X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ปวดประจำเดือนมาก ผิดปกติไหม

บทความ 5 นาที
ปวดประจำเดือนมาก ผิดปกติไหม

ปวดประจำเดือนมาก เป็นสิ่งที่กวนใจสาว ๆ อย่างมาก บางคน ปวดประจำเดือนน้อย บางคน ปวดประจำเดือนมาก และ บางคนก็ปวดจนตัวงอ จนไม่สามารถ ลุกขึ้นมาทำกิจวัตรประจำวัน หรือการทำงานได้ แล้วการปวดแบบไหน ถึงจะบอกว่า เป็นอาการปวดประจำเดือนที่ผิดปกติ

ปวดประจำเดือนมาก ผิดปกติไหม

อาการ “ปวดประจำเดือน” มาจากไหน

สาว ๆ หลายคนรู้กันดีอยู่แล้วว่า ” ประจำเดือน ” ก็คือ การลอกตัว ของเยื่อบุโพรงมดลูก แต่สิ่งที่เราไม่เคยรู้ นั่นก็คือ ระหว่างการลอกตัวนี้ จะมีสารอยู่ตัวหนึ่ง ที่ชื่อว่า Prostaglandins ที่ทำให้ มดลูกทำการบีบตัว ซึ่งปกติ มดลูกก็จะบีบตัวเป็นจังหวะ และจะมีอาการปวดบีบ แต่จะปวดมาก – ปวดน้อย ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคน

ปวดประจำเดือนมาก ผิดปกติไหม

ปวดเล็กน้อย ไม่ซีเรียส

Advertisement

การปวดประจำเดือน ในช่วงก่อนรอบเดือนมา ประมาณ 1 – 2 วัน โดยจะปวดบริเวณกลางท้องน้อย ที่มาจาก การปวดตามธรรมชาติ ของมดลูก ที่บีบตัวไล่ประจำเดือนออกมา ลักษณะอาการปวด จะปวดท้องส่วนล่าง ปวดร้าวไปถึงหลัง หรือต้นขาได้ ซึ่งอาการนี้ พออายุมากขึ้น อาการก็จะลดลง

หากคุณ มีอาการปวดลักษณะนี้ นับว่า เป็นอาการปวดประจำเดือน แบบธรรมชาติ ซึ่งพบได้ทั่วไป และไม่เป็นอันตราย แต่อย่างใด

ปวดประจำเดือนมาก ผิดปกติไหม

ปวดมาก ปวดจนตัวงอ อย่านิ่งนอนใจ

อาการปวดแบบนี้ จะเกิดจากมดลูกหดเกร็ง ระดับความปวด เพิ่มขึ้นในทุก ๆ เดือน ที่ประจำเดือนมา ปวดจนตัวงอ จนไม่สามารถไปทำงานได้ บางครั้งมีอาการร่วม เช่น เจ็บเวลาที่มีเพศสัมพันธ์ หรือเวลาถ่ายอุจจาระ จะมีอาการปวดร้าว ไปถึงรูทวารหนัก หากคุณมีอาการ ปวดลักษณะนี้ ต้องรีบไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการตรวจภายใน ซึ่งอาจจะมี การตรวจพิเศษ หรือมีการอัลตราซาวด์ ส่องกล้อง

ปัจจัยเพิ่มความเสื่ยงต่อโอกาสเกิดการปวดประจำเดือน มักจะพบได้มากขึ้นในกลุ่มสตรีเหล่านี้

  • อายุน้อยกว่า 20 ปี
  • เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกตั้งแต่อายุน้อย ( ต่ำกว่าอายุ 11 ปี )
  • มีเลือดประจำเดือนออกมาก ( MENORRHAGA )
  • มีความเครียด หรือมีอาการซึมเศร้า ( ANXIETY , DEPRESSION )
  • อยู่ในระยะเวลาที่พยายามจะลดน้ำหนัก ( โดยเฉพาะ อายุ 14 – 20 ปี )
  • ยังไม่เคยมีบุตร
  • สูบบุหรี่จัด

เสี่ยงเป็นโรคแบบไหน

อาการปวดประจำเดือน มากจนผิดปกติ โดยมาก มักจะมีผลมาจาก เยื่อบุโพรงมดลูก เจริญผิดที่ ซึ่งเกิดจาก การที่เยื่อบุมดลูก หรือเลือดประจำเดือด ไหลออกมาไม่หมด และเกิดการ ไหลย้อนกลับเขาไปในช่องท้อง ทำให้เกิดพังผืดในช่องท้อง ท่อลำไข่ และปีกมดลูก

ถ้าเยื่อบุมดลูกนี้ เข้าไปอยู่ที่ผิวรังไข่นาน ๆ จากเยื่อบุมดลูกธรรมดา ก็จะเริ่มฝังตัว และกลายเป็นถุงน้ำ โดยภายในถุงน้ำ ก็จะมีเลือดเก่า ค้างสะสมอยู่  เลือดเก่านี้ก็จะมี ลักษณะขุ่นเข้ม คล้ายกับช็อคโกแลต เป็นที่มาของ ช็อคโกแลตซีส

ดังนั้น หากคุณมีอาการปวด ที่เข้าข่ายการเสี่ยงโรคนั้น อย่าได้นิ่งนอนใจ ควรรีบเข้าไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง หรือ หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี  หลายครั้งที่ไปพบแพทย์ แล้วบอกว่า ” ไม่พบความผิดปกติ ” ซึ่งอาการ ของโรคดังกล่าว จากการตรวจร่างกาย ตรวจภายใน อัลตร้าซาวด์ อาจไม่พบ  การตรวจค้นหาสาเหตุต่อไป คือการส่องกล้อง เข้าไปในช่องท้อง เพื่อตรวจว่า ภายในอุ้งเชิงกราน มีพังผืด มีเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือไม่ ซึ่งสามารถผ่าตัด ผ่านกล้องรักษาได้ ในเวลาเดียวกัน  อะไรที่แอบแฝงอยู่  ตรวจหลาย ๆ ครั้ง ก็ยังมีอาการปวดอยู่  ปวดมากบางครั้งจนเป็นลม จนคนข้าง ๆ   คิดว่ามารยา หรือคิดมาก  คิดไปเอง หรือเป็นโรคประสาท  หลายคนอาจจะหลง ไปอยู่ที่คลินิกจิตเวช ก็เป็นได้

การบำบัดรักษา

  • ในกลุ่มปฐมภูมิ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับพยาธิสภาพทางกาย นั้นการให้ยาแก้ปวด และการพักผ่อน ก็สามารถทำให้อาการปวดลดลงได้มาก หรือหายปวดได้ ยาที่ใช้จะอยู่ในกลุ่ม ยาแก้ปวดทั่วไป หรือ NSAID หรือ AUH PROSTAGLANDIN และในระยาว แทพย์อาจใช้ยาคุมกำเนิด รับประทานต่อเนื่องระยะหนึ่ง ยาคุมกำเนิดจะลดการสร้าง PROSLNCLANAM ของร่างกาย ก็จะมีผลให้อาการปวดประจำเดือนน้อยลง
  • ในกลุ่มทุติยภูมิ นั้นมีพยาธิสภาพทางกายต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน เช่น
  • ENDOMETRIOSIS คือการที่มีเซลล์ของเยื่อบุมดลูก หลุดไปอยู่ภายนอกมดลูก เช่น ที่รังไข่ ท่อรังไข่ หรือในบริเวณอุ้งเชิงกราน
  • ADENOMYOSIS คือมีเซลล์เยื่อบุมดลูก เจริญเข้าไปในส่วนของผนังมดลูก ซึ่งเป็นชั้นของกล้ามเนื้อ
  • PID คือ มีการติดเชื้อภายในอุ้งเชิงกราน ส่วนใหญ่จะเป็นโรคที่ติดต่อโดยเพศสัมพันธ์ (STD)
  • การใส่ห่วงอนามัยคุมกำเนิด (IUD) พบได้ในบางรายที่ใส่ห่วงคุมกำเนิด และมักจะมีอาการปวดในช่วงเดือนแรก ๆ หลังใส่ห่วงคุมกำเนิด
  • เนื้องอกของมดลูกที่ดัน หรือยื่นล้ำเข้าไปในโพรงมดลูก ซึ่งแพทย์จะให้การรักษาไปตามพยาธิสภาพที่มี เช่นให้ยาปฏิชีวนะตามเชื้อ เอาห่วงคุมกำเนิดออก หรือ อาจผ่าตัดรักษาในบางราย เพื่อกำจัดพยาธิสภาพเหล่านั้น ในกลุ่มที่มีพยาธิสภาพเหล่านี้ อาจมีผลต่อ การเจริญพันธุ์ โอกาสมีบุตรยาก และมีโอกาสเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้

ที่มา :

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

https://www.nonthavej.co.th/Menstrual-Cramps.php

https://www.paolohospital.com/th-

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

ammy

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ปวดประจำเดือนมาก ผิดปกติไหม
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว