X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

สิ่งของ ของเล่นอันตราย ถ้าไม่อยากเสียใจ อย่าปล่อยให้ลูกเล่นลำพัง

บทความ 3 นาที
สิ่งของ ของเล่นอันตราย ถ้าไม่อยากเสียใจ อย่าปล่อยให้ลูกเล่นลำพัง

เด็กกับของเล่นดูจะเป็นของคู่กันเพราะนอกจากจะช่วยสร้างความสนุกสนานให้ลูกแล้วยังช่วยเสริมสร้างจินตนาการต่างๆและฝึกพัฒนาการการใช้กล้ามเนื้อมัดต่างๆให้ลูกได้ด้วย แต่ของเล่นทุกอย่างก็ไม่เหมาะกับเด็กทุกวัย เพราะหากไม่ระวังให้ดี ของเล่นสนุกๆหน้าตาไม่มีพิษมีภัยอาจทำให้ลูกน้อยของเราได้รับอันตรายได้เหมือนกัน

สิ่งของ ของเล่นอันตราย อย่าให้ลูกเล่นลำพัง

สิ่งของ ของเล่นอันตราย ถ้าไม่อยากเสียใจ อย่าปล่อยให้ลูกเล่น สิ่งของเหล่านี้หรือของเล่นอันตราย แค่เพียงลำพัง

อุทาหรณ์พ่อแม่! เมื่อสิ่งนี้ติดในโพรงจมูกลูกวัย 4 ขวบ

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่จ.กระบี่ นางทิพรัตน์ ปลอดภัย วัย 40 ปี แม่ของเด็กชายเอ  (นามสมมุติ) อายุ 4 ปี 5 เดือน ได้เล่าว่า ขณะที่สามี ออกไปติดตั้งจานดาวเทียมให้ลูกค้าในหมู่บ้าน สามีก็ได้พาลูกชายไปด้วย ระหว่างทำงานก็ปล่อยให้ลูกชายนั่งเล่นหน้าโทรทัศน์ของบ้านลูกค้า โดยวางกล่องเครื่องมือไว้ ในนั้นมีถ่านเม็ดกระดุมอยู่ด้วย เผลอแป๊บเดียว ลูกชายก็เปิดออกมาเล่น

ตอนแรกก็ไม่มีอาการอะไร จนกระทั่งเสร็จงานสามีก็พาลูกชายกลับมาบ้าน เห็นว่าลูกชายร้องและบ่นว่าเจ็บเหมือนมีอะไรเข้าไปอุดในจมูก

พอส่องดูในรูจมูกลูกชาย ก็เห็นถ่านไฟฉายเลเซอร์ หรือถ่านเม็ดกระดุมอุดอยู่ ก็รีบพาไปหาหมอที่โรงพยาบาลลำทับ แต่หมอไม่สามารถเอาออกมาได้ เนื่องจากหลุดเข้าไปลึกมากขึ้น จึงต้องส่งตัวไปที่โรงพยาบาลกระบี่ เพื่อให้หมอทำการเอ็กซเรย์ และดูดออกมาได้สำเร็จ ท่ามกลางความโล่งใจ และหลังจากนี้จะต้องระมัดระวังให้มากยิ่งขึ้น

สิ่งของ ของเล่นอันตราย ถ้าไม่อยากเสียใจ อย่าปล่อยให้ลูกเล่นลำพัง

ภาพแผ่นเอ็กซเรย์ถ่านเม็ดกระดุม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มิลลิเมตร ที่เข้าไปติดอยู่ในโพรงจมูก ของเด็กชายวัย 4 ปี 5 เดือน จนต้องนำตัวส่งโรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์นำออกมา

ที่มา : https://www.khaosod.co.th

 

เรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองว่า สิ่งของต่าง ๆ ล้วนเป็นอันตรายกับลูกได้ โดยเฉพาะทารกและเด็กเล็ก ดัังนั้น พ่อแม่อย่าปล่อยให้ลูกอยู่ใกล้สิ่งของอันตราย หรือเล่นสิ่งของเสี่ยงอันตรายเพียงลำพัง ถ้าไม่อยากเสียใจไปตลอดชีวิต

 

อ่านก่อนซื้อให้ลูกเล่น! 8 ของเล่นอันตราย ต่อวัยอนุบาล

1.โทรศัทพ์มือถือและแล็บเล็ต

การให้ลูกติดจอ จ้องจอนานๆส่งผลต่อสายตาแน่นนอน และจากการวิจัยยังพบว่าเด็กที่ดูสื่อหน้าจอมากเกินไปเป็นเวลามากกว่า 1 ชั่วโมงต่อเนื่องต่อวันจะมีพัฒนาการที่ล่าช้า มีปัญหาด้านพฤติกรรม ทำให้ลูกเฉื่อยชาสมาธิสั้นได้

2.ของเล่นที่มีชิ้นส่วนเล็กๆ

เพราะชิ้นส่วนเล็กๆอาจไปเตะตาเจ้าลูกจอมซนของคุณ เด็กอาจนำเข้าปากไปอมเล่นและกลืนลงท้องไป อาจทำให้ติดคอหรือเป็นอันตรายต่อผนังลำไส้และร้ายแรงถึงขนาดลำไส้อุดตันได้

3.ของเล่นที่มีสีสันฉูดฉาด

สีสันที่ฉูดฉาดของเล่นที่ไม่ได้มาตราฐาน อาจมีการปนเปื้อนสารพิษที่มีอันตรายเช่นสารปรอท เมื่อสัมผัส หรือนำเข้าปากก็ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ ทำให้คลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัวได้

4.ของเล่นหรือเกมที่ส่งเสริมการใช้ความรุนแรง

ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์สำหรับการต่อสู้อย่างนวมชกมวย ปืนอัดลม หรือเกมต่อสู้ที่มีฉากเลือดสาดกระจาย นอกจากไม่เหมาะกับเด็กวัยอนุบาลแล้วอาจกลายเป็นปลูกฝังให้ลูกใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาและเห็นว่าการใช้ความรุนแรงเป็นเรื่องสนุก สะใจไปเลยก็ได้ นอกจากนี้กระสุนปืนอัดลมลูกเล็กๆกลมๆอาจล่อตาล่อใจให้ลูกจับใส่ปากกลืนลงท้องหรือยัดใส่ในรูจมูกทำให้หายใจไม่ออก อุดตันหลอดลมได้

สิ่งของ ของเล่นอันตราย ถ้าไม่อยากเสียใจ อย่าปล่อยให้ลูกเล่นลำพัง

5.ของเล่นที่มีส่วนแหลมคม

มีดทำครัว  ดาบนักรบ หรือกระบี่จอมยุทธ์หากให้ลูกเล่นอาจทำให้เกิดอันตรายได้เพราะถึงแม้จะไม่มีความคม แต่หากเด็กเล่นกันสนุกมากจนลืมตัว แรงจากการกระแทกของปลายดาบทู่ๆก็อาจทะลุเนื้ออ่อนๆของเด็กได้

6.ของเล่นที่มีแบตเตอรี่ก้อนกลมแบน หรือของเล่นที่มีแม่เหล็กเล็กๆ

แบตเตอรี่ในของเล่น หรือแม่เหล็กที่ติดมากับของเล่นอาจหลุดออกมา ยั่วยวนให้ตัวเล็กของเราหยิบใส่ปากไปอมเหลือเกิน และอาจกลืนลงท้องได้ไม่ยาก

7.ของเล่นที่มีเสียงดังเกินไป

ไม่ว่าจะเป็นปืนยิงแบบมีเสียง หุ่นยนต์ หรือเครื่องดนตรีจำลอง เพราะอาจมีเสียงดังเกินไปจนอาจทำให้ลูกมีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยินได้

8.รองเท้าสเก็ตหรืออินไลน์สเก็ต

หากลูกอยากเล่นสเก็ตควรพาไปเล่นในสนามหรือสถานที่เฉพาะที่มีผู้ฝึกสอน มีอุปกรณ์ป้องกันให้ครบเมื่อเกิดอุบัติเหตุจะได้ไม่บาดเจ็บร้ายแรง ไม่ควรซื้อให้ลูกใส่เดินในห้างสรรพสินค้าหรือสถานที่สาธารณะ เพราะอาจเป็นการรบกวนผู้อื่นและอาจก็ให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงต่อตัวเด็กได้

หลักการง่ายๆในการเลือกซื้อของเล่นให้ลูกที่พ่อแม่ต้องทำคือ สำรวจมาตราฐานสินค้าว่ามีเครื่องหมาย มอก.ได้รับการรับรองมาตราฐานการผลิตหรือไม่ จากนั้นดูชื่อบริษัท ดูที่อยู่บริษัทว่ามีหลักแหล่งแน่นอนหรือไม่ และควรอ่านคำแนะนำที่กล่องด้วยว่าเหมาะกับเด็กวัยไหนและมีวิธีการใช้อย่างไร และของเล่นที่ดีที่สุดของลูกก็คือพ่อแม่ค่ะ

ในส่วนของของเล่นชิ้นเล็กๆวิธีตรวจสอบคือ หากของเล่นชิ้นไหนผ่านแกนกระดาษทิชชู่ได้ ถือว่าเล็กเกินกว่าจะนำมาให้ลูกเล่น อย่าลืมตรวจดูสีและกลิ่นของวัสดุที่นำมาใช้ทำของเล่นหากไม่มีความคงทน มีกลิ่นสารเคมีรุนแรงก็ไม่ควรซื้อมาให้ลูกเล่นนะคะ ใส่ใจเลือกของเล่นให้ลูกสักนิดเพราะอุบัติเหตุและความสูญเสียที่เกิดเพราะของเล่นไม่ใช่เรื่องเล่นๆที่จะมองข้ามได้เลย

แหล่งข้อมูล

 

https://www.doctor.or.th/article/detail/2048

 

 

 

บทความจากพันธมิตร
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
เผยเคล็ดลับการเรียนออนไลน์ที่จะทำให้ลูกตั้งใจเรียนมากขึ้น!
เผยเคล็ดลับการเรียนออนไลน์ที่จะทำให้ลูกตั้งใจเรียนมากขึ้น!

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

daawchonlada

  • หน้าแรก
  • /
  • การเลี้ยงลูก
  • /
  • สิ่งของ ของเล่นอันตราย ถ้าไม่อยากเสียใจ อย่าปล่อยให้ลูกเล่นลำพัง
แชร์ :
  • ห้องนอนเด็กอ่อน ต้องจัดอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง พ่อแม่มือใหม่ต้องอ่าน !

    ห้องนอนเด็กอ่อน ต้องจัดอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง พ่อแม่มือใหม่ต้องอ่าน !

  • 5 ข้อต้องคิดหาก อยากให้ลูกเลิกกับแฟน และวิธีการบอกที่เหมาะสม

    5 ข้อต้องคิดหาก อยากให้ลูกเลิกกับแฟน และวิธีการบอกที่เหมาะสม

  • เผยทริค! วิธีเลือกผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก สำหรับเด็ก ด้วยวิธีง่าย ๆ

    เผยทริค! วิธีเลือกผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก สำหรับเด็ก ด้วยวิธีง่าย ๆ

  • ห้องนอนเด็กอ่อน ต้องจัดอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง พ่อแม่มือใหม่ต้องอ่าน !

    ห้องนอนเด็กอ่อน ต้องจัดอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง พ่อแม่มือใหม่ต้องอ่าน !

  • 5 ข้อต้องคิดหาก อยากให้ลูกเลิกกับแฟน และวิธีการบอกที่เหมาะสม

    5 ข้อต้องคิดหาก อยากให้ลูกเลิกกับแฟน และวิธีการบอกที่เหมาะสม

  • เผยทริค! วิธีเลือกผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก สำหรับเด็ก ด้วยวิธีง่าย ๆ

    เผยทริค! วิธีเลือกผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก สำหรับเด็ก ด้วยวิธีง่าย ๆ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ