X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โรคลำไส้กลืนกัน..สาเหตุหนึ่งของอาการถ่ายเป็นเลือดในทารก

บทความ 3 นาที
โรคลำไส้กลืนกัน..สาเหตุหนึ่งของอาการถ่ายเป็นเลือดในทารก

น้องวี อายุ 9 เดือน คุณพ่อคุณแม่พามาพบหมอเพราะมีอาการร้องกวนเป็นพักๆ ถ่ายมีมูกเลือดปน อาเจียน เมื่อทำอัลตราซาวนด์ ก็พบว่าเป็นโรคลำไส้กลืนกัน ซึ่งโรคนี้เป็นโรคในเด็กเล็ก มักมาด้วยอาการปวดท้องเฉียบพลัน เป็นพักๆ เนื่องจากเด็กมักอยู่ในวัยที่ยังพูดไม่ได้ ทำให้ผู้ปกครองไม่ทราบว่าลูกเป็นโรคนี้ จึงต้องสังเกตจากอาการของลูกเป็นหลักนะคะ

ลำไส้กลืนกัน

โรคลำไส้กลืนกันคืออะไร?

โรคลำไส้กลืนกันเป็นโรคที่เกิดจากส่วนหนึ่งของลำไส้ซึ่งอยู่ต้นกว่าเคลื่อนตัวเข้าไปอยู่ในลำไส้ อีกส่วนหนึ่งอยู่ปลายกว่า โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน ทำให้เกิดการอุดตันของลำไส้ โรคนี้พบมากในเด็กอายุ 4-12 เดือน พบได้จนถึง 2 ขวบ มักเกิดในเด็กแข็งแรงดีมาตลอด แต่หากโรคนี้เกิดในเด็กอายุมากกว่า 2 ขวบ มักมีสาเหตุที่ทำให้ลำไส้กลืนกัน เช่น มีเนื้องอกในลำไส้

อาการของโรคลำไส้กลืนกันเป็นอย่างไร?

เมื่อเกิดโรคลำไส้กลืนกัน เด็กจะมีอาการปวดท้องเป็นพักๆ แต่เนื่องจากยังพูดไม่ได้จึงแสดงอาการเริ่มต้นออกมาเป็น ร้องกวน กระสับกระส่ายเป็นระยะ มีอาเจียนร่วมด้วย อาจอาเจียนจนมีสีเขียวของน้ำดีปนออกมา ถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือดเพราะมีส่วนของลำไส้ที่ตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง ต่อมาอาจมีไข้และเริ่มซึมลง ซึ่งบ่งว่าอาจมีการติดเชื้อแทรกซ้อน

ทราบได้อย่างไรว่าลูกเป็นโรคลำไส้กลืนกัน?

หากลูกมีอาการดังกล่าวข้างต้นคุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอ ซึ่งคุณหมอจะถามประวัติเพิ่มเติม ตรวจร่างกาย เพื่อหาตำแหน่งของก้อนที่เกิดจากลำไส้กลืนกัน โดยจะคลำพบก้อนในช่องท้อง จากนั้นคุณหมอจะส่งตรวจทำอัลตราซาวนด์ และส่งตรวจสวนลำไส้ใหญ่ด้วยสารทึบรังสี เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรค และบางครั้งอาจทำการรักษาได้ด้วยค่ะ

การรักษาโรคลำไส้กลืนกันทำได้อย่างไร?

การรักษาโรคนี้สามารถทำได้ 2 วิธี คือการผ่าตัดและการดันลำไส้ที่กลืนกันออก โดยไม่ต้องผ่าตัด ซึ่งจะเลือกใช้วิธีการใดขึ้นอยู่กับลักษณะอาการและลำไส้ที่ผิดปกติของผู้ป่วยขณะที่มารับการรักษาเป็นหลัก สำหรับการรักษาโดยการดันลำไส้คุณหมอจะใช้แรงดันผ่านทวารหนักดันลำไส้ที่กลืนกันออกโดยใช้สารทึบแสงทางเอ็กซเรย์ หรือใช้ลม แต่หากมีลำไส้กลืนกันมาเป็นเวลานานจนมีการเน่าตายของลำไส้จากการขาดเลือด หรือใช้วิธีการรักษาโดยดันลำไส้แล้วไม่สำเร็จ คุณหมอจะทำการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด

สุดท้ายนี้หมอขอฝากคุณพ่อคุณแม่ไว้นิดหนึ่งว่าหากลูกไม่ว่าช่วงวัยใด มีอาการถ่ายเป็นมูกเลือด ไม่ใช่สิ่งที่เป็นปกตินะคะ ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุ โดยเฉพาะถ้าเป็นเด็กเล็กวัยทารก ถ่ายเป็นมูกเลือด มีอาการกระสับกระส่าย และอาเจียนร่วมด้วย นอกจากลำไส้อักเสบติดเชื้อซึ่งพบได้บ่อยแล้ว อาจเป็นอาการของโรคลำไส้กลืนกันได้ค่ะ

บทความจากพันธมิตร
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง
จัดฟันแบบใส สร้างโลกสดใสให้เด็ก ๆ มีรอยยิ้มสวยมั่นใจได้มากกว่าที่คิด
จัดฟันแบบใส สร้างโลกสดใสให้เด็ก ๆ มีรอยยิ้มสวยมั่นใจได้มากกว่าที่คิด

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ประสบการณ์ตรงเมื่อลูกน้อยไส้ติ่งแตก เตือนคุณแม่อย่าชะล่าใจ

ไข้เลือดออก: โรคร้ายที่ไม่ควรมองข้าม

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • โรคลำไส้กลืนกัน..สาเหตุหนึ่งของอาการถ่ายเป็นเลือดในทารก
แชร์ :
  • โรคลำไส้กลืนกัน ความเจ็บปวดที่ลูกบอกไม่ได้

    โรคลำไส้กลืนกัน ความเจ็บปวดที่ลูกบอกไม่ได้

  • อุทาหรณ์! ลูกถ่ายเป็นมูกเลือด อย่านิ่งนอนใจ เสี่ยงป่วยลำไส้กลืนกัน

    อุทาหรณ์! ลูกถ่ายเป็นมูกเลือด อย่านิ่งนอนใจ เสี่ยงป่วยลำไส้กลืนกัน

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • โรคลำไส้กลืนกัน ความเจ็บปวดที่ลูกบอกไม่ได้

    โรคลำไส้กลืนกัน ความเจ็บปวดที่ลูกบอกไม่ได้

  • อุทาหรณ์! ลูกถ่ายเป็นมูกเลือด อย่านิ่งนอนใจ เสี่ยงป่วยลำไส้กลืนกัน

    อุทาหรณ์! ลูกถ่ายเป็นมูกเลือด อย่านิ่งนอนใจ เสี่ยงป่วยลำไส้กลืนกัน

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ