X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เตรียมรับมือ 11 เรื่องจริงของร่างกาย หลังคลอดลูก ที่แม่ต้องเผชิญ

บทความ 3 นาที
เตรียมรับมือ 11 เรื่องจริงของร่างกาย หลังคลอดลูก ที่แม่ต้องเผชิญเตรียมรับมือ 11 เรื่องจริงของร่างกาย หลังคลอดลูก ที่แม่ต้องเผชิญ

แม่มือใหม่ต้องเตรียมใจและรับมือเอาไว้ หลังคลอดลูก คุณแม่จะได้เจอกับเรื่องเหล่านี้ หากเกิดขึ้นแล้วอย่าเพิ่งตกใจนะคะ เป็นเรื่องปกติที่อาจเกิดขึ้นได้กับแม่หลังคลอด

แม้ว่า หลังคลอดลูก คุณแม่จะหายกังวลไปเปราะหนึ่งเหมือนยกภูเขาก่อนใหญ่ออกจากท้อง แต่อย่างไรเราก็อยากให้คุณเตรียมรับมือกับอาการหลังคลอดไว้

เตรียมรับมือ 11 เรื่องจริง หลังคลอดลูก ที่แม่ต้องเผชิญ

#1 ต้องเจอกับอาการปวดมดลูกที่จะเกิดขึ้นภาย1-2 วันแรกหลังคลอดได้

#2 น้ำคาวปลาจะมีและค่อย ๆ ลดลงจดหมดภายใน 2 สัปดาห์ หลังมดลูกเล็กลงมาขนาดเท่าเดิม หากสังเกตว่าน้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น มีสีแดงตลอดภายใน 15 วันหลังคลอด อาจมีการอักเสบในโพรงมดลูก เนื่องจากน้ำคาวปลาที่ออกมาเป็นแหล่งอาหารของแบคทีเรียซึ่งอาจจะมีแบคทีเรียเล็ดลอดเข้าไป ทำให้เกิดการอักเสบได้ ถือเป็นอาการที่ผิดปกติ ควรมาพบแพทย์ทันที

หลังคลอดลูก

#3 คุณแม่หลังคลอดบางคนอาจจะมีก้อนหรือเต้านมบวมขึ้น เนื่องจากช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด น้ำนมจะยังออกไม่ดีทำให้มีการคัดบริเวณเต้านม แต่เมื่อน้ำนมออกดีก็จะคัดตึงตอนเวลาให้นมลูก หลังให้ลูกดูดนมอาการคัดเต้าก็จะหายไป

#4 สำหรับคุณแม่ที่ให้ลูกกินนมแม่อย่างสม่ำเสมอ โดยไม่มีนมผสมร่วมด้วย จะมีฮอร์โมนที่เรียกว่า “โปรแล็กติน” (Prolactin) ออกมาจากต่อมใต้สมอง ซึ่งทำให้ไข่ไม่ตก จึงทำให้ยังไม่มีประจำเดือนมาหลังคลอด แต่เมื่อลูกกินนมแม่น้อยลงหรือคุณแม่ทิ้งระยะห่างในการให้นมมากขึ้น ฮอร์โมนชนิดนี้ก็จะลดน้อยลง จึงทำให้มีการตกไข่และประจำเดือนก็กลับมาปกติหลังคลอดได้ โดยส่วนใหญ่แล้วประจำเดือนจะมาประมาณ 6-8 เดือนหลังคลอด แต่ถ้าให้นมแม่ไม่สม่ำเสมอฮอร์โมนตัวนี้ก็จะหลั่งออกมาไม่สม่ำเสมอ ก็จะไม่สามารถกดการตกไข่ได้ และทำให้ประจำเดือนกลับมาได้เร็วขึ้น

#5 ประจำเดือนที่มาครั้งแรกหลังคลอดอาจมีปริมาณมากหรือนานกว่าปกติ เนื่องจากรังไข่จะยังปรับตัวได้ไม่ดีหรือบางครั้งอาจเกิดจากไข่โตขึ้นและมีเยื่อบุที่หนาขึ้น เป็นวงจรรอบเดือนที่ผิดปกติ ซึ่งจะหายเองได้ในประมาณ 1-2 รอบเดือน

#6 เสี่ยงต่อการติดเชื้อหากนอนแช่อ่างหลังคลอดลูกใหม่ ๆ เพราะเชื้อแบคทีเรียจะเล็ดลอดเข้าช่องคลอดแล้วเกิดการอักเสบที่มดลูกได้

หลังคลอดลูก

#7 แม่ที่คลอดลูกเอง การได้ออกกำลังกายเบา ๆ ทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วและให้น้ำคาวปลาออกได้ดี แต่สำหรับแม่ผ่าคลอด ไม่ควรออกกำลังกายที่เน้นบริเวณกล้ามเนื้อหน้าท้อง เพราะอาจจะมีอันตรายต่อแผลที่ผ่าคลอดได้

หลังคลอดลูก

#8 เพื่อป้องกันการหย่อนยานของเต้านมและช่วยบรรเทาอาการคัดเต้า คุณแม่สามารถเริ่มใส่ยกทรงให้นมลูกได้ตั้งแต่ไตรมาสสองเป็นต้นไปเลยนะคะ แต่ไม่ควรเป็นเลือกใส่ยกทรงที่คับจนเกินไป เพราะการการบีบรัดเต้าจะส่งผลต่อปริมาณน้ำนมที่น้อยลงด้วย

#9 การใช้ผ้ารัดหน้าท้องเป็นประจำทุกวันหลังคลอด จะช่วยทำให้หน้าท้องกระชับได้ง่ายขึ้น มดลูกเข้าอู่เร็ว และสำหรับแม่ผ่าคลอดผ้ารัดหน้าท้องจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บแผลหลัง กระชับบริเวณแผล เพื่อให้แผลสมานติดกันได้ดี

หลังคลอดลูก

#10 ให้นมแม่ล้วนช่วยลดน้ำหนักลงได้ ถ้าลูกได้ดูดนมแม่ทั้งวันหรือมีการปั๊มน้ำนมออกเพื่อเก็บสะสม น้ำหนักส่วนเกินของคุณแม่จะลดลง เพราะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น ร่างกายจะเผาผลาญแคลอรี่ประมาณ 500 แคลอรี่ต่อวัน จึงคล้ายกับการออกกำลังกายที่เป็นการลดน้ำหนักไปในตัว ดังนั้นหลังคลอดสำหรับคุณแม่ที่ให้นมลูกจะมีน้ำหนักลดมาเป็นปกติได้ภายใน 6 เดือน โดยไม่จำเป็นต้องหาวิธีลดน้ำหนักแบบอื่นมาช่วยเลย

หลังคลอดลูก

#11 ในภาวะปกติของแม่ที่ผ่าคลอดลูก แผลที่เย็บไว้จะสมานเข้าด้วยกันกันเองภายใน 7 วันหลังคลอดได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับร่างกายของแม่แต่ละคนและลักษณะของการเย็บ ซึ่งโดยเฉลี่ยจะค่อย ๆ ใช้เวลาประมาณ 2 – 12 สัปดาห์


ข้อมูลจาก นพ.ปภากร มิ่งมิตรพัฒนะกุล สูติ-นรีแพทย์ จากศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก ศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ

ที่มา : pregnancy.haijai.com

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

หลังคลอดลูกต้อง แจ้งเกิดลูกภายในกี่วัน ทำสูติบัตรให้ลูกต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?

ทำไมผู้หญิงบางคนมีอารมณ์ด้านลบหลังคลอดลูก

 

บทความจากพันธมิตร
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • เตรียมรับมือ 11 เรื่องจริงของร่างกาย หลังคลอดลูก ที่แม่ต้องเผชิญ
แชร์ :
  • อาการผิดปกติหลังคลอดลูก แบบไหนที่ต้องระวัง แบบไหนที่ต้องกังวล

    อาการผิดปกติหลังคลอดลูก แบบไหนที่ต้องระวัง แบบไหนที่ต้องกังวล

  • การมีเพศสัมพันธ์หลังคลอดลูก เริ่มมีได้ตอนไหน

    การมีเพศสัมพันธ์หลังคลอดลูก เริ่มมีได้ตอนไหน

  • ลูกมี "ผมหงอก" ได้อย่างไร ! เกิดจากอะไร และวิธีแก้ที่ถูกต้อง

    ลูกมี "ผมหงอก" ได้อย่างไร ! เกิดจากอะไร และวิธีแก้ที่ถูกต้อง

  • 10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

    10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

app info
get app banner
  • อาการผิดปกติหลังคลอดลูก แบบไหนที่ต้องระวัง แบบไหนที่ต้องกังวล

    อาการผิดปกติหลังคลอดลูก แบบไหนที่ต้องระวัง แบบไหนที่ต้องกังวล

  • การมีเพศสัมพันธ์หลังคลอดลูก เริ่มมีได้ตอนไหน

    การมีเพศสัมพันธ์หลังคลอดลูก เริ่มมีได้ตอนไหน

  • ลูกมี "ผมหงอก" ได้อย่างไร ! เกิดจากอะไร และวิธีแก้ที่ถูกต้อง

    ลูกมี "ผมหงอก" ได้อย่างไร ! เกิดจากอะไร และวิธีแก้ที่ถูกต้อง

  • 10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

    10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ