ดวงตาเป็นอีกหนึ่งอวัยวะที่สำคัญแก่ร่างกายเรามาก เพราะฉะนั้นการดูแลรักษาและสังเกตดวงตาเราว่ามีความผิดปกติหรือไม่เป็นเรื่องสำคัญ โรคตาในเด็ก พ่อแม่ควรรู้และควรสังเกตความปกติที่เกิดขึ้นนัยน์ตาของลูก เพราะหากเกิดโรคตาขึ้นและไม่ได้ทำการรักษาแต่เนิ่น ๆ อาจทำให้ลูกมองภาพไม่เห็นเป็นสามมิติ หรือมีอาการแย่ไปกว่านั้น วันนี้ theAsianparent Thailand ขอนำบทความดี ๆ มาแบ่งปันคุณพ่อคุณแม่กันค่ะ
โรคตาในเด็ก
โรคตา ในเด็ก
อาจเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ หากหนังตาตกมากจนบังรูม่านตาจะทำให้มองไม่เห็น เกิดภาวะตาขี้เกียจได้ หากหนังตาตกลงมามากจะต้องรับรักษาโดยการผ่าตัดยกหนังตาขึ้น แต่ถ้าหนังตาตกไม่มาก ไม่บังการมองเห็นก็สามารถผ่าตัดเมื่อโตขึ้นได้
เกิดจากทางเดินท่อน้ำตาที่ต้องเปิดให้น้ำตาไหลลงไปในโพรงจมูกเกิดการอุดตันและในเด็กบางคนอาจมีการติดเชื้อเป็นถุงน้ำตาและเยื่อบุตาอักเสบ ส่วนใหญ่อาการท่อน้ำตาอุดตันจะพบได้ประมาณ 30% ในเด็กทารก อาจจะเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ และจะหายเป็นปกติก่อนเด็กมีอายุ 1 ขวบ แต่ถ้าไม่หายก็ต้องได้รับการรักษา หากสังเกตว่าลูกมีอาการน้ำตาคลอเหมือนคนร้องไห้ใหม่ ๆ ลูกตาแฉะ มีขี้ตาเยอะ ควรพามาพบแพทย์ตั้งแต่เริ่มเพื่อวินิจฉัยว่าเป็นท่อน้ำตาอุดตัน หรืออาจเป็นอาการของโรคต้อหินในเด็กก็ได้
เป็นอาการที่ตาสองข้างทำงานไม่สอดคล้องกัน ไม่ได้มองไปในแนวเดียวกัน ซึ่งตาเขจะมีหลายชนิด เช่น ตาเขเข้าด้านใน ตาเขออกนอก ตาเขขึ้นบน ตาเขลงล่าง หรืออาจจะเรียกว่า ตาเหล่ ซึ่งก็เป็นอาการที่ตาไม่มองไปทางเดียวกันทั้งสิ้น สาเหตุสำคัญของโรคตาเขหรือตาเหล่ในเด็กอาจเกิดจากการทำงานผิดปกติของกล้ามเนื้อรอบๆ ลูกตา อัมพาตของเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อ ภาวะสายตาผิดปกติ และมากกว่าครึ่งหนึ่งจะตรวจพบความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิดหรือภายในอายุ 6 เดือน เมื่อพบอาการจึงควรรีบมาพบแพทย์ทันที
โรคตาขี้เกียจ (Lazy Eye) หรือโรคตามัว เป็นโรคที่ทำให้ตาของเด็กมัวลง มองเห็นได้ไม่ชัดเท่าที่ควร เป็นหนึ่งในอาการของช่วงวัยเด็กที่ระยะการมองของตาข้างใดข้างหนึ่งไม่ได้พัฒนาขึ้นตามปกติ ถ้าไม่ได้รับการตรวจรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงทีและทำได้ในช่วงที่ยังมีพัฒนาการมองเห็นได้ คือก่อนอายุ 9 ขวบ เพราะยิ่งอายุมากการกระตุ้นจะยากมากขึ้น อาจทำให้เด็กตามัวแบบถาวรได้ และจะไม่สามารถแก้ไขได้เมื่อโตขึ้น
โรคตา ในเด็ก
- สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง
หากสังเกตว่าลูกชอบหยีตาเข้าไปมองใกล้ทีวีมาก ๆ หรือสายตาข้างใดข้างหนึ่งมองชัดกว่าอีกข้าง ควรนำลูกไปพบแพทย์เพื่อวัดค่าสายตา และประกอบแว่นให้เหมาะสมกับค่าสายตาเพื่อให้ลูกใช้ชีวิตประจำวันได้สบายตา
โรคนี้อาจเกิดขึ้นได้กับทารกคลอดก่อนกำหนดหรือมีน้ำหนักน้อย ซึ่งเกิดจากการเจริญของจอประสาทตาที่ยังไม่สมบูรณ์ขณะคลอด อาจทำให้เกิดจอประสาทตาลอกหรือตาบอด ดังนั้นทารกที่มีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า 1,500 กรัม หรืออายุครรภ์น้อยกว่า 30 สัปดาห์ ควรได้รับการตรวจตาเพื่อเฝ้าระวังโรคนี้และมีการติดตามผลเป็นระยะจนกระทั่งปลอดภัย
- เยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้
ลักษณะโรคนี้จะมีอาการคันตามาก ตาแดง ตาบวม มีน้ำตาไหล และมักเป็นที่ตาทั้งสองข้าง ถ้าขยี้ตามาก ๆ จะเห็นเยื่อบุตาขาวบวมขึ้นได้ และหากมีการติดเชื้อแบคทีเรียก็จะมีขี้ตาสีเหลืองข้น อาจมีอาการแสบและเคืองตาร่วมด้วย พ่อแม่อาจจะสังเกตลักษณะอาการนี้ได้ เช่น ขณะลูกมองทีวี หรือใช้คอมพิวเตอร์แล้วชอบกะพริบตา ขยี้ตามากขึ้น หยีตามองจอ เพราะสู้แสงมากไม่ได้ สาเหตุของโรค เยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้เกิดจากเยื่อบุตามีความไวผิดปกติต่อสิ่งแปลกปลอมที่เรียกว่า “สารก่อภูมิแพ้” เช่น ไรฝุ่น เกสร หญ้า ขนสัตว์ และเกิดจากสิ่งแวดล้อมบางอย่าง เช่น ฝุ่นละออง สารเคมีในสระว่ายน้ำ เป็นต้น
เนื่องจากเด็กไม่สามารถบอกความผิดปกที่เกิดขึ้นกับตนเองได้เหมือนผู้ใหญ่ ดังนั้นพ่อแม่จึงควรสังเกตความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น หากพบตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็ควรรีบไปแพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการและรับการรักษา
โรคตาในผู้ใหญ่
ในคนปรกติทั่วไปในช่วงอายุ 20-40 ปี มักไม่พบความผิดปรกติของดวงตา นอกจากที่เกิดจากอุบัติเหตุหรือจากการทำงานที่มีสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม มีการใช้สายตาไม่ถูกสุขลักษณะ หรือละเลยการป้องกันผลกระทบที่เกิดจากการทำงาน ( Occupational hazard ) อาการที่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ อาการตาล้า ปวดกระบอกตา ปวดศีรษะ ตาพร่ามัวบางครั้ง อาการดีขึ้นหลังพักสายตา พบในคนที่มีการใช้สายตามาก ต้องจ้องมองอะไรระยะเดียวนาน ๆ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ ดูโทรทัศน์ , จอมอนิเตอร์ต่าง ๆ อ่านหนังสือ หรือขับรถ ขณะที่มีอาการอาจไม่สัมพันธ์กับการใช้สายตาขณะนั้นก็ได้ เป็นอาการที่เกิดจากภาวะตาล้า ( Eye strain ) หรือกลุ่มอาการที่เป็นผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ ( Computer vision syndrome )
อาการแสบเคืองตา น้ำตาไหล สู้แสงลำบาก รู้สึกตาแห้งไม่สบายตา มักมีอาการช่วงที่มีการใช้สายตาต่อเนื่องนาน อยู่ในที่อากาศแห้งเย็น เช่น ในศูนย์การค้าห้างสรรพสินค้า ขณะขับรถ หรืออยู่กลางแจ้งที่มีลมแสงแดดมาก เวลาหลับ ตาหรือกระพริบตาถี่ๆจะดีขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะอาการของภาวะตาแห้ง ( Dry eye ) หรือโรคที่ผิวเยื่อบุตา เช่น ต้อลม ( Pingecula ), ต้อเนื้อ ( Pterygium ) เป็นต้น
ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ควรได้พบจักษุแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปรกติที่ตา และขอคำแนะนำในการดูแลสุขภาพตาตั้งแต่แรกที่รู้ตัวว่าป่วยเป็นโรคเบาหวาน และควรเข้ารับการตรวจติดตามเป็นระยะตามที่แพทย์นัด เนื่องจากโรคเบาหวานขึ้นตา ( Diabetic retinopathy ) เป็นสาเหตุสำคัญของภาวะตาบอดในผู้ใหญ่วัยทำงาน
โรคตาในเด็ก
ในผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปจะเริ่มมีปัญหาในการมองวัตถุระยะใกล้ไม่ชัด หรือที่เรียกว่ามีภาวะสายตายาวจากอายุ ( Presblyopia ) ซึ้งถือว่าเป็นภาวะเสื่อมอย่างหนึ่งของร่างกาย ดังนั้นในผู้ใหญ่ตั้งแต่อายุวัยนี้เป็นต้นไป จะเริ่มมีโอกาสที่จะเกิดความผิดปรกติของตาจากภาวะเสื่อมของร่างกายได้มากขึ้นเรื่อ ยๆ ตามอายุ จึงควรได้รับการตรวจสุขภาพตาอย่างสม่ำเสมอทุก 2-3 ปี และในผู้มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไปควรได้รับการตรวจสุขภาพตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โรคตาสำคัญที่เป็นสาเหตุของตาบอดในผู้ใหญ่ ได้แก่
1. ต้อกระจก ( Cataract )
2. ต้อหิน ( Glaucoma )
3. โรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ( Diabetic retinopathy )
4. จอประสาทตาฉีกขาดและหลุดลอก ( Retinal detachment )
5. จอประสาทตาเสื่อม ( Age related macular degeneration )
theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
Source : insurancethai
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
โรคชิคุนกุนยาระบาด โรคติดต่อที่มากับยุง เตือนพ่อแม่ให้ระวังลูกน้อยในช่วงนี้!!
ลูกเป็นสมาธิสั้นทำยังไง? กิจกรรมแก้โรคสมาธิสั้น ไม่อยู่นิ่ง ซุกซน
เช็คRSV อาการ เป็นอย่างไร ต่างกับหวัดอย่างไร? มาดูไปพร้อมกันนะคะ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!