X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อัลตราซาวนด์ครั้งแรก กี่สัปดาห์ คนท้องจะได้รู้อะไรบ้าง ?

บทความ 5 นาที
อัลตราซาวนด์ครั้งแรก กี่สัปดาห์ คนท้องจะได้รู้อะไรบ้าง ?

แรกเริ่มตั้งครรภ์ คุณแม่คงแทบจะรอให้ครบ 9 เดือนไม่ไหว การอัลตราซาวนด์ ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้พ่อแม่ได้เห็นความเคลื่อนไหว และยังสามารถติดตามการเจริญเติบโตของลูกในท้องได้ด้วย คุณแม่หลายคนคงแทบจะรอการ อัลตราซาวนด์ครั้งแรก ไม่ไหวแล้ว มาดูกันว่า ทำไมเราจึงสามารถติดตามการเจริญเติบโตของตัวอ่อนในครรภ์ได้จากการอัลตราซาวนด์ อัลตราซาวนด์ครั้งแรก เกิดขึ้นตอนไหน และคุณแม่จะได้ทราบอะไรจากการอัลตราซาวนด์ครั้งแรกบ้าง ไปดูกันค่ะ

 

อัลตราซาวนด์คืออะไร ?

รศ.พญ.สายฝน ชวาลไพบูลย์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล อธิบายว่า การอัลตราซาวนด์ คือ การใช้คลื่นเสียงความถี่สูงที่เกินกว่าหูมนุษย์จะได้ยิน (มากกว่า 20,000 เฮิรตซ์) ในการวินิจฉัยโรคจะใช้ความถี่ประมาณ 2 – 7.5 เมกะเฮิรตซ์โดยอาศัยหลักการทำงานของเสียง

เมื่อเปิดเครื่องอัลตราซาวนด์ กระแสไฟฟ้าสลับที่ไหลเข้ามาภายในเครื่องจะผ่านหัวตรวจ ซึ่งภายในมีผลึก (Piezoelectric material) เกิดการสั่นสะเทือน และมีการปล่อยคลื่นเสียงความถี่สูงออกมา ผ่านผิวหนัง เข้าไปยังอวัยวะภายในที่ต้องการตรวจ เมื่อเสียงกระทบเนื้อเยื่อต่างชนิดกัน ก็จะเกิดการสะท้อน และการดูดกลับของเสียงไม่เท่ากันในเวลาที่ต่างกันตามระดับความลึกของเนื้อเยื่อนั้น ๆ และจะถูกแปลผลให้ปรากฏเป็นภาพบนจอ

บทความที่เกี่ยวข้อง : อัลตราซาวนด์ท้อง กี่เดือนรู้เพศลูก ควรตรวจอัลตราซาวนด์ตอนไหน ?

 

 

Advertisement

การตรวจอัลตราซาวนด์มีกี่ประเภท ?

ปัจจุบันการตรวจอัลตราซาวนด์ ทำได้ทั้งอัลตราซาวนด์ 2 มิติ อัลตราซาวนด์ 3 มิติ และอัลตราซาวนด์ 4 มิติ ซึ่งจะภาพเคลื่อนไหวที่มีความละเอียดแตกต่างกัน

  • อัลตราซาวนด์ 2 มิติ

ภาพจากอัลตราซาวนด์ 2 มิติ จากหลักการสร้างภาพจากคลื่นเสียงความถี่สูง ภาพที่ได้จากการตรวจอัลตราซาวนด์ทั่วไปจะเป็นภาพ 2 มิติ คือ เป็นภาพตัดขวางทีละภาพ ตามแนวของคลื่นเสียงที่ส่งออกไปในแนวระนาบ (มิติที่ 1 คือความกว้าง มิติที่ 2 คือ ความยาว)

  • อัลตราซาวนด์ 3 มิติ

ในการสร้างภาพ 3 มิติ หัวตรวจ และอุปกรณ์ประมวลผลจะมีความซับซ้อนมากขึ้น โดยหัวตรวจจะส่งคลื่นเสียงในลักษณะหลายระนาบพร้อมกัน ทำให้เกิดการเก็บข้อมูลติดต่อกัน จากนั้นข้อมูลที่ได้ จะถูกส่งไปยังหน่วยประมวลผลของเครื่อง และทำการสร้างภาพ 3 มิติขึ้น สำหรับมิติที่ 3 ที่เพิ่มขึ้นมาคือ ความลึก ซึ่งจะทำให้ภาพนั้นเสมือนจริงมากขึ้น ไม่ใช่เพียงภาพตัดขวางของวัตถุ

  • อัลตราซาวนด์ 4 มิติ

การตรวจอัลตราซาวนด์ 4 มิติ จะมีประมวลผลที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น โดยเครื่องจะทำการเก็บภาพ 3 มิติแต่ละภาพ แล้วแสดงผลเรียงต่อกัน ทำให้เกิดเป็นภาพเคลื่อนไหวเช่นเดียวกับภาพยนตร์ ซึ่งมีมิติที่ 4 นั่นคือ เวลา นั่นเอง ในการตรวจทารกในครรภ์ด้วยอัลตราซาวนด์ 4 มิติ จะสามารถเห็นภาพทารกเคลื่อนไหว ตลอดจนเห็นกิริยาอาการที่ทารกกำลังทำอยู่ในขณะตรวจได้ เช่น การเคลื่อนไหวใบหน้า ยกแขน ขยับนิ้ว อ้าปาก หรือกลืน เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : อัลตราซาวนด์ สามารถตรวจความผิดปกติ ของทารกได้หรือไม่ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 63

 

อัลตราซาวนด์ครั้งแรก

 

การตรวจอัลตราซาวนด์ ทำได้อย่างไรบ้าง ?

  • อัลตราซาวนด์ทางช่องคลอด

ตรวจอัลตราซาวนด์ผ่านทางช่องคลอด จะใช้กับอายุครรภ์น้อยกว่า 10 สัปดาห์ เป็นการวัดความยาวปากมดลูก และตรวจระยะห่างของขอบรก จากปากมดลูก วิธีการคือ หมอจะสอดหัวตรวจขนาดเล็กเข้าไปในช่องคลอด ขณะที่คนไข้นอนราบบนเตียง ลักษณะการนอน จะคล้ายกับการตรวจภายใน

  • อัลตราซาวนด์หน้าท้อง

การตรวจอัลตราซาวนด์หน้าท้อง ใช้ตรวจเมื่ออายุครรภ์เกิน 10 สัปดาห์ วิธีนี้เป็นวิธีที่คุณแม่อาจจะเคยเห็นบ่อย ๆ นั่นคือ คุณหมอจะทาเจลเย็น ๆ บริเวณหน้าท้องเพื่อเป็นสื่อนำภาพ แล้วใช้หัวตรวจเคลื่อนไปมาบริเวณหน้าท้องของคุณแม่

 

อัลตราซาวนด์ดูอายุครรภ์ อัลตราซาวนด์ครั้งแรก ทำได้ตอนไหน ?

ท้องกี่สัปดาห์ ถึงจะ อัลตราซาวนด์ การอัลตราซาวนด์สามารถทำได้ตั้งแต่เริ่มฝากครรภ์ แต่หากครรภ์ของคุณแม่เป็นครรภ์ปกติ และไม่มีความเสี่ยงที่จะมีภาวะแทรกซ้อน ก็ไม่จำเป็นต้องตรวจอัลตราซาวนด์ตั้งแต่ไตรมาสแรก ซึ่งจะต้องทำการอัลตราซาวนด์ผ่านทางช่องคลอดเท่านั้น เมื่ออายุครรภ์เข้าสู่ไตรมาสที่ 2 จึงจะสามารถอัลตราซาวนด์ผ่านทางหน้าท้องได้ โดยคุณหมอจะทาเจลเย็น ๆ บริเวณหน้าท้อง และเจลนี้เองที่จะช่วยให้คลื่นอัลตราโซนิกทำงานสะดวก โดยที่แม่ท้องไม่รู้สึกเจ็บปวดเลยสักนิด

อย่างไรก็ตาม แม่ท้องควรจะได้รับการตรวจอัลตราซาวนด์อย่างน้อย 1 ครั้ง ในช่วงอายุครรภ์ที่ 18 – 22 สัปดาห์ เพื่อตรวจหาความผิดปกติ และติดตามพัฒนาการของทารกอย่างใกล้ชิด ในปัจจุบัน คุณหมออาจจะแนะนำให้แม่ท้องมาตรวจทุก ๆ ไตรมาส ไตรมาสละ 1 ครั้ง แต่หากครรภ์ของคุณแม่ มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน ก็อาจจะมีความถี่มากกว่า เช่น ทุกสัปดาห์ หรือเดือนละ 1 ครั้ง

 

แม่ท้องจะได้รู้อะไรบ้าง จากการอัลตราซาวนด์​ ?

ผศ.นพ.เมธาพันธ์ กิจพรธีรานันท์ สูติแพทย์ อธิบายว่า การตั้งครรภ์ในช่วงต้น จะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางกายภาพ และทางด้านสรีรวิทยาหลายประการ มีการเจริญเติบโตของถุงการตั้งครรภ์ ถุงไข่แดง และตัวอ่อน ทำให้แพทย์สามารถตรวจติดตามด้วยเครื่องอัลตราซาวนด์ได้

โดยทั่วไปหากเป็นการตั้งครรภ์ปกติ ที่ไม่มีความเสี่ยง หรือมีความเสี่ยงในระดับต่ำ คุณแม่สามารถฝากครรภ์ตามปกติ โดยไม่จำเป็นต้องตรวจอัลตราซาวนด์ในช่วงต้นของการตั้งครรภ์ แต่หากเป็นการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง หรือมีอาการผิดปกติ เช่น มีเลือดออกจากช่องคลอด เคยแท้งบุตรในครรภ์ก่อน สงสัยตั้งครรภ์นอกมดลูก สงสัยตั้งครรภ์แฝด ก็สามารถตรวจอัลตราซาวนด์ตั้งแต่มาฝากครรภ์ครั้งแรกได้ ซึ่งช่วยกำหนดอายุครรภ์ได้ชัดเจน และยังเป็นการให้กำลังใจสตรีตั้งครรภ์อีกด้วย

การตรวจอัลตราซาวนด์ในช่วงต้นของการตั้งครรภ์ จำเป็นต้องใส่อุปกรณ์หัวตรวจอัลตราซาวนด์เข้าทางช่องคลอดเพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจน และแปลผลได้ถูกต้อง ทั้งนี้ยังสามารถใช้ติดตามดูการเจริญของตัวอ่อนอย่างต่อเนื่องได้อีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีดูเพศลูกในใบซาวนด์ อ่านผลอัลตราซาวนด์ยังไง ซาวนด์ตอนไหนเห็นเพศชัดสุด

 

อัลตราซาวนด์ครั้งแรก

 

สิ่งที่ได้จากการ อัลตราซาวนด์ท้อง ในแต่ละสัปดาห์

  • อายุครรภ์ 4 สัปดาห์ โดยเริ่มนับจากวันแรกของรอบประจำเดือนล่าสุด จะเห็นเพียงเยื่อบุผนังโพรงมดลูกที่มีความหนามากขึ้น ถึง 20 มิลลิเมตร ลักษณะเป็นแถบขาวในโพรงมดลูก
  • อายุครรภ์ 5 สัปดาห์ เริ่มเห็นถุงการตั้งครรภ์ มีลักษณะเป็นถุงทรงกลม มีขอบเขตชัดเจนเป็นวงสีขาวเข้ม อยู่กลางโพรงมดลูก บางครั้งอาจเริ่มเห็นถุงไข่แดง อยู่ภายในถุงตั้งครรภ์ได้
  • อายุครรภ์ 6 สัปดาห์ เริ่มเห็นตัวเด็กทารกในครรภ์ ขนาดเล็ก อยู่ติดกับถุงการตั้งครรภ์ พร้อมทั้งเห็นสัญญาณชีพจากการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ได้
  • อายุครรภ์ 7 สัปดาห์ จะเห็นเด็กทารกในครรภ์เริ่มใหญ่มากขึ้น สามารถเห็นการขยับตัวของทารกได้ ถุงไข่แดงเริ่มเล็กลงหรือหายไปได้
  • อายุครรภ์ 8 – 12 สัปดาห์ เห็นเด็กทารกในครรภ์ชัดเจนมากขึ้น สามารถแยกสัดส่วนของทารกได้ ว่าเป็นส่วนศีรษะหรือส่วนลำตัว เป็นต้น

 

การอัลตราซาวนด์เพื่อตรวจดูความผิดปกติของทารก

หนึ่งในเหตุผลของการอัลตราซาวนด์คือการตรวจสอบครรภ์ของแม่ เพื่อให้มั่นใจว่า ลูกน้อยมีความแข็งแรง สุขภาพดี ไม่มีความผิดปกติ หรือภาวะแทรกซ้อนใด ๆ โดยการตรวจอัลตราซาวนด์ ประกอบกับความประสบการณ์ของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก็ทำให้การตรวจอัลตราซาวนด์นั้น มีความแม่นยำมากถึง 80 – 90 เปอร์เซ็นต์ แม้ว่าจะมีข้อจำกัดในการระบุตำแหน่งที่แน่ชัดของความผิดปกติ เช่น แขน ขา มือ ทางเดินหายใจ หรืออวัยวะอื่น ๆ แต่ก็ทำให้ทราบถึงสุขภาพ และความสมบูรณ์ของทารกในครรภ์ เพื่อให้คุณแม่วางใจได้

 

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

การเตรียมตัวก่อนอัลตราซาวนด์ครั้งแรก

การตรวจอัลตราซาวนด์ในช่วงแรก ๆ ของการตั้งครรภ์ คุณแม่ควรจะไปก่อนเวลาสักเล็กน้อย ดื่มน้ำ 4 – 6 แก้ว และอย่าเพิ่งปัสสาวะออก จนกว่าการตรวจจะเรียบร้อย เพราะปริมาณของเหลวในกระเพาะปัสสาวะ จะทำให้เห็นภาพลูกในครรภ์ได้ชัดเจนมากขึ้น

 

ส่วนใหญ่แล้ว กว่าที่แม่จะรู้ว่าตัวเองตั้งท้อง กว่าจะมีอาการแพ้ท้อง จนกระทั่งวันฝากครรภ์ เวลาก็ล่วงเลยมาหลายสัปดาห์ การอัลตราซาวนด์ครั้งแรกของแม่ท้องแต่ละคนจึงไม่เท่ากัน ทางที่ดีที่สุด เมื่อแม่ท้องรู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์ ต้องรีบไปฝากครรภ์ เพื่อให้คุณหมอดูแลคุณแม่ให้เร็วที่สุดนะคะ

 

ความคิดเห็นของคุณคืออะไร

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

แม่ท้องไม่ต้องงงอีกต่อไป อ่านผลอัลตราซาวนด์ง่าย ๆ ใคร ๆ ก็อ่านออก

ความแตกต่างของการทำอัลตราซาวนด์แต่ละแบบ ไม่เหมือนกันตรงไหน

อยากรู้เพศลูก! ลุ้นก่อนอัลตราซาวนด์ รวมหลากวิธี ทํานายว่าได้ลูกหญิงหรือชาย

แชร์ประสบการณ์หรือ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการฝากครรภ์และอัลตราซาวนด์ ได้ที่นี่!

ฝากครรภ์ที่ไหนดี มีโรงพยาบาลไหนที่คุณแม่ไปฝากครรภ์กันบ้างคะ แนนำหน่อยค่า

ที่มา : คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล , mamastory

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • อัลตราซาวนด์ครั้งแรก กี่สัปดาห์ คนท้องจะได้รู้อะไรบ้าง ?
แชร์ :
  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว