X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ส่องดูกันชัด ๆ น้ำนมแม่ผ่านกล้องจุลทรรศน์

10 Jan, 2017
ส่องดูกันชัด ๆ น้ำนมแม่ผ่านกล้องจุลทรรศน์

กลายเป็นเรื่องที่โด่งดังมากหลังจากที่มีคุณแม่ชาวโคโลราโดได้หยดน้ำนมของตัวเองผ่านกล้อมจุลทรรศน์ !!

ส่องดูกันชัด ๆ น้ำนมแม่ผ่านกล้องจุลทรรศน์

คุณแม่ท่านนี้มีนามว่า Jansen Howard  พ่อของเธอเป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านจุลวิทยา และเขาก็จะมีกล้องจุลทรรศน์อยู่ และด้วยความที่เธออยากรู้ เธอจึงนำน้ำนมแม่ของตัวเธอเอง หยดลงไปบนกระจก และดูภาพนั้นผ่านกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งภายหลังจากที่เธอลงผ่านเฟสบุ๊คตัวเอง ก็มีผู้คนแห่เข้ามาชมกันเป็นจำนวนมาก มาส่องดูกันชัด ๆ ไปพร้อมกันเธอ น้ำนมแม่ผ่านกล้องจุลทรรศน์ และที่เธอเห็นนั้น ทำให้เธอยิ่งมั่นใจว่า “น้ำนมแม่” น้ำ คือสุดยอดสิ่งมหัศจรรย์ และวิเศษที่สุดจริง ๆ และเพื่อให้ทุกคนได้เห็น เธอจึงได้ถ่ายภาพนี้ใต้กล้องดังกล่าว จะเป็นอย่างไรไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

(คลิป) น้ำนมแม่ผ่านกล้องจุลทรรศน์

น้ำนมแม่ผ่านกล้องจุลทรรศน์

คุณค่าของน้ำนมแม่

น้ำนมแม่ จึงเป็นอาหารที่ดี และมีคุณค่าสำหรับลูกน้อย ซึ่งจะได้รับสารอาหารทุกชนิดที่จำเป็นต่อสุขภาพ การเจริญเติบโต และพัฒนาการ รวมทั้งป้องกันคุ้มครองทารกจากการเจ็บป่วย และลดการเสียชีวิตของทารกแรกเกิด ซึ่งเป็นอัตราส่วนใหญ่ของการตายของทารกในขวบปีแรกทั้งหมด โดยศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทยให้ข้อมูลไว้ว่า ร้อยละ 11 – 13 ของการตายทั้งหมดในเด็กต่ำกว่า 5 ปี สามารถป้องกันได้โดยการให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวใน 6 เดือนแรก และอีกร้อยละ 6 ของการตายทั้งหมดในเด็กต่ำกว่า 5 ปี สามารถป้องกันได้จากการให้อาหารทารกตามวัยร่วมกับนมแม่ ขณะที่ทารกที่ไม่ได้กินนมแม่จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการตายจากท้องเสีย 7 เท่า และปอดบวม 5 เท่าเมื่อเทียบกับทารกที่ได้กินนมแม่ล้วน ๆ ใน 6 เดือนแรก ดังนั้นการเลี้ยงลูกด้วย “นมแม่” จึงเป็นวิธีการเดียวที่มีประสิทธิผลที่สุดในการป้องกันการตายของทารก

Advertisement

น้ำนมแม่ผ่านกล้องจุลทรรศน์

ไขข้อข้องใจ “น้ำนมแม่” เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

สำหรับ นมแม่ นั้นร่างกายจะเริ่มผลิตน้ำนมตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสที่สอง โดยการกระตุ้นของฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ได้แก่ ฮอร์โมนโปรแลคติน ซึ่งในระหว่างการตั้งครรภ์นั้นก็จะมีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่สร้างจากรก คอยยับยั้งไม่ให้เกิดการหลั่งหรือมีน้ำนมไหลออกมา แต่เมื่อเกิดการคลอดแล้ว ระดับของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะลดต่ำลงทำให้กลไกการยั้บยั้งน้ำนมหายไป ฤทธิ์ของฮอร์โมนโปรแลคตินที่คอยกระตุ้นเด่นชัดขึ้น เมื่อทารกได้ดูดนมก็จะยิ่งเกิดการกระตุ้นฮอร์โมนตัวนี้ให้สูงขึ้นอีก การสร้างน้ำนมก็จะมากขึ้นด้วย ขณะเดียวกันการดูดนมยังช่วยกระตุ้นฮอร์โมนออกซีโตซินที่ช่วยในการหลั่งหรือทำให้เกิดการไหลของน้ำนม ทำให้ลูกได้รับน้ำนมและดูดง่ายขึ้น ยิ่งช่วยกระตุ้นฮอร์โมนโปรแลคตินสูงขึ้นอย่างสม่ำเสมอ จึงควรให้ลูกน้อยได้ดูดนมทุก ๆ 2 – 3 ชั่วโมง เพื่อเป็นการกระตุ้นนมแม่ให้มีไหลเพิ่มมากขึ้น

โดยปกติหลังคลอด น้ำนมแม่จะเริ่มมีภายใน  24 – 48 ชั่วโมง โดยในระยะแรกเมื่อลูกเริ่มดูดน้ำนมจะเป็น น้ำนมเหลือง (colostrum) ซึ่งจะเป็นน้ำนมที่มีประโยชน์ต่อลูกน้อยมาก เพราะให้ภูมิคุ้มกันสูง และประมาณ 10 วันหลังคลอดจะเปลี่ยนเป็นน้ำนมแม่ปกติ ซึ่งในน้ำนมแม่ก็ยังมีสารอาหารจำเป็นที่ครบถ้วนสำหรับลูกน้อยเช่นกัน โดยจะมีไขมันที่ให้พลังงานในสัดส่วนที่มากที่สุด รองลงมาคือ น้ำตาลแลคโตส ที่สามารถย่อยและดูดซึมได้ดี ซึ่งทารกสามารถนำสารอาหารนี้ไปใช้ได้เร็ว นอกจากนี้ยังมีโปรตีน วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณแม่ที่มาสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ด้วย

น้ำนมแม่ผ่านกล้องจุลทรรศน์

คุณแม่หลายคนอาจจะประสบปัญหาที่ว่าน้ำนมไม่ได้ไหลออกมาง่ายอย่างที่คิด ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการมาช้าของน้ำนม อาจเกิดจาก

  • คุณแม่ท้องแรกอาจจะมีน้ำนมช้ากว่าท้องหลัง
  • คุณแม่ที่มีระยะเบ่งคลอดที่ยาวนาน หรือมีภาวะเครียดระหว่างการคลอดจะสัมพันธ์กับการที่มีน้ำนมมาช้าด้วย
  • คุณแม่ที่ผ่าตัดคลอดจะมีน้ำนมมาช้ากว่าคุณแม่ที่คลอดปกติ
  • หัวนมแบน หรือหัวนมบอด
  • คุณแม่ที่อ้วนหรือมีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน
  • การที่มีเศษของรกค้างอยู่ในมดลูก
  • การกระตุ้นให้ลูกดูดนม หรือปั๊มนมห่างเกินไป ก็จะส่งผลให้น้ำนมมาช้าได้

วิธีเก็บน้ำนมแม่

เพื่อให้ลูกได้รับน้ำนมแม่ได้อย่างไม่ขาดช่วง คุณแม่ต้องเก็บรักษาน้ำนมตามระยะเวลา และการเก็บรักษาที่ถูกต้อง และเหมาะสม

วิธีเก็บน้ำนมแม่ : หลังจากคุณแม่ปั๊มนมแล้ว คุณแม่สามารถเก็บนมไว้ได้นานเลยครับ การเก็บรักษานมแม่นั้น หากต้องการเก็บไว้ในระยะสั้น ๆ  ก็เก็บไว้โดยการนำไปแช่ตู้เย็น โดยคุณแม่สามารถเก็บนมไว้ในถุงพลาสติกสำหรับเก็บน้ำนมที่มาพร้อมกับเครื่องปั๊มนม หรืออาจจะแบ่งใส่ขวดนม โดยนมที่เก็บในตู้เย็นนั้นมีอายุประมาณ 8 วัน

การปั๊มนมเหมาะกับคุณแม่ที่ทำงานนอกบ้าน โดยคุณแม่สามารถปั๊มนมได้ที่ทำงาน แล้วเก็บในตู้เย็น แล้วใส่ถุงเย็นที่มีน้ำแข็งให้ความเย็นกลับบ้านหลังเลิกงาน พร้อมให้เจ้าตัวเล็กทานได้ทันทีที่บ้านครับ

นมแม่เก็บในช่องแช่แข็งได้ถึง 6 เดือน

นมแม่สามารถเก็บในช่องแช่แข็งได้ถึง 6 เดือน แต่จะคงคุณภาพ และสารอาหารได้อย่างสมบูรณ์ในระยะ 3 เดือน หากต้องการแช่แข็ง คุณแม่สามารถนำนมแม่ใส่ถุงใส่น้ำนม (ซึ่งส่วนใหญ่จะติดอยู่กับเครื่องปั๊มนม) จากนั้นปิดปากถุงให้สนิท ถุงใส่นมนี้สามารถวางซ้อนกันได้ เพราะจะช่วยให้คุณแม่ประหยัดเนื้อที่ในช่องแช่แข็ง

สำหรับตำแหน่งที่ควรเก็บนมในช่องแช่แข็งคือบริเวณกลางช่องแข็ง เพราะมีอุณหภูมิเฉลี่ยคงที่มากที่สุด และนมที่เก็บอยู่ชั้นในสุดหรือชั้นนอกสุดเสี่ยงต่อการละลายมากที่สุด ถึงแม้ว่าจะซ้อนถุงนมได้ แต่ก็ไม่ควรจะซ้อนสูงจนติดเพดานช่องแช่แข็ง ควรเว้นที่ว่างจากเพดานอย่างน้อย 1 นิ้ว และที่สำคัญอย่าลืมเขียนวันที่ลงบนถุงด้วยนะครับ เพราะหลายครั้ง คุณแม่จะลืมและก็ต้องทิ้งนมไป เพราะไม่แน่ใจว่าเก็บนมมานานเท่าไหร่แล้ว

_________________________________________________________________________________________

ที่มา : Huffington Post

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

10 เรื่องน่ารู้ของ “นมแม่” ที่ถูกอ่านมากที่สุดในปี 2016

แม่น้ำนมน้อย จะเพิ่มน้ำนมแม่ได้อย่างไร

อยากเป็นคุณพ่อต้องอ่าน 10 อาหารเพิ่มอสุจิ ยิ่งกินอสุจิยิ่งเยอะ

บทความจากพันธมิตร
ก้าวไปอีกขั้น! PalFish Thailand จัดงานอลัง “ฉลองรับการขยายออฟฟิศใหม่”
ก้าวไปอีกขั้น! PalFish Thailand จัดงานอลัง “ฉลองรับการขยายออฟฟิศใหม่”
แพ็ลฟิชฯ จัดอลัง!! ประชันแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ “PalFish English Speech Contest” - ดัน “UN” ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs 17)
แพ็ลฟิชฯ จัดอลัง!! ประชันแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ “PalFish English Speech Contest” - ดัน “UN” ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs 17)
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • ข่าว
  • /
  • ส่องดูกันชัด ๆ น้ำนมแม่ผ่านกล้องจุลทรรศน์
แชร์ :
  • เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

    เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

  • นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

    นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

  • เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

    เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

  • เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

    เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

  • นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

    นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

  • เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

    เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว