X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โรคถ่ายเลือดในครรภ์แฝด เพิ่มโอกาสแท้งลูก

บทความ 3 นาที
โรคถ่ายเลือดในครรภ์แฝด เพิ่มโอกาสแท้งลูก

นี่คือเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับเคท เมื่อฝาแฝด 1 คนเสียชีวิตในครรภ์จากการถ่ายเทเลือดระหว่างฝาแฝดผ่านรกเดียวกัน ติดตามเรื่องราวของเคท และทำความกับรู้จักโรคถ่ายเลือดในครรภ์แฝดกันค่ะ

แม่เล่าประสบการณ์ โรคถ่ายเลือดในครรภ์แฝด

ทารกถ่ายเลือดระหว่างกัน

เคทในวัย 30 เธอมีลูกชายแล้วคนหนึ่งชื่อว่า อาชี่ จากนั้นเธอก็ตั้งครรภ์แฝด คือธีโอดอร์และหลุยส์ซึ่งเกิดจากไข่ใบเดียวกัน  การตั้งครรภ์ของเคทดำเนินไปตามปกติ

จนกระทั่งสัปดาห์ที่ 16 ของการตั้งครรภ์ คุณหมอพบว่าลูกแฝดของเธอมีการถ่ายเทเลือดระหว่างกัน  หรือ Twin-to-twin Transfusion Syndrome(TTTS) ทำให้แฝดคนหนึ่งตัวโตเพราะได้รับเลือดมาก ส่วนอีกคนหนึ่งตัวเล็กมากเพราะให้เลือดกับอีกคนหนึ่ง

ในสัปดาห์ที่ 19 เคทพยายามรักษาชีวิตลูกฝาแฝดของเธอด้วยการเข้ารับการผ่าตัดด้วยเลเซอร์

แต่ในสัปดาห์ที่ 24 เธอก็พบว่า หลุยส์ แฝดคนที่ตัวเล็กกว่า เสียชีวิตแล้วในครรภ์ คุณหมอแนะนำให้เธออุ้มท้องต่อไปเพื่อโอกาสรอดลูกแฝดอีกคนที่ยังมีชีวิตอยู่ในท้องของเธอ

เคทอุ้มท้องมาจนถึงสัปดาห์ที่ 28 เธอก็รู้สึกหายใจไม่ออก สามีของเธอจึงรีบนำตัวเคทส่งโรงพยาบาลทันที แพทย์วินิจฉัยว่าเธอมีอาการเลือดอุดตันในปอดทั้งสองข้าง ไม่เพียงเท่านั้นหัวใจของเธอยังทำงานผิดปกติด้วย

สัปดาห์ที่ 30 ถุงน้ำคร่ำแตก ทำให้เธอต้องนอนโรงพยาบาลยาว เพื่อรับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์

เธอประคับประคองครรภ์มาจนถึงสัปดาห์ที่ 34 มดลูกบีบตัว และเธอก็คลอดธีโอดอร์ออกมาก่อนด้วยน้ำหนักตัว 1,334 กรัม ส่วนหลุยส์คลอดตามหลังด้วยน้ำหนักตัวเพียง 290 กรัม ความยาว 23 ซม. ท้องและหน้าอกของเขามีขนาดเท่าข้อมือของเคทเท่านั้น

ธีโอดอร์อยู่ในโรงพยาบาล 9 สัปดาห์ก็ได้กลับบ้าน

ธีโอดอร์ในไอซียู

ธีโอดอร์ในไอซียู

และในภาพนี้เขาเป็นเด็กน้อยสุขภาพดีในวัย 8 เดือนแล้ว

อาร์ชี่และเทดดี้

อาร์ชี่และธีโอดอร์

จากเรื่องราวของเคท คุณแม่ครรภ์แฝดมาทำความรู้จักกับ โรคถ่ายเลือดในครรภ์แฝด ได้ในหน้าถัดไปค่ะ

Twin-to-twin Transfusion Syndrome คืออะไร

โรคถ่ายเลือดในครรภ์แฝด

Twin-to-twin Transfusion Syndrome คือภาวะที่ฝาแฝดใช้รกร่วมกัน หรือมีหลอดเลือดที่เชื่อมต่อกัน ซึ่งเกิดได้ประมาณ 10-15% ของฝาแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน ในทางการแพทย์เรียกภาวะนี้ว่า โรคถ่ายเลือดในครรภ์แฝด

ผศ.ดร.นพ.ดิฐกานต์  บริบูรณ์หิรัญสาร ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล อธิบายว่า เมื่อฝาแฝดใช้รกร่วมกัน ทำให้เกิดการถ่ายเทเลือดระหว่างทารกทั้งสอง ทำให้แฝดคนที่ให้เลือด ตัวเล็กผิดปกติ แคระแกร็น เติบโตช้า ขาดเลือด ในขณะที่แฝดคนที่รับเลือด กลับมีขนาดตัวโตเกินไป หากปล่อยทิ้งไว้จะเกิดภาวะเลือดข้น บวมน้ำ หัวใจล้มเหลว แต่หากขนาดต่างกันไม่เกิน 10-20% จะไม่มีปัญหา

ในกรณีที่ลูกเสียชีวิตในครรภ์หนึ่งคน คุณแม่สามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้  โดยไม่จำเป็นต้องเอาคนที่เสียชีวิตออก เพราะเมื่อเสียชีวิตเขาจะหยุดโต ไม่มีการเน่าเสียเพราะไม่ได้เจอเชื้อโรคภายนอก ส่วนอีกคนก็โตได้ตามปกติได้

โรคถ่ายเลือดในครรภ์แฝดรักษาได้หรือไม่?

ผศ.นพ.ตวงสิทธิ์  วัฒกนารา ภาควิชาสูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า  การใช้กล้องส่องตรวจทารกในครรภ์ หรือฟีโตสโคป (fetoscope) ถือเป็นการรักษาที่ต้นเหตุ ซึ่งได้ผลดีที่สุด ทั้งเป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์ปัจจุบัน

วิธีการคือจะใช้กล้องที่มีขนาดเล็กมากเพียง 2 มิลลิเมตร สอดเข้าไปในโพรงมดลูก แล้วใช้เลเซอร์ซึ่งมีกำลังต่ำจี้ตัดหลอดเลือดที่ผิดปกติบนแผ่นรกในครรภ์ให้ขาดออกจากกัน ทำให้การไหลเวียนของเลือดที่เชื่อมระหว่างทารกทั้งสองหยุดลง ช่วยให้ทารกทั้งสองต่างเจริญเติบโตด้วยตนเอง ไม่เกี่ยวข้องกันต่อไป ซึ่งการผ่าตัดรักษาด้วยวิธีนี้ใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง และพักฟื้นในโรงพยาบาลต่ออีก  2 วัน  ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการเสียเลือด  ติดเชื้อ หรือน้ำเดินหลังผ่าตัด  ซึ่งการผ่าตัดจะได้ผลดีหากทำในรายที่โรคยังไม่รุนแรงมาก และในอายุครรภ์ที่เหมาะสมคือ ระหว่าง 16 – 24 สัปดาห์ หลังจากนั้นก็สามารถกลับไปดูแลตนเองที่บ้านจนกว่าจะครบกำหนดคลอด  อย่างไรก็ตาม คุณแม่ครรภ์แฝดจำเป็นต้องอยู่ในความดูแลของสูติแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนและประเมินสถานการณ์ของภาวะใกล้คลอดอย่างใกล้ชิด

ที่มา kidspot, www.si.mahidol.ac.th

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

ความเสี่ยงที่แม่ตั้งครรภ์แฝดควรระวัง เพื่อคลอดลูกแฝดอย่างปลอดภัย

ครรภ์คุณภาพของแม่ท้อง ต้องดูแลแบบนี้

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • โรคถ่ายเลือดในครรภ์แฝด เพิ่มโอกาสแท้งลูก
แชร์ :
  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว