X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ยาเลื่อนประจำเดือน มียี่ห้อไหน ราคาเท่าไหร่ กินยังไงให้ปลอดภัย

บทความ 8 นาที
ยาเลื่อนประจำเดือน มียี่ห้อไหน ราคาเท่าไหร่ กินยังไงให้ปลอดภัย

ยาเลื่อนประจำเดือน ผลข้างเคียง การรับประทาน และข้อควรระวัง

สัปดาห์หน้ามีนัดไปเที่ยวทะเล หรือต้องเดินทางไปทำธุระสำคัญ แต่ถ้าประจำเดือนดันมาช่วงเวลานั้นพอดี! สาว ๆ อย่างเราคงจะเซ็งกันไปตาม ๆ กัน ความสนุกเรา คงจะหดหายไปกว่าครึ่งเลยทีเดียว หากคุณมีปัญหา ลักษณะนี้ การทานยาเลื่อนประจำเดือน ก็จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ของสาว ๆ หลาย ๆ คน ที่ไม่อยากแบ่งความสนุกสนาน หรือความคล่องตัว ในการเดินทาง ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ มากังวลกับการมาของประจำเดือนใช่ไหมล่ะ ?

 

แต่การทานยาเลื่อนประจำเดือนนั้น เราควรที่จะต้องรู้จัก วิธีการทาน อย่างถูกต้อง และเหมาะสม กับสภาพร่างกายของเรา เพื่อไม่ให้เกิดอันตราย และเกิดผลกระทบใด ๆ กับ สุขภาพร่างกายของเรา

บทความที่เกี่ยวข้อง : ยาต้องห้าม ช่วงให้นมบุตร 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 50

 

การทานยาเลื่อนประจำเดือน

 

ยาเลื่อนประจำเดือน คืออะไร ?

ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นตัวยาที่จะช่วยเลื่อนวันที่จะมีประจำเดือนของผู้หญิงออกไป ยาเลื่อนประจำเดือนนี้ เป็นฮอร์โมนในกลุ่มโพรเจสเทอโรน ซึ่งจะยับยั้งการหลุดร่อนของเยื่อบุผนังมดลูก ให้ออกมาช้ากว่ากำหนด

นับจากวันที่ประจำเดือนมาเป็นวันแรกไปอีก 14 – 15 วัน จะเป็นวันตกไข่ ซึ่งร่างกายจะผลิตฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนออกมา เพื่อทำให้เยื่อบุผนังมดลูกหนาขึ้น รองรับกับการฝังตัวของตัวอ่อน ในกรณีที่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้นในช่วงประมาณ 2 สัปดาห์นับจากวันตกไข่ แต่หากไม่มี ร่างกายจะหยุดสร้างฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน และเยื่อบุโพรงมดลูกก็จะหลุดออกมากลายเป็นประจำเดือนในที่สุด การรับประทานยาเลื่อนประจำเดือน จึงต้องรับประทานในช่วงประมาณ 1 สัปดาห์ ก่อนการมีประจำเดือน เพื่อเพิ่มการสร้างฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนให้ทัน ก่อนการสลายตัวของเยื่อบุโพรงมดลูก

บทความที่เกี่ยวข้อง : นับวันตกไข่จากมูกช่องคลอด สังเกต มูกจากช่องคลอด บอกวันไข่ตกได้

 

ยาเลื่อนประจําเดือน มียี่ห้ออะไรบ้าง ราคาเท่าไหร่?

 

ยาเลื่อนประจำเดือน มียี่ห้อไหน ราคาเท่าไหร่ กินยังไงให้ปลอดภัย

 

ยาเลื่อนประจำเดือน มีตัวยาชื่อว่า นอร์เอทีสเตอโรน (Norethisterone) ที่จำหน่ายในท้องตลาด มีชื่อการค้า Primolut-N, Steron, Norca ประกอบด้วยยานอร์เอทีสเตอโรน ขนาดยา 5 มก. ต่อ 1 เม็ด เช่น

  • ยี่ห้อ Primolut-N แผงละ 15 เม็ด บรรจุกล่องละ 2 แผง ราคาต่อกล่องอยู่ที่ 200 บาทขึ้นไป ซึ่งสามารถแยกซื้อเป็นแผงได้เช่นกัน
  • ยี่ห้อ Steron แผงละ 10 เม็ด ราคาจำหน่ายจะอยู่ที่ แผงละ 50 บาทขึ้นไป
  • ยี่ห้อ Norca แผงละ 10 เม็ด ราคาจำหน่ายอยู่ที่ แผงละ 50 บาทขึ้นไป เป็นต้น

 

การรับประทานยาเลื่อนประจำเดือน ทานอย่างไรให้ได้ผล

การรับประทานยาเลื่อนประจำเดือน จะต้องรู้รอบเดือนของตัวเองอย่างแน่ชัด และรับประทานก่อนรอบเดือนประมาณ 1 สัปดาห์ หรืออย่างน้อย 3 – 5 วัน หากรับประทานช้ากว่านั้น อาจจะไม่ได้ผล เนื่องจากร่างกายรู้แล้วว่าไม่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้น จึงหยุดการสร้างฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน และทำให้มีประจำเดือน

 

วิธีกิน ยาเลื่อนประจำเดือน

 

ยาเลื่อนประจำเดือน มียี่ห้อไหน ราคาเท่าไหร่ กินยังไงให้ปลอดภัย

 

ควรกินยาเลื่อนประจำเดือนล่วงหน้า อย่างน้อย 3 วัน ก่อนการมาของประจำเดือน โดยรับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง เช้า และเย็น หรือครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวัน และเย็น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของผู้ที่รับประทาน

  • ให้รับประทานครั้งละ 1 เม็ด โดยผู้ที่น้ำหนักน้อยกว่า 65 กก. ให้รับประทานทุก 12 ชม. (วันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น)
  • น้ำหนักตัวตั้งแต่ 65 กก. ขึ้นไป ให้รับประทานทุก 8 ชม. (วันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวัน เย็น) โดยสามารถรับประทานหลังอาหาร 30 นาทีหรือพร้อมมื้ออาหารก็ได้

ข้อควรระวัง ไม่ควรทานยานานเกิน 2 สัปดาห์ และจะมีประจำเดือนภายใน 2 – 3 วันหลังจากหยุดยา ดังนั้น การรับประทานยาก่อนประจำเดือนมาแค่ 1 วัน หรือตอนที่กำลังมีประจำเดือน ซึ่งเยื่อบุโพรงมดลูกได้หลุดลอกออกมาแล้ว ยาจึงอาจมีผลเพียงช่วยลดปริมาณและจำนวนวันของการมีประจำเดือนให้น้อยลง แต่หลังจากหยุดยา จะทำให้มีประจำเดือนซ้ำอีกในช่วงเวลาใกล้ ๆ กัน

บทความที่เกี่ยวข้อง : ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน ปลอดภัยหรือไม่ และกินอย่างไรให้ปลอดภัย

 

การทานยาเลื่อนประจำเดือน

 

ผลข้างเคียงของยาเลื่อนประจำเดือน

การใช้ยาเลื่อนประจำเดือนบ่อย ๆ หรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจจะทำให้รอบเดือนมีความผิดปกติได้ เช่น มาน้อยกว่าปกติ มาไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือนกะปริบกะปรอย หรือประจำเดือนขาด เป็นต้น อาการอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกาย เช่น เวียนศีรษะ คลื่นไส้  มีอาการคัดตึงหน้าอก เป็นต้น

สำหรับผู้ที่รับประทานยาเลื่อนประจำเดือนก่อนการมาของรอบเดือนเพียงแค่ 1 วัน ไม่ทำให้ประจำเดือนมาช้า แต่อาจจะลดจำนวนวันที่มีประจำเดือน หรือ ปริมาณของประจำเดือนลดลงได้

 

ถ้ากินยาเลื่อนประจำเดือนแล้ว ประจำเดือนจะมาตอนไหน

หากรับประทานยาเลื่อนประจำเดือน หรือยาเลื่อนเมนส์แล้ว รอบเดือนใหม่จะมาหลังจากหยุดยา 2 – 3 วัน

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

 

ยาเลื่อนประจำเดือน

ยาเลื่อนประจําเดือนเลื่อนได้กี่วัน ?

หากคุณได้มีการกินยาเลื่อนอยู่เป็นประจำ ต่อเนื่อง ยังคงกินยาเลื่อนประจำเดือนต่อเนื่อง ประจำเดือนจะยังไม่มาจนกว่าจะหยุดยา ประจำเดือนจะมาหลังหยุดยาไปแล้ว 2-3 วัน บางคนอาจนานถึง 7 วัน แต่ข้อบ่งใช้ของยาเลื่อนประจำเดือนคือ ห้ามทานติดต่อกันเกิน 14 วันหรือ 2 สัปดาห์ เพราะจะทำให้เกิดผลข้างเคียงได้

ข้อควรระวังในการใช้ยาเลื่อนประจำเดือน

  • ไม่ควรใช้ยาติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์ หรือใช้บ่อยเกินไป ควรรับประทานเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น
  • ผู้ที่มีประวัติเป็น หรือเคยเป็นโรคต่อไปนี้ โรคมะเร็งเต้านม โรคตับ โรคอ้วน และโรคหลอดเลือดอุดตัน
  • ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ อาจทำเกิดความผิดปกติกับร่างกาย และอวัยวะเพศของลูกในครรภ์
  • ผู้ที่กำลังให้นมบุตร เพราะตัวยาจะปะปนกับน้ำนมแม่ และส่งต่อไปสู่ลูกได้
  • ผู้ที่มีเลือดออกโดยไม่ทราบว่าเป็นเลือดประจำเดือนหรือไม่ ไม่ควรซื้อยาเลื่อนประจำเดือนมารับประทานเอง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยต่อไป

 

กลุ่มผู้ที่ควรหลีกเลี่ยงการทานยาเลื่อนประจำเดือน

ยานอร์เอทีสเตอโรน (Norethisterone) หรือยาเลื่อนประจำเดือน มีข้อห้ามในการใช้ยาสำหรับบุคคลใน 5 กลุ่ม ต่อไปนี้

  • สตรีที่กำลังตั้งครรภ์ เนื่องจากตัวยา อาจจะทำให้ทารกในครรภ์มีการพัฒนาอวัยวะเพศที่ผิดแปลกออกไป โดยเฉพาะครรภ์ของเพศหญิง โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุครรภ์มากกว่าเดือนครึ่ง หรือ 6 สัปดาห์ เป็นต้นไป
  • คุณแม่ที่ให้นมบุตร น้ำนมแม่จะมีตัวยาปะปนออกมาด้วย ซึ่งจะส่งผลกระทบทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่อลูกได้
  • ผู้ที่มีประวัติ หรือความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดอุดตัน เช่น ผู้ที่สูบบุหรี่จัด โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น
  • ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับตับ หรือเคยเป็น เนื่องจากตัวยานอร์เอทีสเตอโรน จะถูกกำจัด หรือขับออกที่ตับ หากตับทำงานได้ไม่เต็มที่ ก็จะเกิดการตกค้างของตัวยา ทำให้ส่งผลร้ายต่อร่างกายในระยะยาว เช่น โรคตับอักเสบ เป็นต้น
  • ผู้ที่เคยเป็นมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งที่อวัยวะเพศ เนื่องจากตัวยา จะเป็นตัวกระตุ้นให้เนื้อร้ายเหล่านี้ เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว

 

จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าทานยาในขณะตั้งครรภ์

จากที่เกริ่นมาข้างต้น ในกรณีที่ตัวคุณแม่ได้ทานยาเลื่อนประจำเดือน โดยที่ไม่ทราบว่าตนเองนั้นตั้งครรภ์ลูกอยู่ ตัวยาที่ทานเข้าไปอาจจะมีผลต่อการพัฒนาการของอวัยวะเพศภายนอกของทารกในครรภ์ได้ แต่จากทดสอบนั้น ยังไม่พบว่าตัวยาเลื่อนประจำเดือนนี้ จะส่งผลทำให้ทารกในครรภ์พิการในด้านอื่น ๆ

ดังนั้น หากคุณมาทราบในภายหลังว่ามีการตั้งครรภ์หลังจากทานยาเลื่อนประจำเดือนไปแล้ว อย่าเพิ่งตกใจไปค่ะ ให้ไปปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการติดตามพัฒนาการของทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด และวางแผนเพื่อการดูแลทารกในครรภ์อย่างเหมาะสม ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดความกังวลใจใด ๆ การตรวจการตั้งครรภ์ก่อนจะเริ่มใช้ยาเลื่อนประจำเดือน จึงมีส่วนสำคัญอย่างมาก และไม่ควรมองข้ามเด็ดขาดค่ะ

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
คนท้องฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม ฉีดแล้วอันตรายหรือเปล่า ฉีดได้ตอนไหน
100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 29 ควรเริ่มกินยาคุมเมื่อไร ?
“ยาธาตุน้ำขาว” ยานี้คนท้องกินได้ไหม เกิดอาการจุกเสียด กรดไหลย้อน

แหล่งที่มา : pharmacy.mahidol, jeban

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

ammy

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ยาเลื่อนประจำเดือน มียี่ห้อไหน ราคาเท่าไหร่ กินยังไงให้ปลอดภัย
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว