X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ข้อห้ามคนท้อง6เดือน เกินครึ่งทางแล้ว ต้องระวังอะไรบ้าง

บทความ 5 นาที
ข้อห้ามคนท้อง6เดือน เกินครึ่งทางแล้ว ต้องระวังอะไรบ้าง

ในช่วงเดือนที่6ของการตั้งครรภ์นี้ คุณแม่ท้องควรระมัดระวังในการดำเนินชีวิตให้มาก หากคุณแม่ท้องรับประทานอาหารที่มีสารอาหารไม่เพียงพอ หรือได้รับยาบางอย่างที่ไม่เหมาะสม หรือแม้แต่การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นมลพิษ ก็จะส่งผลเสียต่อสุขภาพของทั้งแม่ท้อง และลูกน้อยในครรภ์ได้ มาดูกันว่า ข้อห้ามคนท้อง6เดือน มีอะไรบ้าง

ก่อนที่จะพูดถึง ข้อห้ามคนท้อง6เดือน ว่ามีอะไรบ้างนั้น เรามาดูกันก่อนว่า ในช่วงเดือนที่ 6 ของการตั้งครรภ์นั้น ร่างกายของคุณแม่ท้อง มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง อาหารคนท้อง6เดือน เป็นอย่างไร อาหารคนท้อง6เดือนควรกินอะไร ไม่ควรกินอะไร

ข้อห้ามคนท้อง6เดือน

ข้อห้ามคนท้อง 6 เดือน

การเปลี่ยนแปลงของร่างกายตอนท้อง6เดือน

  • ในช่วงเดือนที่ 6 ของการตั้งครรภ์นั้น น้ำหนักของคุณแม่ท้องจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และ ด้วยเหตุนี้เอง จึงอาจทำให้คุณแม่ท้องรู้สึกหิวมากกว่าปกติ โดยในช่วงนี้ร่างกายของคุณแม่ท้องต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นประมาณ 500 แคลอรีต่อวัน
  • ปริมาณเลือดในร่างกายเพิ่มขึ้น
  • มดลูกอาจมีการหดรัดตัวเป็นก้อนแข็งนูนอยู่เป็นระยะ แต่ไม่มีอาการเจ็บปวด ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นนี้ถือว่าเป็นเรื่องปกติของคนท้อง6เดือน
  • คุณแม่ท้องบางคนอาจมีอาการตะคริว แนะนำว่าแก้อาการตะคริว เมื่อแม่ท้องเกิดอาการตะคริวขึ้นบริเวณน่อง ต้นขา และ ปลายเท้า ให้คุณแม่ท้องกระดกปลายเท้าขึ้น จะทำให้กล้ามเนื้อที่จับตัวเป็นก้อนนั้นตึง และ ค่อย ๆ คลายตัวออก ทำให้อาการเป็นตะคริวดีขึ้น
  • ขนาดครรภ์ที่ใหญ่ขึ้น บวกกับการดิ้นของทารกในช่วงเดือนที่6นี้ อาจทำให้คุณแม่ท้องเกิดอาการปวดชายโครงได้

ข้อห้ามคนท้อง6เดือน

ในช่วงเดือนที่6ของการตั้งครรภ์นี้ คุณแม่ท้องควรระมัดระวังในการดำเนินชีวิตให้มาก หากคุณแม่ท้องรับประทานอาหารที่มีสารอาหารไม่เพียงพอ หรือได้รับยาบางอย่างที่ไม่เหมาะสม หรือแม้แต่การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นมลพิษ ก็จะส่งผลเสียต่อสุขภาพของทั้งแม่ท้อง และลูกน้อยในครรภ์ได้ มาดูกันว่า ข้อห้ามคนท้อง6เดือน มีอะไรบ้าง

ข้อห้ามคนท้อง6เดือน

ข้อห้ามคนท้อง 6 เดือน

1. อาหารที่ไม่ควรทาน

อาหารที่ไม่ควรทานในช่วงท้อง6เดือน มีดังนี้

  • เนื้อสัตว์ปรุงไม่สุก รวมถึงไข่ดิบ และ อาหารที่มีไข่ดิบเป็นส่วนประกอบ
  • ผลิตภัณฑ์จากนมที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์
  • ปลาบางชนิดที่อาจมีสารปรอทในระดับสูง เช่น ปลาอินทรี ปลาดาบ ส่วนปลาทูน่า ที่นิยมรับประทานกัน บางครั้งก็อาจพบสารชนิดนี้ได้เช่นกัน ดังนั้น ถ้าจะให้ดีก็ไม่ควรรับประทานบ่อยครั้งจนเกินไป

นอกจากอาหารที่ไม่ควรทานในช่วงท้อง6เดือนแล้ว คุณแม่ท้องควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสม โดยเน้นผัก ผลไม้ อาหารที่มีโปรตีนสูง และ ดื่มน้ำให้มาก

2. ไม่หายามาทานเองโดยไม่จำเป็น

แม้ว่ายาบางชนิดจะเป็นยาที่หาซื้อได้ทั่วไป หรือยาสามัญประจำบ้านก็ตาม ก็ไม่ควรซื้อหรือทานยาโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรเสียก่อน เพราะยาบางชนิดอาจเป็นอันตราย หรือส่งผลข้างเคียงร้ายแรงต่อทารกในครรภ์ได้ ดังนั้น การจะใช้ยาประเภทใดก็ตาม หรือแม้แต่อาหารเสริม และสมุนไพรใด ๆ จึงจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง

ข้อห้ามคนท้อง 6 เดือน มีอะไรอีกบ้าง ติดตามต่อหน้าถัดไป —->

3. หลีกเลี่ยงสถานที่เสี่ยง

หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนสูบบุหรี่ บริเวณที่มีสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคอาศัยอยู่ การทำงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี รวมถึง งานบ้านที่ต้องสัมผัสกับสารเคมี เช่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาล้างเล็บ ยาฉีดยุง ซึ่งมีส่วนผสมที่เป็นอันตรายเมื่อสูดหายใจ หรือสัมผัส และ ดูดซึมผ่านผิวหนัง เพราะอาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ได้

4. ห้ามบุหรี่ เหล้า สารเสพติด

ห้ามใช้สารเสพติด ห้ามสูบบุหรี่ รวมไปถึงหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด

ข้อห้ามคนท้อง6เดือน

ข้อห้ามคนท้อง 6 เดือน

5. ห้ามเครียด

เพราะความเครียดของคุณแม่ท้องนั้น จะส่งผลเสียต่อสุขภาพของลูกน้อยในครภ์ และ เพิ่มโอกาสแท้งบุตร กระตุ้นการผลิตสารเคมี และ ฮอร์โมนในร่างกาย ที่ทำให้หลอดเลือดแคบลง ทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงมดลูกไม่เพียงพอ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารก โดยเด็กที่คลอดจากแม่ที่มีความเครียดสูง มักจะคลอดก่อนกำหนด และ มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์

6. ห้ามใส่รองเท้าที่มีส้นสูงเกินไป

คุณแม่ท้องควรใส่รองเท้าที่มีส้นไม่สูงจนเกินไป เพราะขนาดท้องที่ใหญ่ขึ้นนั้น ส่งผลให้จุดศูนย์ถ่วงของคุณแม่ท้องเปลี่ยนไป เสี่ยงต่อการหกล้มได้

7. ห้ามละเลยสัญญาณอันตราย

ในระหว่างตั้งครรภ์นั้น คุณแม่ท้องควรสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ ของร่างกายที่อาจจะเกิดขึ้นได้อยู่เสมอ หากมีอาการผิดปกติใด ๆ ให้ใส่ใจ และ ระมัดระวังไว้ก่อน โดยควรไปพบแพทย์โดยเร็วหากมีสัญญาณผิดปกติเกิดขึ้น

การออกกำลังกายที่แนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

คุณแม่ตั้งครรภ์ได้รับคำแนะนำให้ออกกาลังกายสม่ำเสมอที่ระดับปานกลาง โดยคนท้องออกกำลังกาย ช่วงแรกเริ่มจาก 15 นาที/วัน น้อยกว่า 3 วัน/สัปดาห์ จากนั้นค่อย ๆ เพิ่มทีละน้อย จนได้ประมาน 20-30 นาที/วัน 3-5 วัน/สัปดาห์ (โดยรวมประมาน 150 นาที/สัปดาห์) เทียบเท่ากับการออกกาลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพในผู้ใหญ่ทั่วไป ผู้ที่ไม่เคยหรือไม่ค่อยได้ออกกำลังกายมาก่อนควรเริ่มที่ความหนักระดับเบาก่อน

รูปแบบการออกกำลังกายที่แนะนำ ได้แก่ การออกกำลังกายรูปแบบแอโรบิคแรงกระแทกต่ำ เช่น เดิน ว่ายน้ำ ออกกำลังกายในน้ำ (Hydrotherapy) ปั่นจักรยานแบบขี่อยู่กับที่ เต้นแอโรบิค เดินหรือแอโรบิคในน้ำ (Aquatic Treadmill Exercise) โยคะยืดกล้ามเนื้อท่าง่าย ๆ สำหรับคนท้อง หากต้องการออกกาลังกายแบบมีแรงต้าน เช่น ยกเวท ดัมเบล วิ่ง หรือวิ่ง เหยาะ ๆ ควรเป็นผู้ที่เคยออกกาลังกายชนิดนี้มาก่อนเป็นประจำและควรได้รับการปรึกษาจากแพทย์หรือผู้ดูแล นอกจากนี้ควรออกกำลังกายเสริมความแข็งแรงของอุ้งเชิงกรานและกล้ามเนื้อรอบ ๆ ร่วมด้วยเพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะปัสสาวะเล็ด

การออกกำลังกายที่แนะนำสำหรับไตรมาสที่สอง (4-6 เดือน)

คุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงอายุครรภ์ 4-6 สัปดาห์นี้ อาการแพ้ท้องของคุณแม่ตั้งครรภ์จะเริ่มดีขึ้น อาการเหนื่อยล้าต่าง ๆ จะลดลง กลับมามีพลังมากขึ้น สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ออกกำลังกายเป็นประจำตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่หนึ่ง ก็ยังสามารถออกกำลังกายแบบเดิม ไม่ว่าจะการเดิน การว่ายน้ำ และ โยคะสำหรับคนท้อง โดยอาจเพิ่มระยะเวลาในการออกกำลังกายให้นานขึ้นกว่าเดิม

การออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

ควรหลีกเลี่ยงการออกกาลังกายที่ระดับหนักหรือมีแรงปะทะสูง เช่น ชกมวย บาสเก็ตบอล ฟุตบอล เป็นต้น กีฬาเฉพาะบางจำพวกหรือผาดโผน เช่น ดำน้าลึก กระโดดหน้าผา รวมทั้งการออกกำลังกายในที่ร้อนจัด เช่น โยคะร้อน บ่อหรืออ่างน้าร้อน เป็นต้น เนื่องจากอาจทำให้อุณหภูมิของมารดาสูงเกินไปจนอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ได้

ช่วงอายุครรภ์ที่เหมาะสมสำหรับการออกกำลังกาย

คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถออกกาลังกายได้เรื่อย ๆ ตลอดช่วงการตั้งครรภ์ตั้งแต่ไตรมาส แรกจนถึงไตรมาสสามระยะใกล้คลอด ถ้าไม่มีข้อห้ามในการออกกำลัง หรือข้อห้ามภายใต้ คำแนะนำของแพทย์ ทั้งนี้ ควรได้รับคำแนะนำหรือปรึกษาสูตินรีแพทย์และแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูก่อน

ข้อห้ามในการออกกำลังกายในคุณแม่ตั้งครรภ์

  • มีโรคหัวใจหรือปอดอย่างรุนแรง
  • มีภาวะปากมดลูกหลวม
  • มีตั้งครรภ์แฝดหลายคนที่มีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด
  • มีเลือดออกปากช่องคลอดในไตรมาสที่สองและสามของการตั้งครรภ์ หรือมีเลือดออกจากปากช่องคลอดใด ๆ ที่ยังไม่ทราบสาเหตุ
  • มีภาวะรกเกาะต่ำหลังอายุครรภ์ 26 สัปดาห์
  • มีถุงน้ำคร่ำแตก
  • มีภาวะครรภ์เป็นพิษหรือมีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
  • มีภาวะซีดรุนแรง
  • มีภาวะทารกโตช้าในครรภ์
  • มีโรคเบาหวานชนิดที่ 1 โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคไทยรอยด์ที่รุนแรงและควบคุมไม่ได้

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ท้องแข็ง คนท้อง อันตราย เมื่อรู้สึกว่าท้องแข็งห้ามทำ 4 เรื่องนี้เด็ดขาด!!

อายุครรภ์ จริง ๆ แล้ว เค้านับกันอย่างไรถึงจะถูก

ลูกไม่ดิ้นกี่ชั่วโมงต้องไปหาหมอ ลูกดิ้นกี่ครั้งต่อวัน ลูกไม่ดิ้น อันตรายแค่ไหน

parenttown

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ข้อห้ามคนท้อง6เดือน เกินครึ่งทางแล้ว ต้องระวังอะไรบ้าง
แชร์ :
  • 7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

    7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • 7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

    7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว