X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อยากรู้เรื่องท้องต้องถาม 10 คำถามที่ควรถามหมอตอนท้อง

บทความ 5 นาที
อยากรู้เรื่องท้องต้องถาม 10 คำถามที่ควรถามหมอตอนท้อง

มีคำถามมากมายเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ ถ้าคุณแม่นึกขึ้นได้อย่าลืมที่จะจดเอาไว้เพื่อถามคุณหมอในวันที่ไปตรวจครรภ์ครั้งแรกหรือครั้งต่อ ๆ ไป

ถามหมอ เวลาไปถามหมด คุณแม่ควรจะ ถามหมอ ว่าอะไรบ้าง ตำถามเหล่านี้สำคัญกับการตั้งครรภ์มาก ไปดูกันได้เลย

  1. คุรหมอคะกำหนดคลอดลูกดิฉันจะคลอดเมื่อไหร่ค่ะ ?
  2. คุณหมอคะวิตามินตัวไหน ควรทานระหว่างตั่งครรภ์ได้บ้างคะ แนะนำให้หน่อยค่ะ ?
  3. คุณหมอค่ะช่วงระหว่างตั่งครรภ์ฉันสามารถออกกำลังกายท่าไหนได้บ้างคะ ?
  4. คุณหมอค่ะมีอาการผิดปกติอะไรบ้าง ที่อาจเกิดขึ้นได้ตอนท้อง ที่ฉันควรรีมโทรหาหรือ รีบมาหาหมอทันที ?
  5. คุณหมอค่ะ ตอนนี้มีอาหารอะไรบ้างค่ะ ที่ฉันควรทานและไม่ควรทาน ?
  6. คุณหมอค่ะ น้ำหนักตอนนี้ ควรเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ค่ะ ?
  7. คูรหมอค่ะ ดูจากประวัติของครอบครัวแล้ว ฉันควรต้องตรวจเกี่ยวกับปัญหาทางพันธุ์กรรมไหมคะ ?
  8. คุณหมอคะเรื่องปัญหาสุขภาพแล้วหลัง ๆ แล้วที่ฉันควรห่างคือเรื่องอะไรค่ะ ?
  9. คุณหมอค่ะ มียาตัวไหนบ้างที่ดิฉันควรกินหรือไม่ควรกิน ?
  10. คุณหมอค่ะฉันต้องมาพบคุณหมอบ่อยแค่ไหน ? และถ้าเกิดป่วยขึ้นมาจะต้องพบหมอคนอื่น หรือต้องมาหาคุณหมอที่ฝากครรภ์ได้เลยคะ ?

เป็นไงกันบ้างค่ะสำหรับ คำถามที่ควรถามหมอ ในช่วงระหว่างตั่งครรภ์ที่ทางเรานำมาฝาก หรือแม่ๆ มีคำถามอื่นเพิ่มเติมสามารถนำมาแชร์ให้ทางเราได้รับรู้ได้เช่นกันนะคะ

 

คำถามที่ควรถามหมอตอนท้อง

คำถามที่ควรถามหมอตอนท้อง

 

Advertisement

การท้องช่วงไตรมาสแรก มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านไหนบ้าง ?

คนท้องไตรมาสแรก มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง แม่ๆ รู้ไหม ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกาย หรือทางด้านอารมณ์ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกิดจากอะไร คนท้องต้องเตรียมรับมือแบบไหน และต้องดูแลตัวเองอย่างไรเพื่อให้ลูกในท้องร่างกายแข็งแรง มีพัฒนาการที่ดี

 

การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายคนท้อง

  • หน้าอกขยายใหญ่ขึ้น: หลังจากคุณแม่แล้วตั้งท้องสิ่งแรกที่จะมีการเปลี่ยนแปลงก็คือฮอร์โมนของร่างกาย ทำให้คุรแม่รู้สึกว่าหน้าอกเริ่มเจ็บ คล้ายกับช่วงที่เป็นประจำเดือน หลังจากนั้นอีกประมาณ 3 สัปดาห์อาการเหล่านี้ก็จะเริ่มทุเลาลง
  • คลื่นไส้ อาเจียน: อาการเหล่านี้เปรียบเสมือนสัญญาณที่บอกว่าคุณแม่กำลังตั้งท้องแล้วนะ บางคนเป็นมาก บางคนเป็นน้อย หรือบางคนแทบจะไม่มีเลย ส่วนใหญ่มักจะเริ่มขึ้นหลังจากตั้งครรภ์ได้ประมาณ 1 เดือน สำหรับวิธีแก้อาการแพ้ท้อง คือ อย่าปล่อยให้ท้องว่าง กินอาการช้าๆ อาจจะกินทุกๆ 1-2 ชั่วโมง เลือกอาหารที่มีไขมันต่ำ และอาหารที่มีกลิ่นรุนแรง ดื่มน้ำมากๆ โดยเฉพาะน้ำขิงจะช่วยได้ดีค่ะ
  • ปัสสาวะบ่อยขึ้น: คนท้องจะรู้สึกว่าตัวเองปัสสาสะบ่อยขึ้น เนื่องจากว่าในร่างกายมีปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้น ทำให้ไตต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อผลิตของเหลวและขับถ่ายออกมาในที่สุดค่ะ
  • เมื่อยล้า: เนื่องจากเวลาที่ตั้งครรภ์ในระยะแรกระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะพุ่งสูงขึ้น ทำให้ร่างกายรู้สึกอยากพักผ่อนอยากนอนบ่อยๆ วิธีแก้ คือ ต้องพักผ่อนมากๆ ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และออกกำลังกายค่ะ
  • ไวต่อกลิ่น: คุณแม่บางท่านจะมีประสาทสัมผัสไวต่อกลิ่นมาก หรืออาจทำให้รสนิยมการกินอาการที่เปลี่ยนแปลงไปที่เกิดจากฮอร์โมนของคนท้อง
  • กรดไหลย้อน: คนท้องส่วนใหญ่มักจะเป็นโรคนี้ โดยเฉพาะคุณแม่ที่ทานอาหารเสร็จแล้วแล้วนอนเลย เนื่องจากว่ากรดในกระเพาะอาหารไหลเข้าสู่หลอดอาหารทำให้เกิดอาการแน่น จุกเสียดท้อง วิธีป้องกัน คือ คุณแม่ต้องแบ่งอาหารออกเป็นมื้อเล็กๆ หลีกเลี่ยงอาหารทอด ผลไม้รสเปรี้ยว ช็อคโกแลต และอาหารที่มีรสเผ็ดค่ะ
  • ท้องผูก: อาการนี้เกิดจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่ไปชะลอการเคลื่อนไหวของอาหารในระบบย่อยอาหาร ทำให้คุณแม่เกิดอาการท้องผูกได้ง่าย สำหรับคุณแม่ที่มีปัญหานี้อยู่แนะนำให้เลือกอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ดื่มน้ำมากๆ หรือจะดื่มน้ำผลไม้โดยเฉพาะน้ำลูกพรุนก็ได้ ที่สำคัญการออกกำลังกายเป็นประจำสามารถช่วยได้มากเช่นกันค่ะ

 

ออกกำลังกายหลังคลอด คำถามที่ควรถามหมอตอนท้อง

คำถามที่ควรถามหมอตอนท้อง

 

การเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ของคนท้อง

ช่วงที่รู้ว่าตัวเองกำลังจะมีลูก เชื่อว่าคุณแม่หลายท่านคงดีใจกันอย่างมาก แต่ช่วงที่ดีใจนี้ก็มาพร้อมกับอาการเหนื่อย เมื่อยล้าไปพร้อมๆ กัน เพราะว่าร่างกายของคุณแม่กำลังค่อยๆ เปลี่ยนแปลงรองรับการเจริญเติบโตของลูกน้อยนั้นเอง บางครั้งคุณแม่อาจจะรู้สึกเครียดกับการตั้งครรภ์เอามากๆ โดยเฉพาะคุณแม่ท้องแรก เพราะมีเรื่องที่ต้องกังวลเกี่ยวกับลูกน้อยมากมาย ไหนจะเรื่องที่ต้องปรับตัวให้กับบ้านของสามีอีก (สำหรับคนที่ต้องอยู่บ้านสามี) ไหนจะต้องเตรียมเงินไว้เลี้ยงลูก วางแผนเก็บเงินให้ลูกในอนาคต การทำงาน และเรื่องงานบ้าน สารพัดปัญหาที่คุณแม่ต้องเผชิญ สิ่งเหล่านี้อาจเป็นตัวกระตุ้นให้คนท้องเกิดอารมณ์แปรปรวนได้

 

สิ่งสำคัญเมื่อคุณแม่รู้สึกว่าตัวเองเริ่มมีอารมณืที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ต้องพยายามเข้าใจตัวเอง และมองหาคนรอบข้าง พยายามพูดคุยเพื่อหากำลังใจจากพวกเขา แต่ถ้าเมื่อไหร่เริ่มรู้สึกว่าอาการมันรุนแรงเพิ่มขึ้น รู้สึกแย่มากๆ ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ อย่าปล่อยให้ตัวเองเครียดมากเกินไป เพราะอาจจะมีผลต่อลูกในท้องได้ค่ะ

 

การดูแลตัวเองของคนท้องไตรมาสแรก

เข้าฝากครรภ์กับแพทย์หรือสถานพยาบาลใกล้บ้านหรือที่ทำงาน ทำการตรวจประเมินสุขภาพของคุณแม่และครรภ์ เพื่อให้คุณหมอตรวจหาความเสี่ยงจากการตั้งครรภ์ ดูอายุครรภ์ของทารก ตรวจหาความผิดปกติอื่นๆ และรับยาบำรุงครรภ์ เพื่อที่ลูกน้อยในครรภ์จะได้เติบโตอย่างสมวัยค่ะ

บทความอื่นที่น่าสนใจ : คำถามคาใจ อายุ 35 ปี ตั้งท้องได้หรือไม่ และเด็กจะปลอดภัยหรือไม่

 

คำถามที่ควรถามหมอตอนท้อง

คำถามที่ควรถามหมอตอนท้อง

 

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในการตั้งครรภ์ช่วงแรก ได้แก่

แท้ง เป็นการสูญเสียทารกในครรภ์ขณะเป็นตัวอ่อน ซึ่งประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์จะเกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์ 3 เดือนหรือในช่วงไตรมาสแรก มักมีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางโครโมโซมของทารก เนื่องจากเซลล์ไข่หรือเซลล์อสุจิมีความผิดปกติ หรือเกิดปัญหาระหว่างกระบวนการแบ่งตัวของตัวอ่อนเอง แต่การแท้งก็อาจเกิดจากปัญหาสุขภาพของมารดาได้ ทั้งจากการติดเชื้อหรือความผิดปกติของมดลูก รวมถึงผู้เป็นแม่ตั้งครรภ์ขณะอายุมาก โดยมีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป หรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน ปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ เป็นต้น นอกจากนี้ พฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ขณะตั้งครรภ์ก็อาจทำให้เสี่ยงแท้งบุตรมากขึ้น และหากพบว่ามีสัญญาณของการแท้ง เช่น มีเลือดออกทางช่องคลอด ปวดเกร็งช่องท้อง หรืออ่อนเพลีย ควรรีบไปพบแพทย์

 

ท้องนอกมดลูก โดยปกติไข่ที่ปฏิสนธิแล้วจะเคลื่อนตัวผ่านท่อนำไข่เพื่อไปฝังตัวบริเวณผนังมดลูก แต่การท้องนอกมดลูกเกิดขึ้นเมื่อไข่ที่ปฏิสนธิแล้วไม่สามารถเคลื่อนตัวไปยังมดลูกได้ จึงมักฝังตัวบริเวณท่อนำไข่หรือในบริเวณอื่น ๆ เช่น รังไข่ ปากมดลูก หรือในช่องท้องส่วนอื่น ๆ ซึ่งทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถเจริญเติบโตเป็นทารกต่อไปได้ ทั้งนี้ มีปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการท้องนอกมดลูกได้ เช่น ตั้งครรภ์ตอนอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ท่อนำไข่ได้รับความเสียหาย ติดเชื้อที่อุ้งเชิงกราน มีประวัติการท้องนอกมดลูกมาก่อน เคยทำหมันหญิงหรือใส่ห่วงอนามัยคุมกำเนิด เคยรักษาภาวะมีบุตรยาก เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ระดับฮอร์โมนในกระบวนการตั้งครรภ์ไม่สมดุล เป็นต้น โดยการท้องนอกมดลูกในระยะแรกมักไม่ปรากฏสัญญาณสำคัญใด ๆ หรืออาจมีอาการคล้ายการตั้งครรภ์ตามปกติในช่วงสัปดาห์ที่ 4-12 ของการตั้งครรภ์ เช่น ประจำเดือนไม่มา คลื่นไส้ หรือเจ็บหน้าอก แต่ควรไปพบแพทย์หากมีเลือดไหลออกทางช่องคลอดปริมาณมาก ปวดท้องน้อย หน้ามืด เป็นลม วิงเวียนศีรษะอย่างรุนแรง เพราะภาวะนี้อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษา

 

ครรภ์ไข่ปลาอุก เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมของเซลล์ไข่และเซลล์อสุจิในระหว่างการปฏิสนธิซึ่งเกิดขึ้นได้ไม่มากนัก แต่ส่งผลให้เนื้อเยื่อเจริญเติบโตผิดปกติและกลายเป็นก้อนเนื้อภายในมดลูกโดยมีลักษณะคล้ายพวงองุ่น ซึ่งคุณแม่ที่ยังเป็นวัยรุ่นหรือผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไปอาจเสี่ยงต่อการเกิดครรภ์ไข่ปลาอุกได้มากกว่า โดยในช่วงแรกอาจมีอาการคล้ายการตั้งครรภ์ตามปกติ แต่อาจแพ้ท้องอย่างรุนแรงหรือครรภ์โตเร็วกว่าปกติ และหากมีเลือดสีน้ำตาลเข้มหรือสีแดงสดไหลออกจากช่องคลอดในช่วงไตรมาสแรก ควรรีบไปพบแพทย์

 

แพ้ท้องอย่างรุนแรง แม้อาการคลื่นไส้และอาเจียนจะเป็นเรื่องปกติสำหรับการตั้งครรภ์โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรก แต่คุณแม่บางรายอาจพบว่าตนเองมีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง ซึ่งมักจะมีอาการดีขึ้นหลังผ่านช่วงสัปดาห์ที่ 16-20 ไปแล้ว แต่ก็อาจเป็นอยู่จนถึงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ได้เช่นกัน โดยอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรงจะทำให้น้ำหนักตัวลดลง เบื่ออาหาร เกิดภาวะขาดน้ำเนื่องจากอาเจียนมากกว่าปกติ หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ และอาจเป็นลมได้ ส่วนบางรายที่มีอาการไม่รุนแรงมากอาจพักผ่อนหรือปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารเพื่อช่วยให้อาการทุเลาลงได้ แต่หากมีอาการรุนแรงมากมักต้องรับการให้น้ำเกลือที่โรงพยาบาล อย่างไรก็ตาม ผู้ที่แพ้ท้องอย่างรุนแรงจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการด้วยตนเอง

 

โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ผู้ที่ตั้งครรภ์ต้องการธาตุเหล็กมากกว่าปกติ โดยต้องใช้ธาตุเหล็กประมาณวันละ 27 มิลลิกรัม เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของรกและการเจริญเติบโตของเด็กในครรภ์ และเพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการคลอดด้วย ซึ่งผู้ที่ตั้งครรภ์อาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กได้มากกว่า หากตั้งครรภ์แฝดหรือมีทารกในครรภ์มากกว่า 1 คนขึ้นไป ตั้งครรภ์หลังเพิ่งคลอดบุตรไปไม่นาน มีภาวะโลหิตจางหรือมีประจำเดือนมามากก่อนตั้งครรภ์ แพ้ท้องบ่อยหรือได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอในระหว่างตั้งครรภ์ เป็นต้น ซึ่งหากมีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กอย่างรุนแรง อาจทำให้รู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลีย หรือเมื่อยล้ามากกว่าปกติ หายใจหอบเหนื่อย วิงเวียน ปวดศีรษะ หน้าซีดหรือปากซีด เป็นต้น

 

การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ แม้โดยปกติคุณแม่ที่ตั้งครรภ์จะเป็นคนอารมณ์ดีและสดใสร่าเริง แต่การตั้งครรภ์อาจส่งผลให้กลายเป็นคนเจ้าอารมณ์ ขี้หงุดหงิด ฉุนเฉียว โมโหง่าย หรือมีอาการซึมเศร้าที่แม้แต่เจ้าตัวเองก็ไม่สามารถอธิบายได้ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากปัจจัยต่าง ๆที่ส่งผลต่ออารมณ์ของคุณแม่ เช่น ความเครียดหรือความวิตกกังวลเกี่ยวกับอนาคตครอบครัว ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและเอสโตรเจนเพิ่มสูงขึ้นซึ่งส่งผลต่อการทำงานของสมองในการควบคุมอารมณ์ สภาพร่างกายเปลี่ยนแปลงไป โดยมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น รู้สึกปวดเมื่อยตามร่างกาย ไม่สบายตัวจากการแพ้ท้อง นอนไม่หลับ หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นต้น

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

 

แม้ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์บางอย่างไม่สามารถป้องกันได้ แต่การฝากครรภ์แล้วไปพบแพทย์ตามนัดหมาย การทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายความเครียด และการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ก็อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ได้ นอกจากนี้ ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติตน เพื่อจัดการกับปัญหาสุขภาพที่มี รับมือกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และส่งเสริมสุขภาพที่ดีของทั้งคุณแม่เองและทารกในครรภ์ด้วย

 

credit content : www.webmd.com

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

แม่ท้องฉีดยาสิวได้ไหม ฉีดโบทอกซ์ ร้อยไหมได้หรือเปล่า ไขคำตอบไปกับหมอสูติ

สิ่งที่หมอเด็กอยากบอก เมื่อเด็กเล็กเป็นหวัด

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • อยากรู้เรื่องท้องต้องถาม 10 คำถามที่ควรถามหมอตอนท้อง
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว