X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เรื่องนี้แม่ต้องรู้ ว่ายน้ำในสระไม่ได้มาตรฐานอาจเสี่ยง ลูกฟันกร่อน

บทความ 3 นาที
เรื่องนี้แม่ต้องรู้ ว่ายน้ำในสระไม่ได้มาตรฐานอาจเสี่ยง ลูกฟันกร่อน

เมื่อพูดถึงเรื่อง "ฟันกร่อน" ของลูกกับ "การว่ายน้ำ" หลายคนอาจจะงงว่ามันเกิดขึ้น และเกี่ยวข้องกันได้ยังไง เราได้คำตอบดีๆจากคุณหมอต๊กตา เพจฟันน้ำนมมาบอกเล่าคุณแม่กันค่ะ เผื่อบ้านไหนเจ้าตัวเล้กชอบว่ายน้ำเป็นชีวิตจิตใจ เราจะได้มีทางป้องกันก่อนจะสาย

ฟันกร่อนคืออะไร?

ฟันสึกกร่อน (tooth erosion) คือ การสูญเสียเนื้อฟันจากกระบวนการทางเคมีเกิดขึ้นจากกรด ซึ่งเกิดจากการรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีความเป็นกรด หรือเกิดจากฟันสัมผัสกับไอระเหยของกรดในบรรยากาศ หรือเกิดจากปัจจัยภายใน เช่น กรดในกระเพาะอาหาร หรือกัดกร่อนจากกรดภายนอกที่เข้ามาผ่านการรับประทาน เช่นอาหารที่มีกรดสูง

เรื่องนี้แม่ต้องรู้ ว่ายน้ำในสระไม่ได้มาตรฐานอาจเสี่ยง ลูกฟันกร่อน

ทำไมลูกไปว่ายน้ำแล้วถึงฟันกร่อนได้

เรื่องนี้มีคำตอบค่ะ โดยคุณหมอต๊กตา จากเพจ ฟันน้ำนม ได้อธิบายไว้ในเพจ เราขอนำเอาบทความของคุณมอมาบอกต่อแม่ๆกันค่ะ

จากรูปเป็นฟันของเด็กชายอายุ 9 ขวบ น้องเป็นนักกีฬาว่ายน้ำของโรงเรียน ซ้อมว่ายน้ำทุกวัน วันละ 2 ชั่วโมงเป็นเวลาเกือบ 2 ปี โดยคุณยายพาน้องมาพบหมอฟันเนื่องจากน้องเสียวฟัน (เห็นฟันน้องแล้วหมอยังเสียวฟันตามไปด้วยเลยค่ะเพราะน้องฟันกร่อนมาก ๆ แทบทุกซี่)

ปัจจุบันพบเด็กฟันกร่อนจากการว่ายน้ำเป็นจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะเด็กที่เป็นนักกีฬาว่ายน้ำต้องฝึกซ้อมว่ายน้ำในสระว่ายน้ำเป็นเวลาติดต่อกันหลายชั่วโมงทุกวันต่อเนื่องเป็นปี สาเหตุที่ทำให้เด็กฟันกร่อนจากการว่ายน้ำคือคลอรีนในสระว่ายน้ำที่ไม่ได้มาตรฐานค่ะ ตามข้อบังคับกรุงเทพมหานครในการจัดตั้งสระว่ายน้ำ พ.ศ. 2530 กำหนดให้ค่ากรดด่างอยู่ในช่วง 7.2 – 8.4 และต้องตรวจวัดทุกวัน เมื่อน้ำมีภาวะความเป็นกรดมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผู้ดูแลสระว่ายน้ำจะต้องเติมโซเดียมไบคาร์บอเนตเพื่อปรับสมดุลของน้ำให้เหมาะสม

โดยทั่วไปแล้วเด็กที่ฟันแท้ซี่หน้าเพิ่งขึ้น (วัย 7-8 ขวบ) จะมีความเสี่ยงทำให้ฟันกร่อนจากการว่ายน้ำในสระว่ายน้ำที่มีความเป็นกรดมากเกินมาตรฐาน เพราะฟันแท้ที่เพิ่งขึ้นมาในช่องปากจะยังไม่แข็งแรง

เรื่องนี้แม่ต้องรู้ ว่ายน้ำในสระไม่ได้มาตรฐานอาจเสี่ยง ลูกฟันกร่อน

ฟันกร่อนจากการว่ายน้ำป้องกันได้

1. เลือกใช้บริการสระว่ายน้ำที่ได้มาตรฐาน มีการควบคุมค่ากรดด่างในน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม (สระน้ำเกลือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งค่ะ)
2. หากต้องฝึกซ้อมว่ายน้ำเป็นประจำ (นักกีฬาว่ายน้ำ) ควรพบทันตแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการทำเฝือกยางครอบฟันตอนว่ายน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้ฟันสัมผัสกับน้ำมากนัก
3. ปรึกษาทันตแพทย์ในการใช้น้ำยาบ้วนปากฟลูออไรด์ โดยควรอมน้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์หลังว่ายน้ำเสร็จและงดน้ำงดอาหารครึ่งชั่วโมงเป็นอย่างน้อย
4. ห้าม!!! แปรงฟัน เคี้ยวอาหารกรอบแข็ง หรือดื่มเครื่องดื่มที่เป็นกรด (เช่นน้ำอัดลม น้ำส้ม) ทันทีหลังจากว่ายน้ำเสร็จ เพราะจะยิ่งขัดถูให้ฟันสึกกร่อนมากขึ้น ควรทิ้งระยะประมาณ 1-2 ชั่วโมงหลังว่ายน้ำ
5. พบหมอฟันเพื่อตรวจฟันเป็นประจำทุก 3-6 เดือน
6. หากมีอาการเสียวฟันแล้วควรพบทันตแพทย์เพื่อปรึกษา (ทันตแพทย์อาจเคลือบฟลูออไรด์ ทำเฝือกยางครอบฟันเพื่อช่วยลดอาการเสียวฟัน ลดความรุนแรงของฟันกร่อน ส่วนฟันที่กร่อนไปแล้วนั้นอาจทำวีเนียร์หรือครอบฟันในอนาคตค่ะ)

เรื่องสุขภาพฟันของลูกนั้นสำคัญไม่แพ้เรื่องอื่นๆเลยนะคะ ในเคสที่เรานำมาเสนอจะเป็นเรื่องของฟันกร่อนในเด็กที่เริ่มมีฟันแท้ขึ้น แต่ถึงแม้จะเป็นภาวะฟันกร่อนในฟันน้ำนมก็สำคัญไม่แพ้ฟันแท้ เพราะภาวะฟันกร่อนนั่นนอกจากจะทำให้สุขภาพช่องปากโดยรวมของลูกเสียไปแล้ว ยังส่งผลต่อพัฒนาการทางร่างกาย การรับประทานอาหาร และความมั่นใจอีกด้วย

ที่มา

https://www.facebook.com/thaimilkteeth/

 

บทความจากพันธมิตร
เด็กสมาธิสั้น ดื้อ ซน อารมณ์รุนแรง มีโอกาสรักษาหายไหม?
เด็กสมาธิสั้น ดื้อ ซน อารมณ์รุนแรง มีโอกาสรักษาหายไหม?
เด็กดื้อ เด็กซน ใช่อาการเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ โรคสมาธิสั้น คืออะไร ทำไมต้องรีบพาลูกไปรักษา
เด็กดื้อ เด็กซน ใช่อาการเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ โรคสมาธิสั้น คืออะไร ทำไมต้องรีบพาลูกไปรักษา
รวม 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษระดับแนวหน้า ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย พร้อมเทคนิคเรียนดีที่ไม่ควรพลาด!
รวม 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษระดับแนวหน้า ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย พร้อมเทคนิคเรียนดีที่ไม่ควรพลาด!
เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School
เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

daawchonlada

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • เรื่องนี้แม่ต้องรู้ ว่ายน้ำในสระไม่ได้มาตรฐานอาจเสี่ยง ลูกฟันกร่อน
แชร์ :
  • คนท้องฟันผุ เพราะลูกในท้องแย่งแคลเซียมใช่ไหม ?

    คนท้องฟันผุ เพราะลูกในท้องแย่งแคลเซียมใช่ไหม ?

  • ลูกว่ายน้ำได้ตอนไหน? มาดูกันเถอะว่าจะพาลูกไปว่ายน้ำเสริมทักษะได้ตอนไหน?

    ลูกว่ายน้ำได้ตอนไหน? มาดูกันเถอะว่าจะพาลูกไปว่ายน้ำเสริมทักษะได้ตอนไหน?

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • คนท้องฟันผุ เพราะลูกในท้องแย่งแคลเซียมใช่ไหม ?

    คนท้องฟันผุ เพราะลูกในท้องแย่งแคลเซียมใช่ไหม ?

  • ลูกว่ายน้ำได้ตอนไหน? มาดูกันเถอะว่าจะพาลูกไปว่ายน้ำเสริมทักษะได้ตอนไหน?

    ลูกว่ายน้ำได้ตอนไหน? มาดูกันเถอะว่าจะพาลูกไปว่ายน้ำเสริมทักษะได้ตอนไหน?

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ