X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

12 สัญญาณผิดปกติของลูกแรกเกิดที่ควรรีบพบแพทย์

บทความ 5 นาที
12 สัญญาณผิดปกติของลูกแรกเกิดที่ควรรีบพบแพทย์

การดูแลลูกในช่วงแรกเกิดจำเป็นที่พ่อแม่มือใหม่ต้องดูแลใส่ใจเป็นอย่างดี เพราะเด็กทารกแรกเกิดในช่วง 0-28 วันหรือ 1 เดือนหลังคลอดนั้น ยังมีร่างกายและพัฒนาการที่ยังไม่สมบูรณ์ หากพบอาการผิดปกติหรือหาสาเหตุไม่พบ พ่อแม่ควรรีบพาลูกไปหาคุณหมอเพื่อวินิจฉัยอาการนะคะ

อาการผิดปกติของทารกที่ควรมาพบแพทย์ พ่อแม่มือใหม่แทบทุกคนไม่เคยรับมือกับการดูแลเลี้ยงลูกน้อยมาก่อน เมื่อลูกน้อยร้องจ้า งอแง หาสาเหตุไม่พบ ไม่เข้าใจว่าลักษณะดังกล่าวเกิดจากอะไร ลองสังเกตอาการเหล่านี้ หากลูกน้อยเข้าข่ายมีอาการดังกล่าว อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าเริ่มมีความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตัวลูกน้อย

อาการผิดปกติของทารกที่ควรมาพบแพทย์

#1 ลูกตัวเหลืองผิดสังเกต

โดยปกติแล้วทารกแรกเกิดจะมีอาการตัวเหลืองในสัปดาห์แรก เมื่ออายุ 3-5 วันก็จะค่อยๆเหลืองน้อยลงจนหายได้เอง ซึ่งเกิดจากการสลายตัวของเม็ดเลือดแดงและมีสารเหลืองออกมาด้วย และเนื่องจากการทำงานของตับทารกแรกเกิดยังไม่สมบูรณ์จึงกำจัดสารเหลืองได้ช้า จึงเกิดภาวะตัวเหลืองขึ้น แต่ถ้าสังเกตเห็นทารกตัวเหลือง สีผิวคล้ายขมิ้นมากขึ้นหรือนานเกิดกว่า 14 วัน โดยเฉพาะทารกที่ไม่ได้กินนมแม่ ควรรีบพาไปพบแพทย์โดยเร็ว หากปล่อยไว้นานอาจทำให้ลูกมีอาการผิดปกติ ชักเกร็ง และมีพัฒนาการที่ล่าช้ากว่าเด็กปกติได้

Read : ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด อันตรายแค่ไหน

อาการผิดปกติของทารกที่ควรมาพบแพทย์

#2 สะดือมีกลิ่นเหม็น มีหนอง หรือมีเลือดออก

โดยปกติสะดือของทารกจะแห้งและหลุดออกภายใน 5-10 วัน และควรทำความสะดือทุกครั้งหลังอาบน้ำและถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ไม่ควรใช้แป้งโรยบริเวณสะดือ ซึ่งหากพบว่าสะดือของลูกมีกลิ่นเหม็น มีหนอง หรือเลือดออก เกิดการอักเสบ สังเกตเห็นว่าบริเวณรอบ ๆ สะดือจะบวมแดง ควรรีบพาทารกพบแพทย์

Read : 5 สิ่งห้ามใช้กับสะดือเด็กแรกเกิด

อาการผิดปกติของทารกที่ควรมาพบแพทย์

#3 ลูกซึม ไม่ยอมดูดนม

โดยปกติทารกเกิดมีความต้องการที่จะกินนมแม่ หากพบว่าลูกน้อยมีอาการซึม ไม่ยอมกินนม อาจหมายถึงการส่งสัญญาณความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับลูก เช่น ลูกเจ็บเหงือกเพราะฟันกำลังขึ้น หรือเกิดจากการติดเชื้อราในช่องปาก หูติดเชื้อส่งผลต่อความเจ็บปวดขณะดูดนม หรือความเจ็บปวดที่ส่งผลทำให้ทารกมีอาการดังกล่าว ควรพบลูกไปแพทย์เพื่อหาสาเหตุเพื่อวินิจฉัยอาการนะคะ

Read : ลูกไม่เอาเต้า มีวิธีแก้มั้ย

#4 ลูกอาเจียน

ลูกสำรอกหรือมีการแหวะนมออกมาเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ปกติของทารก เนื่องจากกระเพราะอาหารของทารกมีขนาดจำกัด หากกินนมเข้าไปเป็นจำนวนมาก ก็อาจทำให้ลูกแหวะนมได้ ซึ่งการทำให้ลูกเรอหลังกินนมจะช่วยไม่ทำให้ลูกได้แหวะนม แต่ถ้าลูกอาเจียนทุกครั้งหลังกินนม หรืออาเจียนมากกว่าห้าครั้งต่อวัน หรือไอหลังจากกินนมเสมอ อาจมีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร หรือเกิดจากการติดเชื้อ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรรีบพาไปพบแพทย์นะคะ

Advertisement

Read : ลูกน้อยอาเจียนบ่อย ปกติไหม?

#5 ท้องเสีย ถ่ายอุจจาระบ่อยวันหลังละหลายครั้ง

ปกติแล้วทารกที่กินนมแม่จะถ่ายอุจจาระวันละ 4-5 ครั้ง แต่ถ้าลูกน้อยมีอาการท้องเสียสังเกตจากการถ่ายบ่อยมากกว่า 1 ครั้งหลังกินนมแต่ละรอบ มีอุจจาระเหลวปนน้ำ หรือมีมูกเลือดปนอย่างน้อย 1 ครั้ง อุจจาระมีกลิ่นแรงกว่าปกติ อันตรายจากอาการท้องเสียที่สำคัญ คือ การเกิดภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ ซึ่งถ้ามีอาการรุนแรงและยืดเยื้อโดยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องทันท่วงที จะทำให้เด็กเกิดอาการขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรุนแรง ช็อก และเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นเมื่อพบว่าลูกมีลักษณะของอาการท้องเสีย ควรรีบพาลูกไปหาหมอนะคะ

Read : ทุกเรื่องที่พ่อแม่ควรรู้ เมื่อลูกท้องเสีย

อาการผิดปกติของทารกที่ควรมาพบแพทย์

#6 ท้องอืด

เป็นเรื่องปกติที่พบทารกมีอาการท้องอืดและผายลมบ่อยได้ เพราะเมื่อลูกน้อยร้องไห้มากหรือกลืนลมเข้าไปมากในขณะกินนมก็ส่งผลให้ท้องอืด วิธีแก้คือจับเรอด้วยท่านั่งหรืออุ้มพาดบ่าหลังจากให้นมเสร็จ หรือให้ลูกนอนคว่ำก็จะช่วยลดภาวะท้องอืดลงได้ แต่ถ้าลูกมีอาการท้องอืดร่วมกับมีไข้ งอแง หรืออาเจียนออก อาจเป็นสัญญาณของปัญหาในระบบการย่อยอาหารที่รุนแรง ควรรีบพาทารกไปพบแพทย์

Read : ลดปัญหาลูกท้องอืดอย่างถูกวิธี ต้องแบบนี้สิ!

#7 ฝ้าขาวในปาก

ฝ้าขาวภายในช่องปากเกิดจากคราบน้ำนม ควรใช้สำลีหรือผ้าสะอาดชุบน้ำต้มสุกทำความสะอาดเช็ดออกให้หมด เพราะถ้าเช็ดออกไม่หมดอาจทำให้เกิดเชื้อรา หรือหลังเช็ดมีเลือดออก และเป็นมากบริเวณเพดานปากและกระพุ้งแก้มทั้ง 2 ข้าง หากมีคราบขาวจากเชื้อรามีเยอะหรือหนามาก ลูกจะมีอาการงอแง กินนมได้น้อย น้ำหนักตัวลด  ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์

Read : หยุดกังวล…ลิ้นเป็นฝ้าขาวในเด็กเล็ก

#8 มีน้ำไหลออกจากรูหู

หากสังเกตว่าหูลูกมีอาการบวมแดง มีน้ำไหลออกจากรูหู ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการและรับการรักษานะคะ

อาการผิดปกติของทารกที่ควรมาพบแพทย์

อาการผิดปกติของทารกที่ควรมาพบแพทย์

#9 ลูกมีไข้สูง-ต่ำผิดปกติ

อุณหภูมิที่ปกติสำหรับลูกแรกเกิดนั้นจะอยู่ประมาณ 37 องศาเซลเซียส และไม่มากหรือต่ำไปกว่า 0.5 องศา ถ้าลูกตัวร้อนวัดอุณหภูมิได้ 37.5 องศาเซลเซียสแสดงว่าลูกมีไข้ ควรลดไข้ลูกด้วยวิธีการเช็ดตัว และถ้าวัดอุณหภูมิมากกว่า 38 องศาเซลเซียสแสดงว่ามีไข้สูง และหากมีไข้สูงมากอาจทำให้เกิดอาการชักได้ ควรรีบพามาพบแพทย์ทันที

Read : เมื่อลูกมีไข้ดูแลอย่างไรให้ถูกวิธี

#10 มีอาการชัก

เกิดขึ้นได้จากลูกมีอาการไข้สูงมาก จะมีลักษณะชักแบบเกร็งหรือกระตุกทั้งตัว เป็นทั้งข้างซ้ายและขวาเท่า ๆ กัน ไม่เกิน 15 นาที ส่วนมากมักจะหยุดได้เองภายในเวลา 3-5 นาที หลังจากชักเด็กจะรู้สึกตัวดี พ่อแม่อย่าเพิ่งด่วนตกใจ ถ้ามีอาการชักนานมากกว่า 5 นาที หรือรอบปากมีรอยเขียวคล้ำควรพาลูกไปหาหมอทันที ระหว่างพามาหาหมอ จับให้ลูกนอนท่าตะแคง หัวต่ำเพื่อป้องกันการสำลัก และหาผ้านิ่มม้วนแน่น ๆ สอดที่มุมปากเพื่อป้องกันการกัดลิ้น ห้ามใช้นิ้วหรือวัสดุใด ๆ เช่น ช้อน ไปล้วงหรืองัดปากลูกโดยเด็ดขาดนะคะ

Read : เรื่องที่ผู้ปกครองควรรู้: เมื่อลูกมีอาการชักจากไข้สูง

#11 ลูกดูดนมจนเหนื่อยหอบ

โดยปกติลูกจะใช้เวลาดูดนมไม่เกิน 30 นาทีแล้วหลับเพื่อตื่นขึ้นมาดูดนมในครั้งต่อไป หากลูกมีอาการผิดปกติจะมีอาการซึม ดูดนมได้น้อยลง ร้องไห้งอแง หรือขณะดูดนมมีอาการเหนื่อยหอบ หากมีอาการดังกล่าวแสดงว่าทารกอาจมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา

#12 โรคตาที่พบในเด็ก

โรคตาที่พบในเด็กเล็ก เช่น ตาอักเสบ ท่อน้ำตาอุดตัน ตาขี้เกียจ ตาเข เยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ เป็นต้น หากพบอาการผิดปกติควรรีบพาลูกมาพบแพทย์และได้รับการรักษาเนิ่น ๆ

Read : 7 อาการผิดปกติของตาลูกปัญหาไม่เล็กที่พ่อแม่ควรรู้

ขอบคุณที่มา : https://www.clinicdek.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
20 อาการปกติของทารกแรกเกิดที่ไม่น่ากังวล
จับตา..พัฒนาการผิดปกติของทารก 3 เดือนแรก

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • 12 สัญญาณผิดปกติของลูกแรกเกิดที่ควรรีบพบแพทย์
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว