X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อาหารทารกหลัง 6 เดือน การเริ่มอาหารตามวัยและไอเดียเมนูอาหาร สำหรับทารกอายุ 6 เดือน ขึ้นไป

บทความ 5 นาที
อาหารทารกหลัง 6 เดือน การเริ่มอาหารตามวัยและไอเดียเมนูอาหาร สำหรับทารกอายุ 6 เดือน ขึ้นไป

ไอเดียเมนูอาหาร สำหรับทารกหลัง 6 เดือน อาหารแบบไหน ให้ลูกได้เคี้ยว ป้องกันปัญหาอมข้าว ไม่ยอมกลืน

อาหารทารกหลัง 6 เดือน

การเริ่มอาหารตามวัยของทารก อาหารทารกหลัง 6 เดือน ไอเดียเมนูอาหาร สำหรับทารกอายุ 6 เดือนขึ้นไป

 

การเริ่มอาหารตามวัยของทารกหลัง 6 เดือน

เมื่อทารกน้อยอายุครบ 6 เดือนแล้วการทานนมเพียงอย่างเดียวจะไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายที่เจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้อาหารตามวัยที่เหมาะสมแก่ลูก โดยเริ่มทานอาหารตามวัยที่อายุ 6 เดือนวันละเพียง 1 มื้อก่อน ค่อย ๆ เพิ่มปริมาณขึ้น จนเมื่อทารกอายุ 8 เดือน ควรได้อาหารตามวัยเพิ่มเป็นวันละ 2 มื้อ และเมื่ออายุ 10-12 เดือน ควรได้อาหารตามวัยวันละ 3 มื้อเหมือนกับผู้ใหญ่ โดยที่อาหารแต่ละมื้อจะทดแทนนม 1 มื้อนั่นเอง

หมอขอสรุปไอเดียง่ายๆ 7 ข้อ เกี่ยวกับอาหารตามวัยของทารกน้อย 6 เดือนขึ้นไป ดังนี้นะคะ

1.ควรเริ่มจากอาหารทีละอย่างก่อนและสังเกตอาการแพ้อาหาร หากทารกไม่แพ้อาหารนั้น ๆ ก็สามารถเริ่มลองทานอาหารชนิดใหม่ ในทุก ๆ 3-5 วัน หากมีความเสี่ยงต่อการแพ้อาหาร เช่น มีประวัติการแพ้อาหารในครอบครัว ก็อาจเริ่มจากอาหารที่มีโอกาสแพ้ได้น้อยก่อน

ส่วนอาหารกลุ่มเสี่ยงที่มีการแพ้บ่อย ได้แก่ นมวัว ไข่ ถั่วเหลือง แป้งสาลี ถั่วลิสง และอาหารทะเล ควรเริ่มหลังจากที่ทานอาการต่าง ๆ ที่ไม่แพ้บ่อย ได้เรียบร้อยแล้วค่ะ

2.ให้ทารกเริ่มทานอาหารที่บดละเอียดก่อน และเมื่อกินได้ค่อยเพิ่มความหยาบมากขึ้น โดยอาหารที่ให้ทารกอายุ 6 เดือนควรมีเนื้อค่อนข้างละเอียด ใช้การบดเพื่อให้กลืนได้ง่ายจะดีกว่าอาหารปั่น ซึ่งทารกจะไม่ได้ฝึกทักษะการเคี้ยวและกลืนเมื่อสามารถเคี้ยวและกลืนได้ดี จึงค่อยเพิ่มความหยาบของอาหาร โดยไม่จำเป็นต้องบดให้ละเอียดมากเพื่อให้ทารกมีความคุ้นเคยกับอาหารที่เป็นชิ้นเล็ก ๆ

เมื่อทารกอายุ 12 เดือนขึ้นไปสามารถทานอาหารได้ใกล้เคียงกับผู้ใหญ่โดยเลือกชนิดที่เคี้ยวง่าย นิ่ม ชิ้นไม่ใหญ่เกินไป และรสไม่จัด โดยเมื่อลูกอายุ 2 ปีขึ้นไปก็สามารถทานอาหารได้เช่นเดียวกับผู้ใหญ่แล้วค่ะ

3.ควรให้ทารกทานอาหารรสธรรมชาติ ไม่ปรุงแต่งด้วยเครื่องปรุงรสต่าง ๆ เช่น น้ำตาล น้ำปลา น้ำผึ้ง หรือผงชูรส โดยไม่ทานอาหารรสจัด ทั้งหวานจัด เค็มจัด หรือมันจัด เนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน โรคฟันผุ ไขมันในเลือดสูง และความดันโลหิตสูง ได้นะคะ

4.ทารกควรได้ทานอาหารครบทั้ง 5 หมู่ในแต่ละมื้อ ให้ทานเนื้อสัตว์ทุกวันเพื่อให้จะได้รับโปรตีนและธาตุเหล็กที่เพียงพอจากเนื้อหมู ไก่ ปลา ตับและเลือด รวมถึงให้ทานผักและผลไม้ที่หลากหลายทุกวัน

โดยเริ่มจากผักใบเขียวก่อน เพราะมีโอกาสแพ้ได้น้อยกว่า เช่น ผักบุ้ง ตำลึง ผักกาดขาว แล้วจึงตามด้วยผักสีเหลืองส้ม เช่น ฟักทอง แครอท เป็นต้น

5.ทารกอายุ 6 ถึง 8 เดือน อาจให้ทานข้าวสวยมื้อละประมาณ 4 ช้อนทานข้าว (1 ช้อนทานข้าว = 1 ช้อนโต๊ะ) ต้มกับน้ำแกงจืดหรือน้ำซุปประมาณครึ่งถ้วยตวง ใส่ผักที่อ่อนนุ่ม 1 ถึง 2 ช้อนทานข้าว และอาหารที่มีโปรตีนสูง ในรูปแบบที่อ่อนนุ่มง่าย ได้แก่ ไข่แดง ตับ เต้าหู้อ่อน สลับกันไป ตัวอย่างเมนูอาหารเช่น ข้าวบดตับไก่ใส่เต้าหู้-ตำลึง เป็นต้น

ทารกอายุ 9-11 เดือนสามารถให้ทานอาหารตามวัยเป็นข้าวสวย 4 ช้อนทานข้าว ต้มกับน้ำแกงจืดหรือน้ำซุปประมาณครึ่งถ้วยตวง ใส่ผักที่อ่อนนุ่ม 2 ช้อนทานข้าว และอาหารที่มีโปรตีนเข้มข้น เช่น ไข่ ตับ เลือด หมูสับหรือบดประมาณ 1-2 ช้อนทานข้าว ตัวอย่างเมนู เช่น ข้าวต้มไข่-ตำลึง-หมูสับ เป็นต้น

เมื่ออายุครบ 1 ปีขึ้นไป สามารถให้เริ่มทานข้าวสวยได้แล้วนะคะ อาจให้ทานครั้งละประมาณ 6 ช้อนทานข้าว หรือ 1 ทัพพี กับอาหารผัดหรือทอด ต้มจืด อาหารที่มีโปรตีนสูงประมาณ 3 ช้อนทานข้าวหมุนเวียนกัน ไปใส่ผักใบเขียวหรือเหลืองส้ม 1-2 ชนิดประมาณ 3-4 ช้อนทานข้าว ตัวอย่างเมนู เช่น ข้าวผัดไข่-แกงจืดผักหวาน เป็นต้น

6.ควรป้อนอาหารทารกด้วยความนุ่มนวล สังเกตว่าทารกหิว หรืออิ่ม อย่างไรและป้อนอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของทารก คอยกระตุ้นให้ทารกทานอาหารแต่ไม่ควรบังคับ หรือป้อนนานจนเกินไป และงดสิ่งดึงดูดความสนใจขณะที่ทานอาหาร เช่น โทรทัศน์ หรือของเล่น ฝึกให้ทารกนั่งทานอาหารที่โต๊ะอาหารประจำ อย่างเป็นกิจจะลักษณะ ขณะที่ป้อนอาหารควรสบตาและพูดคุยกับทารกตลอดเวลา เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์และความรักกับทารกนะคะ

7.ข้อควรระวังในการให้อาหารของทารกคือ

  • ไม่ควรให้อาหารที่เป็นเม็ด เช่น ถั่ว เพราะอาจสำลักได้
  • ไม่ควรให้ทารกดื่มน้ำผลไม้เกิน 2-4 ออนซ์ต่อวัน
  • หลีกเลี่ยงขนมกรุบกรอบ ขนมซอง น้ำหวาน น้ำอัดลม และอาหารปรุงรสต่าง ๆ ทุกชนิด

 

อาหารทารกหลัง 6 เดือน การเริ่มอาหารตามวัย ไอเดียเมนูอาหาร ทารกอายุ6เดือน อาหารทารกหลัง-6-เดือน, อาหารทารก 6 เดือน, อาหารเสริมทารก 6 เดือน, เมนูอาหารเสริม

อาหารทารกหลัง 6 เดือนขึ้นไป

ไอเดียอาหารทารกหลัง 6 เดือน ต่าง ๆ ทั้ง 7 ข้อที่หมอเล่ามานี้ น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการเริ่มอาหารตามวัยของทารกน้อยนะคะ ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่สามารถปรับลักษณะอาหารที่เริ่มได้ตามความเหมาะสมในแต่ละบ้านและสุขภาพของลูก เช่น หากลูกแพ้ไข่ คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรเริ่มอาหารที่มีส่วนผสมของไข่จนกว่าลูกจะหายแพ้ แต่ก็สามารถให้ลูกทานอาหารตามวัยที่มีคุณค่าอาหารทดแทนไข่ได้ เช่น เนื้อสัตว์ ตับ เลือด และวิตามินจากแหล่งอาหารอื่น ๆ เป็นต้นค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

บทความจากพันธมิตร
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
หมดกังวลเรื่อง ผิวแตกลาย จบทุกปัญหาผิวคุณแม่ตั้งครรภ์ ด้วย EVE'S OIL
หมดกังวลเรื่อง ผิวแตกลาย จบทุกปัญหาผิวคุณแม่ตั้งครรภ์ ด้วย EVE'S OIL
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
นม UHT กล่องแรก แม่ต้องเลือกอย่างไร สารอาหารแบบไหนที่ต้องมองหา
นม UHT กล่องแรก แม่ต้องเลือกอย่างไร สารอาหารแบบไหนที่ต้องมองหา

วิธีฝึกลูกเดิน พัฒนาการทารก เดินได้ตอนไหน สอนลูกเดิน หัดลูกเดินอย่างไร ฝึกให้ลูกเดินได้เร็วๆ

พาลูกกินข้าวนอกบ้าน การเตรียมตัวพาลูกน้อยทานข้าวนอกบ้าน ทำอย่างไรให้แฮปปี้ไปทั้งครอบครัว

ลูกสําลักอาหาร ปฐมพยาบาล อย่างไร ป้อนอาหารเด็กเล็ก ต้องระวัง! อาหารอันตราย

พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก พัฒนาการเด็ก ทารกตั้งแต่แรกเกิดถึง 3 ปี

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
  • /
  • อาหารทารกหลัง 6 เดือน การเริ่มอาหารตามวัยและไอเดียเมนูอาหาร สำหรับทารกอายุ 6 เดือน ขึ้นไป
แชร์ :
  • มื้อแรกของลูก หลัง 6 เดือน เริ่มอาหารเสริมลูกด้วยเมนูไหนดี ผลไม้หรือข้าว

    มื้อแรกของลูก หลัง 6 เดือน เริ่มอาหารเสริมลูกด้วยเมนูไหนดี ผลไม้หรือข้าว

  • พัฒนาการทารก 6 เดือน ลูกเรียนรู้อะไรบ้าง ควรเสริมพัฒนาการเด็ก 6 เดือนอย่างไร

    พัฒนาการทารก 6 เดือน ลูกเรียนรู้อะไรบ้าง ควรเสริมพัฒนาการเด็ก 6 เดือนอย่างไร

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • มื้อแรกของลูก หลัง 6 เดือน เริ่มอาหารเสริมลูกด้วยเมนูไหนดี ผลไม้หรือข้าว

    มื้อแรกของลูก หลัง 6 เดือน เริ่มอาหารเสริมลูกด้วยเมนูไหนดี ผลไม้หรือข้าว

  • พัฒนาการทารก 6 เดือน ลูกเรียนรู้อะไรบ้าง ควรเสริมพัฒนาการเด็ก 6 เดือนอย่างไร

    พัฒนาการทารก 6 เดือน ลูกเรียนรู้อะไรบ้าง ควรเสริมพัฒนาการเด็ก 6 เดือนอย่างไร

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ