X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกแฝดถ่ายทอดตามกรรมพันธุ์จริงหรือ

บทความ 3 นาที
ลูกแฝดถ่ายทอดตามกรรมพันธุ์จริงหรือ

เคยสงสัยกันไหมคะว่าการมีลูกแฝดจะถ่ายทอดกันมาตามกรรมพันธุ์ของบรรพบุรุษรุ่นก่อน ๆ หรือเปล่า หรือเป็นแค่ความบังเอิญ? มาอ่านความจริงของการให้กำเนิดลูกฝาแฝดกันดีกว่า

ลูกแฝดถ่ายทอดตามกรรมพันธุ์จริงหรือ

ลูกแฝดถ่ายทอดตามกรรมพันธุ์จริงหรือ

ตั้งแต่ให้กำเนิดลูกแฝดมา คุณแม่หลายท่านก็ได้รับคำถามมากมายจากคนรอบตัวว่า “ที่บ้านมีใครมีลูกแฝดอีกหรือเปล่า?” เป็นเรื่องปกติที่ทุกคนจะถามแบบนั้นค่ะ เพราะโดยปกติแล้ว หากมีใครในตระกูลให้กำเนิดลูกแฝด คนในครอบครัวก็มีโอกาสให้กำเนิดลูกแฝดด้วยเช่นกัน แต่จะเป็นอย่างนี้ทุกครั้งเลยหรือ? ไม่ว่าผ่านไปกี่ปี คำถามสุดคลาสสิกนี้ก็ยังไม่ได้รับคำตอบที่แน่ชัดสักที

จริง

การให้กำเนิดลูกแฝดสามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้จริง แต่ในเฉพาะแบบที่เป็นแฝดคนละใบเท่านั้น (ฝาแฝดที่หน้าตาไม่เหมือนกันมากนัก แค่คล้าย ๆ) ลักษณะของการให้กำเนิดลูกฝาแฝดแบบไข่คนละใบนี้ มักถ่ายทอดมาจากครอบครัวฝั่งมารดา มีสาเหตุจากการที่มารดาตกไข่หลายใบในครั้งเดียว หากสมาชิกในครอบครัวผู้หญิงคนใดคนหนึ่งมีประวัติให้กำเนิดแฝดลักษณะนี้ ลักษณะทางพันธุกรรมนี้ก็มีโอกาสถ่ายทอดไปสู่ลูกสาวหรือแม้กระทั่งหลานสาวของเธอได้เช่นกัน นอกจากนี้หากผู้หญิงคนนั้นไม่มีลูกสาว ยังสามารถข้ามรุ่นลูกแล้วไปต่อรุ่นหลานที่เป็นผู้หญิงได้อีกด้วย

ไม่จริง

การให้กำเนิดแฝดไข่ใบเดียวกัน (ฝาแฝดที่หน้าตาค่อนข้างเหมือนกันมาก) ไม่สามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้ และสามารถเกิดขึ้นได้ในบางโอกาส เพราะแฝดไข่ใบเดียวกันเกิดจากการที่ไข่ใบนั้นแยกตัว ปรากฏการณ์นี้ไม่สามารถอธิบายทางวิทยาศาสตร์ได้ จึงเรียกได้ว่าอาจเป็นแค่เพียงความโชคดี หรือเหตุบังเอิญ

บทความใกล้เคียง: เด็กไม่ได้ชอบการเป็นฝาแฝด

แฝดไข่ใบเดียวกัน ไม่ได้ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์

แฝดไข่ใบเดียวกัน ไม่ได้ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์

เป็นไปได้

การให้กำเนิดแฝดสามารถเกิดขึ้นได้หากคุณแม่ทานยาที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการมีบุตร นอกจากนั้ อายุก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่เพิ่มโอกาสในการมีบุตรเป็นแฝดด้วยเช่นกัน เมื่อผู้หญิงเราอายุ 30 ปี ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนที่ช่วยในการตกไข่และเพิ่มโอกาสในการที่ไข่จะแยกตัวมากขึ้น นั่นถึงเป็นสาเหตุให้ผู้หญิงที่อายุมากขึ้นจะมีโอกาสตั้งครรภ์บุตรเป็นแฝดได้มากกว่า

บทความใกล้เคียง: การมีลูกแฝดของบัว ปัทมน

ไม่จริงเสมอไป

การให้กำเนิดบุตรแฝดอาจเป็นเพียงแค่เรื่องราวของโชคชะตาฟ้าลิขิต แต่บางคนก็เชื่อว่าท่าในการมีเพศสัมพันธ์บางท่าอาจช่วยให้มีบุตรเป็นแฝดได้ นอกจากนี้บางคนยังเชื่อว่าการควบคุมอาหารเพื่อการมีบุตรแฝดโดยเฉพาะก็สามารถทำได้ แม้ว่าคุณจะเชื่อหรือไม่ก็ตาม วิธีเหล่านี้คุณก็สามารถลองได้ตราบใดที่ไม่ส่งผลร้ายต่อร่างกาย และคุณไม่หมกมุ่นในเรื่องเหล่านี้มากเกินไป ไม่แน่ว่าโชคอาจจะเข้าข้างคุณก็ได้ จริงไหม

บทความแนะนำ: เลี้ยงลูกแฝดยังไงให้รอดในปีแรก

บทความจากพันธมิตร
Unique Ideas To Make Your Kitchen Look Elegant, Stylish and Appealing
Unique Ideas To Make Your Kitchen Look Elegant, Stylish and Appealing
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • ลูกแฝดถ่ายทอดตามกรรมพันธุ์จริงหรือ
แชร์ :
  • เลี้ยงลูกแฝด ยังไงดี ความซนคูณสอง ต้องมีวิธีรับมืออย่างไร

    เลี้ยงลูกแฝด ยังไงดี ความซนคูณสอง ต้องมีวิธีรับมืออย่างไร

  • พ่อแม่เคยสงสัยมั้ย ว่าเด็กแฝดเกลียดการเป็น "คู่แฝด" ไหม?

    พ่อแม่เคยสงสัยมั้ย ว่าเด็กแฝดเกลียดการเป็น "คู่แฝด" ไหม?

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • เล่าทั้งน้ำตา! ลูกชายวัย 4 ขวบ ตาบอดเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน!

    เล่าทั้งน้ำตา! ลูกชายวัย 4 ขวบ ตาบอดเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน!

  • เลี้ยงลูกแฝด ยังไงดี ความซนคูณสอง ต้องมีวิธีรับมืออย่างไร

    เลี้ยงลูกแฝด ยังไงดี ความซนคูณสอง ต้องมีวิธีรับมืออย่างไร

  • พ่อแม่เคยสงสัยมั้ย ว่าเด็กแฝดเกลียดการเป็น "คู่แฝด" ไหม?

    พ่อแม่เคยสงสัยมั้ย ว่าเด็กแฝดเกลียดการเป็น "คู่แฝด" ไหม?

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • เล่าทั้งน้ำตา! ลูกชายวัย 4 ขวบ ตาบอดเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน!

    เล่าทั้งน้ำตา! ลูกชายวัย 4 ขวบ ตาบอดเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ