TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คุณหมอเตือน! อุ้มลูกผิดวิธี ระวังลูกข้อหลุด และกระดูกเสื่อม

บทความ 5 นาที
คุณหมอเตือน! อุ้มลูกผิดวิธี ระวังลูกข้อหลุด และกระดูกเสื่อม

พ่อแม่ทุกคนรู้ว่าร่างกายของเด็กทารกนั้นบอบบาง ดังนั้นการอุ้มเด็กอย่างถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อร่างกายและการเจริญเติบโตลูกน้อย อย่างไรก็ตาม ยังมีพ่อแม่หลายคนที่อาจจะยังไม่ทราบผลเสียด้านสุขภาพระยะยาวที่จะเกิดขึ้นกับลูก หากพ่อแม่ อุ้มลูกผิดวิธี บทความนี้จะพามาดูวิธีอุ้มลูกที่ถูกต้อง พร้อมคำแนะนำในการอุ้มลูก เพื่อสุขภาพและการเจริญเติบโตที่ดีของทารก

 

การอุ้มลูก มีความสำคัญอย่างไร

การอุ้มลูกเป็นสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจ เพราะพ่อแม่มือใหม่หลายคนยังไม่รู้จักวิธีการอุ้มที่ถูกต้อง จึงจำเป็นที่จะต้องฝึกกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้พร้อมรับมือกับการอุ้มลูกน้อยแรกเกิด ยิ่งหากพ่อแม่อุ้มลูกผิดวิธี อุ้มผิดท่า หรืออุ้มได้ไม่ดี ก็อาจส่งผลต่อร่างกายของลูกน้อยได้ ทำให้ลูกเกิดอาการบาดเจ็บหรือกระทบกระเทือนศีรษะอย่างรุนแรง อีกทั้งยังอาจส่งผลต่อพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก เพราะฉะนั้นการรู้จักวิธีอุ้มลูกที่ถูกต้อง จึงเป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่ทุกคนควรรู้และทำให้ถูกวิธี

 

อุ้มลูกผิดวิธี ส่งผลเสียจริงไหม

อย่างที่ทราบกันดีว่าทารกเป็นวัยบอบบาง โดยเฉพาะบริเวณศีรษะและลำคอ หากอุ้มลูกผิดวิธีก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพลูกน้อย ดังนั้น เวลาอุ้มลูกพ่อแม่จึงต้องคอยประคับประคองศีรษะและลำคอลูกอยู่เสมอ เพราะไม่เช่นนั้นอาจทำให้ลูกเกิดโรคผิดปกติ ดังต่อไปนี้

 

1. โรคข้อสะโพกเสื่อม

โรคข้อสะโพกเสื่อม หรือข้อสะโพกหลุดแต่กำเนิด เกิดจากข้อต่อสะโพกเจริญเติบโตผิดปกติ หรือเมื่อสะโพกยุบมากเกินไป ทำให้กระดูกสะโพกโผล่ในตำแหน่งที่ผิด คุณหมอเจสัน แฮร์ แพทย์จัดกระดูกจากสำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและการฟื้นฟูสมรรถภาพ เชื่อว่าการใช้ผ่าห่อตัวลูกน้อยผิดวิธีก็ทำให้เกิดโรคดังกล่าวได้ คุณหมอแนะนำว่าไม่ควรใช้ผ่าห่อระหว่างขาไปจนถึงสะโพกแล้วอุ้มลูก เพราะจะทำให้ข้อต่อสะโพกของลูกกระดูกคลาดเคลื่อน ทำให้สะโพกเจริญเติบโตผิดธรรมชาติ

ดังนั้น คุณแม่ควรห่อขาลูกหลวม ๆ ซึ่งฟังดูสวนทางกับความเชื่อเดิม คุณหมอย้ำว่า เมื่อพ่อแม่อุ้มลูกควรให้เข่าลูกเคลื่อนได้ และหันไปด้านนอก หรือใน “ท่ากบ” ให้ลูกปล่อยขาตามธรรมชาติ โดยนิ้วเท้าของลูกจะจิ้มกับลำตัวหรือเอวผู้อุ้ม ซึ่งเข่าของลูกจะสามารถขยับได้

 

2. โรคกระดูกสันหลังเสื่อม

คุณหมอแฮร์กล่าวว่า โรคกระดูกสันหลังเสื่อม เกิดจากกระดูกสันหลังได้รับบาดเจ็บจากแรงกดที่ทำให้เกิดการแตกร้าว ทำให้มีอาการเจ็บปวดเรื้อรัง ซึ่งต้องรักษาด้วยการผ่าตัด แต่ทั้งนี้สามารถป้องกันด้วยไม่อุ้มลูกด้วยผ้าอุ้มลูกที่แน่นเกินไป เพราะจะทำให้กระดูกสันหลังลูกโค้งออกแทนที่จะโค้งเข้าด้านใน โดยกระดูกสันหลังโค้งออกด้านนอกเมื่อเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี

บทความที่เกี่ยวข้อง : อุ้มลูกให้ถูกท่า ทำอย่างไร / 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 62

 

อุ้มลูกผิดวิธี

 

พ่อแม่ควรอุ้มลูกจนถึงกี่เดือน

โดยปกติแล้ว พ่อแม่ควรอุ้มเด็กตั้งแต่ช่วงวัยแรกเกิดไปจนถึงช่วง 6 เดือน เพราะเป็นช่วงที่ทารกยังไม่สามารถประคองตัวเองให้สามารถลุกนั่งหรือคลานได้ จำเป็นที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องอุ้มลูกอยู่ตลอดระยะเวลาเพื่อคอยดูเขาอยู่ตลอด อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีคำแนะนำที่ถูกต้องว่าควรอุ้มลูกจนถึงเมื่อไหร่ แต่โดยส่วนมากนั้น จะรอเมื่อลูกเริ่มเดินได้คล่องโดยไม่ต้องมีคุณพ่อคุณแม่คอยประคับประคอง ดังนั้น หากสังเกตว่าลูกเริ่มเดินได้ดีแล้ว ก็ค่อย ๆ ลดการอุ้มลูกลงได้

 

ท่าอุ้มลูกที่พ่อแม่ควรระวัง

เด็กวัยทารกเป็นวัยที่ร่างกายยังบอบบาง ยังไม่คอแข็ง คุณพ่อคุณแม่จึงควรรู้จักท่าอุ้มที่อาจเป็นอันตรายต่อเขา เพื่อป้องกันการบาดเจ็บและโรคอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งท่าอุ้มที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวัง ได้แก่

 

1. อุ้มโยนหรืออุ้มเขย่า

การอุ้มโยนหรืออุ้มเขย่าเป็นท่าที่พ่อแม่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะอาจทำให้เลือดออกในสมองลูก เพราะการเขย่าที่รุนแรงจนเกินไป อีกทั้งยังอาจส่งผลกระทบต่อสมองของเด็ก จนถึงขั้นตาบอด ชักกระตุก เป็นอัมพาต รวมไปถึงการเสียชีวิต

 

2. อุ้มลูกในท่าคอพับหรือหงาย

ท่าอุ้มนี้อาจเป็นท่าที่ทำให้ลูกหายใจไม่สะดวก คุณพ่อคุณแม่จึงควรหลีกเลี่ยงการอุ้มลูกด้วยท่านี้ และควรสังเกตว่าคอลูกพับหรือเปล่า หากลูกคอพับจนทำให้คางชิดติดหน้าอก หรือแหงนหน้ามากจนเกินไป ก็อาจเป็นอันตรายแก่ร่างกายลูกได้

 

3. อุ้มเข้าเอว

การอุ้มลูกเข้าเอวเป็นเวลานาน ส่งผลเสียต่อทั้งกล้ามเนื้อลูกและกล้ามเนื้อของคุณพ่อคุณแม่ อีกทั้งยังทำให้ลูกมองเห็นแต่มุมซ้ำเดิม ๆ ไม่ได้เห็นมุมมองอื่น ๆ จนอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการลูกได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : พ่อแม่มือใหม่ อุ้มลูก ไม่ให้เก้ ๆ กัง ๆ อุ้มท่าไหนถึงจะดี

 

อุ้มลูกผิดวิธี

 

4. อุ้มลูกนอน

การอุ้มลูกนอนอาจเป็นท่าอุ้มลูกที่อาจเป็นอันตรายต่อเด็ก เพราะคุณพ่อคุณแม่บางคนอาจอุ้มลูกหลับจนทำให้ลืมระมัดระวังศีรษะของเขา ยิ่งหากอุ้มเด็กพาดบ่าก็อาจส่งผลเสียต่อกล้ามเนื้อของเด็ก และยังอาจส่งผลต่ออุบัติเหตุได้ด้วย

 

5. อุ้มไม่ได้ประคองคอและหลัง

เด็กแรกเกิดไปจนถึง 6 เดือน คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรอุ้มลูกแบบไม่ได้ประคองคอและหลัง เพราะทารกในวัยนี้ยังมีร่างกายบอบบาง และพัฒนาการได้ไม่เต็มที่ หากเผลอไปอุ้มลูกท่านี้ก็อาจส่งผลต่อกล้ามเนื้อหลังลูกจนทำให้อักเสบได้

บทความจากพันธมิตร
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ

 

วิธีการอุ้มลูกที่ถูกต้อง

วิธีการอุ้มลูกที่ต้อง พ่อแม่ควรใช้ผ้าห่อตัวเด็กที่มีเนื้อนุ่ม ปลอดภัย และสบาย ควรอุ้มลูกให้แนบหน้าอกใกล้หัวใจมากที่สุด และอาจจะต้องมีที่รองหลังด้านหลังให้กระดูกโค้งตามธรรมชาติ ซึ่งวิธีการที่ถูกต้องมีดังนี้

  • ก่อนยกตัวลูกขึ้นมา พูดคุยกับลูกก่อนให้ลูกได้รับรู้ว่าคุณอยู่ตรงนั้น ลูกจะได้ไม่ตกใจ
  • ประคองคอน้อย ๆ และหัวของลูกอย่างระมัดระวังเวลาคุณอุ้มลูกขึ้นมา คุณต้องแน่ใจว่าส่วนหัวของลูกได้รับการโอบอุ้มตลอดเวลาแม้กระทั่งตอนที่คุณจะวางลูกลง
  • หากลูกกำลังนอนคว่ำหน้าอยู่ ค่อย ๆ สอดแขนข้างหนึ่งเข้าไปรองรับที่ใต้คางและคอ แล้วค่อย ๆ สอดแขนอีกข้างรอบ ๆ สะโพกของลูก จากนั้นคุณก็จะสามารถกลับด้านลูกได้ในขณะที่ลูกยังคงได้รับการโอบอุ้มอยู่ตลอด
  • เมื่ออุ้มลูกขึ้นมาแล้ว และคุณก็อุ้มลูกไปไหนมาไหนได้ วิธีการทั่ว ๆ ไปในการอุ้มเด็กทารกเกิดใหม่คือ การเอาตัวลูกไว้ใกล้หัวใจคุณ และให้หัวลูกได้พักอยู่ที่ไหล่ของคุณ อย่าลืมประคองคอของลูกด้วยมือหนึ่งข้าง ส่วนมืออีกข้างก็รองรับไว้ที่ก้นของลูก

อย่างไรก็ตาม มีวิธีในการอุ้มลูกอยู่มากกว่าหนึ่งวิธี และเมื่อลูกอายุมากขึ้น ลูกจะต้องการการประคับประคองส่วนสันหลังจากคุณน้อยลง เมื่อลูกอายุได้หกเดือน คุณสามารถอุ้มลูกด้วยมือข้างเดียวได้ หรืออุ้มลูกไปมาด้วยการใช้ผ้าอุ้มเด็ก เป้อุ้มเด็ก และเบาะนั่งเด็ก

บทความที่เกี่ยวข้อง : 8 ท่าอุ้มทารกที่ถูกต้อง ปลอดภัยและสบายสำหรับลูก ท่าอุ้มลูกสำหรับพ่อแม่มือใหม่

 

อุ้มลูกผิดวิธี

 

คำแนะนำในการอุ้มลูก

  • ไม่ควรใช้เก้าอี้กระโดดเสริมพัฒนาการที่ติดอยู่กับกรอบประตู เพราะจะทำให้กระดูกสันหลังลูกรับน้ำหนักมากเกินไป
  • ลดการอุ้มลูกโดยเอาหน้าออกด้านนอก เพราะการเอาหน้าเข้าลำตัวผู้อุ้มจะช่วยพัฒนาการสะโพก และศีรษะอยู่ในตำแหน่งเหมาะสมสำหรับการนอนที่สุด
  • ควรใช้ผ้าอุ้มที่นุ่มและเหมาะกับสะโพก
  • ระวังหากได้ยินเสียงสะโพกเคลื่อน ความยาวขาไม่เท่ากัน หรือรอยข้อพับไม่เท่ากัน หากลูกมีอาการดังกล่าว ควรปรึกษากุมารแพทย์ทันที

 

อุ้มลูกผิดวิธี อาจส่งผลเสียต่อเด็กในระยะยาว โดยเฉพาะโรคข้อสะโพกเสื่อมและกระดูกสันหลังเสื่อม ยิ่งไปกว่านั้นยังอาจส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กได้ หากคุณพ่อคุณแม่อุ้มลูกผิดท่าจนเผลอทำลูกหลุดจากมือหรือพลัดตก ก็อาจทำให้ลูกบาดเจ็บอย่างรุนแรง จนถึงขั้นกระทบกระเทือนต่อสมอง เพราะฉะนั้น จึงควรรู้จักวิธีการอุ้มลูกที่ถูกต้องเพื่อสุขภาพและพัฒนาการที่ดีของลูกน้อย

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 13 อุ้มลูกอย่างไร

ผ้าอุ้มเด็ก ดีอย่างไร ช่วยลดอาการปวดหลังให้คุณแม่ได้จริงไหม?

“อุ้มลูกทีไร ปวดหลังทุกที” ปวดหลังหลังคลอด แบบนี้แก้อย่างไร

ที่มา : sg.theasianparent, enfababy, babyeverything

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • คุณหมอเตือน! อุ้มลูกผิดวิธี ระวังลูกข้อหลุด และกระดูกเสื่อม
แชร์ :
  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

  • ลูกน้ำมูกไหลหลังว่ายน้ำ เกิดจากอะไร? ป้องกันยังไงไม่ให้ลูกป่วย?

    ลูกน้ำมูกไหลหลังว่ายน้ำ เกิดจากอะไร? ป้องกันยังไงไม่ให้ลูกป่วย?

  • เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

    เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

powered by
  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

  • ลูกน้ำมูกไหลหลังว่ายน้ำ เกิดจากอะไร? ป้องกันยังไงไม่ให้ลูกป่วย?

    ลูกน้ำมูกไหลหลังว่ายน้ำ เกิดจากอะไร? ป้องกันยังไงไม่ให้ลูกป่วย?

  • เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

    เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว