X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

การช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ เสี่ยงแค่ไหนกับลูกและแม่?

บทความ 5 นาที
การช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ เสี่ยงแค่ไหนกับลูกและแม่?

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ อีกหนึ่งสิ่งที่ต้องรู้ก็คือ การช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ ซึ่งเป็นการทำคลอดโดยใช้เครื่องสุญญากาศดึงเอาศีรษะของทารกออกมา เพื่อช่วยให้ทารกเคลื่อนตัวออกมาทางช่องคลอดได้ง่ายขึ้น อีกทั้งเครื่องดูดสุญญากาศยังเป็นเครื่องมือที่ใช้ช่วยเรื่องแรงเบ่งของคุณแม่ในกรณีที่คุณแม่ไม่มีแรงเบ่งด้วยค่ะ

 

การช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ คืออะไร?

การช่วยคลอดด้วยการดูดสุญญากาศเป็นอีกหนึ่งหัตถการในการคลอดทางช่องคลอด ซึ่งมีการใช้มาเป็นเวลานานแล้ว คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่สามารถคลอดทารกได้ตามปกติ แต่ก็จะมีคุณแม่ตั้งครรภ์บางกลุ่มที่ไม่มีแรงเบ่งเพียงพอที่จะดันทารกออกมาจากมดลูก จึงจำเป็นที่แพทย์ต้องรีบให้คลอดเพื่อให้ทารกปลอดภัย โดยวิธีการนี้จะใช้ถ้วยโลหะสเตนเลส หรือเป็นถ้วยยางซิลิโคนเล็ก ๆ ไปครอบที่ศีรษะของทารก

และจะมีการต่อสายเข้ากับเครื่องที่เหนี่ยวนำให้เกิดภาวะสุญญากาศที่ศีรษะทารก เมื่อได้ระดับสุญญากาศที่เหมาะสมแล้ว ทีมแพทย์ก็จะทำการดึงสายที่ต่อกับถ้วย พร้อม ๆ กับการเบ่งของคุณแม่ขณะที่มดลูกหดรัดตัวด้วย เพื่อเป็นการช่วยเสริมแรงเบ่งของแม่ ซึ่งสามารถช่วยให้ทารกคลอดออกมาได้ปกติ

 

เมื่อไหร่ที่ต้องใช้การช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ

คุณหมออาจแนะนำให้ทำการช่วยคลอดด้วย เครื่องดูดสุญญากาศ เมื่อปรากฏอาการต่าง ๆ ดังนี้

  • เมื่อคุณแม่ไม่มีแรงเบ่ง หรือมีภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้ไม่สามารถออกแรงเบ่งคลอดได้ เช่น เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจ เป็นต้น
  • เมื่อทารกอยู่ในภาวะจำเป็นต้องรีบให้คลอด ในกรณีที่ปากมดลูกเปิดเต็มที่แล้ว และทารกลงมาอยู่ต่ำใกล้บริเวณปากช่องคลอด
  • เมื่อทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจที่เปลี่ยนไป ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของภาวะทารกเครียดระหว่างคลอด

แม้ว่าการช่วยคลอดโดยใช้เครื่องดูดสุญญากาศจะทำให้คลอดง่ายขึ้นเมื่อแม่ท้องมีปัญหาเรื่องการคลอด แต่อย่างไรก็ตาม การช่วยคลอดโดยใช้เครื่องดูดสุญญากาศก็มีความเสี่ยงที่อาจทำให้มีอาการผิดปกติต่าง ๆ เกิดขึ้นกับคุณแม่และลูกน้อยได้เช่นกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง : ขั้นตอนคลอดลูก แบบคลอดเองและผ่าคลอด ขั้นตอนการคลอดลูก ที่แม่ท้องควรรู้

 

การช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ

 

การช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ เสี่ยงไหม ?

ความเสี่ยงต่อคุณแม่

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับคุณแม่มีดังนี้

  • มีอาการเจ็บปวดมากหลังคลอด
  • อาจทำให้ช่องคลอดเกิดการฉีกขาดได้
  • อาจทำให้ปัสสาวะลำบากในช่วงแรก
  • เสี่ยงต่อภาวะโรคโลหิตจางเนื่องจากเสียเลือดระหว่างคลอด
  • อาจทำให้เกิดภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนได้

 

ความเสี่ยงต่อทารก

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับทารกมีดังนี้

  • อาจทำให้เกิดแผลที่หนังศีรษะ
  • เสี่ยงกระดูกไหปลาร้าหัก
  • อาจทำให้กะโหลกศีรษะร้าว
  • ภาวะเลือดออกในสมอง

หากจำเป็นต้องทำการช่วยคลอดโดยใช้เครื่องดูดสุญญากาศจริง ๆ ในบางกรณีก็อาจทำให้ทารกต้องพักอยู่ที่โรงพยาบาลนานขึ้น ซึ่งในช่วงนี้คุณหมอและพยาบาลจะมีการดูแลทารกอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะสามารถสังเกตอาการผิดปกติและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นตามมาหลังคลอดได้

 

ข้อห้ามในการช่วยคลอดด้วย การช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ

  1. เมื่อทารกมีอายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์ เพราะอาจเกิดอันตรายต่อสมองของทารกได้
  2. หลังจากที่ตรวจพบว่ามีแผลบริเวณหนังศีรษะของทารก
  3. ขนาดของทารกและขนาดของอุ้งเชิงกรานแม่
  4. ทารกที่กำลังอยู่ในท่าหน้า/ทารกท่าหน้า
  5. ศีรษะของทารกยังไม่เข้าสู่อุ้งเชิงกรานของแม่
  6. แพทย์ไม่สามารถระบุท่าของทารกได้ชัดเจน

 

การช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ ต้องเตรียมตัวอย่างไร?

คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์จะไม่สามารถรู้ล่วงหน้าว่าจะคลอดทางช่องคลอดได้ปกติหรือไม่ ทำให้การพิจารณาช่วยคลอดด้วยการใช้เครื่องดูดสุญญากาศ อยู่ที่การตัดสินใจของแพทย์เมื่อเกิดปัญหาขึ้นในขณะทำการคลอดบุตร ซึ่งทางแพทย์จะแนะนำให้คุณแม่เบ่งคลอดตอนมีการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก พร้อมกับการช่วยดึงศีรษะของทารกด้วยเครื่องดูดสุญญากาศเพื่อเป็นการเสริมแรงกัน ทำให้ช่วยทารกคลอดออกมาได้ง่ายขึ้น จากนั้นจึงจะถอดเครื่องดูดสุญญากาศออก และไปทำคลอดตัวทารกต่อไป

 

แพทย์ช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศอย่างไร

หลังจากทีมแพทย์ตัดสินใจที่จะทำการช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศแล้ว ศีรษะของทารกต้องอยู่ต่ำลงมาในช่องคลอด และถุงน้ำคร่ำต้องแตกเรียบร้อยแล้ว จากนั้น แพทย์จะเลือกถ้วย ซึ่งอาจจะเป็นถ้วยซิลิโคน หรือ ถ้วยโลหะ ก็ขึ้นอยู่ที่การพิจารณา และเลือกขนาดที่เหมาะสมที่จะทำการครอบที่ศีรษะทารกได้ หลังจากครอบถ้วยแล้วจะเหนี่ยวนำทำให้เกิดภาวะสุญญากาศ โดยให้ถ้วยติดกับหนังศีรษะทารก

จากนั้นจะมีสายต่อสำหรับให้แพทย์ดึงช่วยเพื่อทำคลอด การดึงจะทำพร้อม ๆ กับการเบ่งของคุณแม่ขณะที่มีการหดรัดตัวของมดลูก ทำจนให้ทารกเคลื่อนต่ำลงมาและคลอดได้สำเร็จ ซึ่งการดึงของแพทย์ส่วนใหญ่แล้วจะดึงไม่เกิน 3 ชุด หรือใช้เวลาประมาณ 15- 30 นาทีเท่านั้น หากไม่สำเร็จต้องหยุดหัตถการช่วยคลอดนี้ และรีบทำการผ่าตัดคลอดแทนค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ผ่าคลอด มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร ผ่าคลอดแนวขวางหรือแนวตั้งดีกว่ากัน

 

การช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ

 

ข้อด้อยของการช่วยคลอดด้วยการดูดสุญญากาศ

สำหรับการคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ อาจจะมีโอกาสไม่สำเร็จได้ 10-20 % ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย ได้แก่ การผิดปกติของอุ้งเชิงกราน การใช้ขนาดถ้วยที่ไม่เหมาะกับทารก เทคนิคการดึงทารก ขนาดของตัวทารกที่ไม่สามารถดึงได้ การตั้งครรภ์ที่ยังไม่ครบกำหนด เป็นต้น

 

ทารกที่เกิดจากการดูดสุญญากาศมีปัญหาหรือไม่?

ถ้าหากมีการประเมินขนาดทารกแล้ว ขนาดช่องเชิงกรานได้ถูกต้อง การเลือกใช้อุปกรณ์ได้เหมาะสมส่วนก็จะไม่มีปัญหาในการช่วยคลอดเท่าไร ยกเว้นในกรณีที่ทารกตัวโต และอาจมีอาการชอกช้ำมากจากการดึงหลาย ๆ ครั้ง หรือการเลือกขนาดถ้วยดูดสุญญากาศที่ไม่เหมาะสม จึงทำให้ถ้วยดูดที่ศีรษะทารกหลุดบ่อย จนทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อคุณแม่และทารกได้

 

การช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ

บทความจากพันธมิตร
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ

 

หลังคลอดด้วยการดูดสุญญากาศ อีกนานแค่ไหนถึงพบแพทย์อีกครั้ง

หลังคลอดด้วยการดูดสุญญากาศ โดยปกติแล้ว แพทย์จะนัดตรวจหลังคลอด ประมาณ 4-6 สัปดาห์ แต่ถ้าหากมีภาวะการติดเชื้อ หรือมีอาการปวดแผลฝีเย็บมากผิดปกติ มีอาการตกขาวเป็นหนอง มีกลิ่นเหม็น มีไข้ หรือมีเลือดออกตามทางช่องคลอด ก็ควรรีบไปพบแพทย์ทันที สามารถไปโรงพยาบาลก่อนแพทย์นัดได้เลยค่ะ ส่วนคนที่ผ่าตัดคลอดก็ให้สังเกตว่า มีไข้หรือเปล่า แผลปวดผ่าตัดผิดปกติไหม หรือมีหนองไหลจากแผล มีเลือดออกทางช่องคลอดมากเกินกว่าปกติหรือเปล่า ก็ต้องรีบไปพบแพทย์ก่อนแพทย์นัดได้เช่นเดียวกันค่ะ

 

ป้องกันการคลอดด้วยการดูดสุญญากาศได้ไหม?

การป้องกันการช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ บางกรณีอาจจะสามารถป้องกันได้ คือ การป้องกันไม่ให้ทารกมีขนาดตัวที่ใหญ่มากเกินไป โดยต้องมีการเพิ่มน้ำหนักตัวคุณแม่ขณะตั้งครรภ์อย่างพอดี และถ้าคุณแม่เป็นเบาหวานในขณะที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ จะต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี เพราะการช่วยคลอดด้วยวิธีนี้ถือเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ทางแพทย์จำเป็นต้องรีบช่วยคลอดทารก

 

ในกรณีที่คุณแม่เพิ่มตั้งครรภ์แรก จะต้องมีการช่วยคลอดด้วยการดูดสุญญากาศเนื่องจากแรงเบ่งของคุณแม่ยังไม่เพียงพอ จึงมีโอกาสเกิดซ้ำได้ในครรภ์ต่อมา ซึ่งแพทย์ผู้ดูแลส่วนใหญ่มักมีการเตรียมพร้อมเอาไว้เสมออยู่แล้วค่ะ อย่างไรก็ตาม ในครรภ์ต่อมาก็อาจจะไม่ต้องใช้การช่วยคลอดด้วยการดูดสุญญากาศ เพราะคุณแม่เคยมีประสบการณ์ในการช่วยเบ่งคลอดมาแล้ว

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

16 เคล็ดลับ ช่วยแม่ท้อง คลอดธรรมชาติ

รู้ทันลดอันตราย “ท้องแข็ง”แบบไหนต้องรีบไปโรงพยาบาล !

อีกหนึ่งอันตราย ที่แม่ท้องควรรู้! น้ำเดินก่อนคลอด ถุงน้ำคร่ำรั่ว ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์

ที่มา : 1

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • การคลอด
  • /
  • การช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ เสี่ยงแค่ไหนกับลูกและแม่?
แชร์ :
  • 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 91 เครื่องดื่ม ที่ทำให้คนท้องเสี่ยงแท้ง

    100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 91 เครื่องดื่ม ที่ทำให้คนท้องเสี่ยงแท้ง

  • เครื่องดื่มสำหรับคนท้อง 20 สูตรเครื่องดื่มสดชื่นระหว่างตั้งครรภ์

    เครื่องดื่มสำหรับคนท้อง 20 สูตรเครื่องดื่มสดชื่นระหว่างตั้งครรภ์

  • 111 ชื่อลูกที่แปลว่าประเสริฐ ชื่อไทยมงคล พร้อมความหมาย

    111 ชื่อลูกที่แปลว่าประเสริฐ ชื่อไทยมงคล พร้อมความหมาย

  • เล่าทั้งน้ำตา! ลูกชายวัย 4 ขวบ ตาบอดเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน!

    เล่าทั้งน้ำตา! ลูกชายวัย 4 ขวบ ตาบอดเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน!

  • 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 91 เครื่องดื่ม ที่ทำให้คนท้องเสี่ยงแท้ง

    100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 91 เครื่องดื่ม ที่ทำให้คนท้องเสี่ยงแท้ง

  • เครื่องดื่มสำหรับคนท้อง 20 สูตรเครื่องดื่มสดชื่นระหว่างตั้งครรภ์

    เครื่องดื่มสำหรับคนท้อง 20 สูตรเครื่องดื่มสดชื่นระหว่างตั้งครรภ์

  • 111 ชื่อลูกที่แปลว่าประเสริฐ ชื่อไทยมงคล พร้อมความหมาย

    111 ชื่อลูกที่แปลว่าประเสริฐ ชื่อไทยมงคล พร้อมความหมาย

  • เล่าทั้งน้ำตา! ลูกชายวัย 4 ขวบ ตาบอดเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน!

    เล่าทั้งน้ำตา! ลูกชายวัย 4 ขวบ ตาบอดเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ