X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกไข้สูง มีแผลในปาก กินข้าวไม่ได้ ระวัง เฮอร์แปงใจน่า ไม่มียารักษา

บทความ 3 นาที
ลูกไข้สูง มีแผลในปาก กินข้าวไม่ได้ ระวัง เฮอร์แปงใจน่า ไม่มียารักษา

เฮอร์แปงไจน่า โรคระบาดพบบ่อยในเด็ก ไม่มียารักษา พ่อแม่โปรดระวัง อย่าชะล่าใจ...รีบไปพบหมอด่วน

เฮอร์แปงไจน่า เป็นอย่างไร

ทุกวันนี้ โรคระบาดที่ติดต่อกันโดยเฉพาะในเด็กเล็กมีอยู่เต็มไปหมด บางโรคก็เป็นโรคที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี ในขณะที่อีกหลายโรคก็อาจจะไม่ค่อยคุ้นเคย อย่างเช่น เฮอร์แปงใจน่า ซึ่งโรคนี้เป็นโรคติดเชื้อจากไวรัส ชนิดเดียวกับโรคมือเท้าปาก ซึ่งเป็นกลุ่มของ เอนเตอโรไวรัส (Enterovirus)

อาการของโรคเฮอร์แปงไจน่านั้น คล้ายกับโรคมือเท้าปาก แต่มีอาการที่แตกต่างกันคือ จะมีแผลเฉพาะที่ปากเท่านั้น ขณะที่มือเท้าปาก นอกจากจะมีแผลที่ปากแล้วจะมีผื่นขึ้นที่ฝ่ามือและฝ่าเท้าด้วย และไข้จะไม่สูงเท่ากับโรคเฮอร์แปงใจน่า

กลุ่มเสี่ยงของโรคเฮอร์แปงไจน่าส่วนมากจะเป็นเด็กอายุน้อยกว่า 10 ขวบ และมักจะพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเด็กที่อยู่รวมกันในโรงเรียนอนุบาล มักเล่นของเล่นรวมกัน หยิบจับสิ่งของรวมกัน จึงมีโอกาสติดต่อได้ง่าย โดยตัวเชื้อจะอยู่ได้นานในอากาศเย็นและชื้น จึงระบาดมากในฤดูฝน แต่ก็สามารถพบได้ในทุกฤดู

อาการของโรค เฮอร์แปงใจน่า

เฮอร์แปงใจน่า เป็นโรคที่สามารถติดต่อได้ผ่านทางน้ำมูก น้ำลาย ไอ จาม หรือจากการคลุกคลีกับผู้ป่วย แล้วสัมผัสกับน้ำลาย น้ำมูก อุจจาระ ของผู้ป่วย โดยมีอาการของโรค ได้แก่

  • มีแผลในช่องปากบริเวณเพดานอ่อน ลิ้นไก่ ต่อมทอนซิล และในโพรงคอหอยด้านหลัง
  • มีไข้สูงประมาณ 5-40 องศาเซลเซียส
  • เด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้ สามารถทานอาหารได้ทุกอย่าง แต่ถ้าเด็กคนไหนเป็นมาก จะไม่ยอมทาน ไม่ยอมกลืนอาหาร

เฮอร์แปงไจน่า

โรคเฮอร์แปงใจน่า มีวิธีรักษาอย่างไร

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังสี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรคเฮอร์แปงใจน่าไว้ว่า เนื่องจากโรคเฮอร์แปงไจน่าเกิดจากการติดเชื้อไวรัส จึงไม่มียาที่ใช้รักษาได้จำเพาะเจาะจง โดยการดูแลผู้ป่วยจะใช้การรักษาตามอาการ ได้แก่

  • การเช็ดตัวลดไข้ ทานยาแก้ปวดลดไข้ เพื่อบรรเทาอาการไข้และการเจ็บแผลในปาก
  • หยดยาชาในปากเพื่อลดอาการเจ็บแผลในปากก่อนทานอาหาร
  • ทานอาหารอ่อน ไม่ควรทานอาหารร้อนจัดเพราะอาจกระตุ้นให้เจ็บแผลในปากได้
  • อาจดื่มนมเย็น หรือไอศกรีมได้ เพราะเนื่องจากความเย็นทำให้ชา ไม่เจ็บเวลากลืนและควรดื่มน้ำมาก ๆ

หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง คือ ไข้สูงลอย กินอาหารไม่ได้ มีอาการขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ตาโหล ปัสสาวะออกน้อยและมีสีเข้มผิดปกติ ควรรีบไปพบคุณหมอ เพื่อรับการตรวจรักษาแยกจากโรคอื่น ๆ เช่น โรคมือเท้าปาก หรือการติดเชื้อแบคทีเรียในลำคอ

จะป้องกันไม่ให้ลูกเป็นโรคเฮอร์แปงใจน่าได้อย่างไร

เนื่องจากโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเดียวกับโรคมือเท้าปาก และวิธีการติดต่อก็เหมือนกัน การป้องกันโรคจึงใช้หลักการเดียวกัน ได้แก่

  • พยายามให้อยู่ห่างคนที่มีเชื้อเอาไว้ หากลูกไม่สบายควรให้หยุดเรียน
  • เมื่อมีการระบาดของโรคไม่ควรนำเด็กเข้าไปในที่แออัด
  • ไม่ใช้ข้าวของเครื่องใช้ของเด็กแต่ละคนปะปนกัน
  • ปลูกฝังนิสัยให้ลูกใส่ใจเรื่องสุขอนามัยอยู่เสมอ ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้งด้วยสบู่และน้ำสะอาด

นอกจากนี้แล้ว ทางโรงเรียนควรหมั่นทำความสะอาดของเล่นต่าง ๆ เพราะอาจปนเปื้อนน้ำลาย น้ำมูก หรือสิ่งขับถ่ายของเด็กจนอาจทำให้เกิดการติดต่อได้ อีกทั้งยังควรมีการสอบถามประวัติอาการเด็กรวมทั้งตรวจร่างกายเพื่อคัดกรองเด็กป่วยที่หน้าโรงเรียนทั้งอาการไข้ และตุ่มน้ำที่ปาก ผื่นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ในช่วงที่มีการระบาดของโรค

คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับลูกอยู่เสมอ หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นความผิดปกติต่าง ๆ ก็อย่านิ่งนอนใจ และหากมีความกังวล หรือสงสัย ให้รีบปรึกษาคุณหมอทันทีนะครับ


รูปภาพจาก diseasespictures.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

พ่อแชร์ สาเหตุที่เกือบต้องสูญเสียลูก เพราะ RSV ที่กำลังระบาด

มันมาอีกแล้ว โรคมือเท้าปาก ระบาดต่อเนื่อง ผู้ปกครองและครู ต้องระวัง

เกือบไปแล้ว! ลูกของฉันพัฒนาการถดถอย จนเกือบเป็นออทิสติก

parenttown

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ลูกไข้สูง มีแผลในปาก กินข้าวไม่ได้ ระวัง เฮอร์แปงใจน่า ไม่มียารักษา
แชร์ :
  • เฮอร์แปงไจน่า โรคตุ่มแผลในปากเด็ก ที่ไม่น่าไว้วางใจ ระบาดง่าย ติดง่าย น่ากลัว!!

    เฮอร์แปงไจน่า โรคตุ่มแผลในปากเด็ก ที่ไม่น่าไว้วางใจ ระบาดง่าย ติดง่าย น่ากลัว!!

  • เด็กป่วยหน้าฝน RSV ไข้หวัดใหญ่ เฮอร์แปงไจน่า โรคหน้าฝนที่ทารกเด็กเล็กต้องระวัง

    เด็กป่วยหน้าฝน RSV ไข้หวัดใหญ่ เฮอร์แปงไจน่า โรคหน้าฝนที่ทารกเด็กเล็กต้องระวัง

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

    การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

  • เฮอร์แปงไจน่า โรคตุ่มแผลในปากเด็ก ที่ไม่น่าไว้วางใจ ระบาดง่าย ติดง่าย น่ากลัว!!

    เฮอร์แปงไจน่า โรคตุ่มแผลในปากเด็ก ที่ไม่น่าไว้วางใจ ระบาดง่าย ติดง่าย น่ากลัว!!

  • เด็กป่วยหน้าฝน RSV ไข้หวัดใหญ่ เฮอร์แปงไจน่า โรคหน้าฝนที่ทารกเด็กเล็กต้องระวัง

    เด็กป่วยหน้าฝน RSV ไข้หวัดใหญ่ เฮอร์แปงไจน่า โรคหน้าฝนที่ทารกเด็กเล็กต้องระวัง

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

    การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ