X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เผยเคล็ดลับแก้อาการเมารถ เตรียมพร้อมก่อนเดินทาง เที่ยวสบายหายห่วง

บทความ 5 นาที
เผยเคล็ดลับแก้อาการเมารถ เตรียมพร้อมก่อนเดินทาง เที่ยวสบายหายห่วง

เผยเคล็ดลับแก้อาการเมารถ จะไปเที่ยวทั้งที แต่ลูกน้อยดันเมารถ ควรรับมืออย่างไร ก่อนเดินทาง วันนี้เราจะมา เผยเคล็ดลับแก้อาการเมารถ เพื่อให้ลูกน้อยไปเที่ยวได้

 

อาการเมารถ 

อาการเมารถ จัดเป็นหนึ่งใน ภาวะป่วยจากการเคลื่อนไหว (Motion sickness) หมายถึง อาการป่วยหรือความรู้สึกไม่สบาย ที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของยานพาหนะ ไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ เช่น เมารถ เมาเรือ หรือเมาเครื่องบิน เป็นต้น

อาการเมารถนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศและทุกวัย ส่วนใหญ่แล้ว คนที่มีอาการ เมารถ มักจะมีอาการคลื่นไส้ เหงื่อออก น้ำลายไหล หายใจไม่อิ่ม และวิงเวียน นอกจากนี้ บางคนอาจจะมีอาการรู้สึกไม่สบาย ปวดหัว และง่วงนอนร่วมด้วย ในกรณีรุนแรงอาจถึงขั้นมีอาการอาเจียนร่วมด้วย

 

เผยเคล็ดลับแก้อาการเมารถ แก้เมารถอย่างไรโดยไม่พึ่งยา

เผยเคล็ดลับแก้อาการเมารถ

เผยเคล็ดลับแก้อาการเมารถ

หากรู้สึกว่ากำลังมีอาการ เมารถ หรือต้องการที่จะป้องกันไม่ให้เกิดอาการเมารถในขณะที่กำลังเดินทาง สามารถใช้วิธีป้องกันการเมารถที่สามารถทำได้ง่าย ๆ และเห็นผลลัพธ์จริง ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

 

  • มองออกไปข้างนอกหน้าต่าง หรือมองตรงไปข้างหน้า

พยายามมองไกล ๆ ไปยังเส้นขอบฟ้า มองตรงไปข้างหน้า หรือมองออกนอกหน้าต่างในขณะที่อยู่บนยานพาหนะ การทำแบบนี้อาจจะช่วยลดความขัดแย้งของสัญญาณที่ได้จากหูชั้นในและสัญญาณจากการมองเห็นได้

 

  • พยายามลดการเคลื่อนไหว

พยาพยามหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหว หรือการอยู่ในจุดที่มีการสั่นมาก ๆ เช่น หากนั่งอยู่ส่วนเบาะหลังของรถ อาจย้ายไปนั่งที่ข้างหน้า หรือหากอยู่ส่วนท้ายของเรือ ให้ย้ายไปอยู่ส่วนหัวเรือ ก็อาจช่วยลดอาการ เมารถ เมาเรือ ได้อย่างชะงัก

 

  • เปลี่ยนท่า

บางคนอาจจะรู้สึกว่ามีอาการดีขึ้นหากได้นอนลง หรือยืนขึ้น ซึ่งวิธีนี้จะขึ้นอยู่กับประเภทของยานพาหนะนั้น ๆ ควรลองนั่งในท่าทางที่ทำให้รู้สึกสบายที่สุด หรืออาจใช้การพิงเบาะรองหัวบนเก้าอี้นั่ง ก็อาจจะช่วยให้รู้สึกดีขึ้นได้เช่นกัน

 

  • เคี้ยว

ไม่ว่าจะเป็นการเคี้ยวหมากฝรั่ง เคี้ยวขนม หรือเคี้ยวอาหาร ก็อาจช่วยลดอาการคลื่นไส้ และอาการป่วยเบา ๆ จากการ เมารถ ได้ เพราะการเคี้ยว จะช่วยลดความขัดแย้งของสัญญาณจากการมองเห็นและการทรงตัวได้ คุณแม่ควรเตรียมขนมขบเคี้ยวที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ไม่มีน้ำตาล และเหมาะสมสำหรับการเดินทาง สามารถที่จะพกพาติดตัวได้อย่างสะดวก หรืออาจจะเลือกใช้เป็นหมากฝรั่งแบบไม่มีน้ำตาล เพื่อเคี้ยวในช่วงที่มีอาการเมารถได้ อย่างไรก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีความมัน อาหารที่ทำให้รู้สึกเลี่ยน หรือเป็นกรดสูง เพราะจะทำให้อาการคลื่นไส้รุนแรงมากยิ่งขึ้น

 

  • เปิดรับอากาศ

การเปิดกระจกรับอากาศที่บริสุทธิ์จากภายนอกตัวรถ แทนที่จะทนอยู่กับอากาศจากเครื่องปรับอากาศ อาจช่วยลดอาการเมารถให้ดีขึ้นได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงอากาศที่มีกลิ่นเหม็น เพราะจะกลายเป็นตัวกระตุ้นให้อาการเมารถรุนแรงยิ่งขึ้นกว่าเดิม

 

  • ดื่มน้ำ

การดื่มน้ำ ไม่ว่าจะเป็นน้ำเปล่า น้ำผลไม้รสเปรี้ยว ๆ  หรือโดยเฉพาะน้ำขิง จะสามารถช่วยลดอาการคลื่นไส้ได้เป็นอย่างมาก แต่ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพราะจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากดื่มในขณะที่ท้องว่าง

 

  • เบี่ยงความสนใจ

การเบี่ยงความสนใจ เช่น เปิดเพลงฟัง หรือพูดคุย จะช่วยให้สามารถเบี่ยงเบนความสนใจไปจากอาการ เมารถ ที่กำลังเป็นอยู่ และทำให้รู้สึกดีขึ้นได้ การฟังเพลงสามารถช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้ และอาการทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับอาการเมารถอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

  • ดมยาดมหรือใช้น้ำมันหอมระเหย

ยาดมนั้นมีสรรพคุณในการลดอาการวิงเวียน ปวดหัว และคลื่นไส้ นอกจากนี้กลิ่นบางอย่าง เช่น น้ำมันหอมระเหยจากขิงบริสุทธิ์ ดอกลาเวนเดอร์ หรือมินต์ ก็สามารถช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้และวิงเวียนจากการ เมารถ ได้เช่นกัน แต่เพื่อการลดความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง ควรใช้แค่เพียงครั้งละหนึ่ง – สองหยดเท่านั้น

 

บทความจากพันธมิตร
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง
จัดฟันแบบใส สร้างโลกสดใสให้เด็ก ๆ มีรอยยิ้มสวยมั่นใจได้มากกว่าที่คิด
จัดฟันแบบใส สร้างโลกสดใสให้เด็ก ๆ มีรอยยิ้มสวยมั่นใจได้มากกว่าที่คิด
  • ไม่ปล่อยให้ท้องว่าง

ควรรับประทานอาหารตามปกติ อย่ารีบร้อน รับประทานช้า ๆ และควรเว้นระยะพักสักครึ่งชั่วโมงก่อนออกเดินทาง เรื่องนี้มีหลายคนเข้าใจผิดว่า ถ้ารับประทานอาหารเข้าไป อาจทำให้อาเจียนกลางทาง ความจริงแล้ว ยิ่งท้องว่างก็จะทำให้เมาเร็วยิ่งขึ้น

 

  • มีประสาทการทรงตัวผิดปกติ ไม่ควรดำน้ำ 

ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ก็ตาม ถ้าเคยตรวจมาแล้วว่าประสาทการทรงตัวที่อยู่ในหู 2 ข้าง ทำงานไม่สมดุล ขอเตือนว่าว่ายน้ำได้ แต่ไม่ใช่ดำน้ำ เพราะเวลาดำน้ำ เราจะเห็นแต่น้ำอยู่รอบ ๆ ตัวเรา ความรู้สึกสัมผัสรอบ ๆ ตัวเราจะไม่มี เพราะน้ำอยู่ล้อมรอบกายเราทั้งหมด ดังนั้น เราจึงต้องใช้ประสาทการทรงตัวจริง ๆ ถ้าประสาทการทรงตัวของเราเสื่อม เราจะไม่สามารถรับรู้ทิศทางได้ และอาจจมน้ำได้ เป็นเรื่องที่ควรระวัง

 

เมารถเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

เผยเคล็ดลับแก้อาการเมารถ

เผยเคล็ดลับแก้อาการเมารถ

อาการเมารถ เมาเรือ หรือเมาเครื่องบิน เกิดขึ้นเมื่อประสาทรับรู้การเคลื่อนไหวของหูชั้นในทำงานไม่ประสานกับภาพที่ดวงตามองเห็น สมองจึงได้รับสัญญาณที่ขัดแย้งกันจนมีอาการเมารถตามมา โดยอาจเกิดจากการโดยสารรถที่ขับเหวี่ยงไปมา หรือขับบนถนนที่คดเคี้ยวนานเกินไป การนั่งเรือที่โคลงเคลงตามลูกคลื่น การโดยสารเครื่องบิน หรือแม้แต่ระหว่างเล่นเครื่องเล่นผาดโผนต่าง ๆ ในสวนสนุกอย่างรถไฟเหาะก็อาจทำให้มีอาการได้เช่นกัน

ทั้งนี้ บุคคลในกลุ่มต่อไปนี้ อาจเสี่ยงเกิดอาการเมารถได้มากกว่าคนทั่วไป

  • ผู้ที่มีประสาทรับรู้การเคลื่อนไหวเร็ว
  • ผู้หญิงที่กำลังมีประจำเดือน ตั้งครรภ์ หรืออยู่ในช่วงรับการบำบัดด้วยฮอร์โมน
  • ผู้ป่วยไมเกรน
  • เด็กอายุ 2-12 ปี
  • ผู้ที่กำลังใช้ยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ ยารักษาโรคหืด ยาต้านอาการซึมเศร้า ยาไอบูโพรเฟน ยานาพรอกเซน เป็นต้น
  • ผู้ที่มีพฤติกรรมใช้สารเสพติด

 

หากจำเป็นต้องกินยา ยาแก้เมารถมีแบบไหนบ้าง

เผยเคล็ดลับแก้อาการเมารถ

เผยเคล็ดลับแก้อาการเมารถ

นอกจากการปฏิบัติตามคำแนะนำต่าง ๆ ผู้ที่เมารถเป็นประจำอาจรับประทานยาแก้เมารถ หรือแปะพลาสเตอร์ยาแก้เมารถ ดังต่อไปนี้

  • ยาต้านฮิสตามีน เป็นยาที่มีสรรพคุณช่วยป้องกัน หรือบรรเทาอาการเมารถที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น ยาไซไคลซีน ยาไดเมนไฮดริเนต เป็นต้น แต่ยาเหล่านี้อาจส่งผลข้างเคียง ทำให้รู้สึกง่วงนอนได้
    • เด็กอายุ 8-12 ปี รับประทานครั้งละ ½ เม็ด ก่อนการเดินทางเป็นเวลา 30 นาทีหรือ 1 ชั่วโมง
    • เด็กอายุ 12 ปี ขึ้นไป และผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1 เม็ด ก่อนการเดินทางเป็นเวลา 30 นาทีหรือ 1 ชั่วโมง

 

  • ยาสโคโปลามีน มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการเมารถ โดยตัวยาจะอยู่ในรูปของพลาสเตอร์สำหรับแปะลงบนผิวหนัง ใช้แปะไว้ด้านหลังใบหูตั้งแต่ก่อนเดินทางประมาณ 2-3 ชั่วโมง

 

ข้อควรระวัง 

  • ไม่ควรใช้ยานี้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ยกเว้นกรณีได้รับคำแนะนำจากแพทย์
  • ยานี้อาจทำให้เกิดอาการง่วงซึม ควรระมัดระวังในการขับขี่ยานพาหนะ

ทั้งนี้ ผู้ใช้ยาควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หรือตามฉลากยาอย่างเคร่งครัด รวมทั้งปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนให้เด็กรับประทานยาต้านฮิสตามีน หรือใช้พลาสเตอร์ยาสโคโปลามีน เพราะเด็กอาจเสี่ยงได้รับผลข้างเคียง จากการใช้ยามากกว่าคนในช่วงวัยอื่น

 

ที่มา : (1),(2),(3)

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง : 

วิธีแก้อาการเมาสำหรับเด็ก ถ้าลูกเมารถ เมาเรือ ต้องทำยังไงดี?

ชวนลูกฟังเพลง กิจกรรมกระชับสัมพันธ์ ที่ง่าย สนุก แถมพัฒนาทักษะการฟังได้อย่างดี

อาการปวดท้องขณะตั้งครรภ์ แบบไหนที่ต้องเจอ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 9

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Nanticha Phothatanapong

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • เผยเคล็ดลับแก้อาการเมารถ เตรียมพร้อมก่อนเดินทาง เที่ยวสบายหายห่วง
แชร์ :
  • แม่ท้องควรรู้ เตรียมพร้อมก่อนเดินทางไกลช่วงสงกรานต์

    แม่ท้องควรรู้ เตรียมพร้อมก่อนเดินทางไกลช่วงสงกรานต์

  • เตรียมพร้อมก่อนคลอด เมื่อคลอดธรรมชาติ แม่ๆ ต้องเตรียมตัวยังไง?

    เตรียมพร้อมก่อนคลอด เมื่อคลอดธรรมชาติ แม่ๆ ต้องเตรียมตัวยังไง?

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • แม่ท้องควรรู้ เตรียมพร้อมก่อนเดินทางไกลช่วงสงกรานต์

    แม่ท้องควรรู้ เตรียมพร้อมก่อนเดินทางไกลช่วงสงกรานต์

  • เตรียมพร้อมก่อนคลอด เมื่อคลอดธรรมชาติ แม่ๆ ต้องเตรียมตัวยังไง?

    เตรียมพร้อมก่อนคลอด เมื่อคลอดธรรมชาติ แม่ๆ ต้องเตรียมตัวยังไง?

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ