แม่มือใหม่ที่ตั้งครรภ์ต้องเตรียมรับมือกับลูกน้อย การที่คุณแม่ตั้งครรภ์ผิดนัด เลื่อนนัด สำคัญทำไมต้องไปตามนัด เลื่อนนัด มีผลเสียอย่างไร
ฝากครรภ์คืออะไร?
ฝากครรภ์ (Prenatal care) คือการตรวจสุขภาพเป็นระยะ ตั้งแต่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์จนกระทั่งถึงวันคลอด โดยแพทย์จะคอยตรวจความเรียบร้อยเกี่ยวกับสุขภาพของแม่และเด็ก คนที่กำลังสงสัยว่าตัวเองตั้งครรภ์ ก็มักจะไปตรวจเช็กเพื่อความชัวร์ว่าตั้งครรภ์จริงไหม และหากตั้งครรภ์จริง แพทย์จะแนะนำให้ฝากครรภ์ทันที
ฝากครรภ์ตรวจอะไรบ้าง?
ฝากครรภ์
การฝากครรภ์มีจุดประสงค์หลักเพื่อความปลอดภัยของทั้งแม่และลูก เพื่อประเมินความเสี่ยง อาการผิดปกติต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ส่วนใหญ่จะใช้การตรวจดังต่อไปนี้
- ยืนยันการตั้งครรภ์ รวมถึงตรวจอายุครรภ์จากรอบประจำเดือนล่าสุด
- ซักประวัติ แพทย์จะถามเรื่องทั่วไป เช่น เคยตั้งครรภ์มาก่อนไหม มีโรคอะไรที่เคยได้รับวินิจฉัยหรือเปล่า ยาที่ใช้ประจำ เป็นต้น
- ตรวจร่างกาย จะแบ่งเป็นสองส่วนหลักๆ ส่วนแรกคือตรวจทั่วไป เช่น วัดความดัน ชั่งน้ำหนัก ส่วนสูง ตรวจการทำงานของปอด อีกส่วนคือการตรวจภายใน ซึ่งใช้เวลาสั้นๆ แต่สามารถเช็กความผิดปกติได้ทั้งรังไข่ ท่อนำรังไข่ ช่องคลอด รวมถึงมะเร็งปากมดลูก ที่สำคัญคือไม่เจ็บ
- ตรวจเลือด เปรียบเสมือนการสกรีนร่างกาย เพราะเลือดสามารถบอกค่าต่างๆ ในร่างกายได้เป็นภาพกว้าง เช่น ไขมัน ความสมบูรณ์เลือด ระบบภูมิคุ้มกัน รวมถึงตรวจการติดเชื้อต่างๆ เช่น เอชไอวี ซิฟิลิส
ดังนั้นเมื่อทราบแล้วว่าแพทย์จะตรวจอะไรและถามประมาณไหนแล้ว ควรเตรียมข้อมูลก่อนไปพบแพทย์เพื่อความสะดวกของทั้งสองฝ่ายด้วย รวมถึงสามารถขอคำแนะนำในการดูแลสุขภาพได้ด้วย
เริ่มฝากครรภ์เมื่อไหร่ดี !
นัดคุณหมอ
คุณแม่ควรเริ่มฝากครรภ์ทันทีเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ เพื่อว่าจะได้ตรวจดูสุขภาพของคุณแม่เองว่ามีโรคอะไรที่อาจจะมีผลต่อลูกได้ เพื่อที่จะได้ทำการรักษาก่อนที่จะสายเกินไป
ฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่อคุณแม่ไปฝากครรภ์ คงตื่นเต้นบ้างสำหรับการเจอกันครั้งแรก คุณหมอถามประวัติความเป็นไปเป็นมาของคุณแม่หลาย ๆ อย่าง เช่น
- ประวัติเกี่ยวกับโรคทางกรรมพันธุ์ในครอบครัวเพราะโรคบางอย่าง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคเลือด สามารถปรากฏอาการแทรกซ้อนในระหว่างที่ตั้งครรภ์ได้
- ประวัติความเจ็บป่วยในอดีต ประวัติโรคประจำตัว…เพราะโรคบางอย่างอาจมีผลต่อการตั้งครรภ์ หรือการตั้งครรภ์ก็อาจมีผลต่อโรคที่เป็นอยู่ก็ได้ ที่สำคัญในรายที่รับประทานยาบางอย่างอยู่เป็นประจำต้องดูด้วยว่ามีผลต่อลูกในครรภ์หรือไม่ บางครั้งอาจต้องปรับเปลี่ยนไปตามความเหมาะสม
- ประวัติประจำเดือน และ การคุมกำเนิด…คุณหมอจะถามถึงวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายด้วยเสมอ เพื่อใช้ในการคำนวณหาอายุครรภ์ และกำหนดคลอด
- ประวัติการคลอดในครรภ์ก่อน…ในรายที่เป็นคุณแม่ที่เคยมีลูกมาก่อนแล้วคุณหมอก็จะถามถึงการตั้งครรภ์และการคลอดในครั้งต่อน ๆ ว่าคลอดอย่างไร หนักเท่าไร มีภาวะแทรกซ้อนอะไรหรือเปล่า เพื่อใช้วางแผนในการดูแลครรภ์ครั้งนี้ประกอบด้วย
กำหนดคลอด
การคำนวณวันคลอดใช้วันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายเป็นหลัก แล้วบวกไปข้างหน้า 7 วัน นับย้อนกลับไป 3 เดือนก็จะได้กำหนดคลอด สมมติว่าประจำเดือนครั้งสุดท้ายมาวันที่ 15 มิถุนายน นับบวกไป 7 วัน ก็คือวันที่ 22 นับย้อนหลังกลับมา 3 เดือน ก็เป็นเดือนมีนาคม ดังนั้นก็จะครบกำหนดคลอดในวันที่ 22 มีนาคม ของปีถัดไป ซึ่งถ้านับรวมแล้วจะได้ 280 วัน หรือ 40 สัปดาห์พอดี
คุณแม่ต้องตรวจบ่อยแค่ไหน ?
คั้งครรภ์
ในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์นั้น คุณหมอจะนัดคุณแม่มาเป็นระยะ ๆ โดยจะนัดทุกๆ 4 สัปดาห์ ใน 28 สัปดาห์แรก ทุก 2-3 สัปดาห์ ในระหว่าง 28-36 สัปดาห์ และทุกสัปดาห์หลัง 36 สัปดาห์เป็นต้นไป ยิ่งครรภ์แก่ขึ้นเท่าไหร่คุณหมอก็จะนัดถี่มากขึ้น เพราะภาวะแทรกซ้อนสิ่งผิดปกติต่าง ๆ มักจะเกิดขึ้นในช่วงท้าย ๆ ของการตั้งครรภ์ ในรายที่พบมีความผิดปกติ มีภาวะแทรกซ้อนคุณหมอก็จะนัดคุณแม่มาตรวจถี่ขึ้นกว่าปกติ ซึ่งจะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป
ความถี่ในการตรวจครรภ์
เมื่อคุณแม่รู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์ควรมาฝากครรภ์กับคุณหมอให้เร็วที่สุด โดยเกณฑ์มาตรฐานการฝากครรภ์ มีดังนี้
- ครั้งที่ 1 ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์
- ครั้งที่ 2 เมื่ออายุครรภ์ 18 สัปดาห์
- ครั้งที่ 3 เมื่ออายุครรภ์ 26 สัปดาห์
- ครั้งที่ 4 เมื่ออายุครรภ์ 32 สัปดาห์
- ครั้งที่ 5 เมื่ออายุครรภ์ 38 สัปดาห์
นอกจากนี้ การตรวจครรภ์ตามคลินิกหรือโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลต่างๆ อาจจะมีความถี่ในการตรวจนัดครรภ์เพิ่มขึ้น โดยใช้เกณฑ์ดังนี้
- อายุไม่เกิน 28 สัปดาห์ ให้นัดทุก ๆ 4 สัปดาห์
- อายุระหว่าง 28- 36 สัปดาห์ ให้นัดทุก 2 สัปดาห์
- อายุครรภ์ตั้งแต่ 37 สัปดาห์ขึ้นไป ให้นัดทุกสัปดาห์
ทำไมต้องอุลตร้าซาวด์
อุลตร้าซาวด์
เมื่อตั้งครรภ์ประมาณ 20 สัปดาห์ คุณหมออาจจะให้ตรวจโดยใช้เครื่องอุลตร้าซาวด์ เพื่อดูอายุครรภ์ที่ถูกต้อง ตรวจความสมบูรณ์ทางด้านโครงสร้างของอวัยวะภายในต่าง ๆ ดูการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ตรวจดูตำแหน่งการเกาะตัวของของรก นอกจากนั้นยังสามารถทราบเพศของทารกในครรภ์ได้ด้วย
ห้ามผิดนัดฝากครรภ์
คุณแม่บางคนอาจสงสัยว่า ทำไมคุณหมอต้องนัดตรวจครรภ์หลายครั้ง ในเมื่อสุขภาพของคุณแม่ก็ยังคงปกติดี คุณแม่บางคนไปตรวจเพียงครั้งเดียว พอเห็นว่าตัวเองไม่เป็นอะไรก็เลยไม่ไปอีก หรือบางคนก็ไม่ไปฝากครรภ์เลย มาโรงพยาบาลอีกตอนเจ็บท้องใกล้จะคลอด เพราะมีความเชื่อผิด ๆ ที่คิดว่าถ้าไม่มีอาการผิดปกติก็ไม่ต้องมาฝากครรภ์ก็ได้ แต่เชื่อไหมว่าความผิดปกติหลาย ๆ อย่างมักเกิดขึ้นได้เสมอหลังจากตั้งครรภ์ไปแล้วหลายเดือน และบางอย่างคุณแม่ก็ไม่สามารถรับรู้เองได้ หรือบางทีไปให้หมอตรวจเพียง 1-2 ครั้ง หมอก็อาจจะยังวินิจฉัยไม่ได้เช่นกันว่าคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ปลอดภัยดีหรือไม่ ดังนั้นการตรวจครรภ์แต่ละครั้งจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ดูน้อยลง
สิ่งสำคัญคือ เวลามาฝากครรภ์ แม่ต้องบอกรายละเอียดให้หมด ไม่ว่าจะเป็นโรคประจำตัว หรือประวัติการแท้ง เคยต้องผ่าตัดคลอดมาก่อน หรือเป็นโรคที่มีความเสี่ยงอื่นๆ อย่างเช่น กามโรค และต้องไปพบคุณหมอตามนัดทุกครั้ง
theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
ที่มา : https://somruedeening.blogspot.com/2018/05/19.html
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :
แม่ให้นมลูกฉีดโบท็อกซ์ได้ไหม?
7 สิ่งที่ต้องระวังหากยังให้นมลูก แม่ที่ให้นมลูก ต้องระวังอะไรบ้าง? มาดูพร้อมๆกัน
นมแม่ที่สต็อคเหลือบาน เพราะลูกติดเต้า รู้ไหมว่า นมแม่ใช้แทนโบท็อกซ์
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!