X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุกคืออะไร อันตรายต่อแม่ท้องหรือไม่?

บทความ 3 นาที
การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุกคืออะไร อันตรายต่อแม่ท้องหรือไม่?

มีคุณแม่ตั้งครรภ์บางรายที่ต้องพบกับปัญหาแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก ลักษณะอาการเริ่มต้นจะเหมือนกับการตั้งครรภ์ปกติทุกอย่าง แต่เมื่อตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง (อัลตราซาวนด์) จะไม่พบตัวทารก พบแต่เพียงรกที่เสื่อมสภาพ มีลักษณะบวมน้ำเห็นเป็นถุงน้ำขนาดเล็กจำนวนมาก สำหรับการตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก จะมีสาเหตุเกิดจากอะไรนั้น ทีมงาน theAsianparent มีข้อมูลที่น่าสนใจในเรื่องนี้มาฝากกันค่ะ

การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุกคืออะไร

 

เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ในช่วงแรก คุณแม่จะมีอาการเหมือนคนท้องตามปกติ นั่นคือ ประจำเดือนขาด คลื่นไส้ อาเจียน เหนื่อยง่าย ง่วงนอน ปัสสาวะบ่อย และคัดตึงเต้านม ฯลฯ และเมื่อการตั้งครรภ์ดำเนินต่อไป จะเริ่มมีเลือดสีน้ำตาลออกทางช่องคลอด หรือบางครั้งออกมาเป็นเลือดสีแดงสดเป็นระยะ ต่อมาผู้ป่วยอาจจะมีอาการแสดงถึงภาวะการตั้งครรภ์ไข่ปลาอุกมากขึ้น ดังนี้

 อาการที่แสดงถึงการตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก

  1. มีเลือดออกทางช่องคลอด และอาจมีเนื้อเยื่อใสๆ ออกมาด้วย เกิดจากการลอกตัวของเยื่อบุโพรงมดลูก
  2. มีเม็ดใสๆ ที่ลักษณะคล้ายเม็ดสาคูออกมาจากช่องคลอด
  3. ขนาดของมดลูกจะโตกว่าอายุครรภ์จริงคล้ายการตั้งครรภ์แฝด
  4. มีอาการแพ้ท้องที่รุนแรงกว่าการตั้งครรภ์ปกติหลายเท่า
  5. แม่ท้องจะรู้สึกเหนื่อยง่ายและอ่อนเพลียอย่างมาก มีอาการปวดท้องและผิวหนังสีซีด
  6. มีอาการใจสั่น มือสั่น ซึ่งอาจมีต่อมไทรอยด์เป็นพิษร่วมด้วย
  7. มีอาการปวดศีรษะ แขน ขาบวม มีความดันโลหิตสูงขึ้น
  8. มีอาการครรภ์เป็นพิษ คือ มีความดันโลหิตสูงเมื่ออายุครรภ์ ก่อน 20 สัปดาห์ เนื่องจากมีปริมาณฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ (Beta hCG/ Human chorionic gonadotropin hormone) สูงเกินไป (โดยทั่วไปหากเป็นการตั้งครรภ์ปกติอาการครรภ์เป็นพิษจะเกิดขึ้นได้เมื่ออายุครรภ์มากแล้ว)

การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุกมีสาเหตุเกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่ และปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดครรภ์ไข่ปลาอุก  อ่านหน้าต่อไปคลิก

Advertisement

การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก

สาเหตุของการตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก

สาเหตุที่แท้จริงของการตั้งครรภ์ไข่ปลาอุกยังไม่ทราบเหตุที่ชัดเจน พบว่าไข่ของฝ่ายหญิงขาดโครโมโซมเพศ (โครโมโซมX) เมื่อถูกผสมด้วยเชื้ออสุจิทำให้โครโมโซมของตัวอ่อนจะเป็นโครโมโซมที่มาจากฝ่ายชายทั้งหมด ทำให้ไม่สามารถเจริญไปเป็นตัวอ่อนหรือทารกที่สมบูรณ์ได้

 ครรภ์ไข่ปลาอุกทำให้เกิดอันตรายได้หรือไม่

โดยมากตั้งการตั้งครรภ์ไข่ปลาอุกอาจเป็นสาเหตุทำให้มีเลือดออกทางช่องคลอดต่อเนื่อง ซึ่งหากเลือดออกครั้งเดียวแต่ออกมากอาจทำให้คุณแม่ท้องช็อกหมดสติได้ แต่หากเลือดออกทีละน้อยโดยผู้ป่วยไม่ได้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูอาการ ก็จะส่งผลทำให้โลหิตจางได้  ซึ่งการตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก สามารถลุกลามแทรกเข้าไปในกล้ามเนื้อมดลูก (Invasive mole) ทำให้มีเลือดออกจากโพรงมดลูกอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นแพทย์มักจะให้การรักษาด้วยวิธีการดูดโพรงมดลูกร่วมกับให้ยาเคมีบำบัดเป็นหลักเพื่อเก็บมดลูกไว้ตั้งครรภ์ ในรายที่มีบุตรเพียงพอแล้วสามารถรักษาด้วยการผ่าตัดมดลูกออกได้ ที่สำคัญการตั้งครรภ์ไข่ปลาอุกยังอาจกลายไปเป็นเนื้องอกหรือมะเร็งของเนื้อรกได้

 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดครรภ์ไข่ปลาอุก

  1. ในผู้หญิงตั้งครรภ์ที่อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป
  2. ในผู้หญิงที่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่จัด
  3. ในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ครั้งแรก
  4. ในผู้หญิงที่มีปัญหาสุขภาพบางอย่าง เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ

 

สำหรับคุณแม่ที่ต้องการจะตั้งครรภ์ให้มีคุณภาพ ควรต้องตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ หรือหากเมื่อตั้งครรภ์ไปแล้ว และพบว่าตัวเองมีภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพเกิดขึ้น ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อจะได้วินิจฉัยและให้การรักษาได้อย่างทันท่วงที อย่างไรก็ตามสำหรับการตั้งครรภ์ไข่ปลาอุกถึงแม้เกิดขึ้นได้ไม่บ่อยในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ก็ตาม แต่การดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่ตลอดเวลาก็ช่วยลดการเกิดปัญหาภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์ขึ้นได้นะ

ตรวจสอบความถูกต้อง : นายแพทย์เมธาพันธ์  กิจพรธีรานันท์

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

อาการท้องแข็ง เรื่องน่ากังวลขณะตั้งครรภ์

โรคภูมิแพ้ในแม่ท้อง เสี่ยงต่อความผิดปกติของลูกในครรภ์หรือไม่

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุกคืออะไร อันตรายต่อแม่ท้องหรือไม่?
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว