X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ให้ลูก กินยาโรคภูมิแพ้นาน เป็นปี อันตรายไหม แม่เป็นห่วง

บทความ 5 นาที
ให้ลูก กินยาโรคภูมิแพ้นาน เป็นปี อันตรายไหม แม่เป็นห่วง

ลูกเป็นโรคภูมิแพ้ ใช้ยาต่อเนื่องเป็นปีๆ อันตรายต่อร่างกายลูกแค่ไหน แล้วถ้าลูกเป็นโรคประจำตัวจะต้องระวังอย่างไร แบบไหนที่แม่ต้องดูแลเป็นพิเศษ

“คุณหมอคะ น้องต๋องทานยาแก้แพ้ ทุกวันมาเป็นเดือนแล้ว อาการก็ดีขึ้นนะคะ แต่คุณแม่กังวลว่าใช้ยานาน ๆ แบบนี้จะมีอันตรายอะไรไหมคะ” แม่หลาย ๆ คนยังคงกังวล หากให้ลูก กินยาโรคภูมิแพ้นาน เกรงว่าจะเกิดอันตรายต่อลูก

กินยาโรคภูมิแพ้นาน

ให้ลูก กินยาโรคภูมิแพ้นาน อันตรายไหม ?

กินยาโรคภูมิแพ้นาน ๆ อันตรายแค่ไหน

คุณแม่น้องต๋องปรึกษาหมอด้วยความสงสัย ในวันหนึ่ง ซึ่งคำถามนี้หมอพบว่าเป็นสิ่งที่คาใจคุณพ่อคุณแม่ที่ลูกเป็นโรคภูมิแพ้หลาย ๆ ท่าน เพราะ มักจะต้องใช้ยาต่อเนื่องในระยะเวลาหนึ่ง หมอขอสรุปเรื่อง ผลของการใช้ยารักษาโรคภูมิแพ้ชนิดรับประทาน 2 ชนิดได้แก่ ยากลุ่มที่มีฤทธิ์ต้านสารฮิสตามีน รุ่นที่ 2 และ ยากลุ่มที่มีฤทธิ์ต้านสารลิวโคไตรอีน ซึ่งเป็นยาที่นิยมใช้ในปัจจุบันนะคะ

กินยา โรคภูมิแพ้นาน

กินยาโรคภูมิแพ้นาน ส่งผลอะไรต่อลูกไหม ?

1. ยารักษาโรคภูมิแพ้กลุ่มที่มีฤทธิ์ต้านสารฮิสตามีน รุ่นที่ 2 (second generation antihistamine) ยกตัวอย่างเช่น cetirizine, loratadine, fexofenadine, desloratadine, และ levocetirizine เป็นกลุ่มยาแก้แพ้รุ่นใหม่ ที่มีฤทธิ์ทำให้ง่วงน้อย หรือ ไม่ง่วงเลย เพราะหลังจากทานแล้วตัวยาสามารถผ่านเข้าสู่สมองได้น้อย ได้แก่ cetirizine, loratadine ผู้ที่ใช้ยาบางคนจึงมีอาการง่วงเล็กน้อย แต่บางคนก็ไม่ง่วงเลย ยิ่งไปกว่านั้นยาแก้แพ้ในกลุ่มนี้ ชนิดใหม่ล่าสุด เมื่อทานแล้วยาจะผ่านเข้าสู่สมองได้น้อยมากๆ จึงไม่ง่วงเลย จนสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติ ของประเทศสหรัฐอเมริกาอนุญาตให้นักบินใช้ได้ เช่น fexofenadine, desloratadine
เนื่องจากมีการศึกษาที่ใช้ยาแก้แพ้รุ่นใหม่นี้รักษาโรคภูมิแพ้ในเด็กเล็กอายุ 12-24 เดือน โดยใช้ต่อเนื่องทุกวัน นานประมาณ 1 ปี ก็ไม่พบว่า มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายร้ายแรงใด ๆ ที่แตกต่างจากยาหลอกที่ใช้ในการวิจัย โดยเด็กที่เข้าร่วมการศึกษาวิจัยนั้นเป็นเด็กที่สุขภาพแข็งแรงปกติ

Advertisement

ดังนั้น ในเด็กที่มีสุขภาพแข็งแรงปกติ การใช้ยาแก้แพ้รุ่นใหม่ต่อเนื่องในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี ไม่น่าจะมีผลข้างเคียงที่อันตราย แต่สำหรับเด็กที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคตับ หรือ โรคไต อยู่ ต้องแจ้งให้คุณหมอทราบด้วยค่ะ เพราะ ยาบางตัวมีการกำจัดยา และขับออกจากร่างกายทางอวัยวะดังกล่าว จึงต้องระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับตับ และไต เป็นพิเศษค่ะ

 

2. ยารักษาโรคภูมิแพ้กลุ่มที่มีฤทธิ์ต้านสารลิวโคไตรอีน (antileukotriene) ยาในกลุ่มนี้ ที่มีใช้ในประเทศไทย ได้แก่ ยา montelukast เช่น Singulair และ Montek เป็นต้น montelukastคือ ยาในกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ต่อต้านสาร leukotriene อันเป็นสารที่สำคัญชนิดหนึ่งเกิดปฏิกริยาภูมิแพ้ พร้อม ๆ กับฮิสตามีน ซึ่งทำให้เกิดอาการของโรคภูมิแพ้ต่าง ๆ ยาตัวนี้ใช้ในการรักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ร่วมกับยาแก้แพ้กลุ่ม antihistamine โดยเป็นตัวเสริมในการรักษา และอาจใช้ในผู้ป่วยโรคหืด โดยใช้เป็นตัวรักษาและป้องกันอาการสำหรับโรคหืดเรื้อรัง โดยจะใช้เป็นยาเดี่ยวเริ่มต้นรักษาโรคหืดที่อาการไม่รุนแรง หรือ ใช้เป็นยาเสริม ในการรักษาควบคู่กับ ยาสูดกลุ่มสเตียรอยด์ ในโรคหืดที่อาการรุนแรง

พบว่า ผลข้างเคียงของยามักจะไม่รุนแรง และมักจะไม่จำเป็นต้องหยุดการรักษา เช่น วิงเวียน ปวดท้อง ผื่นคัน อ่อนเพลีย อารมณ์หงุดหงิดง่าย ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน และมีรายงานภาวะการแทรกซ้อนเกี่ยวกับระบบประสาทและพฤติกรรม ที่มักพบในเด็กโตและวัยรุ่น เช่น กระสับกระส่าย กระวนกระวาย เครียด โมโหง่าย ซึมเศร้า นอนไม่หลับ แต่อาการแทรกซ้อนเหล่านี้มักไม่รุนแรง และหายไปเมื่อหยุดยา หากอยู่ภายใต้การดูแลของคุณหมออย่างใกล้ชิด ก็น่าจะใช้ยาได้ตามข้อบ่งชี้ อย่างปลอดภัยค่ะ

กินยาโรคภูมิแพ้นาน

ให้ลูก กินยาโรคภูมิแพ้นาน อันตรายหรือเปล่า ? ระยะเวลาแค่ไหนควรกิน ?

หมอขอสรุปโดยภาพรวมของการใช้ยารักษาโรคภูมิแพ้ชนิดรับประทานทั้ง 2 กลุ่มข้างต้นนี้ว่า หากใช้ยาชนิดที่คุณหมอเลือกให้ตามอายุที่เหมาะสมกับลูก และใช้ในขนาดที่ถูกต้อง ภายใต้การดูแลของคุณหมอ ภายในระยะเวลาที่คุณหมอแนะนำ จะมีโอกาสจะเกิดผลข้างเคียงน้อย คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลค่ะ

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา

ยาแก้แพ้ในกลุ่มยาแต่ละประเภทล้วนมีข้อบ่งชี้ ข้อควรระวังในการใช้ยา และ ส่วนประกอบในยาที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น ผู้ปกครองของผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ หรือเภสัชกรทราบถึงอาการป่วยในปัจจุบัน ประวัติทางการแพทย์ และ ประวัติการแพ้ยาต่าง ๆ รวมทั้งศึกษาวิธีการใช้ยา และคำเตือนบนฉลากให้ดีก่อนใช้ยาเสมอ เพื่อป้องกันการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาผิดวิธี เนื่องจาก ยาแก้แพ้แต่ละชนิดล้วนมีส่วนประกอบที่แตกต่างกัน จึงอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการข้างเคียงจากการใช้ยาแตกต่างกันไปด้วย ดังนั้น ผู้ปกครองของผู้ป่วยควรศึกษาข้อมูลยาจากฉลากอย่างระมัดระวัง และ ใช้ยาอย่างถูกวิธี หากพบอาการผิดปกติเกิดขึ้นหลังใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร และ ไปพบแพทย์ทันทีหากอาการเหล่านั้นไม่ทุเลาลง หรือกลับทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นค่ะ

ตัวอย่างข้อควรระวังในการใช้ยาแก้แพ้ ได้แก่

  • ผู้ปกครองแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนใช้ยา หากลูกมีประวัติแพ้ยานี้ ยาแก้แพ้ชนิดอื่น ๆ หรือ แพ้สารต่าง ๆ เช่น สีผสมอาหาร หรือวัตถุกันเสีย เพราะ ยาอาจมีส่วนประกอบที่ทำให้เกิดอาการแพ้ หรือ เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้
  • หากเป็นยาแก้แพ้ชนิดที่ทำให้ง่วง แจ้งให้แพทย์ทราบก่อนใช้ยาถึงประวัติการป่วย และโรคประจำตัวต่าง ๆ ของลูก

ตัวอย่างผลข้างเคียงที่อาจพบได้จากการใช้ยาแก้แพ้แต่ละกลุ่ม ได้แก่

กลุ่มยาแก้แพ้ที่ทำให้ง่วง

  • ง่วงซึม และ มีปฏิกิริยาตอบสนองช้าลง
  • ตามัว หรือ น้ำตาไหล
  • ปากแห้ง
  • ปัสสาวะลำบาก
  • ท้องผูก
  • รู้สึกสับสน มึนงง กระสับกระส่าย

กลุ่มยาแก้แพ้ที่ไม่ทำให้ง่วง

  • ปวดหัว หรือ เวียนหัว
  • คลื่นไส้
  • ตาแห้ง หรือ ตามัว
  • ปากแห้ง
  • ปัสสาวะลำบาก
  • ท้องผูก
  • สภาพจิตใจเปลี่ยนแปลง

บทความที่เกี่ยวข้อง : ภูมิแพ้ ลูกเป็นภูมิแพ้ รับมือได้ยังไงบ้าง รักษาได้หรือเปล่า?

ที่มา : pobpad

 

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

9+ GOLD MOM CLINIC EP.1 สารอาหารสำคัญ & เพื่อ 1,000 วันแรก ที่สมบูรณ์ โดย พญ.นพรัตน์ ไชยบูรณะพันธ์กุล สูตินรีแพทย์ประจำ รพ. พญาไท 3

ชี้เป้า ของตัวแม่ต้องมี (10 MUST HAVE ITEMS FOR WOMAN & MOM) ช้อปสนุก หยุดไม่อยู่ ในเดือนแห่งแม่ กับ JD CENTRAL ตลอดเดือนสิงหาคม

เจดี เซ็นทรัล เอาใจคุณแม่นักช้อปด้วย แคมเปญ “Mommy Thursday ช้อปของแท้ คุณแม่มั่นใจ” พร้อมดีลเด็ด ๆ และ สินค้าราคาสุดคุ้ม ทุกวันพฤหัสบดี

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ให้ลูก กินยาโรคภูมิแพ้นาน เป็นปี อันตรายไหม แม่เป็นห่วง
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว