X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

รอจนเบื่อ! เมื่อไหร่จะได้เงินอุดหนุน เลี้ยงดูเด็ก 600 บาท

13 Sep, 2017
รอจนเบื่อ! เมื่อไหร่จะได้เงินอุดหนุน เลี้ยงดูเด็ก 600 บาท

หลังจาก ครม. ได้อนุมัติเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน โครงการ เงินอุดหนุน เพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดถึง 3 ขวบ เมื่อวันที่ 5 ก.ย. 60 แม่จะได้รับเงินเมื่อไหร่น้า

หลังจากอาทิตย์ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินประจำปี 2560 โครงการ เงินอุดหนุน เพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดถึง 3 ขวบ เดือนละ 600 บาทต่อคน ทำให้คุณแม่ได้เฮทั้งประเทศ แต่ เมื่อไหร่จะได้เงินอุดหนุน เลี้ยงดูเด็ก และต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้างวันนี้มีคำตอบ!

เมื่อไหร่จะได้เงินอุดหนุน เลี้ยงดูเด็ก เงินอุดหนุน มีการจ่ายอย่างไร

  • เด็กที่เกิดระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2558 – 30 ก.ย. 2559 และได้มาลงทะเบียนขอรับเงินอุดหนุน ภายในวันที่ 30 ก.ย. 2559 คุณแม่จะได้รับเงินอุดหนุนเดือนละ 400 บาท นับตั้งแต่เดือนที่น้องเกิด ไปจนถึงเดือน ก.ย. 2559 หลังจากนั้นคุณแม่จะได้รับเงินเดือนละ 600 บาท ตั้งแต่เดือน ต.ค. 2559 จนเด็กอายุครบ 3 ขวบ
  • เด็กที่เกิดระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2559 – 30 ก.ย. 2560 และได้มาลงทะเบียนขอรับเงินอุดหนุน ภายในวันที่ 30 ก.ย. 2560 จะได้รับเงินอุดหนุนเดือนละ 600 บาท ตั้งแต่เดือนที่เกิด จนเด็กอายุครบ 3 ขวบ
  • เด็กที่เกิดระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2558 – 30 ก.ย. 2559 แต่มาลงทะเบียนขอรับสิทธิ์เงินอุดหนุน ภายหลังวันที่ 30 ก.ย. 2559 จะได้รับเงินอุดหนุนเดือนละ 600 บาท นับแต่เดือนที่มา ลงทะเบียน จนเด็กอายุครบ 3 ขวบ

สำหรับในเดือน ก.ย. เงินอุดหนุน จะเริ่มเบิกจากผ่านระบบ Prompt Pay ในวันที่ 22 ก.ย. 2560 และจะเบิกจ่ายผ่านบัญชีธนาคาร หรือเงินสดในวันที่ 25 ก.ย. 2560

วิธีการรับ เงินอุดหนุน

  1. รับเงิน ณ กรมกิจการเด็กและเยาวชน (สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นรับแทนได้)
  2. รับเงิน ณ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นรับแทนได้)
  3. รับผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทย (นำสำเนาสมุดบัญชีธนาคารกรุงไทยที่มีหน้าแสดงหมายเลขบัญชีและชื่อผู้รับเงินมายื่น – เข้าบัญชีผู้เลี้ยงดูเด็กได้)

หมายเหตุ: กรณีมอบอำนาจในการรับเงิน ให้นำหนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจมายื่นด้วย

เมื่อไหร่จะได้เงินอุดหนุน เลี้ยงดูเด็ก

คุณสมบัติผู้มีสิทธิ์ได้รับ เงินอุดหนุน

เด็กแรกเกิด:

  1. เกิดระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2559 – 30 ก.ย. 2560
  2. มีสัญชาติไทย (บิดาและมารดา หรือบิดา หรือมารดา เป็นผู้มีสัญชาติไทย)
  3. ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใด จากหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ เงินสงเคราะห์บุตรจากกองทุนประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการหรือรัฐวิสาหกิจ และไม่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานของรัฐ เช่น บ้านพักเด็กและครอบครัว สถานสงเคราะห์ของรัฐ

หญิงตั้งครรภ์:

  1. มีกำหนดคลอดระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2559 – 30 ก.ย. 2560
  2. อยู่ในครัวเรือนยากจนและครัวเรือนที่เสี่ยงต่อความยากจน โดยที่หญิงตั้งครรภ์สามารถยื่นลงทะเบียนไว้ก่อนได้ ทั้งนี้ หากการคลอดบุตรในภายหลัง ไม่ได้เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2559 – 30 ก.ย. 2560 ให้ถือว่าสิทธิ์ที่ลงทะเบียนไว้ถูกระงับไปโดยปริยาย

หมายเหตุ:

  • กรณีมารดาเด็กเป็นคนต่างด้าว หรือไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร์ หรือเสียชีวิต อนุโลมให้บิดาเด็กสัญชาติไทยตามสูติบัตร ลงทะเบียนแทนมารดาเด็กได้หลังจากเด็กเกิดแล้ว โดยให้นำเอกสารหลักฐานของบิดาเด็กและมารดาเด็กในกรณีดังกล่าว ที่ออกให้โดยหน่วยงานของรัฐมายื่นเพื่อแสดงความจำนงขอรับสิทธิ์
  • กรณีอยู่ในความดูแลของบ้านพักเด็กและครอบครัว หรือสถานสงเคราะห์ของรัฐ จะไม่ได้รับสิทธิ์เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เนื่องจากได้รับการดูแลจากภาครัฐ แต่หากมีคุณสมบัติ สามารถขอรับสิทธิ์เงินอุดหนุนได้ แต่จะได้รับเงินเฉพาะเดือนที่ไม่อยู่ใน ความดูแลของบ้านพักเด็กและครอบครัวหรือสถานสงเคราะห์ของรัฐ (หลังออกจากบ้านพักเด็กและครอบครัวหรือสถานสงเคราะห์ของรัฐแล้ว)

เมื่อไหร่จะได้เงินอุดหนุน เลี้ยงดูเด็ก

กรณี ครัวเรือนยากจน และครัวเรือนที่เสี่ยงต่อความยากจน

หมายถึง ครัวเรือนที่สมาชิกในครัวเรือน มีรายได้เฉลี่ยต่ากว่า 3,000 บาท ต่อคน ต่อเดือน หรือต่ากว่า 36,000 บาท ต่อคน ต่อปี โดยนำรายได้ของสมาชิกทั้งหมดในครอบครัว หารด้วยจานวนสมาชิกทั้งหมดในครอบครัวซึ่งรวมเด็กแรกเกิดด้วย ในความเป็นจริงการสอบถามรายได้อาจไม่ได้ข้อมูลที่ตรงกับข้อเท็จจริง จึงจำเป็นต้องใช้การประเมินความยากจนระดับครัวเรือน ด้วยข้อมูลสถานะของครัวเรือนมาประกอบการพิจารณาด้วย (แบบ ดร.02) โดยต้องมีข้อเท็จจริงข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้

  1. ครอบครัวมีภาระพึ่งพิง ได้แก่ ในครอบครัวมีคนพิการ หรือผู้สูงอายุ หรือเด็กอายุต่ากว่า 15 ปีหรือคนว่างงาน อายุ 15 - 65 ปี หรือเป็นพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว
  2. สภาพที่อยู่อาศัย สภาพบ้านชารุดทรุดโทรม บ้านทำจากวัสดุพื้นบ้าน เช่น ไม้ไผ่ ใบจาก หรือวัสดุเหลือใช้ หรืออยู่บ้านเช่า
  3. ไม่มีรถยนต์ส่วนบุคคล รถปิกอัพ รถบรรทุกเล็ก รถตู้
  4. เป็นเกษตรกรที่มีที่ดินทำกินไม่เกิน 1 ไร่

ตัวอย่าง การคำนวณรายได้ครัวเรือน:

  • ตัวอย่างที่ 1 : ครอบครัวหนึ่งมีสมาชิก 5 คน (รวมเด็กแรกเกิด) มีสมาชิกที่มีรายได้ 2 คน  คนละ 10,000 บาท   รวมมีรายได้ 20,000 บาท นำมาหารจำนวนสมาชิกทั้งหมด คือ มีรายได้ต่อคนต่อเดือน เดือนละ  4,000 บาท จึงไม่ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติครัวเรือนยากจน และครัวเรือนเสี่ยงต่อความยากจน
  • ตัวอย่างที่ 2 : ครอบครัวหนึ่งมีสมาชิก 7 คน (รวมเด็กแรกเกิด) มีสมาชิกที่มีรายได้ 2 คน  คนละ 10,000 บาท  รวมมีรายได้ 20,000 บาท นำมาหารจำนวนสมาชิกทั้งหมด คือ มีรายได้ต่อคนต่อเดือน เดือนละ  2,857 บาท  จึงผ่านเกณฑ์คุณสมบัติครัวเรือนยากจน และครัวเรือนเสี่ยงต่อความยากจน

วิธีการลงทะเบียน

คุณแม่สามารถไปลงทะเบียนรับ เงินอุดหนุน ได้ที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือสถานที่ ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด

  1. กรุงเทพมหานคร : ลงทะเบียน ณ สำนักงานเขต
  2. ต่างจังหวัด : ลงทะเบียน ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล หรือเทศบาล
  3. เมืองพัทยา : ลงทะเบียน ณ ศาลาว่าการเมืองพัทยา

เอกสารที่ต้องเตรียมนำไปลงทะเบียน

  1. แบบลงทะเบียนเพื่อขอรับสิทธิ์ ฯ (แบบ ดร.01)
  2. แบบรับรองสถานะของครัวเรือน (แบบ ดร.02)
  3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของหญิงตั้งครรภ์ หรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐ
  4. สำเนาสูติบัตรเด็กแรกเกิด (ยื่นหลังคลอด) ที่ได้รับการรับรองแล้ว
  5. สำเนาเอกสารแสดงการฝากครรภ์ หรือ สำเนาสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก หน้า 1
  6. สำเนาสมุดบัญชีธนาคารกรุงไทย (กรณีประสงค์รับเงินผ่านบัญชีธนาคาร) หรือ สามารถใช้บัญชีธนาคารกรุงไทยของผู้อื่นที่หญิงตั้งครรภ์ได้แสดงความจำนงไว้ได้ โดยต้องมอบอำนาจ

เมื่อไหร่จะได้เงินอุดหนุน เลี้ยงดูเด็ก

แบบฟอร์มที่ใช้ประกอบการลงทะเบียน

1. ประกาศกรมกิจการเด็กและเยาวชน เรื่อง การลงทะเบียนขอรับสิทธิ์เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
2. แบบลงทะเบียนเพื่อขอรับสิทธิ์เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด (แบบ ดร.01)
3. แบบรับรองสถานะของครัวเรือน (แบบ ดร.02)
4. แบบใบสำคัญรับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด (แบบ ดร.03)
5. แบบรายงานการรับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด (แบบ ดร.04)
6. ประกาศองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรื่อง รายชื่อผู้ขอรับสิทธิ์เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด (แบบ ดร.05)
7. หนังสือขอส่งรายชื่อผู้ขอรับสิทธิ์เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด (กทม.) (แบบ ดร.06/1)
8. หนังสือขอส่งรายชื่อผู้ขอรับสิทธิ์เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด (ต่างจังหวัด) (แบบ ดร.06/2)
9. หนังสือขอแจ้งผลการได้รับสิทธิ์เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด (กทม.) (แบบ ดร.07/1)
10. หนังสือขอแจ้งผลการได้รับสิทธิ์เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด (ต่างจังหวัด) (แบบ ดร.07/2)
11. หนังสือส่งเอกสารหลักฐานของผู้มีสิทธิ์รับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด (กทม.) (แบบ ดร.08/1)
12. หนังสือส่งเอกสารหลักฐานของผู้มีสิทธิ์รับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด (ต่างจังหวัด) (แบบ ดร.08/2)
13. หนังสือมอบอานาจ

การรับรองความยากจนในแบบรับรองสถานะของครัวเรือน

ต้องมีผู้รับรอง 2 คน ดังนี้

ผู้รับรองคนที่ 1:

  • กรุงเทพมหานคร : ประธานกรรมการชุมชน หรือหัวหน้าฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคมประจำสำนักงานเขต
  • เมืองพัทยา : ประธานชุมชน หรืออาสาสมัครสาธารณสุขเมืองพัทยา
  • เทศบาล หรือ องค์การบริหารส่วนตำบล : อพม. หรือ อสม.
  • บ้านพักเด็กและครอบครัว หรือ สถานสงเคราะห์ของรัฐ : เจ้าหน้าที่บ้านพักเด็กและครอบครัว หรือ เจ้าหน้าที่สถานสงเคราะห์

ผู้รับรองคนที่ 2:

  • กรุงเทพมหานคร : ผู้อำนวยการเขต หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
  • เมืองพัทยา : ปลัดเมืองพัทยา หรือรองปลัดเมืองพัทยาที่ได้รับมอบหมาย
  • เทศบาล หรือ องค์การบริหารส่วนตำบล : ปลัดเทศบาล หรือปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล หรือผู้ที่ปลัดมอบหมายหรือกำนัน หรือผู้ใหญ่บ้าน
  • บ้านพักเด็กและครอบครัว หรือ สถานสงเคราะห์ของรัฐ : หัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัว หรือ ผู้ปกครองสถานสงเคราะห์

หมายเหตุ:

  • กรณีที่ผู้ขอรับสิทธิ์ไม่ได้อยู่ในภูมิลำเนาของตนเอง อาจเกิดปัญหาในการหาผู้รับรอง : องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถอำนวยความสะดวกให้กับหญิงตั้งครรภ์ในการรับลงทะเบียน นอกที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น การออกหน่วยเคลื่อนที่ การลงพื้นที่สำรวจกลุ่มเป้าหมาย เป็นต้น รวมทั้งกรณีผู้ลงทะเบียนประสบความยากลำบากในการหาผู้รับรอง ขอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำนวยความสะดวกในการจัดหาผู้รับรองสถานะของครัวเรือนให้กับผู้ลงทะเบียน เช่น มอบหมาย อพม. หรือ อสม. ไปเยี่ยมบ้านเพื่อสอบถามข้อมูลและตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานะของครัวเรือนเพิ่มเติม

ที่มา :

https://csg.dcy.go.th/
thestandard.co
คู่มือการดำเนินงานโครงการอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด

บทความที่น่าสนใจ :

บทความจากพันธมิตร
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ
ดีแทค ขอชวนน้อง ๆ มา #เปลี่ยนโลกช่วงปิดเทอม กับ dtac Young Safe Internet Leader Cyber Camp ซีซั่น 3
ดีแทค ขอชวนน้อง ๆ มา #เปลี่ยนโลกช่วงปิดเทอม กับ dtac Young Safe Internet Leader Cyber Camp ซีซั่น 3
ครั้งแรกในไทยฟิลิปส์ เปิดตัวโคมUVCยับยั้งเชื้อโรคแบบตั้งโต๊ะ รองรับตลาดการใช้งานในครัวเรือนและธุรกิจบริการ
ครั้งแรกในไทยฟิลิปส์ เปิดตัวโคมUVCยับยั้งเชื้อโรคแบบตั้งโต๊ะ รองรับตลาดการใช้งานในครัวเรือนและธุรกิจบริการ
จะดีแค่ไหนหากโลกนี้มีของเล่นที่เด็กทุกคนสนุกด้วยกันได้อย่างเท่าเทียม มารู้จักกับ BLIX POP กันเถอะ
จะดีแค่ไหนหากโลกนี้มีของเล่นที่เด็กทุกคนสนุกด้วยกันได้อย่างเท่าเทียม มารู้จักกับ BLIX POP กันเถอะ

คัมภีร์ดูแลทารก เด็กแรกเกิดต้องดูแลแบบนี้นะ

ไอเดียฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็กของเจ้าตัวเล็กที่คุณแม่ทำได้ง่ายๆ (คลิป)

เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด กับ เงินสงเคราะห์เด็ก ต่างกันยังไง ฉบับอัปเดต 2563

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • ข่าว
  • /
  • รอจนเบื่อ! เมื่อไหร่จะได้เงินอุดหนุน เลี้ยงดูเด็ก 600 บาท
แชร์ :
  • เงินอุดหนุนบุตร 2564 ลงทะเบียนยังไง ใช้เอกสารอะไร เงินเข้าเมื่อไหร่มาดูกัน

    เงินอุดหนุนบุตร 2564 ลงทะเบียนยังไง ใช้เอกสารอะไร เงินเข้าเมื่อไหร่มาดูกัน

  • โครงการเงินอุดหนุนทารกแรกเกิด 2563 ทำยังไง ใครลงทะเบียนได้บ้าง อ่านเลย!

    โครงการเงินอุดหนุนทารกแรกเกิด 2563 ทำยังไง ใครลงทะเบียนได้บ้าง อ่านเลย!

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • เงินอุดหนุนบุตร 2564 ลงทะเบียนยังไง ใช้เอกสารอะไร เงินเข้าเมื่อไหร่มาดูกัน

    เงินอุดหนุนบุตร 2564 ลงทะเบียนยังไง ใช้เอกสารอะไร เงินเข้าเมื่อไหร่มาดูกัน

  • โครงการเงินอุดหนุนทารกแรกเกิด 2563 ทำยังไง ใครลงทะเบียนได้บ้าง อ่านเลย!

    โครงการเงินอุดหนุนทารกแรกเกิด 2563 ทำยังไง ใครลงทะเบียนได้บ้าง อ่านเลย!

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ