X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ให้ลูกใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตอย่างไรให้ปลอดภัยและได้ประโยชน์

บทความ 3 นาที
ให้ลูกใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตอย่างไรให้ปลอดภัยและได้ประโยชน์

มาดูวิธีการให้ลูกใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีอย่างโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตให้ได้ประโยชน์สูงสุดและปลอดภัย โดยไม่ทำให้ลูกติดอุปกรณ์เหล่านี้กันค่ะ

ให้ลูกใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต

ใช้เวลาทำกิจกรรมกับครอบครัวที่ใช้เทคโนโลยีให้น้อยที่สุด

เรามีผลการศึกษา “การใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตของเด็ก: กรณีศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” จากการสำรวจความคิดเห็นตัวอย่างของคุณพ่อคุณแม่ 2,714 ท่านที่มีลูกวัย 3-8 ปีรวมกันอย่างน้อย 3,900 คน ในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย  ผลการศึกษาดังกล่าวได้เผยถึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการเซ็นเซอร์ข้อมูล แรงจูงใจ และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีของเด็ก ๆ

Sarah Pinel กรรมการฝ่ายการตลาดและปฏิบัติการบริษัท Tekkie Help บริษัทการสื่อสารและเทคโนโลยีในประเทศสิงคโปร์ มีคำแนะนำเกี่ยวกับการให้เด็ก ๆ ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ดังนี้

เลือกแอพพลิเคชั่นคุณภาพ

การเลือกแอพพลิเคชั่นให้ลูกใช้เป็นสิ่งสำคัญมาก คุณควรเลือกแอพที่เหมาะกับนิสัยของลูก ที่ลูกชอบ และเป็นแอพที่ช่วยเสริมจุดเด่นและศักยภาพ เพื่อให้แอพเป็นตัวช่วยเปิดโลกทัศน์ของลูกเพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ

ณ จุดนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรมีเวลาได้ทดลองเล่นแอพต่าง ๆ ก่อนที่จะให้ลูกได้เล่น ลองดูแอพหลาย ๆ แนว ทั้งแอพนิทาน เพลง การออกเสียง เลข การเล่นสมมุติ ศิลปะ ฯลฯ

Advertisement

 สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตกับเด็ก

คุณควรมีส่วนร่วมในการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของลูก

มีส่วนร่วม

ให้เวลามีส่วนร่วมในการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีต่าง ๆ กับลูก คอยดูลูกเวลาลูกเข้าเว็บไซต์และแอพต่าง  ๆ

ถามคำถามว่าลูกคิดยังไงกับสิ่งต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้และช่วยให้เด็กได้พัฒนาการคิดวิเคราะห์ ถ้าลูกติดอยู่ที่การใช้หรือเล่นเกมระดับเดิมนาน ๆ ให้เข้าไปสอบถามปัญหาและช่วยลูกบ้าง

เป็นตัวอย่างที่ดี

ความคิดและพฤติกรรมของคุณในการใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตต่าง ๆ ส่งผลต่อลูกอย่างมาก หากคุณพ่อคุณแม่ใช้มือถือเกือบตลอดเวลา และเสพติดการใช้อุปกรณ์เหล่านี้มากจนแทบไม่มีเวลาเชื่อมสัมพันธ์กับลูก ๆ หรือทำให้กระทบการสื่อสารระหว่างกันก็จะส่งผลเสียต่อเด็ก ๆ มาก

ก่อนจะตอบอีเมลหรือส่งข้อความทางมือถือ หากลูกนั่งข้าง ๆ ลองคิดสักนิดว่าหากคุณหยุดกิจกรรมที่กำลังทำกับลูกเพื่อแวะมาตอบไลน์เพื่อนจะเป็นการแสดงตัวอย่างที่ไม่ดีกับลูกรึเปล่า

อ่านต่อหน้าถัดไป >>>

นอกจากคำแนะนำจาก Sarah แล้ว เรายังมีคำแนะนำในการให้ลูกใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ดังนี้

  • จำกัดการใช้งานที่ครึ่งถึง 1 ชั่วโมง
  • ทำให้การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และการทำกิจกรรมอื่น ๆ มีความสมดุลกัน เช่นให้ลูกออกไปเล่นนอกบ้าน เดินเล่น หรืออ่านหนังสือด้วย
  • พยายามอย่าใช้อุปกรณ์สื่อสารดังกล่าวเป็นพี่เลี้ยงเด็ก เราเข้าใจว่าบางครั้งคุณก็ยุ่งกับอะไรต่อมิอะไรที่เข้ามาและอยากให้ลูกได้มีอะไรทำบ้าง การให้ลูกได้เล่นเกมหรือดูการ์ตูนทางสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตบ้างนาน ๆ ทีก็ไม่ผิดหรอก แต่อย่าให้มันบ่อยจนลูกติดมือถือละกัน
  • สอนให้ลูกใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตอย่างปลอดภัย โดยคุณควรสอนเรื่องการเปิดเผยความเป็นส่วนตัว การแชร์ข้อมูล การเสียเงินออนไลน์ และการใช้วิจารณาญาณในการรับข่าวสาร
  • ให้ลูกได้พูดคุยเกี่ยวกับการใช้สมาร์ทโฟน และสนับสนุนให้ลูกถามคำถามเมื่อมีข้อสงสัย
  • สำหรับเด็กโต คุณควรมีกฎในการจำกัดเวลาใช้ และสิ่งที่เข้าไปดูได้และไม่ได้อย่างชัดเจน
  • หาข้อมูลว่าเนื้อหาใดที่ปลอดภัยและเหมาะกับเด็กอายุเท่าใด และดูว่ามือถือหรือแท็บเล็ตมีฟังก์ชั่นกำหนดการใช้งานสำหรับเด็กหรือไม่

สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตกับเด็ก

ทำตัวให้รอบรู้เรื่องเทคโนโลยีเพื่อตามลูกให้ทัน

เทคโนโลยีคงไม่หายไปจากสังคมในเร็ววันแน่นอน เทคโนโลยีมีแต่จะพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ และชีวิตของลูกเราก็จะต้องอยู่กับมันมากขึ้นเรื่อย ๆ อีกด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นการจะใช้เทคโนโลยีให้มีประโยชน์โดยไม่ทำร้ายคนที่ใช้เป็นสิ่งสำคัญ คุณควรศึกษาข้อดีข้อเสียของการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ทั้งการใช้แอพพลิชั่น ฟังก์ชั่น สังคมออนไลน์ และบริการต่าง ๆ

การศึกษาให้รอบด้านจะทำให้คุณตัดสินใจว่าลูกจะใช้อะไรได้บ้างได้ดียิ่งขึ้น สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตเป็นอุปกรณ์ที่มีพลังมาก มีพลังที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ของลูก ให้ข้อมูล ให้การศึกษา ส่งเสริมจินตนาการ และพัฒนาความคิดเด็กได้ดี เมื่อได้ใช้อย่างเหมาะสม

แล้วคุณให้ลูกเล่นสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตมากน้อยแค่ไหน? เชิญร่วมแชร์ความเห็นและข้อกังวลต่าง ๆ ได้ที่คอมเม้นท์ด้านล่างนี้เลย

ที่มา: Mashable

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • ให้ลูกใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตอย่างไรให้ปลอดภัยและได้ประโยชน์
แชร์ :
  • ต้องแยกแยะ “สุภาพ” กับ “โกหก”  สอนลูกพูดความจริง เมื่อการสร้างภาพและรักษาน้ำใจไม่ใช่ทางออก

    ต้องแยกแยะ “สุภาพ” กับ “โกหก” สอนลูกพูดความจริง เมื่อการสร้างภาพและรักษาน้ำใจไม่ใช่ทางออก

  • ครอบครัวแบบไหนไม่ทำร้ายเด็ก สร้างพื้นที่ปลอดภัย เป็นความสบายใจให้ลูก

    ครอบครัวแบบไหนไม่ทำร้ายเด็ก สร้างพื้นที่ปลอดภัย เป็นความสบายใจให้ลูก

  • เคล็ดลับสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก เลี้ยงลูกแบบ ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน (Kind but Firm)

    เคล็ดลับสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก เลี้ยงลูกแบบ ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน (Kind but Firm)

  • ต้องแยกแยะ “สุภาพ” กับ “โกหก”  สอนลูกพูดความจริง เมื่อการสร้างภาพและรักษาน้ำใจไม่ใช่ทางออก

    ต้องแยกแยะ “สุภาพ” กับ “โกหก” สอนลูกพูดความจริง เมื่อการสร้างภาพและรักษาน้ำใจไม่ใช่ทางออก

  • ครอบครัวแบบไหนไม่ทำร้ายเด็ก สร้างพื้นที่ปลอดภัย เป็นความสบายใจให้ลูก

    ครอบครัวแบบไหนไม่ทำร้ายเด็ก สร้างพื้นที่ปลอดภัย เป็นความสบายใจให้ลูก

  • เคล็ดลับสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก เลี้ยงลูกแบบ ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน (Kind but Firm)

    เคล็ดลับสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก เลี้ยงลูกแบบ ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน (Kind but Firm)

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว