อาหารเสริมหลัง 6 เดือน เริ่มอาหารเสริมลูกด้วยเมนูไหนดี ตารางอาหารเสริมทารก 6 เดือน เจ้าหนูเริ่มหม่ำอะไรก่อนถึงจะดี วิธีป้อนข้าวลูก 6 เดือน พร้อมเทคนิกให้เจ้าตัวน้อยยอมกิน
ทำไมต้องเริ่มอาหารเสริมหลัง 6 เดือน
พญ.ภณิดา แสวงศักดิ์ กุมารแพทย์ด้านโรคทางเดินอาหารและโรคตับในเด็ก ศูนย์สุขภาพเด็ก รพ.พญาไท 3 อธิบายถึงเหตุผลทำไมต้องเริ่มอาหารเสริมหลัง 6 เดือนว่า
- ช่วงอายุ 6 เดือนแรกทารกจะได้รับสารอาหารเพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตจากน้ำนมแม่หรือนมดัดแปลงสำหรับทารก
- ทารกอายุก่อน 6 เดือน ยังไม่พร้อมสำหรับสำหรับการย่อยอาหารอื่นนอกจากนม เนื่องจากยังมีน้ำย่อยสำหรับย่อยแป้ง โปรตีน และไขมันยังไม่เพียงพอ น้ำย่อยดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุ 4 – 5 เดือน
- ทารกอายุก่อน 4 – 6 เดือน ยังมีพฤติกรรมห่อปากและเอาลิ้นดุนอาหารออกมา ทำให้ไม่สามารถใช้ลิ้นช่วยตวัดเพื่อกลืนอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลวได้
- ไตของทารกแรกเกิดยังไม่สามารถขับถ่ายของเสียได้ดีเหมือนผู้ใหญ่ โดยอัตราการกรองของไตจะเพิ่มขึ้นตามอายุจนเท่าผู้ใหญ่ที่อายุ 2 ปี
ดังนั้น ควรเริ่มให้อาหารตามวัยเมื่อทารกอายุ 6 เดือน เนื่องจากนมแม่อย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของทารก และทารกมีความพร้อมที่จะรับอาหารอย่างอื่นนอกจากนมแม่ได้
ก่อนเริ่มอาหารเสริมหลัง 6 เดือน ลูกต้องพร้อม!
วิธีสังเกตว่าลูกพร้อมจะกินอาหารเสริมแล้ว
- ลูกตั้งคอตรงได้แล้ว หากทารกมีกล้ามเนื้อคอที่แข็งแรง บังคับกล้ามเนื้อส่วนนี้ได้เอง จะทำให้ทานอาหารเสริมได้ดีกว่าทารกที่ยังตั้งคอตรงด้วยตัวเองไม่ได้ ซึ่งเสี่ยงต่อการสำลัก นอกจากนี้ ยังต้องสังเกตด้วยว่า ลูกนั่งได้ด้วยตัวเองแล้วหรือยัง ถ้าลูกนั่งเองได้ (หรือนั่งได้หลังตรงด้วยการประคองของแม่) จะช่วยให้ทานอาหารได้ง่ายและไม่ค่อยสำลัก
- ลูกคอยมองเวลาพ่อแม่กินอาหาร หากลูกเริ่มสนใจว่าพ่อแม่กินอะไรแล้วแสดงท่าทางอยากทาน ลองเอาช้อนคันเล็ก ๆ ใส่ปากลูก ถ้าลูกไม่เอาลิ้นดันหรือคายออกมา แสดงว่าร่างกายลูกพร้อมแล้ว เพราะโดยธรรมชาติ ทารกจะดันสิ่งที่เอาเข้าปากออกมา ซึ่งจะทำแบบนี้จนถึงช่วงอายุประมาณ 4 เดือน
- ลูกมีน้ำหนักตัวราว ๆ สองเท่าของน้ำหนักแรกเกิด ถ้าลูกเริ่มมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับทานนมแม่มากขึ้น หิวบ่อย ๆ ร้องไห้ขอกินนมถี่ ๆ ก็สะท้อนว่า ลูกเริ่มต้องการอาหารมากขึ้น นอกเหนือจากนมแม่
อาหารเสริมทารก 6 เดือน
- ยังคงให้ลูกน้อยกินนมแม่อยู่
- สำหรับแม่ต้องให้ลูกน้อยกินนมผสม ควรให้ครั้งละ ประมาณ 4 – 6 ออนซ์
- จำนวนนมที่ควรให้ คือ 6 – 8 มื้อ
- อาจจะเริ่มให้อาหาร 1 มื้อ โดยเริ่มจากอาหารบดก่อน เช่น ข้าวบดหรือกล้วยบด แล้วลองป้อนดูว่าลูกกลืนได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ควรเว้นการเริ่มให้อาหารลูกไว้ก่อน
อาหารเสริมทารก 6 – 9 เดือน
- หากคุณแม่สามารถให้นมลูกได้ ก็ให้ได้อย่างต่อเนื่อง
- สำหรับแม่ต้องให้ลูกน้อยกินนมผสม ควรให้ครั้งละ ประมาณ 5 – 6 ออนซ์ จำนวน 4 – 5 มื้อต่อ 24 ชม.
- อาหารที่ให้ลูกทานต้องครบ 5 หมู่ แต่ต้องไม่มีการปรุงแต่งรสชาติ
- ควรเริ่มให้ลูกน้อยกินผลไม้สด หากเป็นน้ำผลไม้ ไม่ควรกินเกิน 2 – 4 ออนซ์ต่อวัน
- ควรให้ลูกทานอาหารวันละ 1 – 2 มื้อ สำหรับเด็ก 6 – 7 เดือน และควรให้ลูกทานอาหารวันละ 2 มื้อ สำหรับเด็ก 8 – 9 เดือน
อาหารเสริมทารก 9 – 12 เดือน
- หากคุณแม่สามารถให้นมลูกได้ ก็ให้ได้อย่างต่อเนื่อง
- สำหรับแม่ต้องให้ลูกน้อยกินนมผสม ควรให้ครั้งละ ประมาณ 6 – 8 ออนซ์ จำนวน 3 – 5 มื้อต่อ 24 ชม.
- อาหารที่ให้ลูกทานต้องครบ 5 หมู่ แต่ต้องไม่มีการปรุงแต่งรสชาติ
- ให้ลูกน้อยกินผลไม้สด หากเป็นนำผลไม้ ไม่ควรกินเกิน 2 – 4 ออนซ์ต่อวัน
- ควรให้ลูกทานอาหารวันละ 2 มื้อ สำหรับเด็ก 9 เดือน และควรให้ลูกทานอาหารวันละ 3 มื้อ สำหรับเด็ก 10 – 12 เดือน
- ฝึกให้ลูกดื่มนมจากกล่องหรือแก้ว และพยายามให้ลูกเลิกกินนมตอนกลางคืน รวมถึงเลิกขวดนมด้วย
- ควรฝึกให้ลูกหยิบอาหารทานเอง แต่เริ่มจากอาหารนิ่มก่อน ระวังอย่าให้อาหารจำพวกเม็ดเพราะอาจทำให้ติดคอได้
ผักเเละผลไม้ที่ควรเอาไปเป็นอาหารเสริม
ผักโขม อุดมไปด้วยคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นเม็ดสีเขียวที่พบในพืชที่ช่วยป้องกันและรักษาโรคโลหิตจาง ผักโขมเป็นแหล่งที่ดีของเบต้าแคโรทีนและวิตามินซีดังนั้นอย่าต้มให้สุกเกินไปมิฉะนั้นคุณจะทำลายเนื้อหาจำนวนมาก แต่ถึงแม้จะมีความคิดเห็นที่เป็นที่นิยม – และป๊อปอาย – ก็ไม่ใช่แหล่งเหล็กที่ดีเป็นพิเศษ
บร็อคโคลี เป็นราชาซุปตาร์ผักเพื่อสุขภาพ สารพฤกษเคมีมีคุณสมบัติที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการต่อต้านมะเร็ง เป็นแหล่งวิตามินซีและเบต้าแคโรทีนที่ดีเยี่ยม ยิ่งดอกย่อยมีสีเข้มเท่าใดก็จะยิ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระมากขึ้นเท่านั้น ควรนึ่งบร็อคโคลีเพราะการต้มให้ปริมาณวิตามินซีลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง บร็อคโคลีรับประทานสัปดาห์ละ 3 ครั้งเชื่อว่าจะลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง เนื่องจากบรอกโคลีมีกลูโคซิโนเลตซึ่งกระตุ้นการผลิตเอนไซม์ต้านมะเร็ง
แครอท มีคุณค่าทางโภชนาการมากขึ้นเมื่อปรุงสุกซึ่งแตกต่างจากผักอื่น ๆ การปรุงอาหารเป็นการเปิดเซลล์พืชเพื่อให้สารต้านอนุมูลอิสระและสารเคมีจากพืชอื่น ๆ สามารถดูดซึมได้ดีขึ้นมาก แครอทมีแคโรทีนจำนวนมากซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทำให้แครอทมีสีส้ม
มะเขือเทศ มีไลโคปีนซึ่งเป็นเม็ดสีทรงพลังที่สำคัญในการป้องกันมะเร็ง ผู้ชายที่มีไลโคปีนในระดับสูงในแหล่งสะสมไขมันมีโอกาสเป็นโรคหัวใจวายได้ถึงครึ่งหนึ่ง มะเขือเทศอุดมไปด้วยไลโคปีนและโพแทสเซียมซึ่งมีความสำคัญต่อสุขภาพของเลือดและช่วยต่อต้านผลเสียของเกลือ ปัจจัยหนึ่งของการมีสุขภาพที่ดีของชาวเมดิเตอร์เรเนียนอาจเป็นเพราะอาหารของพวกเขาอุดมไปด้วยผลไม้และผักรวมทั้งมะเขือเทศ
ราสเบอร์รี่ อุดมไปด้วยวิตามินซีซึ่งจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตผิวหนังกระดูกและฟันที่แข็งแรงและยังช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหาร ราสเบอร์รี่มีกรดโฟลิกและสังกะสีสูงกว่าผลไม้ส่วนใหญ่
เมนูอาหารเสริมลูกน้อยวัย 6 เดือน
- แรกเริ่ม อาจให้ ข้าวขาว / ผักเขียว /เนื้อไก่ หมู ปลาน้ำจืด ที่แพ้กันน้อย
- เริ่มอาหารใหม่ทีละอย่าง ทุก 3 – 5 วัน เพื่อสังเกตอาการแพ้
- ไข่แดงต้มสุกแนะนำหลัง 6 เดือน
- ไข่ขาวและแป้งสาลีที่แพ้บ่อย อาจรอไป ให้หลัง 1 ขวบ เพราะในไข่ขาวมีโปรตีนที่ลูกอาจจะแพ้ได้มากกว่า
- อาหารทะเล แพ้บ่อย อาจรอไปให้หลัง 1 – 2 ขวบ
- ถั่วลิสง ควรให้หลัง 3 ขวบ เพราะนอกจากแพ้บ่อยแล้ว ยังอาจสำลักอุดกั้นทางเดินหายใจในเด็กเล็ก
การเตรียมอาหารสำหรับเด็ก
ผัก
ล้างและลอกผิวจากผัก เอาเมล็ดหรือหลุม หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนึ่งในน้ำเดือด หรือล้างผักแล้วใช้ส้อมจิ้มผิวหนังหลาย ๆ จุดแล้วอบจนนิ่ม เอาผิวหนังออก ใส่ผักที่ปรุงแล้วลงในชามเติมน้ำเล็กน้อย แล้วบดด้วยส้อมหรือที่บดมันฝรั่ง
ผลไม้
เลือกผลไม้สุก ล้างและปอกเปลือกแล้วเอาหลุมและเมล็ดออก หั่นเป็นชิ้น ผลไม้เนื้อนิ่มเช่นกล้วยอะโวคาโดและพีชสามารถบดด้วยส้อมหรือมันฝรั่งบด ปรุงผลไม้เนื้อแน่นเช่นแอปเปิ้ลก่อน ล้างและปอกเปลือกแล้วเอาหลุมและเมล็ดออก ฝานหรือหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ต้มในน้ำเล็กน้อยจนนิ่ม บดด้วยส้อมหรือที่บดผัก
เนื้อสัตว์และทางเลือก
เนื้อสัตว์ควรบดและสามารถต้มหรือลวกได้ ปลาสามารถลวกหรืออบได้ เมื่อสุกให้เอาหนังและกระดูกออกก่อนที่จะใช้ส้อมจิ้มปลา เนื้อสัตว์และปลามักจะกินง่ายกว่าสำหรับทารกหากผสมกับอาหารอื่น ๆ เช่นข้าวหรือมันฝรั่ง ถั่วที่ปรุงสุกดีแล้ว เช่น ถั่วเลนทิลหรือไข่ต้มสุกสามารถบดด้วยส้อมหรือมันฝรั่งบด เติมน้ำเล็กน้อยให้ชุ่ม
วิธีป้อนข้าวลูก 6 เดือน
- เริ่มอาหารเสริมหลัง 6 เดือนด้วยคำเล็ก ๆ อาหารเสริมหลัง 6 เดือน ลูกอาจจะกินได้เพียง 1 – 2 ช้อน เมื่อลูกมีท่าทางว่าจะรับอาหารเพิ่มได้ก็ค่อยป้อนเพิ่ม โดยอาหารนั้นต้องบดละเอียด เพราะกว่าเหงือกลูกจะแข็งแรงก็คงประมาณ 8 เดือน ค่อยบดอาหารเพียงหยาบ ๆ
- คอยสังเกตอาการลูก ถ้าป้อนแล้ว ลูกหันหน้าหนี หรือดุนอาหารออกจากปาก ก็อย่าไปยัดเยียด
- เพิ่มเมนูอาหารเสริมลูกน้อยทีละอย่าง ให้ลูกทดลองกินอาหารเสริมเพิ่มจากนมแม่ทีละชนิด เพื่อให้ทารกค่อย ๆ เรียนรู้รสชาติอาหาร และเป็นการสังเกตอาการแพ้อาหารของลูกได้ด้วย
- ให้ลูกเรียนรู้การกินผักก่อนผลไม้ ลูกจะได้คุ้นเคยกับผักที่รสชาดอ่อนกว่า และผลไม้ยังรสชาดหวาน ถ้าลูกกินเร็วจะชินกับรสหวาน
- อาหารเสริมหลัง 6 เดือนต้องไม่ปรุงรส เพื่อไม่ให้ลูกได้รับโซเดียม หรือน้ำตาลมากเกินความต้องการของร่างกาย ทั้งยังช่วยไม่ให้ทารกติดรสชาด หวาน เค็ม ที่อาจก่อให้เกิดโรคภัยในอนาคตได้
เทคนิกให้เจ้าตัวน้อยยอมกินอาหารเสริมหลัง 6 เดือน
สร้างบรรยากาศให้สนุกไม่น่าเบื่อ หรือดูตึงเครียดเกินไป แต่ไม่ควรเริ่มด้วยการเปิดทีวี ให้ลูกดูมือถือ หรือเล่นแท็บเล็ต เพราะสิ่งเหล่านี้จะเบี่ยงเบนความสนใจของลูกได้ และควรเลือกใช้อุปกรณ์น่ารัก ๆ มาหลอกล่อลูก เช่น ผ้ากันเปื้อนลายการ์ตูน หรือช้อนสีสวย ๆ
ย้ำอีกครั้งว่า การให้ลูกทานอาหารเสริมหลัง 6 เดือน ต้องเริ่มให้อาหารเพียง 1 มื้อ โดยเริ่มจากอาหารบดก่อน แล้วลองป้อนดูว่าลูกกลืนได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ควรเว้นการเริ่มให้อาหารลูกไว้ก่อน และปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากทารกบางคนก็เริ่มอาหารเสริมได้ช้ากว่าทารกคนอื่น ๆ
บทความที่เกี่ยวข้อง: ทานอาหารให้เหมาะสมตามช่วงวัย สำหรับทารกแรกเกิด ถึง 1 ปี
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
เมื่อลูกเป็นโรคแพ้อาหารทุกอย่าง ฝันร้ายที่ต้องผ่านไปให้ได้เพื่อลูก
จะรู้ได้อย่างไรว่าทารกกินนมอิ่มแล้ว ป้องกัน Overfeeding
ควรให้นมลูกถึงเมื่อไหร่ ควรเปลี่ยนจากขวดเป็นแก้วตอนไหน ควรเสริมอาหารเสริมเมื่อไหร่
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!