X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ประจำเดือนครั้งแรกของลูก ควรทำยังไง? สิ่งที่แม่ต้องรู้และควรรับมือ

บทความ 5 นาที
ประจำเดือนครั้งแรกของลูก ควรทำยังไง? สิ่งที่แม่ต้องรู้และควรรับมือ

เรื่องการมีประจำเดือนครั้งแรกหรือเรื่องส่วนตัวของลูกเมื่อเริ่มเข้าวัยสาวอาจจะเป็นเรื่องน่าอึดอัดที่คุณจะพูดกับลูก เรามีคำแนะนำที่จะช่วยให้คุณสอนลูกเรื่องผู้หญิง ๆ ได้ง่ายขึ้นมาฝาก

ประจำเดือนครั้งแรกของลูก ควรทำยังไง? สิ่งที่แม่ต้องรู้และควรรับมือ การเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกเป็นเรื่องน่าอึดอัดสำหรับเด็กผู้หญิง แต่มันคือสัญญาณที่บ่งบอกว่าเจ้าตัวเล็กของคุณกำลังก้าวเข้าสู่วัยสาว แน่นอนว่าคุณแม่หลายคนอาจจะต้องดูแลและใส่ใจ พร้อมทั้งแนะนำให้ลูกรู้จักวิธีการรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นว่า ประจำเดือนครั้งแรกของลูก มันเป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงอย่างเรา

 

ประจำเดือน ครั้งแรก ลูก

เมื่อลูกมีประจำเดือนครั้งแรก

 

สัญญาณแรกของประจำเดือน

อายุที่เด็กผู้หญิงจะเริ่มมีประจำเดือนขึ้นอยู่กับแต่ละคน บางคนอาจเริ่มเป็นเร็วตั้งแต่ก่อน 10 ขวบ แต่บางคนก็อาจเริ่มตอนอายุ 15 สัญญาณที่บ่งบอกว่าเด็กใกล้มีประจำเดือน คือ หน้าอกเริ่มขึ้น และขนขึ้นในที่ลับ เด็กจะโตเร็วอย่างรวดเร็วในช่วง 1 ปีก่อนเริ่มมีประจำเดือน

 

เปิดอกคุย

แทนที่จะคุยจริงจังกับลูก ลองถามลูกว่าลูกกังวลหรือกลัวเรื่องอะไร คุณควรจะทำให้ลูกสบายใจที่สุดเท่าที่จะทำได้ นี่เป็นคำถามที่ลูกอาจจะถามคุณ

Advertisement

1. ทำไมผู้หญิงถึงมีประจำเดือน?

บอกลูกว่าการมีประจำเดือนเป็นส่วนหนึ่งของวงจรธรรมชาติที่จะทำให้ผู้หญิงสามารถท้องได้ เมื่อผู้หญิงไม่ได้ตั้งท้อง เยื่อบุโพรงมดลูกก็จะลอกออก ซึ่งก็คือประจำเดือนนั่นเอง

 

2. PMS หรืออาการก่อนมีประจำเดือนคืออะไร?

อธิบายให้ลูกฟังก่อนจะเริ่มมีประจำเดือนว่า ผู้หญิงบางคนจะมีอาการปวดประจำเดือน อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด ไข้ขึ้นในช่วงใกล้มีประจำเดือน ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ

 

3. จะปวดท้องมั้ย?

ผู้หญิงจะปวดท้องน้อยในช่วงเริ่มมีประจำเดือน 1-2 วันแรก แต่สามารถบรรเทาได้ด้วยการกินยาแก้ปวดหรือประคบถุงร้อน แต่ถ้าลูกปวดท้องมาก อาจต้องพาไปปรึกษาคุณหมอ

4. ควรใช้ผ้าอนามัยแบบสอดหรือแบบแผ่น?

ผ้าอนามัยแบบแผ่นคือแบบที่ใส่ไว้ในกางเกงชั้นใน เหมาะสำหรับเด็กที่เพิ่งเริ่มใช้  สำหรับผ้าอนามัยแบบสอด คุณต้องอธิบายมากกว่านั้นให้ลูกฟังถึงวิธีการใช้เพื่อให้รู้สึกสบายตัว

 

5. เลือดจะออกมากแค่ไหน?

บอกลูกว่าเลือดจะออกประมาณ 2-3 ช้อนชาเท่านั้น แม้ว่ามันจะดูมากกว่านั้นก็ตาม แต่ถ้าประจำเดือนมามากผิดปกติ ควรปรึกษาคุณหมอ

 

6. จะเป็นประจำเดือนนานแค่ไหน?

ปกติ ในแต่ละครั้งประจำเดือนจะมาประมาณ 3-5 วัน แต่บางคนอาจสั้นกว่านั้น หรือบางคนอาจมีนานถึง 1 อาทิตย์

7. หนูท้องได้มั้ย?

การมีประจำเดือนแปลว่าร่างกายเริ่มตกไข่และเตรียมพร้อมที่จะมีลูก เด็กบางคนอาจตกไข่ก่อนประจำเดือนครั้งแรกไม่นาน ดังนั้นคุณควรคุยกับลูกเรื่องเพศสัมพันธ์ และการตั้งท้องไปพร้อม ๆ กับเรื่องประจำเดือน

 

รับมืออย่างไร? เมื่อลูกเป็นประจำเดือนครั้งแรก

 

ประจำเดือนครั้งแรกของลูก 1

(รูปจาก freepik.com)

 

แน่นอนว่าคุณแม่บางคนอาจจะกำลังรับมือหรือกำลังเจอกับเหตุการณ์เหล่านี้อยู่ โดยเฉพาะบ้านไหนที่มีลูกสาว ดังนั้นคุณแม่ก็อาจจะต้องให้คำแนะนำในการเตรียมความพร้อมในการเป็นประจำเดือนของลูกครั้งแรก เพื่อที่ลูกของเราจะได้ไม่ตกใจ หรือเกิดอาการกลัวทุกครั้งที่เป็นประจำเดือน เพราะสิ่งเหล่านี้ย่อมเป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงนั่นเอง ซึ่งการรับมือเวลาเป็นประจำเดือนมีอะไรบ้าง มาดูกัน

 

1. ประจำเดือนมาช่วงไหน

อย่างที่รู้กันดีว่าโดยปกติส่วนใหญ่ประจำเดือนจะมารอบละประมาณ 2 วันหรือบางคนถ้านานหน่อยก็อาจจะประมาณ 1 อาทิตย์ได้เลย สำหรับใครที่อยู่ในช่วงอายุประมาณ 20 ปีต้นๆ บางเดือนก็อาจจะมีประเดือนนานขึ้นมาหน่อย แต่ไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะสิ่งนี้ถือเป็นเรื่องปกติ เมื่อเริ่มเข้าสู่วัย 30 ปี การเป็นประจำเดือนก็สั้นลง ส่วนอายุประมาณ 40 – 50 ปี ก็ยิ่งจะเป็นประจำเดือนสั้นลงไปอีก บางคนก็อาจจะเป็นแค่นิดเดียวหรือหยุดเป็นไปเลยก็ได้ นอกจากนี้การเป็นประจำเดือนของแต่ละคนยังแตกต่างกันอีกด้วย และกรณีใครที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือไม่เป็นประจำเดือนมานาน เราอาจจะต้องรีบไปพบแพทย์ เพื่อความปลอดภัยและตรวจหาความผิดปกติของร่างกายรวมถึงฮอร์โมนภายในร่างกายด้วยนั่นเอง

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

 

2. การนับวันของการเป็นประจำเดือน

อีกหนึ่งข้อที่เราควรใส่ใจและไม่ควรมองข้าม เพราะสิ่งนี้จะช่วยทำให้รู้ว่าช่วงวันไหนของเดือนเราจะเป็นประจำเดือน โดยการนับวันนั้นอาจจะต้องนับตั้งแต่วันแรกที่เป็นไปจนถึงวันแรกของเดือนถัดไปว่าห่างกันประมาณกี่วัน และสิ่งนี้แหละที่จะทำให้คุณคาดคะเนการเป็นประจำเดือนของตัวเองได้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผู้หญิงจะมีประจำเดือนทุก 28 โดยประมาณ เมื่อไหร่ที่เราทำแบบนี้อยู่เป็นประจำมันก็จะช่วยให้เราสะดวกในการทำอะไรมากขึ้น ดีไม่ดีเราอาจจะได้วางแผนการทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ด้วย อย่างที่รู้กันว่าทุกครั้งของการเป็นประจำเดือนมันเป็นอะไรที่ใช้ชีวิตลำบากมากๆ ยิ่งถ้าใครที่ชอบปวดท้องประจำเดือน ยิ่งต้องระวัง เพราะถ้าเกิดเราวางแพลนไปเที่ยวแล้วเกิดมาเป็นประจำเดือนในช่วงนี้ การไปเที่ยวของเราก็อาจจะไม่สนุกเอาได้

 

3. จดบันทึกไว้ทุกครั้งของการเป็นประจำเดือน

สำหรับใครที่กลัวตัวเองจำไม่ได้ว่าเป็นประจำเดือนช่วงไหนก็อาจจะมีการจดบันทึกไว้เตือนตัวเองได้เช่นกัน โดยเราอาจจะจดวันแรกและวันสุดท้ายของการเป็นประจำเดือนไว้ในสมุดทุก ๆ เดือน แน่นอนว่าในชีวิตประจำวันของเราแต่ละวันมีอะไรให้ทำเยอะมาก ๆ เยอะจนบางคนอาจลืมไปว่าตัวเองเป็นประจำเดือนในช่วงวันไหนกันแน่ ใครที่กำลังเป็นแบบนี้อยู่การจดบันทึกเหล่านี้ก็เรียกได้ว่าช่วยคุณได้ไม่น้อยเลยล่ะ

4. ใช้แอปพลิเคชั่นช่วยเตือน

สำหรับใครที่อยากสะดวกขึ้นมาหน่อย การใช้แอปพลิเคชั่นก็สามารถช่วยเราได้ไม่น้อยเช่นกัน ซึ่งแอปพลิเคชั่นที่เราใช้อาจจะ MyMenstrualCalendar, MyMonthlyCycles หรือแอปพลิเคชั่นอื่น ๆ ได้เช่นกัน นอกจากสิ่งนี้จะเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกให้เราแล้ว ภายในแอปพลิเคชั่นยังสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้อีกด้วย เอาเป็นว่าลองโหลดมาดูกันนะรับรองว่าคุณจะสบายใจหายห่วงแน่นอน

 

5. ใช้ปฏิทิน หรือ planner online

ใครที่ไม่สะดวกก็อาจจะนำวิธีนี้ไปใช้ได้ ซึ่งวิธีนี้เราอาจจะทำเป็นรูปแบบของ event ใน Google calendar ออกมา พร้อมกับเปิดการแจ้งเตือนทิ้งไว้ และเมื่อช่วงเวลาที่เราจะเป็นประจำเดือนสิ่งนี้ก็จะแจ้งเตือนเราผ่าน E-mail นั่นเอง เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยเตือนความจำเราได้ไม่น้อยเลยทีเดียว

 

อาการช่วงที่เป็นประจำเดือนเป็นยังไงบ้างนะ?

 

ประจำเดือนครั้งแรกของลูก 2

(รูปโดย wayhomestudio จาก freepik.com)

 

ทุกครั้งของการเป็นประจำเดือน อาจมีหลายคนที่มักมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นกับตัวเองบ้าง ซึ่งอาการต่าง ๆ เหล่ามักจะเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ และเห็นได้อย่างชัดเจน ประกอบด้วย ดังนี้

1. เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย

อาการแรกที่มักพบบ่อยในช่วงที่เป็นประจำเดือน เรียกได้ว่าอารมณ์แปรปรวนง่ายมาก ๆ อาทิเช่น เรากำลังทำสิ่งหนึ่งอยู่ ช่วงแรก ๆ อาจจะอารมณ์ดีและมีความสุขในการทำสิ่งนั้น สักพักเราก็เกิดไม่อยากทำต่อ หรือบางคนที่เป็นหนัก ๆ ถึงกับร้องไห้ขึ้นมาได้ง่าย ๆ เลยก็ว่าได้ ดังนั้นเราควรจะต้องระวังและพยายามควบคุมอารมณ์ตัวเองให้ได้

บทความที่น่าสนใจ : 10 เทคนิคแม่ท้องจิตใจแฮปปี้ ลูกในท้องก็แฮปปี้ กับ เทคนิคอารมณ์ดี

 

2. ปวดท้องประจำเดือน

ข้อนี้อาจจะเกิดขึ้นกับบางคน โดยเฉพาะคนไหนที่มีอาการปวดหนัก ๆ ก็อาจจะต้องทานยาแก้ปวดประจำเดือนกันเลย หรือถ้าใครที่ทานยาแล้วแต่ก็ยังไม่หายปวดสักที เราก็อาจจะต้องใช้ถุงน้ำร้อนมาประคบบริเวณที่ปวด สิ่งนี้ก็อาจจะช่วยบรรเทาให้อาการปวดของเราดีขึ้น

 

3. กินในปริมาณที่มากเป็นพิเศษ

สำหรับบางคนที่กำลังจะเป็นประจำเดือนก็อาจจะรู้สึกหิวขึ้นมาบ่อย และกินมากเป็นเพิเศษ ซึ่งมันก็อาจจะเป็นเรื่องปกติสำหรับผู้หญิงอย่างเรา ๆ แต่ในขณะเดียวกันเราก็ควรที่จะดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองและไม่ควรตามใจตัวเองมากจนเกินไป เพราะอาจสิ่งเหล่านี้อาจส่งผลไม่ดีต่อร่างกายเรานั้นเอง

 

4. ง่วงและรู้สึกเพลีย

อีกหนึ่งอาการของคนเป็นประจำเดือนนั่นคืออาการง่วงและเพลีย แน่นอนว่าการเป็นประจำเดือนคือการที่ร่างกายมีการขับเลือดและเยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดออกมา สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เรารู้สึกเหนื่อยและเพลียเอาได้ง่าย ๆ ดังนั้นเราก็อาจจะต้องดูแลสุขภาพตัวเองให้มากขึ้น พยายามพักผ่อนให้เพียงพอและทำให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อที่เราจะได้ไม่อ่อนแอในช่วงที่เป็นประจำเดือน

 

5. สิวขึ้น

ข้อนี้อาจจะเกิดขึ้นกับผู้หญิงที่อยู่ในช่วงวัยรุ่น หรืออายุประมาณ 20 ต้น ๆ ซึ่งจะเห็นได้ชัดในช่วงที่เรากำลังจะเป็นประจำเดือน แต่สิวจะขึ้นมากหรือน้อยก็อาจจะขึ้นอยู่กับฮอร์โมนในร่างกายของแต่ละคน แต่เอาเป็นว่าไม่ต้องตกใจไปว่าทำไมสิวเราขึ้นเยอะในช่วงนี้ เพราะฮอร์โมนในร่างกายเรามีเปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง

บทความที่น่าสนใจ : หอมแดงรักษาสิว วัตถุดิบก้นครัว ปราบสิวอยู่หมัด สิวยุบชัวร์ !

 

อย่างที่รู้กันว่า “การเป็นประจำเดือน” จะต้องเกิดขึ้นกับผู้หญิงทุกคนอยู่แล้ว  เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้ได้ ดังนั้นในช่วงที่เราเป็นประจำเดือนเราก็อาจจะต้องดูแลตัวเองมากเป็นพิเศษ พยายามทำให้ร่างกายตัวเองแข็งแรงและพักผ่อนให้เพียงพอ พร้อมกับรู้วิธีการรับมือในช่วงของการเป็นประจำเดือน แค่นี้ก็สามารถช่วยเราได้ไม่น้อยเลยล่ะ

ยิ่งคุณให้ข้อมูลลูกเกี่ยวกับการมีประจำเดือนมากเท่าไหร่ ลูกก็จะยิ่งกังวลน้อยลงเท่านั้น อย่าลืมเป็นที่พึ่งให้ลูกในช่วงที่เธอกำลังก้าวเข้าสู่ช่วงสำคัญของชีวิตนะคะ

 

บทความที่น่าสนใจ : มีประจำเดือนควรกินอะไรดี แล้วอาหารแบบไหน ที่เหมาะสม

แนะนำ 13 วิธี หยุดอาการปวดประจำเดือน มดลูกจ๋า อย่าใจร้าย

 

ที่มา : Paolo Hospital, wikihow

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • ประจำเดือนครั้งแรกของลูก ควรทำยังไง? สิ่งที่แม่ต้องรู้และควรรับมือ
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว