X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คลำท้องหาตำแหน่งลูก ตรงไหนหัว ตรงไหนเท้า ทำตามนี้ได้เลย!

บทความ 5 นาที
คลำท้องหาตำแหน่งลูก ตรงไหนหัว ตรงไหนเท้า ทำตามนี้ได้เลย!

คุณแม่หลาย ๆ คน แน่นอนว่าก็ต้องอยากทราบว่า ลูกน้อยอยู่ตรงไหนในครรภ์ของคุณแม่ ตรงไหนคือหัว ตรงไหนเท้า เพราะตำแหน่งของลูกน้อยในครรภ์นั้น มีความสำคัญไม่น้อยเลยค่ะ ในวันนี้ เราจะมาดูกันว่า วิธี คลำท้องหาตำแหน่งลูก แบบง่าย ๆ ทำอย่างไร ไปดูกันเลย!

 

คลำท้องหาตำแหน่งลูก สำคัญอย่างไร

สูตินรีแพทย์เชื่อว่า ตำแหน่งที่เด็กหันหัวลงนั้น เป็นตำแหน่งที่เหมาะที่สุดสำหรับการคลอด ยิ่งถ้าหน้าของเด็กขนานไปกับแนวกระดูกสันหลังก็จะยิ่งดี ซึ่งการคลำดูตำแหน่งของลูกในท้องนั้น ก็เป็นอีกวิธี ที่จะช่วยคุณหมอในการตัดสินใจเลือกวิธีคลอดที่ปลอดภัยที่สุดได้

ซึ่งการที่รู้ว่าลูกในครรภ์อยู่ส่วนไหน ตำแหน่งไหน จะเป็นการช่วยให้คุณหมอวางแผนการคลอดได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ คุณแม่หลาย ๆ คน ยังออกกำลังกายเพื่อให้คลอดได้ง่าย เช่น ขมิบช่องคลอด และบริหารอุ้งเชิงกราน แต่ถ้าจะให้ดีกว่านั้น หากคุณแม่ทราบตำแหน่งของลูก ก็จะเป็นการช่วยเลือกการบริหารที่ถูกต้อง และเหมาะสมได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทารกในครรภ์คืออะไร ระยะของตัวอ่อนในครรภ์ มีพัฒนาการอย่างไร?

 

คลำท้องหาตำแหน่งลูก

 

Advertisement

ควรเริ่มหาตำแหน่งลูกน้อยเมื่อไหร่

คุณแม่สามารถเริ่มคลำท้องหาตำแหน่งลูกได้ ตั้งแต่เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 ที่มีอายุครรภ์ได้ 6 เดือน เป็นต้นไป ซึ่งในระยะนี้ ลูกในท้องมักจะอยู่ตำแหน่งเดิม ไม่ค่อยขยับเปลี่ยนตำแหน่งไปจนถึงวันคลอด

ซึ่งหลายครั้งในระหว่างคลอดนั้น คางของเด็กอาจจะติดบริเวณช่องคลอด จนคุณหมอต้องพยายามช่วยพลิกตัวเด็ก ดังนั้น หากคุณแม่รู้ล่วงหน้าว่าลูกในท้องอยู่ตำแหน่งไหน อยู่ท่าไหนในท้อง ก็จะเป็นการช่วยป้องกัน หรือหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างคลอดได้

การคลำท้องหาตำแหน่งลูก ควรเริ่มตอนไหน

การคลำท้องหาตำแหน่งลูก อาจจะฟังดูเหมือนเป็นเรื่องยากไปสักหน่อย แต่จริง ๆ แล้วการคลำท้องหาตำแหน่งลูกนั้นไม่ได้ยากอย่างที่คิด ซึ่งคุณแม่สามารถทำตามวิธีง่าย ๆ ดังนี้

  1. ใช้ปากกาวาดวงกลมล้อมรอบท้อง ให้คุณแม่ใช้ปากกา วาดวงกลมล้อมรอบหน้าท้อง แล้วจากนั้น แบ่งออกเป็น 4 ส่วนเท่า ๆ กัน
  2. เริ่มหาหัวของทารกในครรภ์ด้วยการคลำเบา ๆ หากคุณแม่คลำแล้ว รู้สึกได้ถึงวงกลม ให้คุณแม่สันนิษฐานไว้ก่อนว่า นั่นคือศีรษะของลูกน้อย แล้วหลังจากนั้น ให้คุณแม่ใช้ปากกาวงตำแหน่งศีรษะของลูกไว้
  3. ลองคลำหามือของลูกน้อย หลังจากคิดว่าเจอส่วนศีรษะของลูกน้อยแล้ว ถ้าหากคุณแม่สัมผัสได้ถึงเส้นเล็ก ๆ ให้สันนิษฐานว่า นั่นคือมือของลูก แล้วจากนั้นให้ใช้ปากกาวงตำแหน่งมือของลูกไว้ เท่าที่เจอ
  4. เริ่มคลำหาหัวใจของลูกน้อย ในส่วนนี้อาจจะฟังดูยากสักหน่อย ในจุดนี้ คุณแม่หลายท่านอาจจะคลำหาไม่เจอ ซึ่งอาจจะลองใช้ เครื่องฟังเสียงหัวใจทารก หรือจะลองให้คุณหมอช่วยดูก็ได้นะครับ
  5. ก้นหรือศีรษะ? หากคลำแล้วรู้สึกถึงวงกลมอีก นอกจากจะสันนิษฐานว่า นั่นคือศีรษะของลูกแล้ว ก็อาจจะเป็นไปได้ว่านั่นคือก้นของลูกได้เช่นกัน แต่แม้ว่าก้นของลูกอาจคล้ายกับหัวของลูก แต่คุณแม่สามารถแยกได้ โดยก้นของลูกนั้น จะอยู่ใกล้ตำแหน่งที่คุณแม่รู้สึกว่าลูกเตะ นั่นเองค่ะ
  6. ลองเอาตุ๊กตาตัวน้อย ๆ มาจัดให้อยู่ในตำแหน่งที่ใช้ปากกาวงไว้ พอคุณแม่รู้ตำแหน่งของลูกอย่างคร่าว ๆ แล้ว ให้ลองนำตุ๊กตามาวางในตำแหน่งที่ใช้ปากกาวงแต่ละจุด ก็จะเห็นภาพว่าลูกอยู่ตรงไหนในท้องแม่ได้ชัดเจนขึ้น อิงตามสัดส่วนของตุ๊กตาขนาดเท่าทารกน้อยนั่นเองค่ะ
  7. คุณแม่ที่มีจินตนาการ อาจจะวาดเพลิน หรืออาจจะหาสีมาระบายเล่น กลายเป็นงานศิลปะสวยงามไปเลยก็เป็นไปได้

 

คลำท้องหาตำแหน่งลูก

 

จะรู้ได้อย่างไรว่า ทารกในครรภ์ ว่าเติบโตเป็นปกติหรือไม่

  • สังเกตจากฮอร์โมน

ในช่วงของการตั้งครรภ์ เมื่อลูกน้อยเติบโต ก็จะมีการผลิตฮอร์โมนต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ออกมา โดยมีอาการที่เราสามารถพบเห็นได้เช่น เจ็บเต้านม แพ้ท้อง เป็นต้น

  • นับจังหวะลูกดิ้น

โดยปกติแล้ว ใน 12 ชั่วโมง ลูกควรจะดิ้นเกิน 10 ครั้งหรือมากกว่า ก็แปลว่าลูกน้อยพัฒนาการปกติค่ะ แต่ถ้ารู้สึกว่าลูกน้อยไม่ค่อยดิ้นเลย ก็อาจจะเป็นเพราะลูกหลับเช่นกัน แนะนำให้คุณแม่ลองดื่มน้ำ หรือพักรอประมาณ 1 ชั่วโมง ลูกน้อยจะดิ้นจนคุณแม่สามารถรู้สึกได้ค่ะ

  • น้ำหนักตัวแม่

ลูกน้อยจะได้รับสารอาหารเพียงพอหรือไม่ ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของคุณแม่เช่นกัน โดยคุณแม่ควรจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ประมาณ 10-15 กิโลกรัม ตลอดการตั้งครรภ์

  • ดูจากยอดมดลูก

เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ มดลูกก็จะขยายขึ้นเรื่อย ๆ โดยการขยายตัวของมดลูกในแต่ละอายุครรภ์ก็จะมีความแตกต่างกัน เช่น เมื่ออายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ยอดมดลูกจะอยู่เหนือกระดูกหัวหน่าว และเมื่ออายุครรภ์ 28 สัปดาห์ ยอดมดลูกจะสูงประมาณ 1 ใน 4 เหนือสะดือ เป็นต้นค่ะ

 

คลำท้องหาตำแหน่งลูก

 

โดยสรุปแล้ว การคลำท้องหาลูกน้อยในครรภ์ สามารถทำได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 6 เดือนขึ้นไป โดยเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายมาก และทำให้คุณแม่สามารถสัมผัสถึงความรักของเด็ก ๆ ในครรภ์ได้อย่างง่ายดายด้วยตัวเองค่ะ ทั้งนี้ คุณแม่ก็สามารถไปตรวจครรภ์ที่โรงพยาบาลได้เช่นกัน เพื่อตรวจสุขภาพเพิ่มเติม เตรียมดูแลลูกน้อยในอนาคตที่จะได้ลืมตาดูโลกได้ด้วยเช่นกันค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

ท้องแข็ง คนท้อง อันตราย เมื่อรู้สึกว่าท้องแข็งห้ามทำ 4 เรื่องนี้เด็ดขาด!!

ท้องแข็งแบบต่างๆ แยกอย่างไร ลูกโก่งตัว แค่กินอิ่ม หรือใกล้คลอดแล้ว

ลูกไม่ดิ้นกี่ชั่วโมงต้องไปหาหมอ ลูกดิ้นกี่ครั้งต่อวัน ลูกไม่ดิ้น อันตรายแค่ไหน

ที่มา : momjunction

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • คลำท้องหาตำแหน่งลูก ตรงไหนหัว ตรงไหนเท้า ทำตามนี้ได้เลย!
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว