X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ประสบการณ์ผ่าคลอด ผ่าคลอดลูกเจ็บไหม แม่เล่าถึงการผ่าคลอดลูก ท้องนี้ไม่รู้ลืม

บทความ 5 นาที
ประสบการณ์ผ่าคลอด ผ่าคลอดลูกเจ็บไหม แม่เล่าถึงการผ่าคลอดลูก ท้องนี้ไม่รู้ลืม

แม่เล่าประสบการณ์ผ่าคลอดอย่างละเอียดยิบ ตั้งแต่ตอนน้ำเดิน มีดกรีดหน้าท้อง จนได้เห็นหน้าลูกครั้งแรก

ประสบการณ์ผ่าคลอด ผ่าคลอดเจ็บไหม

คุณแม่ขอเล่า ประสบการณ์ผ่าคลอด เกิดอะไรบ้างในห้องคลอด ผ่าคลอดลูกเจ็บไหม มาอ่านไปด้วยกันค่ะ

คุณแม่สมาชิกเฟซบุ๊ก P PLoy’s Phatara โพสต์ว่า

สวัสดีค่ะแม่ ๆ มาเล่าประสบการณ์การผ่าคลอดให้ฟัง ยาวหน่อยนะคะ กำหนดคลอดจริง 26 ธันวาคมค่ะ แต่นัดหมอผ่า 18 ธันวาคม แต่ว่าเจ้าลูกชายอยากเจอแม่แล้ว

  • เมื่อคืน (คืนก่อนคลอด) ตอน 4 ทุ่มครึ่ง เหมือนมีน้ำเดิน เป็นน้ำแบบใส ๆ ค่ะแต่สีจะเข้มกว่าสีของฉี่ แล้วก็เหมือนมีเลือดออก ปน ๆ ด้วยนิด ๆ มันจะไหลออกแบบไม่ต้องเบ่งค่ะ แต่ท้องไม่ปั้นนะคะ ไม่เจ็บท้องอะไรเลย เลยคิดว่าใช่แน่เลย
  • รีบเก็บของอย่างเร็วเลยค่ะ ดีที่เก็บเตรียมของลูกไว้ แต่ของพ่อกับแม่นี่หัวหมุนเลยค่ะ จากนั้นก็ใช้เวลาเดินทางไป โรงพยาบาลเอกชน ห่างจากบ้าน 40 กิโลเมตร
  • พอถึงโรงพยาบาลก็ตรวจเบื้องต้น พยาบาลจัดการโกนขนที่อวัยวะเพศเสร็จ วัดคลื่นฟังเสียงหัวใจเด็ก ดูว่าท้องปั้นกี่ครั้ง ดิ้นกี่ครั้ง น้ำเดินก็ไหลเรื่อย ๆ ค่ะ แต่ไหลทีละนิด รอประมาณครึ่งชั่วโมง พยาบาลก็มาตรวจปากมดลูกค่ะ
  • ถึงจุดนี้ร้องจ๊ากกเลยจ้า ปากมดลูกเปิด 3 เซ็นติเมตรค่ะ แล้วเลือดก็ไหลออกหลังจากพยาบาลใช้นิ้วแหย่เข้าไป จากนั้นพยาบาลก็สวนสายฉี่ให้ (แอบลุ้นว่าจะไปสวนตอนบล็อกหลัง แต่ไม่จ้า ตอนที่อิแม่รู้สึกทุกอย่างนี่แหละ) แต่ไม่เจ็บเท่าตอนตรวจปากมดลูกนะคะ
  • จากนั้น ประมาณตี 1 ก็เข้าห้องผ่าตัด ดูวุ่นวายไปหมดค่ะ หมอก็ให้นอนขดตัวฉีดยาบล็อกหลังก็เจ็บค่ะ (แต่ไม่มากเท่าตรวจปากมดลูก) ?? แล้วก็เริ่มร้อน ๆ ท่อนล่างค่ะ หมอก็เอาเข็มทิ่มๆๆๆ ว่า รู้สึกไหม หืมมม ถึงจุดนี้อยากจะบอกว่าไม่เหมือนที่คิดฝันค่ะ
  • คือรู้สึกทุกอย่างเลย แม้แต่ตอนกรีดมีดลงผิวยังรู้สึกเหมือนมีดบาด แบบโดนลากยาว ๆ ทำไมมันรู้สึกตลอดเลยแต่มันไม่เจ็บมากค่ะ จะเป็นความรู้สึกจุก ๆ เหมือนโดนกดมากกว่า อิแม่ก็ร้องตลอด ร้องเพราะรู้สึกว่าจุกพูดไม่ออก หมอก็ถามว่า ไหวไหมคะ? เดี๋ยวจะได้เจอลูกแล้วนะ อีกนิด ๆ
  • ตอนนั้นคือน้ำตาไหลแล้วค่ะ อยากให้เสร็จเร็ว ๆ แล้วทันใดนั้นก็ได้ยินเสียงเจ้าตัวเล็กร้อง ร้องใหญ่เลย น้ำตาแม่ก็ยิ่งไหลมากกว่าเดิม ความเจ็บปวดที่งดงามจริง ๆ
  • พอถ่ายรูปกับลูกเสร็จ คุณหมอก็บอกเดี๋ยวให้ยาสลบคุณแม่นะเหมือนจะรู้สึกไม่ไหว เราก็ถามว่า สลบนานไหม เค้าบอกแป๊บๆ เย็บแผลเสร็จก็ฟื้น จากนั้นก็ไม่รู้เรื่องค่ะ รู้สึกอีกทีคือทุกอย่างเสร็จแล้ว
  • อาการที่ตามมานะคะ หลังจากที่รู้สึกตัว ตัวสั่นค่ะ คือ สั่นแบบสะบั้น หนาว สั่นจนเตียงสั่นไปด้วย ห่มผ้าหลายผืนมากค่ะ กว่าจะสงบลงได้ ประมาณ 2 ชั่วโมง พอเลิกสั่นพยาบาลก็พาส่งห้องพัก ตามมาด้วยอาการปวดแผลค่ะ และตอนนี้ก็รอให้นมลูกค่ะ

เป็นกำลังใจให้แม่ ๆ ที่จะผ่าคลอดนะคะ ขอบคุณที่อ่านจนจบ อยากให้รู้สึกชิลล์ ๆ เพราะตอนแม่มา แม่ก็มาชิลล์ ๆ แต่ทำไมไม่ชิลล์เหมือนแม่บ้านอื่น หรือแม่บ้านอื่นก็เป็นเหมือนกันไหมคะ

Advertisement

สุดท้ายค่ะ เจ้าปัณโณน้ำหนัก 2,830 ฝากเนื้อฝากตัวด้วยครับผม 38W 2D

 

อ่าน ผ่าคลอด บล็อคหลัง VS ดมยาสลบ หน้าถัดไป

ผ่าคลอด บล็อคหลัง VS ดมยาสลบ

แม่ ๆ ที่ตัดสินใจผ่าคลอด คงกำลังชั่งใจว่าจะเลือก บล็อคหลังหรือดมยาสลบ มาดูข้อเด่นข้อด้อยของการ บล็อคหลัง VS ดมยาสลบ กันค่ะ

ผศ.นพ.เมธาพันธ์ กิจพรธีรานันท์ สูติแพทย์ อธิบายว่า การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง มีการระงับปวดโดยวิสัญญีแพทย์ในห้องผ่าตัด สามารถกระทำได้ 2 ลักษณะ คือ การบล็อคหลัง และการดมยาสลบ ซึ่งมีข้อเด่น ข้อด้อยต่างกัน แล้วแต่ความเหมาะสมของผู้ป่วยเป็นราย ๆ ไป

 

ดมยาสลบ กับ บล็อคหลัง

การบล็อคหลัง

  • บล็อคหลังราคา ถูกกว่า
  • ประสิทธิภาพในการระงับปวด เท่ากัน
  • ความเสี่ยงต่อมารดา น้อยกว่า
  • ความเสี่ยงต่อทารก น้อยกว่า
  • การผ่าตัดคลอดแบบยาก นิยมน้อยกว่า
  • ภาวะแทรกซ้อน เสี่ยงปวดหลัง ปวดศีรษะ เสี่ยงความดันโลหิตต่ำ
  • ระยะเวลาออกฤทธิ์ ยาวกว่า จนถึงหลังคลอด 6 ชั่วโมง
  • ผู้ให้บริการ วิสัญญีแพทย์

 

การดมยาสลบ

  • ดมยาสลบราคา แพงกว่า
  • ประสิทธิภาพในการระงับปวด เท่ากัน
  • ความเสี่ยงต่อมารดา มากกว่า
  • ความเสี่ยงต่อทารก มากกว่า
  • การผ่าตัดคลอดแบบยาก นิยมมากกว่า
  • ภาวะแทรกซ้อน เสี่ยงสำลักอาหาร เสี่ยงปอดติดเชื้อ
  • ระยะเวลาออกฤทธิ์ สั้นกว่า เฉพาะเวลาที่ดมยาสลบอยู่เท่านั้น
  • ผู้ให้บริการ วิสัญญีแพทย์ หรือ วิสัญญีพยาบาล

ส่วนใหญ่สูติแพทย์และวิสัญญีแพทย์มักนิยมบล็อคหลังมากกว่า เนื่องด้วยมีความปลอดภัยสูงและยาที่ใช้ไม่กดการหายใจของเด็กทารกแรกเกิด แต่การดมยาสลบอาจมียาสลบส่งผ่านรกไปยังเด็กทารกในครรภ์ได้

อ่านเพิ่มเติม ผ่าคลอด บล็อคหลัง ดมยาสลบ ภาวะแทรกซ้อน ความเสี่ยงที่แม่ต้องเจอตอนผ่าคลอด

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

คลอดธรรมชาติ vs ผ่าคลอด คุณแม่อยากเลือก วิธีคลอดลูก แบบไหน?

เห็นกันชัดๆ สีหน้าทารกขณะผ่าคลอด (มีคลิป)

ในหนึ่งวัน คนท้องควรกินอะไร ตย.อาหารสำหรับไตรมาสแรกถึงไตรมาสสุดท้าย

 

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ประสบการณ์ผ่าคลอด ผ่าคลอดลูกเจ็บไหม แม่เล่าถึงการผ่าคลอดลูก ท้องนี้ไม่รู้ลืม
แชร์ :
  • คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

    คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

  • 7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

    7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

  • คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

    คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

  • 7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

    7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว