การสร้างครอบครัวอย่าง การมีลูก เป็นความฝัน หรือความตั้งใจของหลายบ้าน ที่อยากสร้างครอบครัวใหญ่ขึ้น แต่ยุคสมัยนี้ เงิน เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการมีลูก สำหรับคนที่อยากมีลูก แต่กลัวไม่พร้อมเรื่องค่าใช้จ่าย มาคำนวณกันว่า การตั้งครรภ์แต่ละครั้ง ใช้เงินเท่าไหร่ ฝากครรภ์ ราคา ค่าใช้จ่ายเตรียมคลอด ท้องทีต้องใช้เงินเท่าไหร่ มีเงินเท่าไหร่ถึงจะท้องได้ ? theAsianparent พาไปดู ฝากครรภ์ราคา เท่าไหร่ ต้องจ่ายอะไรเท่าไหร่บ้าง
ฝากครรภ์ราคา เท่าไหร่ ราคาฝากท้อง มีค่าอะไรบ้าง ?
1. ค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์เมื่อเข้าพบแพทย์
การตั้งครรภ์นั้นจำเป็นที่จะต้องไปพบแพทย์บ่อย ๆ โดย ตามเวลาที่แนะนำคือ ควรจะพบสูตินารีแพทย์ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เพื่อคอยเช็คอาการต่าง ๆ ในการตั้งครรภ์ ทั้งนี้ทั้งนั้น ค่าใช้จ่ายในการตั้งครรภ์ เพื่อพบแพทย์ ขึ้นอยู่กับโรงพยาบาล ว่าแม่ ๆ จะเลือก โรงพยาบาลรัฐบาล หรือ เอกชน
2. การฝากครรภ์มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่มาดูกัน ค่าฝากครรภ์
เมื่อไหร่ที่เริ่มตั้งครรภ์ คุณแม่ก็เตรียมค่าใช้จ่ายไว้ได้เลย สิ่งแรกที่คุณแม่ควรคำนึงถึง คือ การฝากครรภ์ ซึ่งค่าฝากครรภ์ ก็จะมีราคาที่แตกต่างกันออกไป หากคุณแม่ฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลรัฐ ก็อาจจะต้องรอคิวนานเป็นพิเศษ เนื่องจากมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก แต่ในเรื่องของค่าใช้จ่ายไม่แพงมากนัก หากคุณแม่เลือกฝากที่โรงพยาบาลเอกชน คุณแม่ไม่ต้องรอคิวนาน เน้นความสะดวกสบาย เหมาะสำหรับคนไม่ชอบรออะไรนาน ๆ หรือไม่มีเวลา และมีเงินพร้อมในส่วนนี้ เนื่องจากราคาค่อนข้างแรงกว่า
บทความที่เกี่ยวข้อง : สิทธิประกันสังคมคนท้อง ปี 2565 ค่าคลอดประกันสังคม ทำยังไงถึงจะได้
3. ค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์โรงพยาบาลรัฐบาล – โรงพยาบาลเอกชน
สำหรับแม่ท้องหลายคนที่ทำงานประจำ อย่าลืมว่าเวลาแม่ ๆ จะคลอด นั้นรายได้ส่วนหนึ่งจะถูกหักไป หลังจากครบกำหนดจ่ายเงินเดือนลาคลอด เพราะ ฉะนั้นรายได้ส่วนนี้จะหายไป ในช่วงตั้งครรภ์ แม่ท้องควรจะวางแผน ตลอดการตั้งครรภ์ ว่าจะจัดการการเงินยังไง เพราะ การเงินนั้นสำคัญตลอดการตั้งครรภ์นะคะ แม่ ๆ
4. ค่าซื้อของคลอดลูก
คุณพ่อและคุณแม่ต้องเตรียมอุปกรณ์เด็กแรกเกิดให้พร้อม ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะตกราว ๆ 30,000 – 50,000 บาทในการจ่ายขั้นต้นอันได้แก่ เสื้อผ้าเด็ก ผ้าอ้อม นม และเครื่องอุ่นนม เปลนอน เครื่องอาบน้ำ อาหารสำหรับเด็ก ตลอดระยะเวลาการเลี้ยง จะมีค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายทุกเดือนอีกราว ๆ 5,000 – 10,000 บาทต่อเดือน ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูของแต่ละครอบครัว
บทความที่เกี่ยวข้อง : จัดกระเป๋าเตรียมคลอด ในงบ 5000++ บาท ของใช้เด็ก แรกเกิด มีอะไรบ้าง
ค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์คลินิก
ค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์ของแต่ละคลินิกไม่เท่ากัน ถ้ามองในรูปแบบทั่วไปแล้วการฝากครรภ์กับคลินิกจะคล้ายกับโรงพยาบาลเอกชน การฝากครรภ์กับคลินิกเป็นการฝากครรภ์แบบพิเศษประเภทหนึ่ง เนื่องจากจะได้รับการบริการจากแพทย์คนเดิมตลอด แตกต่างกันที่เมื่อทำการฝากครรภ์คุณแม่สามารถเดินทางไปตรวจที่คลินิกได้เลย เมื่อคลอดก็ไปคลอดโรงพยาบาลที่คุณหมอท่านนั้นอยู่ ข้อดีคือช่วยอำนวยความสะดวกให้คุณแม่นั่นเอง
ค่าใช้จ่ายในการคลอดลูก มีอะไรบ้าง
สำหรับ ค่าใช้จ่ายในการคลอดลูก นั้น ราคาก็จะแตกต่างกันไปตามรูปแบบการคลอด และลักษณะของโรงพยาบาล หากคลอดธรรมชาติ ก็จะถูกกว่าผ่าคลอด และโรงพยาบาลรัฐ จะถูกกว่าโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งค่าใช้จ่ายโดยประมาณมีดังนี้
-
ค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตรโรงพยาบาลรัฐ
ค่าคลอดของโรงพยาบาลรัฐ กรณีคลอดธรรมชาติจะอยู่ที่ประมาณ 5,000 – 10,000 บาท และสำหรับการผ่าคลอดราคาก็จะอยู่ที่ประมาณ 15,000 – 25,000 บาท ซึ่งส่วนมากจะรวมค่าห้องแล้ว แต่สำหรับบางโรงพยาบาลที่ไม่รวมค่าห้อง ราคาห้องก็จะอยู่ที่ประมาณ 500 – 3,000 บาท
-
ค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตรโรงพยาบาลเอกชน
สำหรับโรงพยาบาลเอกชน ค่าใช้จ่ายแบบแพ็กเกจ กรณีคลอดธรรมชาติ ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 30,000 – 50,000 บาท ส่วนกรณีผ่าคลอด ราคาก็จะอยู่ที่ประมาณ 45,000 ไปจนถึง 100,000 บาท ซึ่งส่วนมากจะรวมค่าห้องอยู่ในแพ็กเกจ และหากผ่าคลอด ก็จะต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล 4 – 5 วัน เช่นเดียวกันทั้งโรงพยาบาลของรัฐ และเอกชน
-
ค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตร ประกันสังคม
- อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์จ่าย ไม่เกิน 500 บาท
- อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ จ่ายไม่เกิน 300 บาท
- อายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 28 สัปดาห์ จ่ายไม่เกิน 300 บาท
- อายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ ไม่เกิน 32 สัปดาห์ จ่ายไม่เกิน 200 บาท
- อายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์ ถึง 40 สัปดาห์ขึ้นไป จ่ายอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 200 บาท
ค่าคลอดบุตรเป็น 15,000 สามารถเบิกได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง สามารถเบิกค่าคลอดบุตรจากสำนักงานประกันจำนวน 15,000 บาท และเงินจากการหยุดจากเพื่อคลอดบุตรร้อยละ 50 ของค่าจ้าง เป็นเวลา 9 วัน ไม่เกิน 2 เดือน
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!