X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ความสามารถทั่วไป : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

บทความ 5 นาที
ความสามารถทั่วไป : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

ดังนั้นเราควรที่จะเฝ้าดูลูกน้อย ว่ามี ความสามารถทั่วไป และการรับรู้ อย่างไรบ้าง แล้วลูกน้อยวัย 0 - 1 ปีของเรา มีพัฒนาการเป็นไปตามเกณฑ์ หรือไม่

เราเชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่ทุกคน ต่างก็อยากเห็นลูกน้อย เติบโตขึ้นมาอย่างมีประสิทธิภาพ มีพัฒนาการเป็นไปตามเกณฑ์ หรือไวกว่า ซึ่งในช่วง 1 – 5 ปีแรกนั้น คุณพ่อคุณแม่ จะเห็นพัฒนาการของเด็กได้อย่างชัดเจน ดังนั้นเราควรที่จะเฝ้าดูลูกน้อย ว่ามี ความสามารถทั่วไป และการรับรู้ อย่างไรบ้าง แล้วลูกน้อยวัย 0 – 1 ปีของเรา มีพัฒนาการเป็นไปตามเกณฑ์ หรือไม่

ความสามารถทั่วไป ของเด็กวัย 0 – 1 ปี จะเป็นการพัฒนาความสามารถ ทางด้านร่างกาย การพัฒนาทางด้านสมอง เป็นปฏิกิริยาตอบสนองรอบด้าน รวมถึงพัฒนาการทางด้านอารมณ์ด้วยเช่นกัน จากการพัฒนาความสามารถของลูกน้อยในวัยนี้ คุณพ่อ และคุณแม่ ควรจะช่วยส่งเสริมให้ตัวลูก ได้ฝึกฝน เพื่อให้ความสามารถของลูก พัฒนาได้อย่างก้าวกระโดดด้วยเช่นกัน

พัฒนาการของเด็กนั้นมีทั้งหมด 4 ด้านด้วยกัน คือด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก ด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ด้านสังคม และด้านภาษา ซึ่งวิธีสังเกตง่าย ๆ ว่า พัฒนาการลูกปกติดี หรือไม่ ก็คือ เมื่ออายุเขาครบตามเกณฑ์ นี่คือสิ่งที่เขาควรจะทำได้

  • ด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ : 4 เดือน เด็กจะเริ่มพลิกคว่ำได้ พอ 6 เดือน เด็กจะเริ่มนั่ง หรือตั้งไข่ได้ และเริ่มหัดคลานได้เมื่อมีอายุประมาณ 8 เดือน
  • ด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก : 9 เดือน เด็กจะเริ่มหยิบจับของเล่นชิ้นเล็ก ๆ ได้ เช่น การหยิบเม็ดข้าวสวยเข้าปากเองได้
  • ด้านสังคม : ในวัย 2 เดือน เด็กจะเริ่มยิ้มตอบ เริ่มแสดงความดีใจ พอใจ ผ่านทางท่าทาง และสีหน้า  เริ่มรู้จักดีใจเวลาเจอคนที่ชอบ เริ่มเล่นจ๊ะเอ๋กับคุณพ่อคุณแม่ได้
  • ด้านภาษา : เมื่อเข้าสู่ เดือนที่ 9 เด็กจะเริ่มเรียนแม่ว่า “มะมะ” เรียกพ่อว่า “ปะปะ” เป็นคำสั้น ๆ เมื่ออายุครบ 1 ขวบเต็ม ก็จะเริ่มพูดเป็นคำได้มากยิ่งขึ้น  เช่น หากอยากกินนม ก็จะพูดว่า “หม่ำ” “นม” หากอยากไปไหนก็จะพูดว่า “ไป” เริ่มชี้บอกความต้องการของตนเองได้ และเริ่มเดินเองได้ ในเด็กบางคน

ความสามารถทั่วไปของเด็กแรกเกิด ตามช่วงอายุ

อายุ 1 – 2 เดือน

เด็กควรที่จะเริ่มคว่ำตัว และยกศีรษะขึ้นได้ 45 องศา นั่นแสดงให้เห็นถึงความแข็งแรงของกระดูกช่วงลำคอ และกล้ามเนื้อสามารถทำงานได้ดียิ่งขึ้น สามารถกำมือหลวม ๆ ได้ เริ่มมองรอบ ๆ ตัว สังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบข้าง เริ่มมองสบตา มีการแสดงสีหน้าทางอารมณ์ เช่น ยิ่ม หัวเราะ สงสัย สนใจ เป็นต้น

ความสามารถทั่วไป

Advertisement

อายุ 3 – 4 เดือน

สามารถนั่งศีรษะตั้งตรงได้มากยิ่งขึ้น เริ่มใช้มือยันยกอกขึ้นจากพื้นเมื่อนอนคว่ำ หันมองรอบตัวได้มากยิ่งขึ้น สามารถเอื้อมตัว เพื่อหยิบสิ่งที่ต้องการได้ รับรู้ถึงการเรียกชื่อตนเอง เริ่มออกเสียงในลำคอ

อายุ 5 – 6 เดือน

สามารถพลิกคว่ำ – หงาย ตัวได้เอง เริ่มหัดนั่งมือยันพื้น เริ่มฝึกลงน้ำหนักที่เท้า รู้จักหยิบของด้วยมือเดียว และรู้จักการเปลี่ยน หรือ สลับมือในการถือ หรือจับสิ่งของ เขย่า หรือเคาะสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดเสียง ส่งเสียงต่าง ๆ ตอบโต้ได้มากยิ่งขึ้น

อายุ 7 – 8 เดือน

สามารถนั่งทรงตัวได้มั่นคง ลุกนั่งได้เองจากท่าคลาน สามารถคลานได้อย่างอิสระ ถือของสองมือพร้อมกัน และมีการนำมาเคาะเข้าหากันได้ มีการทำเสียงเลียนแบบสิ่งต่าง ๆ รู้จักอาย กลัว ดีใจ เมื่อเจอคนแปลกหน้า

ความสามารถทั่วไป

อายุ 9 – 12 เดือน

ช่วงวัยนี้ จะเริ่มลุกขึ้น หรือนั่งลงเอง คลาน เหนี่ยวตัวขึ้นยืนขึ้น ได้อย่างอิสระ หยิบของชิ้นเล็ก ๆ ด้วยนิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้ เปิดหาของที่ซ่อนเอาไว้ เข้าใจภาษาที่พูด เข้าใจท่าทาง เลียนแบบท่าทางได้ รู้จักการออกเสียงคำซ้ำ ๆ เช่น หม่ำ ๆ จ๋าจ๊ะ หยิบขนมเข้าปาก หรือแม้กระทั่งการดื่มน้ำจากถ้วยได้

 

อาการแบบไหนเริ่มเข้าข่าย “พัฒนาการช้า”

จุดสังเกตง่าย ๆ ที่คุณหมอบอกไว้ก็คือ ถ้าคนอื่นเริ่มทำได้แล้ว แต่ลูกเรายังทำไม่ได้ นั่นคือ สัญญาณเริ่มต้น ของความผิดปกติแล้ว “เกณฑ์ที่ได้กล่าวไปนั้น ความจริงก็ค่อนข้างที่จะช้าแล้ว นั่นหมายความว่า เด็กไม่ควรจะมีพัฒนาการที่ช้ากว่านี้ เช่น เด็กส่วนใหญ่มักจะพูดได้ก่อนวัย 1 ขวบอยู่แล้ว แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ลูกของคุณอายุครบ 1 ขวบ แต่ยังไม่ยอมพูด ไม่ชี้บอกความต้องการ ไม่หยิบจับของเล็ก ๆ หรือไม่เดิน คุณพ่อคุณแม่ก็ควรจะรีบพาลูกน้อยมาพบกับกุมารแพทย์” แต่หลายครั้งปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ใช่เรื่องที่ต้องหนักใจมากจนเกินไป อย่างน้อย ให้มาปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาสาเหตุและวิธีการรักษาให้ตรงจุด จะดีที่สุดค่ะ

 

“TUMMY TIME” เทคนิคเสริมสร้างพัฒนาการให้ลูกน้อย

ในเด็กที่มีอายุเกิน 3 เดือนขึ้นไป คุณหมอแนะนำวิธีที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้ลูกน้อยเองได้ที่บ้าน “ให้คุณพ่อคุณแม่นอนเอนตัวประมาณ 45 องศา แล้ววางตัวเด็กให้ท้องชนท้อง มือหนึ่งประคองหลัง อีกมือประคองก้น ท่านี้เป็นการบังคับให้เด็กพยายามยกตัวขึ้นมา จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อคอ หลัง และยังสามารถกระตุ้นพัฒนาการทางภาษาได้ด้วย เพราะระหว่างที่ทำ คุณพ่อคุณแม่สามารถพูดคุยกับเด็กไปด้วยได้ ทำเสียงสูง ต่ำ ให้เขาสนใจกับเสียงพูดของเรา”

ความสามารถทั่วไป

 

“เสียง” สิ่งสำคัญช่วยกระตุ้นการเรียนรู้

คุณหมอบอกว่าอีกสิ่งหนึ่งที่จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการของเด็กเล็กได้ดี นั่นก็คือ “เสียง” คุณพ่อคุณแม่อาจจะเขย่ากรุ๊งกริ๊งไปด้านซ้ายที ขวาที ขึ้นบน ลงล่าง ให้เด็กมองตาม วิธีนี้จะช่วยพัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ได้เร็วกว่าคนอื่น แต่ถ้าเป็นในกรณีที่เด็กเกิน 4 เดือนไปแล้ว คุณหมอแนะนำให้เริ่มอ่านหนังสือให้เขาฟัง เด็กอายุ 4-12 เดือน คุณพ่อคุณแม่ควรจะเลือกหนังสือที่เป็นผ้าหรือเป็นยาง ที่ไม่ทำอันตรายต่อเด็ก ไม่มีมุมแหลมคม ฉีกไม่ได้ ส่วนรูปภาพก็จะเน้นรูปสัตว์ตัวใหญ่ ๆ เช่น ยีราฟ สิงโต คอยชี้ให้เด็กดู ให้เขามีส่วนร่วมในการจับ ในการเปิดหน้าหนังสือ อาจจะมีการทำท่าเลียนแบบให้ดูด้วยก็ได้ เช่น ท่ากระต่าย ท่าแมวมีหนวด หรือทำเสียงสูงต่ำให้เด็กรู้สึกสนใจ

 

WATCH OUT!

การให้เด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบดูทีวีหรือแท็บเล็ต นอกจากจะไม่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กแล้ว ยังอาจทำให้เด็กเกิดสมาธิสั้น และส่งผลให้พัฒนาการล่าช้า เพราะสิ่งเหล่านั้นไม่สามารถมีปฏิกิริยาตอบสนองหรือมีการปฏิสัมพันธ์ใด ๆ ได้เหมือนกับคุณพ่อคุณแม่ หรือคนเลี้ยงนั่นเอง เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรที่จะมีช่วงเวลากับเด็กให้ได้อย่างน้อย 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือ 3 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อพัฒนาการที่ดีของลูกน้อย

บทความจากพันธมิตร
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ

 

ที่มา : โรงพยาบาลศิริราช , โรงพยาบาลสุขุมวิท

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ทารกแต่ละสัปดาห์เปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง เริ่มเสริมพัฒนาการได้ตั้งแต่กี่สัปดาห์

รีวิว ของเล่น ส่งเสริมพัฒนาการ 1-2 ขวบ มีแบบไหนบ้าง

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

ammy

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • ความสามารถทั่วไป : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ
แชร์ :
  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว