X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ดินสอพอง อันตรายไหม แม่อยากรู้ ลูกเล่นแป้งช่วงสงกรานต์ ได้หรือเปล่า

บทความ 3 นาที
ดินสอพอง อันตรายไหม แม่อยากรู้ ลูกเล่นแป้งช่วงสงกรานต์ ได้หรือเปล่า

ดินสอพอง อันตรายไหม

นอกจากการสาดน้ำในช่วงเทศกาลสงกรานต์แล้ว การปะแป้งก็ยังเป็นที่นิยมในหมู่นักเล่น สำหรับผู้ใหญ่อาจไม่เป็นอันตราย แต่สำหรับทารกและเด็กเล็ก ที่ร่างกายอ่อนแอ ผิวพรรณบอบบาง การเล่นแป้งไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เลยนะคะ มาดูกันค่ะว่า ดินสอพอง อันตรายไหม พ่อแม่ต้องระวังอะไรบ้าง

อันตรายสำหรับเด็กจากการเล่นแป้งช่วงสงกรานต์

น้ำไม่สะอาดเสี่ยงโรคตาแดง

สิ่งที่ควรระวังสำหรับเด็กคือ อุปกรณ์ในการเล่น ตั้งแต่น้ำที่ใช้สาด หรือแค่ฉีดเบาๆ ก็ควรใช้น้ำประปาอุณหภูมิปกติ ห้ามใช้น้ำแข็งอย่างเด็ดขาด ถ้าเข้าหน้าเข้าตาลูกจะเป็นอันตราย นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องห่วงสุดๆ คือ น้ำผสมสี หรือแม้แต่ดินสอพอง ก็ต้องระวัง

 

ดินสอพอง อันตรายไหม

สำหรับเด็กเล็กหรือทารกที่ผิวพรรณบอบบาง โดยเฉพาะกลุ่มเด็กที่ผิวแพ้ง่าย การใช้แป้งหรือผลิตภัณฑ์ที่มีกลิ่นหอม ก็อาจจะทำให้เกิดการระคายเคือง ผิวหนังอักเสบ หรือแพ้ดินสอพองได้ แต่สิ่งที่ต้องใส่ใจคือ สารปนเปื้อนจาก ดินสองพองที่ไม่ได้มาตรฐาน

นอกจากนี้ แป้งฝุ่นทั่วไปเองก็มีอันตรายกับทารกเล็กๆ เพราะมักจะมีส่วนประกอบหลักคือ ทัลค์ (Talc) หรือ ทัลคัม (Talcum) โดยนพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวไว้ในผู้จัดการออนไลน์ว่า ทัลค์เป็นสารอนินทรีย์ จึงไม่ถูกย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์ในธรรมชาติ ดังนั้นการทาแป้งโดยเฉพาะตอนโรยแป้ง ผงแป้งจะลอยในอากาศ หากสูดดมเข้าไปทางลมหายใจเป็นเวลานานจะเกิดการสะสมเป็นก้อนในปอด ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจ

ส่วนในเด็กทารกอาจทำให้ปอดอักเสบและตายได้ ถ้าเป็นเด็กที่เป็นภูมิแพ้อยู่แล้ว อาการก็จะกำเริบ หรือแม้กระทั่งผู้ใหญ่ที่เป็นภูมิแพ้อยู่แล้ว ถ้าใช้แป้งทัลคัม อาการก็กำเริบได้ ไม่ใช่แค่เด็ก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอ่านข้อบ่งใช้อย่างละเอียด

คำเตือน : อย่าให้แป้งเข้าจมูกเข้าปากเด็ก ต้องเก็บให้พ้นมือเด็ก และระวังอย่าให้เข้าตาเด็ก

ที่มา : https://www.manager.co.th/Daily

 

สรรพคุณดินสอพอง ดินสอพอง วัน สงกรานต์

นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวเกี่ยวกับดินสอพองว่า คนสมัยโบราณจะนำดินสอพองมาอบร่ำให้กลิ่นหอมเป็นแป้งร่ำ น้ำอบ เป็นแป้งทา ผิวหน้า ผิวกาย ส่วนใหญ่นิยมใช้ดูแลด้านความงาม เครื่องหอมไทย ดินสอพองถือเป็นสมุนไพรรสยาเย็น ใช้แก้พิษร้อนกับร่างกาย ถอนพิษอักเสบ แก้ผด ผื่นคัน และที่พิเศษคือเป็นยาห้ามเหงื่อ นอกจากไม่ทำให้ร่างกายเหนียวเหนอะจากอากาศร้อนแล้วยังทำให้ร่างกายเย็นสบาย และช่วยป้องกันแดดได้ระดับหนึ่งผลิตภัณฑ์ดินสอพองแปรรูปที่ใช้กับผิวหน้าและผิวกายเพื่อความสะอาด ความสวยงาม หรือส่งเสริมให้เกิดความสวยงาม จัดเป็นเครื่องสำอางตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง ตามประกาศกระทรวง

ปัจจุบันจะพบว่ามีการนำดินสอพองผสมกับผงสมุนไพรที่ใช้ดูแลผิวพรรณ เช่น ขมิ้น ไพล สำหรับขัดผิว ขัดตัว บำรุงให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง สดใส หรือนำมาผสมกับสมุนไพรกลุ่มแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย เช่น เสลดพังพอน ใบตำลึง ทองพันชั่ง เป็นต้น

Advertisement

 

ดินสอพองต้องฆ่าเชื้อก่อนใช้

การจะนำดินสอพองมาใช้ประโยชน์ต้องมีการนำไปฆ่าเชื้อตามกรรมวิธีโบราณเรียกว่า การสะตุ คือ การนำดินสองพองไปเผาไฟซึ่งเป็นการทำให้ดินสอพองปราศจากสิ่งปนเปื้อน ดินสอพองที่ผ่านการสะตุต้องมีกลิ่นที่ดีตามธรรมชาติมีลักษณะเป็นผงหรือก้อน

ดังนั้น ควรเลือกซื้อดินสอพองที่มีฉลากกำกับระบุการใช้กับส่วนต่างๆของร่างกายหรือเลือกดูจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ เช่น เป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) บรรจุในภาชนะที่ปิดสนิท ที่ฉลากมีข้อความที่แสดงว่าผลิตภัณฑ์นั้นได้ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว ชื่อผู้ผลิต วันที่ผลิต และรายละเอียดส่วนผสมต่างๆ

 

ดินสอพอง วัน สงกรานต์ ดินสอพองไม่ได้มาตรฐานเสี่ยงอย่างไร

ดินสอพองที่ไม่ได้มาตรฐานจะมีปริมาณของยีสต์ แบคทีเรีย และเชื้อรา เกินกว่ามาตรฐานที่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนดินสอพองแปรรูปกำหนด อีกทั้งยังพบเชื้อที่ก่อให้เกิดบาดทะยัก (clostridium spp.) หากเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษและกล้ามเนื้อตาย (staphylococcus aureus) ในกรณีเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากอาจทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด กล้ามเนื้อตายเน่า และการติดเชื้อในเนื้อเยื่ออ่อน ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

ทั้งนี้ หากเล่นน้ำสงกรานต์ ที่มีการปะแป้ง ต้องระวังเป็นพิเศษ หากจำเป็นต้องใช้ดินสอพองเล่นสงกรานต์ ควรระวังอย่าให้เข้าจมูกหรือปาก หรือหากมีบาดแผลที่ผิวหนังควรหลีกเลี่ยงดินสอพอง

เพื่อความปลอดภัย คุณแม่ไม่ควรให้ลูกน้อยวัยทารกหรือเด็กเล็ก ออกไปเล่นนอกบ้าน ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ หรืออย่างน้อยๆ พ่อแม่ก็ต้องคอยดูแลลูกอย่างใกล้ชิด เมื่อถูกน้ำผสมสี ดินสอพอง หรือแป้งทา ควรรีบล้างออก

ที่มา : https://www.thaihealth.or.th/

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

พาลูกเที่ยวสงกรานต์ ต้องระวังอะไร วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อลูกป่วยหลังเล่นน้ำสงกรานต์

9 วิธีง่ายๆ ทำให้ทารกหยุดร้องไห้ ในไม่กี่นาที

ไม่อยากให้ลูกต้องป่วยบ่อย ต้องสอนลูกให้ทำแบบนี้

 

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • ดินสอพอง อันตรายไหม แม่อยากรู้ ลูกเล่นแป้งช่วงสงกรานต์ ได้หรือเปล่า
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว