การสูญหายของเด็กเนื่องจากการถูกลักพาตัวนั้นสร้างความเศร้าสลดเสียใจให้กับพ่อแม่และญาติสนิทเป็นอย่างยิ่ง และเมื่อรู้ว่าเด็กถูกทำร้ายทารุณกรรมหรือฆาตกรรม ยิ่งเป็นเรื่องน่าสะเทือนใจอย่างมาก ในสังคมที่มีภัยรอบด้านและมีมิจฉาชีพอยู่รอบตัว ซึ่งคนร้ายมักมาในรูปแบบที่เหนือความคาดหมาย มาในมาดคนใจดีหรือคนสนิท เข้าหาเด็กๆในสถานที่สาธารณะทั่วไป และมักมีวิธีการหลอกล่อต่างๆนานาให้เด็กหลงเชื่อว่าตัวเองไม่ใช่คนร้าย
สิ่งเหล่านี้อาจอยู่นอกเหนือความคาดหมายของคุณพ่อและคุณแม่ แต่หากเราหันมาใส่ใจในตัวบุตรหลานมากขึ้น ก็จะช่วยป้องกันเหตุร้ายไม่ให้เกิดขึ้นกับบุตรหลานเราได้ เรามีข้อควรรู้ที่พ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ควรรู้ไว้ เพื่อสอนบุตรหลานของท่านก่อนจะเกิดเหตุสายเกินแก้
ภาพจาก ศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา www.themirrorfoundation.org
- บอกลูกว่า “คนร้ายอาจไม่ใช่คนแปลกหน้าเสมอไป”
อย่าใช้แค่คำว่า คนแปลกหน้ากับลูกบ่อยๆ เพราะทุกวันนี้คนร้ายอาจมาในรูปแบบคนใจดีหรือคนสนิท สอนให้ลูกดูจากพฤติกรรมแทน เช่น หากมีคนขับรถผ่านไปแล้วยิ้มให้นั่นถือเป็นเรื่องปกติ แต่หากมีคนขับรถมาจอดแล้วพยายามดึงลูกเข้าไปในรถ นั่นเป็นเรื่องผิดปกติให้ลูกมีปฏิกิริยาตอบโต้ เช่น ส่งเสียร้อง
- ฝึกทักษะการร้องขอความช่วยเหลือ
คุณพ่อคุณแม่อาจเคยตั้งกฎกับลูกว่า ห้ามร้องเสียงดังในห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร หรือที่สาธารณะ ให้ปรับเปลี่ยนวิธีการพูดกับลูกว่า หากลูกรู้สึกไม่ปลอดภัย มีคนรังแกให้ลูกลืมกฎเรื่องนี้ไปซะ และให้ลูกร้องเสียงดังเพื่อเป็นการส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือได้
- สอนลูกให้รู้จักขออนุญาตทุกครั้งเวลาจะไปไหนกับใคร
ตั้งกติกากับลูกว่าหากลูกต้องออกไปวิ่งเล่นกับใครที่ไม่ใช่พ่อแม่ ให้ลูกมาขออนุญาตพ่อหรือแม่ทุกครั้งก่อนออกไปเล่นได้ ฝึกความเคยชินให้ลูกตั้งแต่เด็ก ให้ลูกมาขออนุญาตทุกครั้งแม้ต้องออกไปกับคนสนิท เช่น ตา ยาย หรือพี่เลี้ยง เพื่อเป็นนิสัยให้ลูกรู้ว่า หากมีคนชวนไปไหน ลูกจะต้องบอกพ่อแม่ก่อนเสมอ เป็นการบังคับให้ลูกอยู่ในสายตาพ่อแม่ตลอดเวลา
คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับคุณพ่อคุณแม่
- หมั่นไปสังเกตการณ์ที่หน้าโรงเรียนลูกบ่อยๆว่ามีใครเข้ามาคุยหรือเล่นกับลูกบ้าง
- สถานที่เสี่ยงที่เพิ่งระวัง เช่น บ้าน ตลาด ห้างสรรพสินค้า สวนสาธารณะ เป็นต้น
- เวลาไปไหนควรจูงมือเด็กตลอดเวลา ไม่ทิ้งไว้ลำพังและไม่ให้คลาดสายตา
ข้อแนะนำเหล่านี้หากถูกปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการถูก มิจฉาชีพลักพาตัว ได้เป็นอย่างมาก คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มสำรวจความพร้อมและเช็คไหวพริบของลูกๆได้แล้วค่ะ ก่อนจะสายเกินแก้
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
รู้ไว้ก่อนสาย เพราะ “เด็กหาย” อาจเป็นลูกคุณ
สอนลูกให้ปลอดภัยจากคนแปลกหน้า
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!