theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • Project Sidekicks
    • การตั้งครรภ์
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • การสูญเสียทารก
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • สุขภาพ
    • อาการป่วย
    • วัคซีน
    • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ความปลอดภัย
    • มุมคุณพ่อ
  • การศึกษา
    • ข่าวการศึกษา
    • คลีนิกพัฒนาการ
    • เตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน
    • โรงเรียนอนุบาล
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • งานบ้าน
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ดวงและราศี
    • ดารา-แฟชั่น
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ฟิตเนส
    • อีเว้นท์
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง

เมื่อทาสหมา - แมวมีบุตร

บทความ 5 นาที
แชร์ :
•••
เมื่อทาสหมา - แมวมีบุตร

ทาสหมา - แมว หลาย ๆ คนอาจจะกลุ้มใจ และกุมขมับกันอยู่เมื่อตั้งครรภ์ แล้วจะเลี้ยงเจ้าเหมียว เจ้าโฮ่งได้ไหมนะ ครั้นจะไม่เลี้ยง หรือเอาไปปล่อยก็ทำใจไม่ได้อีก แถมยังกลายเป็นภาระสังคมอีกด้วย เราก็เลยหาทางออกพร้อมการปรับตัว และการใช้ชีวิตในสภาพแวดล้อมใหม่ เมื่อทาสหมา - แมวมีบุตร เพื่อให้ทุกคนในบ้านได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขมาฝากกันค่ะ

 

คนเราตอนยังไม่มีลูกอยู่กันสองคนมันก็เหงานะ หลายคนก็เลยต้องมีสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อน และสัตว์เลี้ยงยอดนิยมของคนเรา ก็เห็นจะเป็นหมา ๆ แมว ๆ นี่แหละค่ะ แล้ว เมื่อทาสหมา - แมวมีบุตร ล่ะ จะทำยังไงดีนะ

 

 

ปัญหาที่มักเจอเมื่อทาสอย่างเราตั้งครรภ์

 

  • ผู้หวังดีรอบข้าง พอท้องแล้วนี่สิ คนหวังดีรอบตัวช่างเยอะเหลือเกิน เดี๋ยวพูดอย่างโน้นอย่างนี้มากมาย ยิ่งฟังมากก็ยิ่งจิตตก ยิ่งฟังก็ยิ่งสับสน จนบางครั้งจากความสับสน กลับกลายเป็นความเครียดไปซะอย่างนั้น

 

  • กังวลเรื่องเชื้อโรค สำหรับน้องหมา คุณอาจจะต้องใส่ใจในการทำความสะอาดตัวน้องมากยิ่งขึ้น อาจจะต้องให้น้องอยู่ในระบบปิดมากกว่าเดิม ไม่ออกไปเพ่นพ่านข้างนอก หากออกไป ก็ควรจะทำความสะอาดให้เรียบร้อยเมื่อกลับเข้าบ้าน

ส่วนน้องแมว แม้ว่าแมวเป็นสัตว์ที่สะอาด ดูแลตัวเองเป็นอย่างดี ขับถ่ายเป็นที่เป็นทาง แต่แมว ก็ยังคงเป็นแมว ปัญหาที่น่ากังวลจากน้องแมวคือ พยาธิที่เกิดขึ้นในแมวและมีผลกับคน ก็คือเชื่อที่ชื่อว่า "ท็อกโซพลาสโมซิส" เพราะแมวเป็นพาหะของเชื้อนี้ ซึ่งจะมีผลกับระบบทางเดินอาหาร และสามารถส่งต่อถึงรกเด็กด้วยเช่นกัน

 

เมื่อทาสหมา - แมวมีบุตร

 

 

 

เชื้อท็อกโซพลาสโมซิส

 

ถ้าคุณแม่ติดเชื้อนี้ส่วนมากจะไม่มีอาการมากมายอะไร แต่อาจจะมีอาการไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อได้บ้าง แต่ถ้าหากคุณแม่ติดเชื้อในช่วงอายุครรภ์ได้ประมาณ 10 - 24 สัปดาห์ จะทำให้เกิดความพิการในเด็กได้ประมาณ 5 - 6 % ซึ่งจะส่งผลให้ทารก จะมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ หรือคลอดก่อนกำหนด มีความผิดปกติของตา ภาวะปัญญาอ่อน หรือผิดปกติทางสมองได้ แต่หากพ้นช่วงอายุครรภ์ที่กล่าวไว้แล้ว ความเสี่ยงก็จะน้อยลงค่ะ

 

ดังนั้น ช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์อยู่ คุณสามีจะต้องรับหน้าที่ดูแลน้องแมวอย่างเต็มที่ไปก่อนเพื่อความปลอดภัย  เช่น พาแมวไปหาสัตวแพทย์เพื่อฉีดวัคซีน ถ่ายพยาธิให้ครบถ้วนตามมาตรฐาน ทำความสะอาดกระบะทรายแมว และเช็ดทำความสะอาดแมว อย่างสม่ำเสมอ

 

ตัวคุณแม่เองก็จะต้องระมัดระวังมากยิ่งขึ้น ด้วยการล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบอาหารเข้าปาก กินอาหารร้อน และปรุงสุกทุกครั้ง เมื่ออุ้มแมว หรือเล่นกับแมว ก็จะต้องล้างมือหลังจากเล่นกับแมว หรืออุ้มแมว กระบะทราย ก็ควรให้คนอื่นดูแลไปก่อน และควรเก็บกวาดบ้านทำความสะอาดเป็นอย่างดี ถูพื้นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคบ่อย ๆ แบ่งพื้นที่ Safe Zone ไม่ให้แมวเข้าไปในพื้นที่บางจุด เช่น ห้องนอนคุณแม่ และห้องครัว เพียงเท่านี้ คุณก็สามารถอยู่ร่วมกับน้องหมา น้องแมว ได้อย่างปลอดภัยไร้กังวล กันแล้วค่ะ

 

ข่าวดี: หากคุณเลี้ยงแมวมาระยะหนึ่งแล้ว คุณมีแนวโน้มที่จะมีภูมิคุ้มกันต่อโรคท็อกโซพลาสโมซิส เนื่องจากคุณอาจติดเชื้อมาบ้างแล้วเหมือนอย่างที่เจ้าของแมวส่วนใหญ่เคยเป็น ซึ่งร่างกายของคุณ จะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นเองโดยอัตโนมัตินั่นเอง

 

 

เมื่อทาสหมา - แมวมีบุตร

 

 

5 วิธี ที่จะต้องให้ความสำหรับคุณ และลูกน้อย

 

  • กล่องขยะ

การเปลี่ยนกระบะทรายสำหรับแมว เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อคุณตั้งครรภ์ นั่นเป็นเพราะอุจจาระแมว มีพยาธิที่ทำให้เกิดโรคท็อกโซพลาสโมซิส ซึ่งเป็นพาหะ ที่สามารถแพร่กระจายสู่คนได้ Toxoplasmosis เป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญในระหว่างตั้งครรภ์ เพราะมันสามารถข้ามรก และเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ของคุณ ดังนั้นในช่วงนี้ คุณพ่อบ้าน ก็จำเป็นจะต้องช่วยดูแลไปพลาง ๆ ก่อนนะคะ และควรสวมถุงมือทุกครั้งเวลาที่ทำความสะอาดค่ะ

 

 

  • ขนสร้างความหงุดหงิด

หากคุณแม่เป็นคนรักสัตว์ แต่ก็เป็นโรคภูมิแพ้ด้วย จะทำอย่างไรดี สิ่งแรกคุณควรปรึกษาแพทย์ค่ะ ว่ามียาแก้แพ้ชนิดไหนบ้างที่คุณจะสามารถใช้ได้ ในช่วงระหว่างตั้งครรภ์ และยาประเภทไหนที่คุณควรหลักเลี่ยง

 

คุณจะไม่มีทางรู้เลยว่าลูกน้อยของคุณเมื่อเกิดมาจะแพ้สัตว์เลี้ยง หรือไม่ แต่สิ่งที่น่าสนใจ คือจากหลายบทวิจัยมีการบ่งชี้ว่า  เด็กที่เติบโตมาพร้อมกับสัตว์เลี้ยง จะมีโอกาสน้อยมากที่จะมีอาการแพ้ นั่นหมายถึง ร่างกายเด็ก จะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาโดยอัตโนมัติ เพื่อให้สามารถอยู่ในสภาพแวดล้อมของเขาได้นั่นเอง แต่หากคุณสงสัยว่าทารกน้อยของคุณมีอาการแพ้สัตว์เลี้ยงของคุณหรือไม่ คุณสามารถปรึกษากับกุมารแพทย์ได้เช่นกันค่ะ

 

 

เมื่อทาสหมา - แมวมีบุตร

 

 

  • ปรสิตประหลาด และไวรัสที่น่ากลัว

หนูแฮมสเตอร์ หนูตะเภา และหนูทั่วไป สามารถติดเชื้อไวรัสที่เรียกว่า lymphocytic choriomeningitis (LCMV) ซึ่งเชื้อนี้อาจจะทำให้เกิดข้อบกพร่องอย่างรุนแรง และอาจส่งผลทำให้เกิดความบกพร่องทางร่างกายของเด็ก และอาจจะส่งผลทำให้เกิดการแท้งบุตรได้ ดังนั้นความสะอาดภายในบ้าน จึงจะต้องใส่ใจมากเป็นเท่าตัวเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ค่ะ

 

 

  • สิ่งที่คาดไม่ถึง

โดยรวมแล้ว น้องหมาไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์มากนัก นอกจากช่วงเวลาที่เล่นกับน้องหมา ที่คุณจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะน้องหมาของคุณ อาจจะไม่เล็กสมชื่อก็เป็นได้ บางตัว เมื่อยืนเต็มที่ อาจจะสูงใหญ่กว่าก็มีเยอะ ดังนั้นคุณจะต้องระวังช่วงที่น้องหมาของคุณ จะโถมตัว กระโดดใส่ด้วยความตื่นเต้นดีใจ จนอาจจะเกิดอาการบาดเจ็บที่ท้อง

 

วิธีป้องกัน ไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น คุณอาจจะพาเขาไปเข้าคอร์สฝึกอบรม ในการฟังคำสั่ง หรือการควบคุมความประพฤติ ที่อาจจะทำให้เกิดอันตรายกับครรภ์คุณแม่ได้

 

ในทางตรงกันข้าม หากน้องหมาคุณ มีสัญชาตญาณความเป็นแม่ในตัวของมันแล้ว คุณจะรู้สึกประหลาดใจถึงปฏิกิริยาของมัน อย่างที่คุณไม่สามารถคาดเดาได้เลยทีเดียว เพราะมันจะมีความอ่อนโยน และจะคอยอยู่ข้าง ๆ ท้องของคุณเพื่อปกป้องท้องน้อย ๆ อยู่ตลอดเวลา บางครั้ง น้องหมาของคุณ อาจจะรับรู้ถึงสัญญาณการท้องได้ก่อนที่คุณจะตรวจเจอก็เป็นได้นะคะ

 

 

  • รอยกัด และรอยขีดข่วน

การเตรียมความพร้อมให้กับน้องหมา - แมว ของคุณ ก็เป็นการเตรียมพร้อมเพื่อลูกน้อยของคุณเช่นกัน การส่งน้องหมา - แมว ไปฝึกอบรม เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ก็มีส่วนช่วยได้มาก เพราะบางครั้ง การติดเล่น หรือการตอบสนองเมื่อถูกดึงหาง หรือดึงขน ก็อาจจะส่งอันตรายให้กับลูกน้อยของคุณได้ หากช่วงเวลานั้นคุณไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ได้อย่างทันท่วงที

 

ดังนั้น คุณแม่ไม่ควรปล่อยให้ลูกน้อยเล่นอยู่กับสัตว์เลี้ยงของคุณเพียงลำพัง จนกว่าคุณจะมั่นใจว่าสุนัขของคุณ จะผ่านการฝึกฝนมาเรียบร้อย หรือทางที่ดี คุณควรจะอยู่ด้วยเสมอกับลูกน้อย และสอนลูก ให้เล่นกับน้องหมา อย่างอ่อนโยน

 

 

เสี่ยงหรือไม่? หากเลี้ยงน้องหมา - แมว ตอนท้อง

 

งานวิจัยจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกาได้วิจัยเกี่ยวกับ แม่ท้องที่เลี้ยงน้องหมา พบว่า ทำให้ความเครียด และความวิตกกังวล ในช่วงขณะตั้งครรภ์ลดลง จิตใจผ่อนคลายขึ้น ทำให้คุณแม่ มองโลกในแง่ดี คลายเหงา ซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพ อารมณ์ของแม่ท้อง และทารกในครรภ์ ได้เป็นอย่างดี รวมถึงการเล่นกับสัตว์เลี้ยง ยังเป็นการออกกำลังกาย ทำให้ร่างกายของแม่ท้องแข็งแรงไปในตัว แต่ทั้งนี้ก็ต้องรู้จักวิธีดูแลสุนัข และวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายในขณะตั้งครรภ์ ดังที่กล่าวมาข้างต้น เพราะสัตว์เลี้ยง ก็สามารถทำให้เกิดโรคในแม่ท้องได้เช่นกันค่ะ

 

ดังนั้น หากถามว่าเสี่ยง หรือไม่นั้น ความเสี่ยงมีแน่นอนค่ะ หากคุณละเลยเรื่องการรักษาความสะอาด หากถามว่าควรเลี้ยง หรือไม่ คำตอบก็คือ สามารถเลี้ยงได้แน่นอนค่ะ เพียงแต่ เราจะต้องหาวิธีการที่จะสามารถอยู่ร่วมกันกับน้องหมา - แมว ให้ได้อย่างปลอดภัย และควรจะมีพื้นที่ ที่ปลอดจากน้องหมา - แมว

 

 

 

ที่มา : thebump , whattoexpect

 

บทความที่น่าสนใจ :

เลี้ยงลูกกับน้องหมาด้วยกันได้ไหม ? สุนัขกับทารก มีผลดีหรือผลเสียอย่างไรบ้าง ? 

15 พันธุ์หมาแมวเป็นมิตร ที่เหมาะกับการนำมาเลี้ยงคู่กับเด็ก ๆ เพื่อแก้เหงา

คนท้องกับแมว แมวรู้ไหมว่าเราท้อง ? ข้อดีข้อเสียการเลี้ยงแมวตอนท้อง !

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

บทความโดย

arunsri

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • เมื่อทาสหมา - แมวมีบุตร
แชร์ :
•••
  • โรค มือ เท้า ปาก อันตรายไหม เด็กเป็นได้หรือไม่ ติตง่ายแค่สัมผัส

    โรค มือ เท้า ปาก อันตรายไหม เด็กเป็นได้หรือไม่ ติตง่ายแค่สัมผัส

  • ปากนกกระจอก เกิดขึ้นในเด็ก ลูกเป็นต้องรักษาอย่างไรถึงจะหาย

    ปากนกกระจอก เกิดขึ้นในเด็ก ลูกเป็นต้องรักษาอย่างไรถึงจะหาย

  • วิธีแก้เด็กขาโก่ง ลูกขาโก่งต้องทำอย่างไร เด็กขาโก่งรักษาได้หรือไม่

    วิธีแก้เด็กขาโก่ง ลูกขาโก่งต้องทำอย่างไร เด็กขาโก่งรักษาได้หรือไม่

app info
get app banner
  • โรค มือ เท้า ปาก อันตรายไหม เด็กเป็นได้หรือไม่ ติตง่ายแค่สัมผัส

    โรค มือ เท้า ปาก อันตรายไหม เด็กเป็นได้หรือไม่ ติตง่ายแค่สัมผัส

  • ปากนกกระจอก เกิดขึ้นในเด็ก ลูกเป็นต้องรักษาอย่างไรถึงจะหาย

    ปากนกกระจอก เกิดขึ้นในเด็ก ลูกเป็นต้องรักษาอย่างไรถึงจะหาย

  • วิธีแก้เด็กขาโก่ง ลูกขาโก่งต้องทำอย่างไร เด็กขาโก่งรักษาได้หรือไม่

    วิธีแก้เด็กขาโก่ง ลูกขาโก่งต้องทำอย่างไร เด็กขาโก่งรักษาได้หรือไม่

  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การตั้งชื่อลูก
    • โภชนาการระหว่างตั้งครรภ์​
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • เซ็กส์และความสัมพันธ์
  • การตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • นมแม่และนมผง
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • ดวงและราศี
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ดารา-แฟชั่น
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore
  • Thailand
  • Indonesia
  • Philippines
  • Malaysia
  • Sri Lanka
  • India
  • Vietnam
  • Australia
  • Japan
  • Nigeria
  • Kenya
พันธมิตรของเรา
Mama's Choice Partner Brand Logo
© Copyright theAsianparent 2021. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้
  • สังคมออนไลน์
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
  • สุขภาพ

ดาวน์โหลดแอปของเรา

google play store
Appstore
  • ติดต่อโฆษณา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทีม
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดการใช้
  • มาเข้าร่วมกับเรา
เปิดในแอป