X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คุณพ่อดูแลแม่ท้อง และวิธีสร้างสายสัมพันธ์คุณพ่อกับลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

บทความ 5 นาที
คุณพ่อดูแลแม่ท้อง และวิธีสร้างสายสัมพันธ์คุณพ่อกับลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

ตลอดระยะเวลา 9 เดือนของเจ้าตัวน้อยในครรภ์แม่ ใครว่าจะมีแต่โมเมนต์แห่งสายสัมพันธ์แม่ลูกเพียงอย่างเดียว คุณพ่อก็มี วิธีสร้างสายสัมพันธ์พ่อลูก ได้เช่นกันนะคะ ตามมาดูว่าทำอย่างไรได้บ้าง

คุณพ่อดูแลแม่ท้อง มีวิธีสร้างสายสัมพันธ์คุณพ่อกับลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์ เวลาที่คุณแม่พูดคุยกับเจ้าตัวน้อย ร้องเพลงให้ลูกฟัง ลูบท้องอย่างอ่อนโยน หรือแสดงความรักความผูกพันกับลูกในท้อง คุณพ่ออาจจะรู้สึกเหมือนเป็นส่วนเกิน แต่ไม่ได้หมายความว่า คุณพ่อจะไม่สามารถทำอะไรเพื่อสร้างสายสัมพันธ์กับเจ้าตัวน้อยได้เลย ยังมีอีกหลายวิธีที่คุณพ่อสามารถทำได้ค่ะ มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

10 วิธีสำหรับ คุณพ่อดูแลแม่ท้อง

1. พูดคุยกับคุณพ่อท่านอื่น

คุณสามารถเข้าร่วมกลุ่มสังคมออนไลน์ของคุณพ่อ (เช่น theAsianparent Community) หรืออาจถามเพื่อนๆ ที่เป็นคุณพ่อว่ารู้สึกอย่างไรตอนที่ลูกน้อยยังอยู่ในท้องคุณแม่ หรือปรึกษาถึงเคล็ดลับต่างๆ ในการเลี้ยงลูก ก่อนที่ลูกน้อยจะคลอดออกมา ซึ่งจะช่วยให้คุณรู้สึกอินในความเป็นพ่อมากขึ้นได้ค่ะ

2. ติดรูปเบบี๋ในทุก ๆ ที่

ลองก๊อปปี้ภาพอัลตร้าซาวนด์เจ้าตัวน้อยของคุณไว้หลายๆ ใบ แล้วใส่ไว้ในกระเป๋าสตางค์ ติดไว้บนโต๊ะทำงาน ในรถ และที่อื่นๆ จะช่วยเตือนใจคุณไปตลอดวันว่า คุณกำลังรอคอยเจ้าตัวน้อยอยู่นะ

3. ไปพบหมอตามนัดพร้อมกับคุณแม่

การได้เห็นพัฒนาการของเจ้าตัวน้อยเวลาที่คุณหมออัลตร้าซาวนด์เป็นอะไรที่น่าตื่นเต้นทุกครั้ง ดังนั้นคุณพ่อไม่ควรพลาดที่จะไปกับคุณแม่ให้ได้ทุกครั้งค่ะ

คุณพ่อดูแลแม่ท้อง

4. หาข้อมูลเตรียมความพร้อม

Advertisement

หาข้อมูลเพื่อเตรียมให้การสนับสนุนคุณแม่อย่างเต็มที่ เช่น อ่านหนังสือ หาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต รวมถึงเข้าร่วมอบรมพ่อแม่มือใหม่ เป็นต้น

5. ซื้อของเล่นรอไว้เลย

คุณพ่อมักจะฝันถึงกิจกรรมที่จะทำร่วมกันเมื่อลูกโตขึ้น คุณอาจซื้อของเล่นเหล่านั้นเตรียมไว้ให้ลูกเลยก็ได้

6. เตรียมบ้านต้อนรับสมาชิกใหม่

เรื่องทำความสะอาดบ้าน จัดบ้าน หรือเตรียมซักเสื้อผ้าของใช้เจ้าตัวน้อย คุณพ่อก็ทำได้นะคะ เพราะในช่วงไตรมาสสุดท้าย คุณแม่ควรพักผ่อนเยอะๆ ค่ะ

7. อ่านหนังสือให้ลูกฟัง

เจ้าตัวน้อยควรจะได้ยินเสียงคุณพ่อคุณแม่แล้วในระหว่างสัปดาห์ที่ 23-27 ดังนั้น แม่ลูกจะยังอยู่ในท้องคุณแม่ก็ตาม คุณสามารถทำให้ลูกคุ้นเคยกับเสียงของคุณได้โดยการอ่านหนังสือให้ลูกฟังบ่อยๆ

คุณพ่อดูแลแม่ท้อง

8. ร้องเพลงให้ลูกฟัง

ถ้าคุณชอบเสียงเพลง ร้องเพลงโปรดของคุณให้ลูกฟังตรงท้องของคุณแม่ ลูกน้อยจะจำเพลงที่คุณร้องให้เขาฟังได้

9. เปิดเพลงให้ลูกฟัง

คุณพ่อบางท่านอาจไม่ได้เป็นนักร้องที่ดี แต่คุณก็สามารถเปิดเพลงหรือเล่นดนตรีให้ลูกฟังได้เช่นกัน

10. รับรู้ว่าลูกกำลังเคลื่อนไหว

ขอให้คุณแม่บอกคุณเวลาที่ลูกดิ้น คุณพ่อจะได้เอามือวางที่ท้องของคุณแม่ และรับรู้ได้ว่าเจ้าตัวน้อยกำลังเคลื่อนไหวอยู่ภายใน

คุณพ่อดูแลแม่ท้อง

พ่อเล่นกับลูกในท้อง ดีอย่างไร

บทความ : พ่อเล่นกับลูกในท้อง กระตุ้นพัฒนาการ เสริมความฉลาดให้ลูก

ความผูกพันพ่อกับลูกในท้อง

นับตั้งแต่วันแรกของการปฏิสนธิ ร่างกายของคุณแม่ สัมผัสได้ถึงความเปลี่ยนแปลงของเจ้าตัวน้อยในครรภ์ จากวันเป็นสัปดาห์ จากสัปดาห์เป็นเดือน ความผูกพันของแม่และลูกในท้อง ก่อตัวขึ้นทีละเล็กทีละน้อย แล้วคุณพ่อไปอยู่ที่ไหนเสียล่ะ? คุณพ่อคงมีคำถามนี้อยู่ในใจบ้างใช่ไหมคะ ก็แหม! ความมุ้งมิ้งของแม่ลูกนี่ คุณพ่อไม่สามารถสัมผัสได้เลย ดังนั้น จำเป็นอย่างมากที่พ่อจะสร้างความผูกพันกับลูกในท้อง

พ่อคุยกับลูกในท้องบ้างดีไหม

การพูดคุยกับลูกในท้องเป็นสิ่งที่ดีอยู่แล้ว โดยเฉพาะคนเป็นพ่อเป็นแม่ เพื่อให้ลูกในท้องคุ้นเคยกับเสียงของพ่อแม่ ทั้งยังเป็นการกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์อีกด้วย สำหรับการคุยกับลูกในท้อง พ่อและแม่สามารถทำได้ทันทีที่รู้ว่าตั้งครรภ์ เพียงแค่ว่า ลูกจะรับรู้จริง ๆ เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่สอง หรือการตั้งครรภ์เดือนที่ 4 – 6

หากพ่อคุยกับลูกในท้องลูกจะได้ยินตอนไหน

ประสาทสัมผัสทางการได้ยินของลูกจะเริ่มพัฒนาในช่วงไตรมาสสอง หรือช่วงตั้งครรภ์ 4 – 6 เดือน หากคุณพ่อและคุณแม่ หมั่นพูดคุยกับลูก ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ลูกก็จะจดจำน้ำเสียงของพ่อและแม่ได้ ทั้งยังได้ยินเสียงชัดขึ้นแล้วในช่วงนี้

ช่วงเวลานี้ จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะที่พ่อจะคุยกับลูกในท้อง เพราะช่วงไตรมาสแรก ลูกไม่ได้ตอบสนองเนื่องจากทารกเพิ่งเริ่มต้นสร้างอวัยวะ กล้ามเนื้อ และเซลล์ประสาท คุณพ่ออาจจะอาย เมื่อคุยกับลูกแล้วไม่มีการตอบสนอง แต่ในช่วง 4 – 6 เดือนนี้ ลูกจะเริ่มดิ้น มีการเคลื่อนไหว ทำให้คุณพ่อรับรู้ว่าลูกได้ยิน และมีกำลังใจในการคุยกับลูกในท้องมากขึ้น สำหรับช่วงเวลาที่ดีที่สุดอาจจะเป็นช่วงหลังมื้ออาหาร เพราะเป็นช่วงเวลาที่ลูกในท้องตื่นตัวมากที่สุด หรืออาจจะเป็นช่วงก่อนนอนก็ได้

พ่อคุยกับลูกในท้องช่วงไตรมาสสุดท้าย

เข้าสู่การตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้าย ช่วง 7 – 9 เดือนนี้ ลูกจะดิ้นมากขึ้น มีปฏิกิริยาตอบสนองเยอะขึ้น ทั้งพ่อและแม่จึงควรพูดคุยกับลูกในท้องบ่อย ๆ จะพูดคุยเรื่องชีวิตประจำวัน เล่าเรื่องราวดี ๆ ให้ฟัง แล้วก็ใช้วิธีสัมผัส ลูบท้องไปด้วยเล่าไปด้วย

เห็นไหมคะว่ามีหลากหลายวิธีในการที่คุณพ่อจะสร้างสายสัมพันธ์กับเจ้าตัวน้อยในท้องคุณแม่ได้ ลองทำตามคำแนะนำข้างต้น แล้วคุณจะพบว่า การรอคอยที่จะได้เป็นคุณพ่อเต็มตัวนั้นมีความหมายในทุกวินาทีไม่แพ้คุณแม่เลยล่ะค่ะ

_________________________________________________________________________________________

ลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ กับ theAsianparent Thailand ตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก มาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ว่าลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2 มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และ ลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแล ทั้งอาหารการกิน โดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้าง ที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้ หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคล ทั้งเด็กหญิง และเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ

ที่มา : www.theindusparent.com

บทความที่น่าสนใจอื่น ๆ

5 เหตุผล ทำไมผู้ชายกลัวการเป็นพ่อคน

10 นิสัยควรโยนทิ้ง เพื่อเป็นพ่อแม่ที่สมบูรณ์แบบ

7 วิธีเตรียมตัวเป็นพ่อแม่มือใหม่ พ่อลูกอ่อน แม่ลูกอ่อนต้องเตรียมตัวอย่างไร ก่อนที่ลูกจะคลอด

 

theAsianparent Community

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • คุณพ่อดูแลแม่ท้อง และวิธีสร้างสายสัมพันธ์คุณพ่อกับลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว