พ่อให้ทารกดูด น้ำท่อม
เพจหมอแล็บแพนด้า โพสต์อันตรายน้ำใบกระท่อมหลังมีภาพ พ่อให้ทารกดูด น้ำท่อม โดยเตือนว่า ให้เด็กกินน้ำท่อมแบบนี้ไม่ได้นะครับ น้ำท่อม มันมีสารเสพติดไมทราไจนีน (Mitragynine) ที่มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง หลังจากดื่มไปประมาณ 10 นาที ช่วงแรก ๆ ลูกอาจจะดูร่าเริง สดใส กระปรี้กระเปร่า ไม่งอแง ไม่อยากอาหารหรืออยากนม เหมือนจะดูดีนะ แต่ถ้ากินไปเรื่อย ๆ ก็อาจจะทำให้ ปากแห้ง ฉี่บ่อย เบื่ออาหาร ท้องผูก อุจจาระแข็งเป็นก้อน นอนไม่หลับ และยิ่งถ้าเสพเยอะเป็นระยะเวลานาน จะทําให้มึนงง คลื่นไส้ คือเมาน้ำท่อมนั่นแหละครับ!! ต่อมาผิวจะเริ่มคล้ำขึ้น เห็นภาพหลอน คิดว่าคนจะมาทำร้าย และพูดไม่ค่อยรู้เรื่อง
และถ้าเลิกกินน้ำท่อมหรือใบกระท่อมก็จะส่งผลเสียอีก น้ำท่อม ทำให้ร่างกายมีปัญหาหลายอย่าง เช่น
- มีความดันสูง ตัวร้อนกว่าปกติ
- อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ปวดเมื่อยตัว ปวดกระดูก
- ซึมเศร้า เซื่องซึม ไม่พูด หรืออาจจะก้าวร้าวไปเลยก็ได้
- นอนไม่หลับ กระวนกระวาย
ทุกอย่างมีข้อดีข้อเสีย แต่ตอนนี้อย่าให้เด็กกินอีก ให้ลูกกินนมกินสิ่งที่มีประโยชน์สิครับ
พ่อให้ทารกดูดน้ำท่อมพร้อมแชร์ภาพลูกดูดขวด อ้างอยากรู้ว่าเลวร้ายจริงหรือ
ทารกควรกินอะไร
อาหารที่เหมาะกับวัยทารก (แรกเกิด – 1 ปี)
- วัยแรกเกิด – 6 เดือน อาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กในวัยนี้มีเพียง “นมแม่” เท่านั้น การให้นมแม่ไม่มีการกะเกณฑ์ปริมาณที่ตายตัว คุณแม่ควรยึดหลัก “กินอิ่มหลับสบาย” แต่คุณแม่สามารถประมาณการให้นมแต่ละครั้งนานไม่น้อยกว่า 20 – 30 นาที และให้นมอย่างน้อย 8 ครั้ง / วัน
- วัย 6 – 7 เดือน ในวัยนี้นอกจากนมแม่แล้ว ควรให้อาหารเสริมซึ่งเป็นอาหารบดวันละ 1 มื้อ เพื่อแทนนมอาจให้อาหารเสริมในช่วงมื้อเช้าหรือมื้อกลางวัน ในช่วงวัย 6 – 7 เดือนนี้ ระบบการย่อยของเด็กเริ่มแข็งแรงขึ้น ดังนั้น ควรเพิ่มเนื้อสัตว์สุกบด เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อปลา นอกจากนี้ควรให้เกเริ่มรับประทานผลไม้ เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินซีบำรุงเหงือกและฟัน เพราะวัยนี้ฟันเริ่มขึ้นแล้ว ผลไม้ที่ให้รับประทานเป็นมะละกอสุกหั่นชิ้นเล็ก ๆ เงาะฝานชิ้นบางแล้วยีให้ละเอียดอีกครั้ง หรือจะเป็นองุ่นลอกเปลือกออก หั่นครึ่งนำเมล็ดออก หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ควรให้ลูกกินในปริมาณน้อย ๆ ก่อน เมื่อเริ่มคุ้นเคยค่อยเพิ่มปริมาณ
- วัย 8 – 9 เดือน ในช่วงวัยนี้รับประทานอาหารเสริมแทนนมแม่ 2 มื้อ สำหรับอาหารเสริมให้รับประทานอาหารเสริมเหมือนช่วงวัย 6 – 7 เดือน แต่ควรเพิ่มรับประทานผักบดเพิ่มด้วย และเพิ่มผลไม้เป็นอาหารว่าง
- วัย 10 – 12 เดือน ในช่วงวัยนี้ควรฝึกให้เด็กเริ่มรับประทานอาหารด้วยตนเอง แม้จะเลอะเทอะไปบ้างก็ตาม อาหารเสริมในวัยนี้เนื้อจะเริ่มหยาบขึ้นเพราะเริ่มมีฟันสำหรับบดเคี้ยวได้มากขึ้น อาหารเสริม เช่น ข้าวต้ม ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ สปาเกตตี โดยคุณแม่ต้องตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำมาต้มสุก ใส่น้ำซุปที่มีเนื้อสัตว์และผัก เพิ่มเพิ่มรสชาติและฝึกการบดเคี้ยว สำหรับอาหารว่างนอกจากผลไม้แล้ว อาจเป็นขนมปังเวเฟอร์เพิ่มเติมก็ได้
สำหรับทารกแรกเกิดควรกินนมแม่ จนถึง 6 เดือนแรกของชีวิต แล้วค่อย ๆ เสริมอาหารที่เหมาะสมตามวัย เพื่อให้ลูกแข็งแรง พ่อแม่ต้องใส่ใจในการเลือกอาหารสำหรับลูกนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
วิธีแก้ปัญหาลูกสะอึก หลังกินนม ทารกสะอึกทําไงให้หาย ให้นมลูกเสร็จแล้วลูกสะอึก
ภาษากายทารก หิว เบื่อ ง่วงนอน มีอาการอย่างไร ลูกทำท่านี้หมายความว่าอะไร
อาหารทำร้ายลูก 4 อย่าง ที่แม่ท้องควรหลีกเลี่ยง
ตัดเล็บโดนเนื้อถึงได้รู้! ลูกป่วยโรคเลือดไหลไม่หยุด พบได้แค่ 1 ในล้าน!
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!