Progeria หรือ โรคชราในเด็ก คือโรคอะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร และ จะสามารถรักษา หรือป้องกันการเกิดของโรคนี้ได้อย่างไร ในขณะที่หลายคนพยายามค้นหาวิธี ที่จะลดอายุตัวเอง ให้มีร่างกายที่แข็งแรง รูปร่างหน้าตา และ ผิวพรรณเปล่งปลั่ง อยู่ตลอดเวลา แต่ ยังมีคนจำนวนหนึ่ง ในโลกใบนี้ ที่กำลังเผชิญ โรคชราในเด็ก ความทรมาน จากการที่เกิดมาแล้ว ไม่ได้สัมผัสถึงความเป็นวัยรุ่น เลยแม้แต่น้อย ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกาย หรือจิตใจ นั้นคือผู้ป่วยโรค “คนแก่ในเด็ก” หรือ โรคโพรเจอเรอ
โพรเจอเรีย
สาเหตุของโรคความชราในเด็ก
โรคความชราในเด็ก หรือ โรคโพรเจอเรีย ปัจจุบัน ยังไม่สามารถระบุสาเหตุ ของการเกิดที่แน่ชัดได้ ทราบแต่เพียงว่า เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ ที่เกิดการเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วกว่าปกติ ซึ่งอาจจะไม่ได้มีความเกี่ยวเนื่องจากพันธุกรรมของพ่อแม่แต่อย่างใด แต่ก็มีความเป็นไปได้ หากในครอบครัวมีประวัติการเป็นโรคนี้อยู่ด้วย นั่นคือ ผู้เป็นพ่อแม่ อาจสมบูรณ์แข็งแรงดี ไม่มีความผิด ปกติอะไรเลย แต่ลูกก็อาจเป็นโรคนี้ได้
โรคโพรเจอเรีย พบได้น้อยมากเพียง 1 ใน 8 ล้านคนทั่วโลก โดย 90% ของเด็กที่ป่วย เป็นโรคนี้เกิดจากการมิวเทชั่นของยีน Lmna ทำให้การสังเคราะห์โปรตีน laminA ผิดปกติ เซลล์ในร่างกายจะเสื่อมสภาพตัวเร็วกว่าคนปกติ
อาการของโรคความชราในเด็ก
โรคความชราในเด็ก หรือ โรคโพรเจอเรีย จะทำให้ผู้ป่วย มีพัฒนาการในการเจริญเติบโต ที่ช้ากว่าปกติมาก หรือพูดง่าย ๆ คือเกิดมาก็เริ่มแก่เลย อาการที่แสดงให้เห็นชัด ได้แก่
– มีการเจริญเติบโตช้ามาก รูปร่าง แคระแกรน เตี้ย น้ำหนักน้อย แก่เร็ว และเหนื่อยง่าย
– ผิวหนังเหี่ยวย่น รูปร่างหน้าตาแก่กว่าอายุจริงมาก เสียงแหลมเล็ก
– กะโหลกศีรษะบาง ไม่ได้สัดส่วน ใบหน้า และ ขากรรไกรมีขนาดเล็กกว่าปกติ
– เส้นผม และ ขนตามร่างกายหลุดล่วง ฟันขึ้นช้า และ หลุดง่าย เล็บผิดปกติ เช่น เล็บบาง กุดสั้น หรืออาจจะไม่ทีเล็บ มีภาวะกระดูกบาง และมักปวดตามข้อ
– มักเสียชีวิตด้วยวัยเฉลี่ยประมาณ 13 ปี จากความผิดปกติ ของระบบหัวใจ และ ระบบอัยวะอื่นๆ ที่เสื่อมสภาพลง เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว และ โรคหลอดเลือดแดง ในสมองแข็งตัว เป็นต้น
การรักษาโรคความชราในเด็ก
ปัจจุบัน ยังไม่สามารถ หาวิธีรักษาโรคโพรเจอเรียได้ 100% ทำได้เพียง ประคับประคองอาการ และ สุขภาพโดยรวม ของผู้ป่วยไปเรื่อย ๆ หรือการทำ Lmna testing เพื่อตรวจดู ในระดับโมเลกุล ของหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ แม้ว่าผู้ป่วยโรคนี้ จะแตกต่างกันทางเชื้อชาติ แต่มักจะเสียชีวิตในช่วงอายุ 8 – 21 ปี หรือเฉลี่ยอายุประมาณ 13 ปี แต่ก็พบเห็นผู้ป่วยโรคโพรเจอเรีย ที่มีอายุมากกว่าค่าเฉลี่ยอยู่บ้างเล็กน้อย แต่ส่วนใใหญ่จะไม่เคยเกิน 30 ปี
ในระหว่างผู้ป่วย ยังมีชีวิตอยู่ แพทย์ให้คำแนะนำ ในการดูแลผู้ป่วยว่า ให้ปฏิบัติ ต่อผู้ป่วย เหมือนเป็นเด็กทั่ว ๆ ไป ให้ผู้ป่วยได้ใช้ชีวิต เหมือนกับเด็กทั่วไปให้มากที่สุด จะเป็นการช่วยเยียวยารักษา และให้กำลังใจ ผู้ป่วยได้มากที่สุด
theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และ สังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุด ในประเทศ และเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้ แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ ให้คุณแม่ ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตาม พัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอด ที่ครอบคลุมที่สุด และผู้ใช้งานสูงสุด ในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพ แม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ :
เด็กป่วยโรคประหลาดเลือดออกตามตัว ทั้งที่ไม่มีแผล
หญิงสาวโพสเตือน ประสบการณ์หวิดดับที่เกิดขึ้นเพียงแค่หวีผมให้น้องสาว
Pica โรคประหลาด ทำเด็กกินทุกอย่าง ยกเว้นอาหาร!
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!