X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เทคนิค 4 ดูด กระตุ้นน้ำนมแม่ คลายกังวล หมดปัญหาเรื่องให้นมลูก

บทความ 3 นาที
เทคนิค 4 ดูด กระตุ้นน้ำนมแม่ คลายกังวล หมดปัญหาเรื่องให้นมลูก

เพราะนมแม่ คืออาหารที่ดีที่สุดของลูก  และแน่นอนว่าคุณแม่เองก็อยากที่จะให้ลูกกินนมแม่ไปได้นาน ๆ  เทคนิค 4 ดูด ของการดูดน้ำนมแม่จากเต้า ช่วยให้นมแม่มามาก จะเป็นอย่างไร ไปติดตามกัน

เทคนิค 4 ดูด กระตุ้นน้ำนมแม่ หมดปัญหาเรื่องให้นมลูก

เรื่องน้ำนมน้อย แก้ได้ด้วย เทคนิค 4 ดูด กระตุ้นน้ำนมแม่

 

1. ดูดเร็ว การดูดนม

หลังจากที่คลอดบุตรแล้ว หากคุณแม่เริ่มฟื้นตัวดีขึ้น และลูกอยู่ในสภาพร่างกายปกติ ควรให้ลูกดูดกระตุ้นนมแม่ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้แม้จะยังไม่มีน้ำนมก็ตาม และควรให้ลูกดูดกระตุ้นทุก 2 ชั่วโมง ครั้งละ 10 นาทีทั้งสองข้าง แม้ว่าตอนที่ให้ลูกดูดแล้วลูกอาจจะยังไม่ได้รับน้ำนมในช่วงแรก แต่จุดสำคัญก็คือ เป็นการช่วยกระตุ้นให้น้ำนมมาเร็วนั่นเอง

 

2. การดูดนม ดูดบ่อย

สำหรับเด็กในช่วงแรกเกิด ทารกส่วนใหญ่มักจะมีพฤติกรรมหลับในช่วง 48 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ซึ่งคุณแม่หลายคนมักจะไม่กล้าปลุกลูก แต่ถึงแม้ว่าลูกจะหลับ คุณแม่ก็สามารถปลุกลูกให้ดูดนมแม่ได้เลยทุก 2 ชั่วโมงอย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยกระตุ้นให้น้ำนมมาเร็วมากขึ้น หลังจากนั้นก็ให้ลูกดูดได้บ่อยตามต้องการ และถ้ารู้สึกคัดเต้านม ต้องให้ลูกดูดนมออกทันที การให้ลูกดูดบ่อยจะช่วยระบายน้ำนมออกจากเต้า และให้เต้านมสร้างน้ำนมใหม่เรื่อย ๆ

นอกจากนี้ การให้ลูกดูดนมบ่อย จะเป็นการช่วยกระตุ้นให้ต่อมน้ำนมผลิตน้ำนมออกมามากขึ้น คุณแม่มือใหม่อาจจะรู้สึกว่าน้ำนมยังมีน้อยหรือมาไม่เยอะ ซึ่งเป็นปกติของการให้นมช่วงสัปดาห์แรก ๆ หลังคลอด แต่ถ้าขยันเอาลูกเข้าเต้าให้บ่อยครั้งและสม่ำเสมอ กลไกการหลั่งน้ำนมก็จะทำหน้าที่ได้ดี เมื่อมีน้ำนมมาก และลูกดูดเรื่อย ๆ จนคุณแม่เริ่มเจ็บเต้า ก็ควรสลับเต้าให้ลูกได้ดูด

สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่ยังไม่ชำนาญ สามารถหัดกระตุ้นน้ำนมได้ด้วยการใช้มือนวดคลึงหัวนมเบา ๆ อย่าเพิ่งไปเครียดว่าน้ำนมมีน้อย การให้ลูกดูดบ่อย ๆ ก็จะรู้จังหวะ เพราะยิ่งเครียดและกังวล ก็จะทำให้กลไกการหลั่งน้ำนมไม่ทำงาน น้ำนมยิ่งไหลน้อยได้

เทคนิค 4 ดูด กระตุ้นน้ำนมแม่

เทคนิค 4 ดูด กระตุ้นน้ำนมแม่

3. ดูดถูกวิธี

ดูดถูกวิธีมีผลต่อสุขภาพแม่และลูก คือ หากลูกดูดถูกวิธี จะทำให้ลูกได้รับน้ำนมอิ่มท้อง นอนหลับ ไม่ร้องกวน แต่หากลูกดูดผิดวิธี ก็จะทำให้คุณแม่หัวนมแตก มีอาการเจ็บจนท้อ และอาจจะอยากหยุดให้นมลูกไปเลย ซึ่งปัญหาดังกล่าวจะหมดไป หากคุณแม่ให้ลูกดูดถูกวิธี ดังนี้

  • ปากลูกต้องเปิดกว้าง เพื่ออมหัวนมให้ลึกที่สุดจนมิดลานนม ถ้าลานนมกว้างก็ให้อมให้มากที่สุด คางแนบเต้า ปลายจมูกชิดหรือแตะเต้า นม และริมฝีปากบน-ล่างบานออก ลักษณะเหมือนปากปลา คางของลูกจรดกับเต้านมแม่ จมูกลูกไม่ถูกสิ่งใดกดเบียด
  • ขณะดูดนม คุณแม่จะสังเกตเห็นว่าขากรรไกรและใบหูของลูกขยับเล็กน้อยตามจังหวะการกลืน ลูกจะออกแรงดูดน้ำนมจากเต้าแม่โดยใช้ลิ้นรีดน้ำนมอย่างเป็นจังหวะสม่ำเสมอ หากมีน้ำนมแล้วคุณแม่จะได้ยินเสียงลูกกลืนน้ำนมเป็นจังหวะ
  • หากลูกหยุดดูด คุณแม่สามารถกระตุ้นใต้คางลูกเบา ๆ เพื่อให้ลุกดูดต่อ หากลูกเอาปากออกจากหัวนมแม่ และไม่ดูดต่อ หมายถึงลูกอิ่มแล้ว

 

4. ดูดเกลี้ยงเต้า

น้ำนมของคุณแม่นั้นมีอยู่ 2 ส่วน คือน้ำนมแม่ส่วนหน้า และน้ำนมแม่ส่วนหลัง ซึ่งในน้ำนมแม่ส่วนหลังนั้นจะมีโปรตีนและไขมันสูงกว่าน้ำนมส่วนหน้า อีกทั้งในน้ำนมส่วนหลังนั้นมีไขมันดี อุดมไปด้วย omega AA ARA มีคอเรสเตอรอลที่จะสร้างใยสมอง เสริมพัฒนาการทางสมองและสายตาของลูกน้อย ทั้งยังมีน้ำย่อยไลเปสช่วยย่อยไขมันจากนม ซึ่งเป็นเหตุผลที่เด็กกินนมแม่แล้วท้องไม่ผูก จึงต้องรีดน้ำนมให้เกลี้ยงเต้านั่นเอง นอกจากนี้ เมื่อลูกดูดนมได้จนเกลี้ยงเต้า เต้านมจะผลิตน้ำนมใหม่อย่างต่อเนื่อง ป้องกันปัญหาการมีน้ำนมน้อยลงได้

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกดูดนมเกลี้ยงเต้า

  • หลังให้ลูกดูดนมเสร็จแล้วเต้านมนิ่มลงทั้งเต้า
  • อาการเจ็บตึงที่เต้านมหรือที่เรียกว่านมคัด ก็จะหายไปด้วย
  • ถ้ายังไม่แน่ใจให้ลองบีบเต้านมดู น้ำนมจะไม่พุ่ง แต่จะออกมาเพียง 1-2 หยดเท่านั้น

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ไวท์ดอท เรื่องที่ทำแม่ให้นมต้องนอนร้องไห้ เช็คหัวนมด่วน มีจุดขาวไหม

หน้าอกเล็ก กลัวไม่มีน้ำนมให้ลูกจัง ขนาดของเต้านมแม่มีผลต่อน้ำนมลูกไหม?

นี่คือเหตุผลว่า ทำไมลูกแรกเกิดถึง 6 เดือนต้องกินนมแม่ ไม่ป้อนน้ำ ห้ามป้อนกล้วย

บทความจากพันธมิตร
วิธีดูแลผิวลูกหน้าร้อน ดูแลอย่างไรให้ห่างไกลปัญหาผดผื่น
วิธีดูแลผิวลูกหน้าร้อน ดูแลอย่างไรให้ห่างไกลปัญหาผดผื่น
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
หมดกังวลเรื่อง ผิวแตกลาย จบทุกปัญหาผิวคุณแม่ตั้งครรภ์ ด้วย EVE'S OIL
หมดกังวลเรื่อง ผิวแตกลาย จบทุกปัญหาผิวคุณแม่ตั้งครรภ์ ด้วย EVE'S OIL
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
  • /
  • เทคนิค 4 ดูด กระตุ้นน้ำนมแม่ คลายกังวล หมดปัญหาเรื่องให้นมลูก
แชร์ :
  • พัฒนาการทารก 4 เดือน วิธีฝึกลูกพูด และวิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยตามวัย

    พัฒนาการทารก 4 เดือน วิธีฝึกลูกพูด และวิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยตามวัย

  • พ่อแม่ 4 ประเภท ที่ทำให้ลูกมีพฤติกรรมดีหรือก้าวร้าว คุณเป็นพ่อแม่แบบไหน

    พ่อแม่ 4 ประเภท ที่ทำให้ลูกมีพฤติกรรมดีหรือก้าวร้าว คุณเป็นพ่อแม่แบบไหน

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

    ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

  • พัฒนาการทารก 4 เดือน วิธีฝึกลูกพูด และวิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยตามวัย

    พัฒนาการทารก 4 เดือน วิธีฝึกลูกพูด และวิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยตามวัย

  • พ่อแม่ 4 ประเภท ที่ทำให้ลูกมีพฤติกรรมดีหรือก้าวร้าว คุณเป็นพ่อแม่แบบไหน

    พ่อแม่ 4 ประเภท ที่ทำให้ลูกมีพฤติกรรมดีหรือก้าวร้าว คุณเป็นพ่อแม่แบบไหน

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

    ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ