั้งครรภ์ มือเท้าบวม
  • ภาวะครรภ์เป็นพิษ ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้มากกว่าการตั้งครรภ์เดี่ยว ซึ่งอาจพบได้ตั้งแต่อายุครรภ์อ่อน ๆ และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและภาวะน้ำเดินก่อนเจ็บครรภ์คลอดเพิ่มขึ้น
  • เบาหวานขณะตั้งครรภ์

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดได้กับทารกแฝดในครรภ์  >>

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดได้กับทารกแฝดในครรภ์

  • การตั้งครรภ์แฝด มีโอกาสที่ทารกจะเกิดความพิการแต่กำเนิดและเสี่ยงต่อการแท้งได้มากกว่าการตั้งครรภ์เดี่ยว และเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดสูงกว่าปกติมาก
  • คุณแม่ที่ตั้งท้องแฝดอาจมีอาการแพ้ท้องมากกว่าปกติ เนื่องจากฮอร์โมนที่เพิ่มมากขึ้น และท้องจะโตกว่าปกติ เพราะขนาดของมดลูกโตกว่าอายุครรภ์จริง เช่น ท้อง 3 เดือน แต่มดลูกจะโตเท่าอายุครรภ์ 4 เดือน
  • ปัญหาการเจริญเติบโตของทารก ร้อยละ 59 ของแม่ท้องแฝด จะมีน้ำหนักทารกแรกคลอดน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการตั้งครรภ์เดี่ยว
  • อาจพบภาวะเติบโตช้าในครรภ์ ทารกแฝดในครรภ์อาจมีการเจริญเติบโตที่ไม่เท่ากัน ทำให้มีขนาดต่างกันมาก หรือมีการถ่ายเทเลือดจากแฝดคนหนึ่งไปสู่แฝดอีกคนหนึ่ง ทำให้ทารกคนหนึ่งโตช้าผิดปกติ ส่วนทารกอีกคนหนึ่งตัวโตเกินไป และเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวซึ่งทางการแพทย์เรียกว่า ภาวะ Twin-twin transfusion syndrome
  • หลังคลอดอาจมีโอกาสตกเลือดหรือติดเชื้อได้มากกว่าในครรภ์เดี่ยว

ภาวะแทรกซ้อนที่แม่ท้องแฝดต้องระวัง

ภาวะที่เกิดขึ้นเหล่านี้ อาจนำไปสู่การพัฒนาการของทารกทั้งทางร่างกายและสมองที่ช้ากว่าเมื่อเทียบกับทารกที่คลอดจากการตั้งครรภ์เดี่ยวได้ แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง ทำให้สามารถวินิจฉัยภาวะดังกล่าวได้รวดเร็ว และก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์สามารถวินิจฉัยได้ว่า คุณแม่ตั้งท้องแฝดหรือไม่ซึ่งได้ผลลัพธ์ออกมาดีขึ้นกว่าแต่ก่อน และไม่ค่อยพบปัญหาที่เกิดขึ้นกับแม่ท้องแฝดส่วนใหญ่นะคะ

ทั้งนี้ได้มีการกำหนดว่าการตั้งครรภ์แฝดถือเป็นภาวะตั้งครรภ์ความเสี่ยงสูง จึงต้องมีกระบวนการดูแลครรภ์และตรวจครรภ์ที่แตกต่างกว่าครรภ์ปกติ เพื่อจะได้มีการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนเมื่อใกล้คลอด มีการประเมินและเตรียมตัวก่อนคลอดเพื่อลดอันตรายต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้

แม่ท้องแฝดควรดูแลตัวเองอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน >>

ภาวะแทรกซ้อนที่แม่ท้องแฝดต้องระวัง

วิธีดูแลตัวเองสำหรับคุณแม่ท้องแฝด

  • ควรที่จะไปฝากครรภ์แต่เนิ่น ๆ ไปตามนัดคุณหมอเพื่อรับการดูแลเป็นพิเศษตลอดช่วงระยะการตั้งครรภ์
  • อาหารการกินที่ส่งผลไปถึงลูกน้อยในท้องทั้ง 2 คนด้วย คุณแม่ท้องแฝดควรจะได้รับอาหารที่ให้พลังงานเพิ่มจากปกติอย่างน้อย 200-300 กิโลแคลอรีต่อวัน และอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน กรดโฟลิก ธาตุเหล็ก แคลเซียม โปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ ส่วนจำพวกแป้งและน้ำตาลไม่จำเป็นต้องมากขึ้นเพราะอาจทำให้อ้วนเสี่ยงต่อภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้
  • ควรควบคุมน้ำหนักให้เพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ รวมตลอดการตั้งครรภ์ประมาณ 16 กิโลกรัม
  • งดเครื่องดื่มประเภทคาแฟอีนและแอลกอฮอล์ รวมถึงยาเสพติดทุกชนิด
  • สำหรับยาบำรุงต่าง ๆ เช่น ธาตุเหล็กและกรดโฟลิก ควรเพิ่มขนาดการกินตามที่คุณหมอแนะนำเมื่อคุณแม่ไปฝากครรภ์นะคะ ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง

และที่สำคัญการตั้งครรภ์ไม่ว่าจะเดี่ยวหรือแฝด ถือเป็นความสุขที่กำลังเกิดขึ้นกับคุณแม่ อย่าได้วิตกกังวลมากเกินไปนะคะ ควรดูแลสุขภาพ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายของคุณแม่นั้นสมบูรณ์ในช่วงตั้งครรภ์ทั้งร่างกายและจิตใจให้มากที่สุด อันจะเป็นผลดีต่อลูกน้อยในท้องด้วย.


ข้อมูลอ้างอิงจาก :

www.momadad.com

www.siamhealth.net

บทความอื่นที่น่่าสนใจ :

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

แม่ท้องจะรู้ตัวได้อย่างไรว่ากำลังมีเบบี๋ในท้องสองคน!!

ความเสี่ยงที่แม่ตั้งครรภ์แฝดควรระวัง เพื่อคลอดลูกแฝดอย่างปลอดภัย

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • กว่าจะได้ลูกแฝดไม่ใช่เรื่องง่าย ภาวะแทรกซ้อนที่แม่ท้องแฝดต้องระวัง !!
แชร์ :
  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

  • ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

    ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

  • ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

    ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว